เทคนิคการใช้งาน Subway indicator คือ

เทคนิคการใช้งาน Subway indicator คือ

คู่แข่งของ Bollinger bands กับ อุโมงค์รถไฟใต้ดินมหาลาภ !!… Subway indicator โดยวันนี้ผมทีมงาน Thaiforexbroker จะขอนำเสนออินดิเคเตอร์อีกตัวหนึ่งที่มีคุณภาพสูงและอยู่นอกเหนืออินดิเคเตอร์มาตราฐานของ MT4 และ MT5 แน่นอนว่ามันสามารถใช้งานตอบโจทย์ได้อย่างดีมากเลยครับอีกทั้งยังมีหน้าต้าที่คล้ายคลึงกับกับอินดิเคเตอร์ยอดนิยมอย่าง Bollinger bands อีกตังหากครับโดยที่จะมีความเป็นมาและวิธีการใช้งานอย่างไรไปรับชมกันได้เลยครับ


ความเป็นมาของ Subway indicator

Subway indicator หรือ SI เป็นอินดิเคเตอร์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในอินดิเคเตอร์ประเภท Trend แต่ความสามารถมารถของมันค่อนข้างย้อนแย้งคือมันใช้ในการบอกเทรนด์ได้ค่อนข้างแย่หรือไม่ได้เลยก็ว่าได้ครับ เหตุเพราะว่าผู้คนมักจะนำไปใช้ในการหาจุดหลับตัว เฉกเช่นเดียวกันกับอินดิเคเตอร์ชื่อดังอย่าง Bollinger band นั้นเองครับ ทั้งนี้วิธีการใช้งานของมันนับว่าคล้ายกับการหาจุดกลับตัวเหมือนกันกับ Overbought และ Oversold อีกด้วย

รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลอินดิเคเตอร์ Subway indicator
รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลอินดิเคเตอร์ Subway indicator

ลักษณะของอินดิเคเตอร์ Subway นั้นมีลักษณะที่คล้ายกับ “อุโมงรถไฟใต้ดินครับ” โดยสามารถเป็นภาษาไทยแบบตรงตัวได้ว่า “รถไฟใต้ดิน” ซึ่งสามารถสังเกตดังรูปภาพด้านบนโดยให้กราฟหรือเส้น MA ตรงกลางเปรียบเสมือนรถไฟ แล้วเส้นสีแดงรอบนอกนั้นเปรียบเสมือนกับอุโมงรถไฟนั่นเองครับจึงเป็นที่มาของคำว่า Subway นั่นเองทั้งนี้เรายังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะระบุได้ว่าผู้ใดเป็นผู้พัฒนาอินดิเคเตอร์ตัวนี้ขึ้นมาแต่เราก็พอจะทราบถึงสมการที่นำมาใช้ในการหาสูตรของอินดิเคเตอร์ตัวนี้อยู่บ้างครับโดยสามารถรับชมได้ในหัวข้อถัดไปจากนี้ได้เลยครับ

วิธีคำนวณ สูตร Subway indicator

Subway indicator เป็นอินดิเคเตอร์ที่มีฐานมาจาก อินดิเคเตอร์ชื่อดังอย่าง Moving Average (MA) ซึ่งเป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้หาค่าเฉลี่ยย้อนหลังของแท่งเทียนครับ และในตัวของ อินดิเคเตอร์ Subway นั้นก็จะประกอบไปด้วยสมการ 3 ส่วนหลักๆครับคือ จะมีเส้น EMA หรือ Exponential moving average อยู่ 2 ส่วนครับคือ EMA(24) และ EMA(28) ละอีกส่วนจะเป็นค่าที่ปรับจากเส้น EMA ออกไปตามระยะต่างในทิศทางบวกและทิศทางลบโดยจะอาศัยอ้างอิงจากจำนวน Pipนั่นเองครับและจะมีอยู่ด้วยกันถึง 6 เส้นเลยทีเดียวซึ่งจะมีสมการดังต่อไปนี้

