ใช้ Stochastic Oscillator ให้เป็น

ใช้ Stochastic Oscillator ให้เป็น

ใช้ Stochastic Oscillator ให้เป็น

                การเข้าใจตลาดทำงานอย่างไรเช่นอย่างวิธีการที่นิยมกันในการอ่านตลาดผ่านแท่งเทียน candlesticksแต่ละแท่งเทียนก็จะเป็นข้อมูลสำคัญหรือprice dataที่สำคัญในการนำมาประมวลผลมีการนำราคาopen high lowและcloseผ่านช่วงเวลาต่อเนื่องแท่งทียนมาประมวลผลบางอินดิเคเตอร์มีการนำvolume มาประกอบด้วยหลักๆอินดิเคเตอร์ก็จะมีนำเสนอแบบTrendและแบบOscillatorsและมีแบบอื่นอีกส่วนอินดิเคเตอร์Stochasticที่นิยมกันเพราะใช้ง่ายและทำงานแบบmomentum oscillatorเมื่อเกิดขึ้นถ้าเข้าใจจังหวะการเข้าเทรดความเป็นไปได้สูงมักจะตามมา

Stochastic Oscillator บอกอะไร

                หลักการStochastic Osciallatorถือว่าเป็นอินดิเคเตอร์ที่ให้ข้อมูลเรื่องของmomentumที่บอกว่าเทรนปัจจุบันแข็งหรืออ่อนที่นำเสนอก็มี 2 เส้น เส้นแรกเป็นเส้น%Kเป็นเส้นStochastic Oscillatorและเส้น%D เป็นเส้นค่าเฉลี่ยของเส้น%Kและมีกำหนดlevelประกอบการเคลื่อนไหว2 เส้นนี้และบอกสถานะตลาดตอนนั้นๆ เป็นอย่างไร

                 ส่วนมากที่เห็นชัดเรื่องของการนำเสนอเรื่อง overboughtและ oversold ที่บอกว่าราคาได้วิ่งไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไปแล้วโอกาสที่ราคาจะกลับตัวจะเกิดขึ้นเมื่อStochasticให้ข้อมูลว่าOverboughtหรือ Oversoldแต่ถ้าเป็นตอนที่เส้นStochasticต้นเส้นค่าเฉลี่ยและหักหัวออกจากพื้นที่overboughtและoveresold ก็จะเป็นตอนที่อินดิเคเตอร์ให้สัญญาณการเปิดเทรด

                 ดังนั้นเมื่อมองจากที่อินดิเคเตอร์นำเสนอจะเห็นว่าข้อ1บอกว่าตลาดทำเทรนและถึงระดับ overbought/oversoldหรือยัง ข้อ2 บอกเรื่องความเป็นไปได้ที่จะเกิดการกลับตัวหรือreversalที่อาจเกิดขึ้น และ 3.ตามมาด้วยบอกพื้นที่เข้าเทรดการมองStochasticเบื้องต้นก็จะมองที่2 เส้นสัมพันธ์กับพื้นที่oversold ต่ำกว่าเส้น20และoverboughtสูงกว่า80(อาจมีการปรับจูนระดบoversouldและoverboughtต่างกันออกไปแต่หลักการเดียวกัน)

รู้ทันความรู้ทั่วไปการใช้ Stochastick Oscillator

                ในการเทรดสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งเรื่องความรู้ที่เป็นความรู้ทั่วๆไปหมายความว่าเทรดเดอร์ส่วนมากรู้และเทรดอย่างไรเช่นอย่างเรื่องของStochastic Oscillatorเมื่อเทรดเดอร์รู้และทำอย่างเดียวกันทำให้เกิดออเดอร์ไปทางเดียวกันเมื่อเทรดก็จะกลายเป็นแหล่งออเดอร์ที่ขาใหญ่ต้องการได้เมื่อเทรด เพราะราคาวิ่งขึ้นหรือลงเพราะขาใหญ่มีส่วนร่วมในการเทรดทางนั้นๆแต่หลักการแทรดเมื่อการเทรดจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามที่จะเปิดเทรด เช่นเมื่อเปิด buy ก็ต้องมี sell order มาจับคู่ และการทำกำไร เมื่อราคาวิ่งไปทางที่เปิดเทรด และเมื่อท่านได้กำไร อีกเทรดเดอร์ที่จับคู่กับออเดอร์ที่ท่านเปิดเทรดต้องกำลังเสีย นอกจากนั้นแล้ว ข้อมูลที่ได้จากอินดิเคเตอร์ก็จะเป็นข้อมูลที่ล่าช้าหรือ lagging information เป็นหลัก ราคาก็จะเปิดเผยออกมาก่อน อินดิเคเตอร์ค่อยให้ข้อมูล

