เทรดเมื่อเห็น Momentum

เทรดเมื่อเห็น Momentum

เทรดเมื่อเห็น Momentum

                Momentum น่าจะเป็น price action ที่ดูง่ายที่สุดบนชาร์ตเปล่าเพราะแค่ดูว่าราคาวิ่งแรงๆ วิ่งไปทางเดียวกันด้วยความเร็วและเวลา เมื่อมองผ่านแท่งเทียนก็จะเห็นบาร์ยาวๆ เน้นราคาปิดทางที่ราคาวิ่งไปด้วย ไม่มีหางบาร์ หรือมีแต่น้อยมากหรือไม่มียิ่งดี มีบาร์ตามมาหรือไปทางเดียวกัน ก็ยิ่งดี บางเทรดเดอร์อาจมองว่า Momentum เป็นเรื่องของเทรนที่แข็ง หรือ trend strenght แต่หากมองดูรายละเอียดจริงๆ สิ่งที่ Momentum บอกคือสิ่งที่ว่าขาใหญ่เข้าเทรดเป็นหลักเพื่อเอาชนะพื้นที่นั้นๆ อาจไม่ใช่เรื่องเทรนต่อก็ได้ แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนเทรนก็ได้ ต้องดูปริบทและเงื่อนไขการเข้าเทรดที่เกิด Momentum ประกอบกัน

                บาร์ยาวๆ และต่อเนื่องที่มองเป็น Momentum ที่เกิดขึ้น แต่ต้องแยกให้ออกเป็น Momentum ที่เกิดจากการเข้าเทรดหรือเกิดจากการที่ขาใหญ่ดันให้ราคาแตะ stop orders ที่มีจำนวนมากเลยทำให้ราคาขึ้นไปเร็วเหมือนกัน

 

              หลักการที่ผ่านมา จะมีการใช้คำว่า impulsive move เพื่อประกอบคำว่า momentum trading ที่บอกว่าเป็นการเข้าเทรดของขาใหญ่ เพราะขาใหญ่เทรดเมื่อเงื่อนไขออเดอร์ตรงข้ามมากพอ และมีเทรดเดอร์ติดลบเมื่อพวกเขาดันราคาดังนั้นสิ่งที่เห็นจาก impulsive move เทรดเดอร์ติดลบหรือ trapped traders ต้องมีประกอบโครงสร้างด้วยเพื่อขาใหญ่จะได้กดดันให้เทรดเดอร์กลุ่มนี้ต้องออกจากตลาดเพื่อจำกัดการสูญเสีย เลยเป็นเงื่อนไขที่ขาใหญ่คาดว่า market orders จะมาจากทางไหนต่อ

                Momentum เพราะการเข้าเทรดนี้ถือว่าเป็น impulsive move ได้เพราะได้เงื่อนไขบาร์ยาวๆ ต่อเนื่องกัน 2 บาร์ ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวแบบ Momentum ที่สำคัญราคาเอาชะนะ Demand ทั้ง 2 จุดได้ ดูบาร์ที่ถึง Demand ด้านล่าง แทบไม่มีหางบาร์ที่บอก rejeciton เลยและ 2 บาร์ต่อมาก็แทงหางบาร์ลงไปเกินอีก แม้ว่าจะแทงขึ้นบนเพื่อเคลียร์ออเดอร์ เพื่อราคาจะไปทำ Lower High หลังจากทำ Lower Low ก่อน  แล้วราคากลับมาที่ swap supply ด้านบนพอดี ก็เป็นการเข้าเทรดต่อและใช้ประโยชน์จาก trapped traders โครงสร้างแบบนี้จะเจอประจำ เพราะต้องไม่ลืมว่า market orders ไม่ได้มาจากการเปิดเทรดอย่างเดียว การออกจากการเทรดก็เป็น market orders ด้วย ดังนั้นถ้าขาใหญ่เขารู้ว่าเทรดเดอร์รายย่อยเทรดตรงไหน ถ้าพวกเขาดันราคาสวนได้ พวกเขาก็รู้ว่าจะมี market orders เข้ามาทันที ไม่จำเป็นต้องรอ market orders จากการเทรดเข้ามา เมื่อราคาขยับไป market orders ที่เกิดจากการเข้าเทรดก็มาเองเพราะ price structure ที่เปลี่ยนไป เพราะเทรดเดอร์ต่างๆ มีวิธีการเทรดที่ต่างกันออกไป บริหารจัดการการเทรดต่างกันออกไป

