อินดิเคเตอร์ RSI (ใช้ดู Divergence)

อินดิเคเตอร์ RSI (ใช้ดู Divergence)

RSI : Divergence

                ราคาขึ้นหรือลงแล้วทำเทรนเป็นเรื่องปกติ ยิ่งมองดูการพัฒนาการของเทรนแล้วก็จะเห็นเรื่องเทรนประกอบด้วยเทรนย่อยๆ ลงไปเป็นหลัก เลยทำให้แบ่งเทรนออกเป็น long term, medium term, และ short term เช่น แม้ว่าเทรนระยะยาวจะเป็นทางขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่าราคาจะขึ้นอย่างเดียว การย่อตัวต้องเกิดขึ้นให้เป็นประจำ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของการเปลี่ยนเทรนเมื่อมอง timeframe ย่อยลงมา ดังนั้น การกลับตัวของราคาจึงเกิดขึ้นตลอด เปิดโอกาสให้เทรดเดอร์สามารถเทรดเก็งกำไรจากการขึ้นหรือลงของราคาได้

                วิธีการหลักที่ใช้ในการดูว่าเทรนยัง strong หรือยังจะไปต่อหรือเปล่าที่นิยมใช้กันคือ การดู swing high swing low ที่เกิดขึ้น เช่นเมื่อราคาทำเทรนขึ้นราคาต้องทำ higher high ตามด้วย higher low  หรือเมื่อราคาทำเทรนลง ราคาต้อง lower lows ตามด้วย lower highs เมื่อใช้อินดิเคเตอร์ประกอบ เช่นที่นิยมกันสำหรับดู Divergence คือ RSI เนื่องจากอินดิเคเตอร์อ่านข้อมูลที่เกิดจากชาร์ต ดังนั้นหลักการเบื้องต้น RSI ต้องยืนยันหรือทำ swing highs หรือ swing lows ให้เห็นแบบเดียวกันที่ price chart ทำให้เป็น แต่ถ้า RSI ไม่ยืนยันหรือทำตรงกันข้ามเป็นสัญญาณว่าจะมีการกลับตัวของราคา

                เช่นการกลับตัวของการทำเทรน D1 หรือ H4 ก็จะเป็นช่วงราคาย่อตัวหรือ ทำ corrective move (retracement) เมื่อเทียบหลักการ impulsive move ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนเทรนหรือการกลับตัวของราคา เมื่อมอง timeframe ย่อยลงไปเช่น H1 หรือ M30 ก็จะเป็นการเปลี่ยนเทรนหรือการทำเทรนระยะสั้น (นิยามของเทรน long term ระยะยาว medium term ระยะกลางๆ และ short term ระยะสั้น ต่างกันออกไปแล้วแต่เทรดเดอร์กำหนดตามรูปแบบการเทรดของตัวเอง ) ดังนั้นควรคำนึงเรื่องการพัฒนา swing highs/lows และเรื่อง long term/medium term/short term ของการทำเทรนประกอบกัน จะเห็นว่าการกลับตัวของราคาเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้น ดังนั้น Divergence ก็จะเป็นโอกาสให้เทรดเดอร์ได้ปิดกำไร หรือเทรดเดอร์ประเภทเทรดสวนเทรนได้โอกาสเข้าเทรดเพราะหลักการของเทรน ทำให้เทรดเดอร์อยากเทรดไปทางเดียวกันเป็นหลัก เลยทำให้มีแต่ออเดอร์ที่เปิดไปทางเดียวกัน เป็นโอกาสที่ขาใหญ่จะได้เข้าเทรดเพราะเงื่อนไขการเข้าเทรดของขาใหญ่ จะเข้าเทรดเมื่อมีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามมากพอ

                ดังนั้นเมื่อมองแบบนี้จะเห็นว่าหลักการของเทรนก็จะตามด้วย divergence แต่ละช่วงเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อบอกว่า การดูการพัฒนาการของเทรนมักจะดูเรื่อง swing highs/lows ประกอบ และสามารถใช้อินดิเคเตอร์ประกอบช่วยสแกนข้อมูลได้ อินดิเคเตอร์ถือว่าเป็นตัวช่วยยืนยันที่สำคัญของราคาในการพัฒนาเทรนด้วย แต่เมื่อไม่ยืนยันกันนั่นแสดงว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น  