เรื่องของเทรนกับ Stochastock Oscillator

                เนื่องจาก Stochastic บอกเรื่อง momentum เกี่ยวกับเรื่องของเทรนว่าเป็นอย่างไร จำเป็นต้องเข้าใจว่าเรื่องของเทรนเป็นอย่างไร แล้วให้ใช้อินดิเคเตอร์เป็นตัวช่วยยืนยันอีกทีเพราะ stochastic Oscillator เป็นวิธีการที่ง่ายและใช้ได้ดี ในการอ่านเทรนคือนำเรื่องการพัฒนา swing highs/lows มาอธิบาย เทรนขึ้นต้องมี Higher Highs ตามมาด้วย Highs Lows  และเทรนขาลงเป็น Lower Lows ตามมาด้วย Lower Highs ตามกันมาไปเรื่อยๆ เช่น อย่างเรื่องเทรนขาขึ้น การพัฒนา swing highs/lows ต้องเข้าใจก่อน ดูที่ HH ตัวแรกตามด้วย HL ส่วนสำคัญคือราคาต้องเบรค HH เก่าที่ถือว่าเป็นแนวต้านหรือ resistance อัตโนมัติขึ้นไปแล้วไปทำ HH ตัวใหม่ ในช่วงที่ราคาเบรคขึ้นไปทำ HH ตัวใหม่ ตัวนี้ถือว่าเป็น impulsive move เพราะ impulsive move บอกอาการเทรดเดอร์ยังอยากดันราคาไปต่อ เลยมักจะทำให้ตามมาด้วยราคาไปทางนั้นอีก ราคาย่อตัวลงมาทำ HL หรือถือว่าเป็นช่วง Corrective move ที่มักจะเกิดขึ้นตามมาหลักจาก impulsive move ส่วนมาก Corrective move จะจบที่จุดราคาเบรคเพราะเรื่องออเดอร์เป็นหลัก เพราะตอนที่ราคาเบรค HH เก่าขึ้นไปได้ทำให้เทรดเดอร์ที่เปิด short positions ตรงนั้นติดลบ พอราคาลงมาแต่ไม่ไปต่อ เทรดเดอร์ที่เคยติดลบตอนราคาเบรคถ้าราคาขึ้นก็จะออกตรงนั้น เท่ากับเปิด buy market orders และเทรดเดอร์ที่เทรดตามเทรนก็จะเข้าเทรดตรงนั้น และเทรดเดอร์ที่เทรดตอนที่ราคาทำ HH ใหม่ที่เทรดสวนเทรนลงมา พอราคาไม่ลงไปต่อก็ออกตรงนั้น และเพราะเป็น impulsive move ขาใหญ่เข้ามีส่วนร่วม ขาใหญ่ก็จะเปิดเทรดเพิ่มตรงนั้นด้วย เพราะมี sell market orders ตอนที่ราคาทำ HH และดันลงมา ตรงที่ราคาเบรคก็จะเบรคได้ง่ายเพราะ stop loss ของเทรดเดอร์ที่เปิด sell ตอนราคาทำ HH และยังมี Buy stop orders จาก breakout traders ตรงที่จุดเบรคด้วย เงื่อนไขออเดอร์ก็จะหนุนกันแบบนี้กลายเป็น momenum ที่ Stochastic Oscillator บอก