สูตรสมการ

  • EMA = EMAn = aP(n) + EMA(n-1)(1-a)
    • เมื่อ P(n) = ราคาปิด ณ ช่วงเวลาที่ต้องการ
    • EMA(n-1) = EMA ช่วงเวลาการหน้าหนึ่งวัน
    • a = Smoothing Factor คำนวนจาก 2/T+1 โดยที่ T คือช่วงเวลาที่ใช้ในการคำนวน
  • Level Model (+,-) = EMA (+,-) เป็นจำนวน PIP ไปในในทั้งทางบวกและลบโดยอ้างอิงจ้างเส้น EMA เป็นจุดศูนย์กลางโดยสามารถปรับได้ 4 Model ดังต่อไปนี้
    • Model หมายเลข 1: +89, +144, +233, -89, -144, -233
    • Model หมายเลข 2: +144, +233, +377, -144, -233, -377
    • Model หมายเลข 3: +233, +377, +610, -233, -377, -610
    • Model หมายเลข 4: +377, +610, +987, -377, -610, -987

วิธีการ Download Subway indicator

ทำการเข้าสู่ระบบของ www.mql5.com/ หลังจากนั้นให้คลิกที่ลิงค์ https://www.mql5.com/en/code/14614 เพื่อทำการดาวน์โหลด Indicator ซึ่งให้คลิกคำว่า Subway.mq4  หลังจากนั้นก็ให้โหลดและนำไปไว้ที่เก็บไฟล์ของ Indicator ใน MT4 ที่เราต้องการที่จะใช้งาน

รูปที่ 2 วิธีการ Download Subway indicator
รูปที่ 2 วิธีการ Download Subway indicator

วิธีตั้งค่า Subway indicator

วิธีการตั้งค่าในช่องของ INPUT ผมจะใช้ค่าดังเดิมของผู้พัฒนานะครับเนื่องจากเป็นค่าที่ผมว่าค่อนข้างแม่นยำและใช้งานได้ดี ต่อมาผมก็จะมาเปลี่ยนแปลงในส่วนของ Colors ให้มีเส้นที่หนามากขึ้นเพื่อให้เห็นได้ง่ายต่อการเรียนการสอนนะครับ

รูปที่ 3 วิธีตั้งค่า Subway
รูปที่ 3 วิธีตั้งค่า Subway

ระบบเทรด Subway indicator ที่แนะนำ

เนื่องจากที่เคยกล่าวไว้ในหัวข้อความเป็นมาของ Subway indicator แล้วนั้นว่าความสามารถของอินดิเตอร์ตัวนี้มีลีกษณะการใช้งานที่ค่อนข้างเหมือนกับ Bollinger bands อีกทั้งลักษณะการใช้งานนั้นก็คล้ายกันอีกแตกต่างเพียงสมการของ Bollinger bands จะมีในส่วนของการนำเอาค่าความแปรปรวนมามาบวกและลบกับเส้น Moving Average ครับ…แต่ Subway จะทำการบวกลบระยะ Pip เข้าไปแบบโดยตรงๆเลยไม่มีสมการใดๆอื่นมาเพิ่มเติม ทั้งนี้จะดีกว่าหรือแย่กว่าผมคิดว่าอยู่ที่การใช้งานของแต่ละคนครับ

