สร้าง Trading Journal ง่ายๆ ด้วย Trello

Trading Journal

สร้าง Trading Journal ง่ายๆ ด้วย Trello

               Trading journal ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาการเทรดให้ดีขึ้นเพราะ มันจะช่วยให้ท่านรู้จุดแข็งจุดอ่อนของท่าน ท่านเทรดอย่างไร พลาดตรงไหน ตรงไหนทำได้ดีแล้วสามารถปรับให้ทำได้ดีกว่าอย่างไร เพราะ trading journal เป็นการบันทึกการเทรดตั้งแต่ trade setup มาเปิดเทรด มาจนปิดเทรด ผลออกมาเป็นอย่างไร ออเดอร์ที่รู้ผลแล้วได้กำไรหรือเสียเพราะอะไร หรือทำไมปิดกำไรเร็วเกินไป ผิดพลาดเพราะอะไร เพราะบันทึกจะช่วยให้ท่านบันทึกข้อมูลต่างๆ ไว้เพื่อทำการศึกษาได้

               เหตุผลหลักที่ trading journal มีประโยชน์เช่น ช่วยให้ท่านหาจุดแข็งและจุดอ่อนของรูปแบบการเทรดของท่าน ว่าเทรดได้ดีตรงไหน ต้องปรับปรุงข้อไหน ยังผิดพลาดตรงไหน สามารถช่วยสร้างความต่อเนื่องการเทรดได้เพราะมีการบันทึกต่อเนื่องมา  และสามารถให้ท่านเลือกกลยุทธ์การเทรดที่เข้ากับรูปแบบการเทรดท่านได้ เป็นต้น ดังนั้นการสร้าง trading journal เป็นส่วนสำคัญของการสร้างแผนการเทรดที่จะทำให้ท่านประสบความสำเร็จได้ ท่านสามารถย้อนหลังศึกษาการเทรดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับกลยุทธ์การเทรด การจัดการความเสี่ยง และจิตวิทยาการเทรดตอนนั้นๆ เป็นอย่างไร จะได้ปรับปรุงและพัฒนาให้ถูกจุดได้ง่าย

               Trello เป็นเว็บที่ให้บริการฟรีสำหรับให้ท่านทำ trading journal ให้เกิดขึ้นได้ง่ายและที่สำคัญฟรีด้วย เมื่อท่านลงทะเบียนและสร้าง Board จะได้หลักๆ

โดยหลักๆ Trello จะประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ คือ Boards, Lists, Cards และ Menus

               Boards – ส่วนที่ 1 ก่อนอื่นท่านจำเป็นต้องสร้าง Boards คือแต่ละ Board จะแทนโครงการ (project) หรือพื้นที่ๆ จะเก็บรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ในที่เราตั้งเป็น Trading Journal 2019 ถือว่าเป็นโครงการ โดย Trello ไม่ได้จำกัดว่าจะสร้างกี่ Board

               Lists – ส่วนที่ 2 จะเป็นที่จัดการเป็นหมวดหมู่ของ cards ต่างๆ (ในที่นี้ก็คือ task หรือรายการเทรดต่างๆ ที่เราจะทำการบันทึก) ถือได้ว่าเป็น workflow แต่ละขั้นตอนที่ cards หรือ task ที่จะทำแต่ละช่วงจนจบ ในที่นี้ก็จะมี Trade ideas for this week, Watch Lists,  Open Positions, Closed Trades และ Pending Orders และในส่วนของ Lists นี้ท่านก็สามารถเพิ่มได้ไม่จำกัด

               Cards – ส่วนที่ 3 ถือว่าเป็นส่วนพื้นฐานของโครงการ (ที่ใช้คำว่า Board ในที่นี้) ที่จะจัดเป็นหมวดหมู่ด้วย Lists ที่อยู่ภายใต้โครงการหรือ project อะไร โดยการจะเป็น Tasks ภารกิจหรือ Ideas สิ่งที่จะทำในแต่ละรายการหรือหมวดหมู่ ในที่นี้ก็จะเป็นบันทึกทุกรายการเทรดแต่ละรายการ โดยตอนแรกก็จะกำหนดไว้ที่ Watch Lists ก่อน เพิ่มรายละเอียดเข้าไปว่าได้เงื่อนไขหรือเปล่า ด้วยการคลิกที่รายการเข้าไปก็จะเป็นส่วนที่ท่านสามารถกำหนดบันทึกรายการต่างๆ ได้ตามที่ท่านต้องการในการทำบันทึกการเทรด ก็จะมี Description, Attachments, Add Comment, Lables, Checklist, Due Date, Move และ Archive ก็จะให้ท่านเพิ่มเติมข้อมูลที่ท่านกำหนดเข้าไปได้