Stochastic Oscillator กับ Divergence

                อีกเหตุผลที่นิยมใช้ Stochastic Oscillator คือเรื่องบอก Divergence ที่อาจจะเกิดขึ้น ให้เปรียบเทียบกับหลักการพัฒนา swing highs/swing lows คือถ้าราคาทำเทรนลงต่อ Lower Lows ตามด้วย Lower Highs ต้องเห็นหรือ Higher Highs ตามด้วย Higher Lows เพราะเรื่องของ Breakout หรือ impulsive move ที่เกิดขึ้นบอกว่าขาใหญ่ยังอยากดันราคาไปต่อทางนั้นๆ ก็จะเป็นร่องรอยที่สามารถบอกและเทรดตามได้ แต่เมื่อไรตาม ท่านเห็นการพัฒนา swing highs/swing lows ระหว่าง price chart และ Stochastic Oscillator ไปคนละทาง  เช่นที่เลข 1 เมื่อมองที่ price chart จะเห็นว่าราคาสามารถทำ High High ได้แต่พอมองมาที่ Stochastic จะเห็นว่าราคาได้ขึ้นมาถึงระดับ Overbought ที่บอกว่าราคาได้มาขึ้นมาเยอะมากแล้ว เป็นไปได้ที่ราคาจะกลับเทรนหรือเกิดการย่อตัว และยังเห็นว่าที่ Stochastic กลับไม่ได้ทำ Higher High แบบเดียวกับชาร์ต แต่เป็น Lower High เลยทำให้เกิด Divergence ในที่นี้เป็น Bearish Divergence เทรดเดอร์เมื่อห็นแบบนี้ก็เริ่มหาจุดเข้าเทรดตาม Bearish Divergence เช่น เปิดเทรดเมื่อเส้น Stochastic ต่ำกว่าเส้น 80 หรือเมื่อเป็น price action ที่บอกว่าเป็น Bearish price action เช่น Pin Bar, Engulfing Bar ประกอบกับ Stochastic ก็จะเปิดเทรด และที่เลข 2 เป็นอีกตัวอย่างเรื่องของ Divergence รอบนี้เป็น Bullish Divergence จะเห็นว่าขณะที่ price chart สามารถทำ Lower Low ได้แต่ Stochastic กลับทำ Higher Low เกิดขึ้นตรงข้ามกัน และก็เกิดตรงพื้นที่ๆ Stochastic บอกว่าราคาได้ลงมาเยอะมาก หรือ Oversold เป็นไปได้ที่ราคาอาจกลับเทรนหรือมีการย่อตัว

Stochastic Oscillator ใช้ได้ทั้งเทรดตามเทรนและเทรดสวนเทรน พร้อมทั้งที่เข้าเทรด

                จากที่อธิบายมาด้านบนว่า Stochastic เป็น momentum indicator บอกถึงการเข้าเทรดหรือบอกว่าการพัฒนาการของเทรนเป็นอย่างไร เลยสามารถใช้เทรดได้ทั้งสวนเทรนหรือตามเทรน ให้ดู price action และอินดิเคเตอร์ประกอบกัน เริ่มที่เลข 1 เห็น price chart ทำ Lower Low ได้แต่ขณะเดียวกัน Stochastic อยู่พื้นที่ Oversold และตามด้วยเส้น Stochastick ตัดเส้นค่าเฉลี่ยขึ้นและเริ่มหักขึ้นจากพื้นที่ Oversold ก็จะเปิดโอกาสให้เปิดเทรดสวนเทรน หรือที่เลข 2 3 และ 4 หลังจากที่ราคาได้เปลี่ยนเทรนหลังที่ price structure ที่เกิดขึ้นหลังจากจุดที่เลข 1 กลายเป็นทำเทรนขึ้น ก็ให้เน้นเทรนตามเทรนที่ H1 และเทรดการย่อตัวหรือพื้นที่ Oversold ที่ชาร์ต M15 ก็จะเป็นการเทรดตามเทรน  แต่การเข้าเทรดเป็นแบบเดียวกัน ให้เทรดเมื่อราคาอยู่ที่ overbought หรือ oversold แล้วเห็นการตัดของเส้น Stochastic oscillator เส้นค่าเฉลี่ย และเริ่มหักออกจากพื้นที่ 20 หรือ 80 ที่เป็นการสวนเทรด วิธีการที่จะช่วยเข้าเทรดได้ดีคือให้ใช้ timeframe ใหญ่สำหรับเทรน เช่น H1 และ timeframe ย่อยสำหรับเข้าเช่น M15 และการกำหนด stop loss ก็เป็นจุดสูงกว่าที่ high หรือต่ำกว่า low ที่ price chart และ Stochastic บอกและ take profit เมื่อราคาจะเข้า overbought หรือ oversold อีกข้างของ timeframe ที่กำหนดสำหรับ trade setup