                ดูที่เลข 1 จะเห็นว่าราคาทำ Lower low ตามด้วย lower high ตามด้วย lower low และ lower high และ lower low อีก เป็นเรื่องโครงสร้งของการพัฒนา swing points แต่ท่านจะเห็นว่าตรงส่วนสุดท้ายเมื่อท่านดู RSI ท่านจะเห็นว่าแทนที่จะทำ lower low แต่กลับทำ higher low จะเห็นว่า price chart และ RSI ไม่ได้ยืนยันกันและกันแบบที่ครวจะเป็น สุดท้ายราคาก็ขึ้นมาตามที่ RSI เปิดเผย

                ที่เลข 2 ดู price chart เรื่องการพัฒนาเทรน ราคาทำ lower high ก่อนตามด้วย lower low และตามด้วย lower high ตามด้วย lower low  แต่เมื่อดู RSI ตรงส่วนสุดท้ายจะเห็นว่า RSI กลับทำ higher low แทนที่จะเป็น lower low แบบ price chart

                เลข 3 ก็แบบเดียวกัน ราคาทำ lower low ก่อนตามด้วย lower high ไล่อันดับลงมาจนถึงจุดที่ตีเส้นเทียบกับอินดิเคเตอร์ RSI  แต่เมื่อมอง RSI จะเห็นภาพที่ต่างออกไป price chart และอินดิเคเตอร์ไม่ได้ยืนยันซึ่งกันและกันแบบที่ครวจะเป็น

             

                หลักสำคัญที่ยกตัวอย่างมาจะเห็นว่าต้องเข้าใจหลักการพัฒนาเทรนก่อน เพราะจะมามองแค่อินดิเคแตอร์อย่างเดียวไม่ได้ ถ้าไม่สามารถเข้าใจเรื่องการพัฒนา swing high/low ที่เป็นหลักการทำเทรน เทรนขึ้นหรือเทรนลง divergence ก็แบบเดียวกัน มี Bullish Divergence (ที่ราคาทำ Lower low แต่ RSI ทำ higher low)  และ Bearish Divergence  (ราคาทำ higher high แต่ RSI ทำ Lower high)

                หลักการอินดิเคเตอร์ทำตามข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว ดังขึ้นจึงมักจะได้ยินคำว่า ล่าช้า (lagging indicator) ประจำและ อีกอย่างยังเปลี่ยนไปเมื่อข้อมูล price chart เปลี่ยนไปตอนจบแท่งเทียน (repaint) ตลอด เพราะราคาอย่างเดียวถือว่าเป็น leading information ที่เกิดขึ้นเปลี่ยนแปลงตามราคาขึ้นหรือลงเรียลไทม์ตลอด   

Divergence มักจะเกิดตรงไหน

             เพราะ Divergence คือการอธิบายเรื่องราคามีการกลับตัวหรือจะทำการย่อตัว เมื่อมองเรื่องเทรนที่เล็กลงไปจากเทรนที่ดูก็จะกลายเป็นเทรนตรงกันข้ามหลักการออเดอร์บอกว่าเมื่อmarket ordersเข้ามาเอาชนะ limit orders ฝั่งตรงข้ามราคาก็จะไปหา liquidity ที่ราคาต่อไปเลยทำให้เราคาเคลื่อนไหวไม่ว่าขึ้นหรือลง เมื่อราคาไปเจอพื้นที่ๆ มี Liquidity หรือ limit orders ฝั่งตรงข้ามมากพอหรือเกินก็จะทำให้ราคาหยุด และถ้ามี market orders ฝั่งตรงข้ามหรือฝั่ง limit orders เข้ามาหนุนอีกราคาก็จะเกิดการกลับตัว ต้องไม่ลืมว่า market orders มาทั้งจากการเข้าเทรดและการออกจากการเทรดดจากเทรดเดอร์ประเภท trapped traders ด้วย ดังนั้น Divergence มักจะพบที่พื้นที่ support/resistance หรือ supply/demand zone

              การเข้าเทรดก็ใช้หลักการเข้าเทรดที่ support/resistance หรือ demand/supplyเพราะ divergence เป็นแค่เรื่องอธิบายมุมมองการเปลี่ยนเทรนเท่านั้นเองหรือการย่อตัวบางช่วงไม่ว่าจะเป็น long term, medium term หรือ short term ก็ต่างกันออกไปตาม price structure เท่านั้นเอง

 

ทีมงาน : thaiforexbroker.com