รูปที่ 4 ใช้ Subway ในการหาจุดกลับตัว
รูปที่ 4 ใช้ Subway ในการหาจุดกลับตัว

ดังรูปที่ 4 นี้จะเห็นได้ว่าผมทำการใช้กราฟของ EURUSD ที่ TF4 เนื่องจากที่ผมได้ทำการทดลองใช้งานแล้วพบว่าอินดิเคเตอร์ตัวนี้ใช้ได้ดีในเฉพาะ TF 4 ชั่วโมงเท่านั้นครับหากนำไปใช้ใน TF อื่นๆจะใช้งานได้ค่อนข้างลำบากหรือไม่สามารถใช้ได้เลยนั่นเอง…ทั้งนี้ให้ทำการสังเกตรูปด้านบนผมจะทำการมองหากราฟที่เกิดสภาวะ Sideway หลังจากนั้นครับเมื่อใดก็ตามหากกราฟมีการวิ่งชนเส้น Level Model ไม่ว่าจะทิศทางทางบนหรือล่างก็มักจะมีการกลับตัวอยู่เสมอครับซึ่งสามารถที่จะเข้าออเดอร์ในช่วงนี้ได้และทำการปิดออเดอร์ในช่วงที่ไปชนเส้น EMA ได้ครับ

ทั้งนี้ให้สังเกตในจุด  A B ด้านบนจะพบว่าเมื่อใดก็ตามหากกราฟไปชน Level Model ในชั้นแรกแล้วกราฟไม่เกิดการกลับตัวเรายังสามารถไปออกออเดอร์อีกรอบที่จุด B ได้อีกด้วยครับโดยเทคนิคแล้วสามารถที่จะออกออเดอร์ได้ถึงเส้นสุดท้ายครับหรือจะทำการพลิกแพลงเพื่อใช้เป็นจุดที่กำหนด STOP LOSS ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันครับ

รูปที่ 5 ใช้ Subway ในการเล่นกับราคาตัดกับเส้น EMA
รูปที่ 5 ใช้ Subway ในการเล่นกับราคาตัดกับเส้น EMA

อีกหนึ่งความสามารถของอินดิเคเตอ์ตัวนี้จะสังเกตว่ากราฟตรงกลางของ Indicator จะเป็นเส้น EMA 2 เส้นโดยเราสามารถทำการเล่น cross section ได้ครับ คือเมื่อใดก็ตามหากมีกราฟราคาตัดขึ้นกับเส้น EMA เราสามารถที่จะเปิดออเดอร์Buy แล้วปิดที่เส้น Level Model(+)  ได้และในทางกลับกันเมื่อกราฟมีราคาตัดลงเส้น EMA เราสามารถที่จะเปิดออเดอร์ Sell แล้วปิดที่เส้น Level Model(-)  ได้นั้นเองครับ

ข้อควรระวังในการใช้ Subway indicator

รูปที่ 6 ข้อควรระวังในการใช้ Subway
รูปที่ 6 ข้อควรระวังในการใช้ Subway

การใช้งานในการเล่นจุดกลับตัวของ Subway นั้นค่อนข้างที่จะมีปัญหาในการในช่วงสภาวพที่เกิด Trend ครับเนื่องจากจะสังเกตภาพด้านบนว่ากราฟราคามีการชน Level Model(-) แต่กลับไม่เกิดการเด้งกลับค่อนข้างหลายครั้งครับ ทั้งนี้หากมองในอีกแง่นึ่งเราก็สามารถประยุกต์ไปใช้ในการคอนเฟิมความแข็งแรงของเทรนด์ได้อีกด้วยนะครับ

สรุป

อินดิเคเตอร์ Subway นั้นหากนำไปประยุกต์ใช้งานแล้วค่อนข้างที่จะประสิทธิภาพเทียบเท่า Bollinger band เลยที่เดียวครับซึ่งสามารถจะบอกจุดกลับตัวได้ค่อนข้างดี ทั้งนี้ค่อนข้างน่าเสียดายว่ามันทรงประสิทธิภาพได้ดีเพียงแค่ทามเฟรม(TF) H4 เท่านั้นครับอีกทั้งเมื่อกราฟเกิดสภาะวะเป็นเทรนด์การบอกจุดกลับตัวจะค่อนข้างใช้งานได้ยากขึ้นมากเลยทีเดียวครับ

อ้างอิง

https://forexthai.in.th/subway