ใช้ Impulsive move ประกอบเทรด Stochastic Oscillator

                เนื่องจาก Impulsive move เป็นส่วนสำคัญของการทำเทรนแต่ละ swing ที่เกิดขึ้น และการเทรด Stochastic oscillator บอกถึง Momentum ในการเทรดเป็นอย่างไร บอกถึงแรงการพัฒนาเทรน เพิ่งเริ่มหรือถึงขั้น overbought หรือ oversold ดูที่ชาร์ตที่เป็นตัวกำหนด Trade setup ด้วยการใช้ price chart และ stochastic oscillator ประกอบกัน จะเห็นว่าทั้ง 3 จุดที่ยกมาประกอบ จะเห็น impulsive move เกิดขึ้นเทรดชาร์ต trade setup หมด เพราะในโครงสร้างของ impulsive move เป็นผลมาจากความต้องการดันราคาไปทางนั้นๆ ส่วนมากก็จะเป็นการกระทำจากขาใหญ่ และทำให้เกิดเทรดเดอร์ที่ติดลบด้วยหรือ trapped traders พร้อมกันนั้น ยังเปลี่ยน price structure ใหม่เกิดขึ้นด้วยเพราะ Impulsive move ตามมาด้วยการเกิด new high หรือ new low เป็นสัญญานของ momentum เข้ามา พอราคากลับมาจุดที่ราคาเบรคตอนเกิดเป็น Impulsive move เป็นจุดที่เทรดเดอร์ต่างๆ เฝ้ามองทั้งที่อยู่ในตลาด ถ้าติดลบหรือ trapped traders ก็ต้องการให้ราคากลับมาทางที่ตัวเองเปิดไม่อยากติดอีก ถ้าเห็นอะไรที่ทำให้พวกเขามั่นใจว่าราคาจะไม่ไปทางที่พวกเขาเปิดเทรดก็จะหันมาออกเป็นหลัก และจาก price structure ใหม่ที่เกิดขึ้น เทรดเดอร์ที่รอเทรดตามเทรนก็จะได้โอกาสเข้าเมื่อเห็นราคา rejection ที่จุดราคาเบรคก็จะเข้าเทรดเป็นหลัก ก็เลยทำให้ momentum เกิดขึ้น ยิ่งพอราคามาถึงจุดที่ High ก่อนที่ราคาจะลงไปก็จะ market orders มาจาก stop loss ของเทรดเดอร์ที่เปิด sell ตอนราคาทำ High และลงไปไม่ได้ปิด และก็จะมีออเดอร์อจาก Breakout traders ด้วยพื้นที่เดียวกันกับ stop loss orders พอราคามาถึงและแตะ stop orders พวกนี้ได้ ก็จะเป็นการเพิ่ม momentum ในการเข้าตลาดเข้าไปอีก เลยทำให้การเปิดเทรด stochastic ที่เห็นใน M15 สัมพันธ์กับ เรื่องออเดอร์ที่อธิบายมา

                ดังนั้นการเข้าใจออเดอร์ทำงานอย่างไร อ่านข้อมูลมาจากไหน และเข้าใจ price chart ประกอบกัน ก็จะทำให้เข้าใจว่าควรเทรด stochastic oscillator อย่างไร จุดไหน และตอนไหน

 

ทีมงาน : thaiforexbroker.com