               สามารถเพิ่มรายละเอียดที่ทำให้เกิดการเทรดที่ description หรือเพิ่ม label ประกอบไปด้วยเพื่อให้ดูง่ายขึ้นหรือเพิ่ม check list เข้าไปเพื่อเป็นรายการตรวจสอบว่าได้เงื่อนไขการเทรดหรือเปล่าท่านสามารถเพิ่ม attachment หลายๆ อย่างต่อเนื่องกันได้ เช่นเมื่อเวลาเปลี่ยนไป trade setup ท่านยังอยู่แบบเดิมหรือเปล่าเพื่อเป็นการบันทึกการเปลี่ยนไปของ price structure โดยเมื่อท่านแก้ไข หรือมีการเพิ่มเติม หรือเพิ่มรายละเอียดอย่างอื่นเข้าไป ตรงที่หน้าหลักส่วนจอง Lists ด้านใต้แต่ละรายการก็จะบอกสถานะทั้งหมดว่ามีอะไรที่กำหนดเข้าหรือเพิ่มหรือเปล่า ท่านก็จะสามารถเข้าถึงภาพรวมแต่ละรายการเทรดท่านได้ง่ายเมื่อดูด้านล่างแต่ละรายการหรือ card โดยเฉพาะส่วนที่เป็น Checklist ให้ท่านกำหนดเงื่อนไข trade setup แต่ละรายการเข้าไปว่า trade setup ท่านได้เงื่อนไขหมดตามที่ท่านกำหนดหรือเปล่า

               Menus – ส่วนที่ 4 ที่อยู่ด้านขวาของ Board หลักๆ ก็สำหรับกำหนดหรือตั้งค่าต่างๆ เช่นจัดการเรื่องสมาชิกอย่างไร เพราะ Trello สามารถให้ท่านแชร์กับคนอื่นได้ control settings, filter charts และใช้ Power-Ups (เป็นฟีเจอรอื่นๆ ที่ใช้กับ Trello)

               เมื่อดูส่วนประกอบหลักทั้ง 4 อย่างที่ถือว่าเป็นหลักการทำงานของ Trello จะเห็นว่า Trello ใช้งานได้ง่ายและตรงประเด็นที่ต้องการใช้สำหรับบันทึกการเทรด สามารถเก็บรายละเอียดต่อเนื่องได้ หลังจากที่ท่านบันทึกข้อมูลแต่ละรายการเทรดเข้าไป เช่นในส่วนของ Description ของแต่ละ trade setup ก็บรรยายลงไปว่าทำไมน่าเทรด หรือเพราะด้าน technical analysis หรือเพราะ fundamental information พร้อมด้วยภาพประกอบหรือวีดีโอด้วยการเพิ่ม Attachment เข้าไป

               ในส่วนของ cards ของแต่ละกลุ่มก็ไม่ได้จำกัด และที่สำคัญท่านสามารถเคลื่อนย้าย card ไปมาแต่ละกลุ่มได้ง่าย เช่นเมื่อท่านกำหนดที่ watch list สำหรับรายการเทรด trade setup ที่ท่านจับตามองรอจังหวะการเข้าเทรดว่าได้เงื่อนไขหรือเปล่า เมื่อท่านได้เงื่อนไขแล้วเปิดเทรด ท่านสามารถย้าย Card นี้ได้ง่ายด้วยการ Drag-and-drop ไปที่ List ที่ท่านต้องการ เช่นลากไปที่ Open Positions เมื่อท่านได้เปิดเทรดและท่านก็เพิ่มข้อมูลเข้าไปอีกและคลิกเช็ครายการเช่นที่ checklist ได้เงื่อนไขที่ท่านกำหนดท่านก็เลยเปิดเทรด ก็เลยมาอยู่ในส่วนของ Open Positions

               เมื่อบันทึกการเทรดแต่ละรายการท่านต้องบันทึกสิ่งที่จำเป็นต่อการเทรดเช่น trade setup หรือโอกาสการเทรดท่านว่าเกิดขึ้นตรงไหนอย่างไร จุดที่ทำให้เกิดการเปิดเทรดหรือที่เรียกกว่า entry trigger ขนาดเทรดหรือ position size เป็นอย่างไร วัดเรื่อง risk:reward อย่างไร ต้องได้งื่อนไข ต้องกำหนดลงไป เงื่อนไขการจัดการการเทรดป็นอย่างไร และบันทึกสามารถดูย้อนหลังเพื่อศึกษาได้ว่ากว่าจะทนมาได้ แต่ละช่วงที่รอ หรือที่ชาร์ตเกิดมีการเปลี่ยนไปขึ้น มีผลต่อเรื่อง stop loss หรือ take profit หรือเปล่า เช่นเรื่อง take profit ท่านสามารถยังทนให้กำไรวิ่งไปได้มากกว่าเดิมได้หรือเปล่า

               Trading Journal ก็จะจำรายการทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่เทรดจนจบ เมื่อท่านทำเป็นประจำ ก็จะทำให้ท่านหาจุดแข็งหรือจุดอ่อนรูปแบบการเทรดท่านได้ ว่าท่านถนัดเทรดแบบไหน ควรปรับปรุงและแก้ไขตรงไหน จะเห็นถึงว่าทำไมความอดทนจำเป็นต่อการเทรด ราคาไม่ได้วิ่งทันที เมื่อศึกษาย่อนหลังจะทำให้ท่านเข้าใจ พัฒนาทั้งการเทรดและ mindset ของท่านไปด้วย

ศึกษาเพิ่มเติ่มได้ที่ https://trello.com

ทีมงาน : thaiforexbroker.com