เทคนิคขั้นพื้นฐานอินดิเคเตอร์ MACD หรืออีกชื่อที่คนเรียกกันหนาหู แม็ค-ดี!! ซึ่งย่อมาจากภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า Moving Average Convergence Divergence โดยในบทความนี้แน่นอนว่าเราก็จะมาพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการใช้งานขั้นพื้นฐานของ แมคดีว่า MACD คือ อะไรแล้วทำงานอย่างไร
รวมไปถึงประวัติความเป็นมาและวิธีการตั้งค่า…ทั้งนี้แน่นอนว่าไม่มีอินดิเคเตอร์ตัวใดที่ไม่มีข้อเสีย เพราะฉะนั้นในบทความนี้จะผมก็จะพูดถึงข้อควรระวังการใช้งานแถมการใช้ MACD ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นซึ่งจะเป็นตัวไหนไปติดตามรับชมกันได้เลยครับ
“คิดบวก ไม่ได้เป็นการหลอกตัวเองว่าไม่มีปัญหา แต่สอนให้เรามีสุขได้ ภายใต้ปัญหาที่มีอยู่”
ความเป็นมาของ MACD
Moving Average Convergence Divergence หรือ MACD คือ อินดิเคเตอร์ที่มีแนวคิดพัฒนาต่อยอดมาจาก อินดิเคเตอร์ MA (Moving Average) จะสังเกตว่า คำขึ้นต้นจะเหมือนกันโดยห้อยท้ายเพิ่มเติมขึ้นมาคือ Convergence และ Divergence ซึ่งแปลตามภาษาทางเทคนิคคือ การมีราคาไปในทิศทางเดียวกันและทิศทางราคาไปในทิศทางตรงข้ามกัน ซึ่งผมจะขออธิบายในเชิงลึกในหัวข้อถัดต่อจากนี้นะครับ
โดย MACD นั้นอย่างที่กล่าวไปว่าถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก MA โดยผู้พัฒนานั้นก็คือ Gerald Appeal ซึ่งพัฒนามาในช่วงราวๆปี 1970s โดยแนวคิดคร่าวๆของ MACD นั้นเกิดจากการนำค่า MA มาใช้ในการคำนวนแบบ Exponential ซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันในนามของ Exponential Moving Average หรือ EMA นั่นเองครับโดยการนำ EMA จำนวน 2 ค่ามาวิเคราะห์โดยใช้ EMA(12) และ EMA(26) มาหาค่าความต่างหรือระยะห่างของเส้นราคา จึงออกมาเป็นคำสร้อยเพิ่มเติมคือ Convergence และ Divergence นั่นเองครับ
นอกจากนี้แล้วค่า MACD ที่ผลออกมานั้นก็จะแสดงออกมาในรูปแบบของ Signal Line และ Histogram ดังตัวอย่างที่เห็นในรูปที่3 ในหัวข้อถัดไปนะครับ โดยที่ MACD นี้ จะจัดอยู่ใน indicator ประเภท Oscillators โดยส่วนใหญ่ผู้เทรดมักจะใช้ในการวิเคราะห์หาเทรนด์และใช้ในการดูโมเมนต์ตัมด้วยนั่นเองครับและยังมีอีกหลายๆเทคนิคแน่นอนว่าผมก็จะกล่าวเทคนิตพิเศษในหัวข้อต่อไปต่อจากนี้ครับ
วิธีคำนวณ สูตร MACD
ก่อนจะเข้าถึงสูตรผมก็จะขออธิบายส่วนประกอบหลักและภาพรวมของ อินดิเคเตอร์ ตัวนี้ก่อนนะครับจากภาพด้านล่างนี้ ตัวอินดิเคเตอร์ MACD ใน MT4 จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆนะครับ คือ เส้น MACD , Signal Line และ Histogram
จากภาพส่วนประกอบด้านบนนี้ผมก็จะขอธิบายสูตรการคำนวนของ อินดิเคเตอร์ดังนี้ครับ
