Price Action สู่ Swing Trade
คำว่า Price Action นั้น ..ความหมาย ค่อนข้างกว้างมากครับ .. คลอบคลุมเกือบหมดของการเทรด เลย ไม่ว่าจะเป็น การเทรด Forex และเทรดแบบอื่น ๆ สำหรับนักเทรดในสายเทรดแบบ Swing แล้ว คำว่า Price Action นั้น เป็นการมองกราฟแบบมีจินตนาการ มีศิลปะ โดยไม่ใช้เครื่องมือ หรือ อินดี้ช่วยในการเทรด และเรามาดูว่า จะใช้ Price Action มาปรับใช้ในการเทรดแบบ Swing Trade ได้ยังงัย .. ตามมาครับ แน่ แน่ เน้นเทรดกราฟเปล่า ..
- ต้องหาแนวรับกับแนวต้าน ก่อน แนว ๆ ว่า Identify ให้ออก ซึ่งเป็นสิ่งแรก ๆ ที่นักเทรดต้องเรียนรู้ แต่ว่าไปแล้ว จะมีนักเทรดกี่คน ที่สนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะส่วนใหญ่ .. รวมตัวผมด้วย แหละ .. มัวแต่ใช้พวก Sto , MACD และ เรื่อง อื่น ๆ ที่นอกเหนือไปมาดูตัวอย่างกันเลยครับ ตามมา
ภาพตัวอย่างจาก เว็บฝรั่ง .. แถบสีเหลืองนั่นคือ แนวรับและแนวต้านของกราฟ ดูแล้ว ก็อาจมีการ บวก และ ลบ ได้บ้าง ไม่ตายตัว ครับ ..
- ให้วิเคราะห์จุด Swing หรือเรียกอีกได้ว่า Pivot point แปลแบบผมได้ว่า ช่วงที่กราฟมีการกลับตัว กลับทิศในระยะสั้น ๆ แต่ใช่ว่าจะกลับตัวทุกครั้งไม่ ดังนั้นจึงต้องหาช่วงเปรียบเทียบ ที่จะช่วยในการเข้าเทรด มาดูตัวอย่างกันเลยครับ
- ในภาพ เรามาดูที่แถบสีเหลือง และแถบสีเขียว นะ แถบเหลืองนั่นคือ จุดการเกิด Swing ขึ้นก่อน และ แถบเขียว นั้นเกิดครั้งที่สอง เราสามารถเปิด ออร์เดอร์ Buy ได้ นะ แต่ จะได้จำนวน pips ไม่เยอะ
- ให้ค้นหาแท่งที่ยาว ๆ ซึ่งแท่งเทียนที่ยาว หรือ ใส่ของแท่งนั้น ยาวด้วย ส่วนมากจะเป็นสัญญาณบอกว่า กราฟ จะเปลี่ยนเทรนแล้ว นะ
- ในภาพ ตรงแถบสีเหลืองนั่นแหละ จุดที่เปลี่ยนเทรนของกราฟ แท่ง ยาว ๆ ไส้ยาว ๆ กลับตัวแน่ ไม่มีพลาด
- Sideway เตรียมระเบิดเป็นเทรน ถ้าเราเจอภาวะ กราฟวิ่งช่วงแคบ ๆ ก็ให้สังเกตให้ดี มีการเกิดเทรนแน่ ๆ แต่จะไปทางไหน .. เท่านั้น
ในภาพ แถบสีเหลือง นั่น คือ Sideway แล้วก็ ก่อตัวเกิด เป็นเทรน ขาขึ้น ต่อ .. เทรน ขึ้น
- หาจุด Pinbar ผมขอเรียกว่า Pinbar นะครับ เว็บฝรั่ง เขียนว่า Find rejected price levels ผมไม่รู้จะแปลเป็นไทยให้ดูดียังงัย เพราะถ้าแปลก็คง ได้ว่า หาระดับราคาที่ถูกดีดออก .. คนไทยคงจะเข้าใจยาก เลยขอเรียกว่า Pinbar ดีกว่า เข้าใจและนึกออกง่ายกว่าขอเรียกตาม ลักษณะกราฟ มาดูภาพเลย ..
- ในภาพ ตรงวงกลมสีแดง ที่มีแท่งเทียนเกิดไส้ยาว ๆ ที่เราเรียกว่า Pinbar นั่นแหละครับ จุดเปลี่ยนเทรนอีก นี่ก็เปิด Buy ได้เลย รอไร
- รู้จักกฎ 50 % ผมขอแปลแบบรวบรัดนะครับ ว่า แท่งหลัง ปิดที่ราคา เกิน กว่า 50 % ของแท่งแรก ใช้ Google แปลแล้ว .. ยัง งง. แปลแบบ สลับหลัง กลับหน้า อ่ะ
- ภาพแสดงแท่งเทียนตามกฎ 50 % ซึ่งแนวทางของ Price Action ก็นำมาใช้ในการเปิด ออร์เดอร์ Buy ได้ เน้น เห็น เห็น
- Gap และ กับดัก รูปแบบนี้เรามักจะรับมือยาก ส่วนมากมักจะเกิดในตอนตลาดจะเปิด ยังดีที่ตลาด Forex เปิด อาทิตย์ละครั้ง ต่างจากตลาดหุ้น เปิดทุกวัน Gap กระจาย
- การวัดความลึกของจุด Swing หัวข้อนี้ น่าจะต้องใช้ชั่วโมงบินของนักเทรดพอสมควร สำหรับที่จะวัดว่า การแกว่งตัวของกราฟ ลึก ยาวแค่ไหน แกว่งกี่ pips เกินครึ่งของรอบที่แล้ว มาดูภาพกันเลย ตามมาครับ ..
- ภาพแสดงการแกว่งตัว ของกราฟ ซึ่งการที่จะวิเคราะห์ได้ต้อง มีชั่วโมงบินพอสมมาควร มาดูอีกข้อกัน ของ Swing Trade
- กราฟขึ้นติดต่อกัน กับ ลงติดต่อกัน แปลออกมาประมาณนี้ครับ เมื่อกราฟขึ้นติดต่อกัน ระยะหนึ่งก็จะเกิดการเปลี่ยนเทรน หรือ กราฟลงติดต่อกัน ลง ลงและลง ก็จะเกิดการเปลี่ยนเทรน เช่น คู่ GBP/USD ลงก็ดิ่งนรก พุ่งก็ทะลุชั้นบรรยากาศ
- รูปแบบของเทรน => เป็น ยุทธวิธีสุดท้าย แล้ว ยึดเทรน และ เป็นเพื่อนกับเทรน ดังนั้นต้องหาจุดเข้าตอนต้นเทรนให้เจอ .. พูดเหมือน หาง่าย จริ๊ง ..
- ในภาพเกิด การ Break out ทะลุแนวต้าน ไป แล้ว .. นี่แหละคือ รูปแบบของ Price Action นำไป ประยุกต์กับการเทรดแบบ Swing Trade นี่ก็เป็นการเริ่มต้นของการเทรด กราฟเปล่า . พอดี เรื่องนี้ แปลไม่ยากครับ มีรูปประกอบเยอะ .. พบกันใหม่ตอนหน้า
ทีมงาน : thaiforexbroker.com