                Momentum เพราะ stop hunting ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าขาใหญ่รูปแบบเทรดต่างกันออกไปแบบรายย่อยและวิธีการเทรดก็ต่างกันออกไป short-term speculatorsหรือขาใหญ่ที่คาดหวังระยะสั้นๆขาใหญ่ประเภทนี้จะเล็งไปที่ stop orders เป็นหลักเพราะเป็นออเดอร์ที่ถือว่าเป็นจุดอ่อนของตลาดก็ว่าได้ เพราะจะทำงานเองเมื่อราคาไปแตะ stop orders ในที่นึ้คือตลาดก็จะเปิด buy ให้เองเมื่อราคาแตะ stop orders  แล้วไปปิดทำกำไรด้านบน  ดู Momentum บาร์ ที่ลูกศรชึ้ถือว่ายาว แต่ปัญหาคือบาร์ที่ตามมา ไม่สามารถปิดบน supply ด้านบนได้ แถมเกิด Pin bar หางยาวๆ ประกอบว่าเป็นการเข้าเทรดหรือเพราะการปิดทำกำไรจากพวกขาใหญ่ที่เป็น short-term speculators ที่เปิดเพื่อล่า stop orders แล้วไปปิดทำกำไรด้านบน การปิดทำกำไรของการเปิด long positons (เปิด Buy แล้วราคาไปแตะ stop orders และ stop orders ก็ออก buy market orders ต่อเลยทำให้ราคาขึ้นเร็ว ขาใหญ่ที่เปิดตอนแรกก็กำไร) อีกอย่างหนึ่งทำให้ stop orders ตรงนั้นๆทำงานเพื่อราคาจะได้วิ่งไปหา sell limit orders ด้านบนด้วย

                Momentum bars ที่เห็นจากจุดที่ 1 สามารถเอาชนะ supply ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ได้บอกว่า momentum bar เป็นผลจากการเทรดเป็นหลัก เพราะต้องการที่จะเอาชนะฝั่งตรงข้าม ถือว่าเป็น momentum bar ที่ทำให้เกิด impulsive move และจุดที่ 2 อีก ราคาขึ้นไปหลังจากล่า stop hunting พื้นที่เลข 4 โดยขาใหญ่ประเภท short-term speculators ดันราคาเพื่อเข้าเทรดที่ supply 5 แต่ราคาไม่สามารถเอาชนะได้ เกิด rejection ที่แรง แสดงว่า short-term speculators ปิดทำกำไรหรือเปล่า และมีการเข้าเทรดด้านบนด้วยหรือเปล่า 2 บาร์ต่อมาราคาไม่สามารถไปต่อได้ ย่อตัวลงทำ consolidation สะสมออเดอร์ จนกว่าราคาเบรค Demand 1  เมื่อมองดูโครงสร้าง Monetum ที่เลข 3 จะเห็นว่าราคาลงมาหาต้นตอ ที่ขาใหญ่เข้าเทรดที่เลข 1 และตามด้วยเลข 2 Momentum บาร์พวกนี้เกิดเพราะเทรดเดอร์ที่เข้าเทรด demand 1 ที่เปิด long positions เห็นราคาไม่ไปต่อเพราะขาใหญ่ต้องการเข้าเทรดอีก หลังที่พวกเขาได้เปิดเผย impulsive move เพื่อต้องการออเดอร์ตรงข้ามมากขึ้น เพราะรายย่อยเห็นบาร์ยาวๆ กลัวพลาดเลยรีบเปิดตาม และเพราะตอนที่ราคาขึ้นไปทำ momentum จุด 1 และ จุด 2 มีแต่ market orders เปิด long positons เลยไม่ค่อยมี buy limit  และเพราะในกรอบ momentum 1 จะเห็นมีหางบาร์แทงลงด้านล่างด้วย ที่ลด buy limit orders ตรงนั้นไปด้วย

                จากที่ยกตัวอย่างมาเพื่อจะบอกว่า momentum ที่เกิดขึ้นต้องแยกให้ออกก่อนว่าเป็นประเภทไหน เมื่อตีความออกโอกาสเทรดมีทุกเมื่อ ตอนที่ราคาย่อตัวในกรณีที่ Momentum เป็นส่วนหนึ่งของ impulsive move  หรืออาจเทรดสวนกรณีที่ short-term speculators ขาใหญ่ที่เข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นๆ เพื่อล่า stop orders ให้ไปแตะ limit orders จุดที่พวกเขาต้องการได้

 

ทีมงาน : thaiforexbroker.com