- เส้น MACD สูตรคำนวณ (ใช้หา MACD Histogram จะไม่ปรากฎในรูป )
MACD = EMA (12) – EMA (26) - เส้น Signal Line สูตรคำนวณ
Signal Line = EMA (9) ของ MACD - MACD Histogram = MACD – Signal Line
โดยที่เท่าเกับระยะห่างระหว่าง MACD และ Signal Line
ระบบเทรด MACD ที่แนะนำ
ระบบของ MACD นั้นวิธีการใช้ที่แนะนำมีเป็นจำนวนมากเลยครับทั้งนี้ก็เพราะว่าอินดิเคเตอร์ตัวนี้ถูกพัฒนาและใช้งานอย่างแพร่หลายมาเป็นระยะเวลานานแล้วจึงทำให้นักเทรดทั้งหลายได้คิดกลยุทธิ์และเทคนิกออกมามากมาย บวกกับการที่อินดิเคเตอร์ตัวนี้นอกจากจะนิยมในตลาดฟอแรกแล้วในตลาดอื่นๆที่ค่อนข้างเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการเทรดอย่างตลาดหุ้นก็ยังนิยมใช้กันครับจึงไม่แปลกใจว่าทำไมกลยุทธิ์ที่ใช้ร่วมกันกับ MACD นั้นจึงผุดออกมามากมาย
แต่กระนั้นแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “พื้นฐาน” พื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญมากกครับเราจะไปสูงมากแค่ไหนพื้นฐานเราต้องแข็งแรงมากเท่านั้น…ก่อนที่จะเริ่มกลยุทธิ์ที่น่าสนใจผมก็จะขออธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้งาน MACD ขั้นพื้นฐาน ก่อนนะครับโดยผมจะสอนหลักการคร่าวๆที่คนนิยมส่วนใหญ่ใช้กันคือการใช้ MACD ในการหาจุดเข้า/ออกของออเดอร์ หรือ แนวโน้มของราคา
ซึ่งผมก็จะเรียกใช้ MACD โดยการใช้ค่าพารามิเตอร์ดั้งเดิมของผู้พัฒนานะคือ FastEMA (12) , SlowEma (26) และ MACD SMA (9) ครับโดยสังเกตรูปภาพด้านบนนะครับวิธีการง่ายๆก็คือ
- เมื่อภูเขาตัดขึ้นเหนือระดับ 0 จะเป็นการบอกว่ากราฟมีแนวโน้มขาขึ้น
- เมื่อภูเขาตัดลงใต้ระดับ 0 เมื่อใดจะเป็นการบอกแนวโน้มขาลงนั่นเอง
แน่นอนครับว่าวิธีการใช้งานถือว่าค่อนข้างง่ายเลยทีเดียวครับ…แต่ถึงกระนั้นการใช้งานในสภาวะตลาดจริงอาจจะไม่ได้ง่ายดายเช่นนั้น…จนในบางที่ก็เกิดสัญญาณหลอกเกิดขึ้นทำให้เราไม่สามารถทำกำไรได้จริงในตลาดครับ..ซึ่งเราทางก็มีกลยุทธิ์ที่ดีมาแบ่งปันจะเป็นอย่างไรบ้างไปรับชมกันครับ
วิธีตั้งค่า MACD พื้นฐาน + EMA
วิธีตั้งค่า MACD พื้นฐานทั่วไป
การตั้งค่าอินดิเคเตอร์ MACD นั้นค่อนข้างง่ายครับก่อนอื่นผมก็จะทำการเรียกใช้ อินดิเคเตอร์โดยให้สังเกตุมุมซ้ายบนให้ทำการเลือก Insert > Indicators > Oscillators > MACD ตามลำดับดังตัวอย่างรูปภาพด้านล่างได้เลยครับ
