การตั้งค่าคุณลักษณะการเทรด (Trade setup probability)

การตั้งค่าคุณลักษณะการเทรด (Trade setup probability)

Trade setup probability

ราคาเปลี่ยนแปลงตลาด ชารตเปลี่ยนตลอด แนวรับ แนวต้าน หรือ supply/demand levels เปลี่ยนตลาด โอกาสการเทรดเพื่อทำกำไรจากราคาขึ้น-ลงในตลาดฟอเรกมีตลอดขึ้นกับวิธีการเทรด รูปแบบ เช่น บางคนเทรดแบบคาดหวังกำไรไม่กี่จุด scalpers บางคนเทรดรอเทรดระยะ supply/demand หรือ แนวรับ-แนวต้าน แต่เมื่อวิเคราะห์หาโอกาสเทรดตามความเป็นไปได้ เทรดดดอร์มองเห็นความเป็นไปได้ของการเทรดเป็นหลักว่าจะชนะหรือเปล่า

เงื่อนไขกำหนดความเป็นไปได้ต่างกันอออกไปตามรูปแบบเทรดเดอร์ แต่มีการคาดหวังสิ่งเดียวกันคือเปิดเทรดแล้วราคาวิ่งไปทางที่เทรดยิ่งมากยิ่งดี  ถ้ามองเรื่องออเดอร์ก็คือ ถ้าเราเปิดเทรดแล้วมี market orders อยู่ด้านเราและจำนวน limit orders ฝั่งตรงข้ามไม่มากพอ ทำให้ market price  วิ่งไปหา liquidity ที่ราคาต่อไป เลยทำให้ราคาวิ่งไปได้ง่ายในทางที่เราเทรด ภาพพวกนี้นำเสนอผ่านชาร์ตแท่งเทียนอย่างไร อะไรที่ทำให้เกิด the path of least resistance เมื่อราคาวิ่ง

หลักการออเดอร์บอกว่า market orders จะลด liquidity ที่มาจาก limit orders ที่ราคนั้นๆ ออกจากตลาด นั้นหมายความว่า ถ้าเป็นชาร์ตแท่งเทียนที่เกิดขึ้นแล้วต้องเป็นจุดที่ราคาวิ่งไปมาแล้ว อาจเห็นรูป spike bar, บาร์ที่มีหางยาวๆ หรือแม้แต่การที่ราคาวิ่งไปด้วยการทำหลายบาร์ต่อกันหรือ retracement

นอกจากจะมองเรื่อง risk:reward โดยเทียบสัดส่วน key levels กับระยะราคาที่วิ่งไป ตั้งแต่ 1:4 หรือมากกว่ายิ่งดี ถ้าเราสามารถเห็นว่าทางที่ราคาจะไปมี resistance ทางที่ราคาวิ่งไปน้อยหรือไม่มียิ่งดี จะทำให้ความเป็นไปได้สูงขึ้นมามาก มีเงื่อนไขตลาดที่ทำให้คนอยู่ในตลาดต้องเปิดออเดอร์ทางที่เราเทรด หรือมีข้อมูลใหม่ที่เทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดต้องเปิด market orders ก็จะวิ่งมาทางที่เราเทรด

เริ่มจากเลข 1 ที่เป็น demand ใหม่ที่เกิดขึ้น เราก็ตีกรอบเป็นพี้นที่ที่ราคาขึ้นแรงและและปิดแทบ high ของบาร์และปิดเหนือกว่า supply s1 ด้วยบ่งบอกว่าเป็นการเข้าเทรดจริง ราคา sideway ลงมาหน่อยและขึ้นไปทำ new high ที่เลข 4 ตรงที่เป็นพื้นที่ supply s2 อีกตัวถัดมาราคาเริ่มลง การวิ่งของราคาจากเลข 1 -4 เป็นข้อมูลในการกำหนด risk:reward เราก็ตีกรอบ demand base ได้กรอบที่เลข 1 และระยะที่ราคาวิ่งไปถึงเลข 4 เทียบสัดส่วนกรอบทั้งสองเลขน่าจะประมาณ 1:4 ก็ถือว่าเป็นจุดที่พอจะเทรดได้ แล้วมาดูราคาวิ่งลงหาจุดที่จะเทรดคือ buy ที่เลข 5   ราคามาหยุดที่เลข 3 ก่อน แล้วเบรกลงมาใช้ stop เพื่อเข้าหา buy limit ที่จุดเลข 5 และจุดที่ 2 เป็นการกลับมาครั้งแรก สัมพันธกับ momentum ล่าสุด เลยเป็นจุดที่ดึงดูดเทรดเดอร์อื่นๆ ที่รอเข้าตลาดด้วย ราคาขึ้นมาเกินกรอบเลข 3 และไปเทสที่ เลข 4 เป็นการกลับมาครั้งที่ 2 ราคาสามารถวิ่งถึงจุด reward ตามที่บอกแบบง่ายๆ