หลังจากนั้นให้ทำการตั้งค่าในส่วนของ พารามิเตอร์ของ MACD ดังตัวอย่างรูปภาพด้านล่างนะครับโดยผมจะไม่ได้ใช้ค่าดั้งเดิมของผู้พัฒนานะครับโดยผมจะใช้ Fast EMA (50) , Slow Ema (200) และ MACD SMA (9) ทั้งนี้ผู้เทรดสามารถปรับค่าราคามิเตอร์ดังกล่าวให้เข้ากับเทคนิคการเทรดของแต่ละท่านได้ครับยิ่งไปกว่านั้นคือ การเลือกทามเฟรม(TF )ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกันนะครับที่หลายๆท่านมักจะมองข้าม ถ้าหากว่ากันตามเนื้อผ้าแล้ว อินดิเดเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งอาจจะไม่ได้เหมาะสมกับทุกทามเฟรมทั้งนี้ต้องดูบริบทและเทคนิคเฉพาะตัวด้วยนั่นเองครับ
วิธีตั้งค่า EMA เพื่อใช้ร่วมกับ MACD
หลังจากที่เราตั้งค่า MACD เรียบร้อยแล้วผมก็จะไปเรียกใช้งาน EMA โดยให้สังเกตุมุมซ้ายบนให้ทำการเลือก Insert > Indicators >Trend > Moving Average ตามลำดับดังตัวอย่างรูปภาพด้านล่างได้เลยครับ
เมื่อทำการเรียกใช้ indicator EMA แล้วนั้นผมจะทำการใช้ EMA เป็นจำนวน 2 เส้นนะครับคือ EMA(50) และ EMA (200) ตามลำดับซึ่งเท่ากับว่าผมจะทำการเรียกใช้ Indicator นี้สองรอบนะครับ โดยที่ให้สังเกต MA method ผมจะเลือกใช้เป็นแบบ Exponential นั่นเองครับ แล้วต่อไปก็ไปดูวิธีการใช้งานกันได้เลยครับ
วิธีใช้ MACD ใช้ร่วมกับ EMA ในทามเฟรม H4
เงื่อนไขการ Buys
- รอ EMA(50) ตัด EMA (200) ขึ้นไปด้านบน
- รอกราฟแท่งเทียนทำราคาปิดอยู่ใต้ EMA(50) แต่ไม่เกิน EMA (200)
- รอกราฟแท่งเทียนต่อไปทำราคาปิดอยู่เหนือ EMA(50)
- MACD Histogram ต้องอยู่เส้นระดับ 0 ขึ้นมาด้านบน ณ ตอนนั้น
- ทำการ Buy บริเวณนั้นโดยตั้ง SL ไว้ที่ Swing Low (ล่าสุด) และ TP ไว้ที่ RR 1:1 หรือ 1:2
เงื่อนไขการ Sells
- รอ EMA(50) ตัด EMA (200) ลงไปด้านล่าง
- รอกราฟแท่งเทียนทำราคาปิดอยู่เหนือ EMA(50) แต่ไม่เกิน EMA (200)
- รอกราฟแท่งเทียนต่อไปทำราคาปิดอยู่ใต้ EMA(50)
- MACD Histogram ต้องอยู่ใต้ระดับ 0 ลงไปด้านล่าง
- ทำการ Sell บริเวณนั้นโดยตั้ง SL ไว้ที่ Swing High (ล่าสุด) และ TP ไว้ที่ RR 1:1 หรือ 1:2
ข้อควรระวังในการใช้ MACD
ข้อควรระวังของ MACD ก็จะคล้ายคลึงกับ อินดิเคเตอร์อื่นทั่วๆไปครับคือ การที่เมื่อใดก็ตามมีสัญญาณการตัดขึ้นหรือตัดลงของ Histogram ในระดับ = 0 หลายท่านก็มักจะออกออเดอร์ทันทีแต่อยากให้สังเกตกรณีในรูปด้านล่างนี้ครับ
จะเห็นได้ว่าเมื่อ MACD Histogram ตัดลงระดับ 0 ไม่ทันไรแต่กลับตัดกลับขึ้นมาเหนือระดับ 0 ในระยะเวลาที่ไม่นานแถมดันราคาพุ่งขึ้นไปอีกดังนั้นแล้วควรใช้อินดิเตอร์อย่างระมัดระวังด้วยนะครับ
สรุป
ในบทสรุปสุดท้ายแล้ว MACD ถือเป็นอินดิเคเตอร์ยอดเยี่ยมอีกหนึ่งตัวที่น่าสนใจเลยทีเดียวครับยิ่งมาประกอบร่างกับ อินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆแล้วทำให้การเข้าออกออเดอร์มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นไปอีกครับทั้งนี้อาจจะต้องระวังและควรเข้าใจอินดิเตอร์ให้มากกกว่านี้ก่อนที่จะลงสนามจริงจะดีมากเลยครับ