อีกตัวอย่าง supply base ที่เลข 1 เป็นพื้นที่ที่ risk และราคาลงอย่างแรงก่อนราคาวิ่งกลับเป็นสัดส่วน reward น่าจะอยู่ที่ 1:6 สำหรับ risk:reward ต่อมาดูว่าาที่ราคาลงแรงๆ เกิดจากการเปิดออเดอร์จริงหรือเปล่า ดูลักษณะราคาลงเอาชนะพื้นที่กรอบสีเขียวอย่างเร็ว บ่งบอกว่า market orders เข้ามามากต่อเนื่องเพื่อเอาชนะ ตัวที่ต้องดูเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้คือราคากลับไปจุดที่ 3 ที่จะเทรด มี demand เล็กๆ เกิดขึ้นที่กรอบ D แล้วราคาก็วิ่งถึงกรอบเลย 3 อย่างรวดเร็ว จากกรอบ demand ตรงจุด d ถึง กรอบเลข 2 เรามั่นใจว่าราคาจะลงง่ายแบบเดียวที่วิ่งขึ้นเพราะไม่มี demand เลยราคาน่าจะมาหยุดที่กรอบ demand ตรงจุด d  ราคาก็จะ sideway แล้วก็ไปต่อ

จาก 2 ตัวอย่างและหลักการออเดอร์และพฤติกรรมของเทรดเดอร์ กล่าวโดยสรุปได้ว่าการที่จะหาว่า trade setup มีความเป็นไปได้สูงมากพอหรือเปล่า 1. พยามเทรดตอนที่ราคาเพิ่งวิ่งเป็นครั้งแรกของการเปิดออเดอร์เพื่อเข้าตลาดจริง ไม่ใช่ส่วนขยายต่อ 2. เห็นราคาปิดเอาชนะ levels ตรงข้าม พร้อมดูว่ามี trapped traders ไหม 3. เทียบ risk:reward ให้ได้ 1:3 ขึ้นไป 4. ดูโครงสร้างราคากลับมาประกอบ ถ้ายิ่งราคาวิ่งเข้าหาแรงๆ ก็ยิ่งจะเด้งเร็วเพราะบอกประเภทคนเทรดตามตลาด ซึ่งก็คือรายย่อย ที่บอกว่าเป็นรายย่อยเพราะ 1. เปิดออเดอร์หลังจากราคาวิ่งแรง 2. เปิดออเดอร์ใส่พื้นที่ๆ เป็น demand/supply zone, s/r zone ซึ่งเป็นจุดที่ขาใหญ่ต้องการออเดอร์เพื่อเข้าตลาด  นอกจากนั้นพยายามเทรดจุดอ้างอิงที่ตำแหน่งสัมพันธ์กับ timeframes ขึ้น

Demand ที่ เลข  3 แม้เกิดหลังจากราคาเด้งจากจุดเข้าเทรดที่เลข 2 แต่การวิ่งของราคาน่าสนใจเพราะบาร์ยาวๆ 2 บาร์ โดยบาร์แรกจะแทงหางยาวๆ ไปเพื่อลด liquidity และเป็นการเทรดไปด้วยในตัว บาร์ 2 ปิดบนด้านช้ายมือได้บอกนัยสำคัญ น่าจะเป็นจุดอ้างอิงในการเข้าเทรดอีกรอบถ้าราคาเปิดเผย พอราคาลงมา ถึงจุด sidewady สักระยะ จนกว่า 2 บาร์ ในกรอบเลข 4 เปิดเผยว่าเข้าเทรดอีก เป็นจังหวะที่สามารถเปิดเทรดด้วยความเป็นไปได้สูง อย่างที่ยกตัวอย่างมาจะเห็นได้ชัดคือโอกาสความเป็นไปได้สูงจะเกิดเมื่อเห็น momentum หรือการเทรดเข้าตลาดจริงที่ไม่ไกลนัก ดูให้ออกว่าการเทรดนั้นเป็นการเปิดเพื่อเข้าตลาดไม่ใช่เพื่อออกจากตลาด ขาใหญ่จะสร้างโครงสร้างที่มี trapped traders ให้เอง เพราะเขาต้องการออเดอร์ที่จะมาเร่งราคาเมื่อตลาดขยับจริงๆ

ทีมงาน : thaiforexbroker.com