ปฏิเสธไม่ได้เลยครับว่าการเทรด Forex (หรือเทรดอะไรก็ตาม) จำเป็นอย่างยิ่งที่เทรดเดอร์ต้องดูเทรนด์ให้ออก+ตี Trendlines และใช้ประโยชน์จากเส้นนี้ให้ได้ครับ ในบทความนี้เองเราจะสอนการตีเส้น Trendlines การหาจุดเข้าออกและกลับตัวแบบครบสูตร ง่ายๆ ครับ
Highlight บทคัดย่อ
- เส้น Trendlines ถูกลากเพื่อเชื่อมจุดราคาสูงสุดหรือต่ำสุด เพื่อระบุทิศทางหลักของแนวโน้ม (ขึ้น, ลง, ออกข้าง) และยังทำหน้าที่เป็นแนวรับแนวต้านแบบไดนามิค
- การตีเส้น trendline ที่ถูกต้อง
- สำหรับขาขึ้น ให้ลากเชื่อมจุดต่ำสุดที่ยกสูงขึ้นอย่างน้อย 2 จุด
- สำหรับขาลง ลากเชื่อมจุดสูงสุดที่ลดต่ำลงอย่างน้อย 2 จุด
- สำหรับ Sideways ตีกรอบราคาสูงสุดและต่ำสุดที่เคลื่อนที่ขนานกัน
- การใช้ Trendlines หาจุดเข้า-ออกออเดอร์
- ในเทรนด์ขาขึ้น รอราคาย่อลงมาสัมผัส Trendline เพื่อเข้า Buy (พร้อมสัญญาณแท่งเทียนกลับตัว)
- ในเทรนด์ขาลง รอราคารีบาวด์ขึ้นมาสัมผัส Trendline เพื่อเข้า Sell (พร้อมสัญญาณแท่งเทียนกลับตัว)
- จุดออกคือเมื่อราคาทะลุ Trendline แต่ควรรอยืนยันการ Breakout ที่แท้จริง
- การเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มสามารถใช้ Trendline วิเคราะห์ได้ด้วยการ Breakout จากเส้น Trendline + ดูว่าราคาทำระดับสูงขึ้น/ต่ำลง/ออกข้าง เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแนวโน้ม
Trendlines คืออะไร?
- Trendlines คือเส้นที่ที่ลากเชื่อมตำแหน่งของกราฟแท่งเทียนเพื่อระบุ แนวโน้มหลัก ของราคาว่ากำลังเคลื่อนที่อยู่ในแนวโน้มใด
- แนวโน้มขาขึ้น (Up Trend)
- แนวโน้มขาลง (Down Trend)
- แนวโน้มออกข้าง (Sideway)
- Trendlines ก็แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามแนวโน้มของตลาด Forex เหมือนกันครับ เดี๋ยวจะสอนการตีเส้นพื้นฐานในหัวข้อต่อไปครับ
- เป้าหมายของเส้น Trendlines ก็เพื่อ…
-
- ระบุและยืนยันทิศทางของแนวโน้ม
- เป็นแนวรับและแนวต้านแบบไดนามิก (นอกเหนือจาก แนวรับ/แนวต้าน แบบระดับราคาและแบบเส้น MA)
- เป็นตัวบอกสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม

วิธีการลากเส้น Trendline ที่ถูกต้อง
จริงอยู่ที่เทรดเดอร์สามารถมองกราฟเปล่าก็รู้แล้วว่าตอนนี้ราคากำลังอยู่ในเทรนด์ใด แต่หากจะตีเส้น Trendlines ขึ้นมา มันมีหลักการง่ายๆ แบบพื้นฐานในการตีเส้นอยู่ครับ
1. เทรนด์ขาขึ้น (Uptrend)
- ก่อนอื่นเทรดเดอร์ต้องมองหาจุดต่ำสุดที่ยกสูงขึ้น (Higher Low) ก่อนครับ เพราะจุดนี้คือตัวบ่งชี้สำคัญว่ามันคือแนวโน้มขาขึ้น
- เมื่อเราสามารถระบุ Higher Lows ได้อย่างน้อย 2 จุด ให้ลากเส้นตรงเชื่อมต่อจุดต่ำสุดแรกกับจุดต่ำสุดที่ 2 เส้นนี้แหละที่เราเรียกเส้น Trendline ขาขึ้นและจะใช้เป็นเส้น Trend หลัก
- ตราบใดที่ราคายังคงเคลื่อนไหวเหนือ Trendline ขาขึ้นและมีการสร้าง Higher Lows และ Higher Highs อย่างต่อเนื่อง ก็แสดงว่าเทรนด์ขาขึ้นนั้นยังคงแข็งแกร่งครับ
- ข้อสังเกตุคือหากเส้น Trendline ที่ชันจนเกินไปมันอาจจะเกิดการ Breakout ของราคาได้ง่าย หรือถ้าความชันน้อยเกินไปอาจอาจจะไม่ใช่ขาขึ้นที่แข็งแกร่งจริงๆ เพราะโมเมนตันน้อยก็เป็นได้ครับ

2. เทรนด์ขาลง (Downtrend)
- การตีเส้น Trendline ขาลงก็เหมือนกับขาขึ้นเลยครับ อันดับแรกต้องหาจุดสูงสุดที่ลดต่ำลง (Lower High) ให้ได้อย่างน้อย 2 จุดก่อนครับ
- เมื่อระบุ Lower Highs ได้อย่างน้อย 2 จุดแล้ว ก็ให้ลากเส้นตรงเชื่อมต่อจุดสูงสุดแรกกับจุดสูงสุดที่ 2 โดยใช้เส้นนี้เป็นแนวเส้นหลัก นี่แหละคือเส้น Trendline ขาลงครับ
- การวัดความแข็งแรงของ Trend ก็คล้ายกับขาขึ้นเลย ตราบใดที่ราคายังวิ่งใต้เส้นหรือบางครั้งราคารีบาวด์ขึ้นมาสัมผัส Trendline แล้วปรับตัวลงอีกครั้ง แสดงว่า Trendline นั้นมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยืนยันว่าแข็งแกร่ง

การใช้ Trendlines วิเคราะห์จุดเข้า-ออกและจุดเปลี่ยนเทรนด์
ต่อไปเราจะมาดูการใช้ Trendline ในการวิเคราะห์และระบุจุดเข้า-ออก ออเดอร์กันครับ แต่ขอไม่นับ Sideway นะครับเพราะเทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะรอให้ราคาเบรคออกจากกรอบ Sideways ได้อย่างชัดเจนก่อนเพื่อยืนยันทิศทางของเทรนด์ใหม่
จุดเข้า Buy ในเทรนด์ขาขึ้น

- ก่อนอื่นต้องรอให้ราคาย่อตัวลงมาสัมผัส Trendline ขาขึ้นที่ได้รับการยืนยันแล้วอย่างน้อย 2 จุดครับ เพื่อวาดเส้น Trendline ที่ถูกต้อง
- บริเวณ Trendline จะเป็นจุดเข้า Buy ที่น่าสนใจ โดยมี Trendline เป็นแนวรับไดนามิค และจะดีมากหากบริเวณ Trendline เกิดสัญญาณแท่งเทียนกลับตัวเป็นขาขึ้นด้วย
- สัญญาณที่ว่าก็อย่างเช่น Bullish Engulfing, Pinbar แบบ Hammer ทิ้งไส้ลงล่าง สัญญาณพวกนี้จะยิ่งเสริมความน่าเชื่อถือของเส้น Trendline
- ขอแนะนำการวางคำสั่ง Buy Stop ณ ระดับ High ล่าสุดก่อนราคาจะลงไปแตะเส้น Trendline จะทำให้การเข้าออเดอร์มีความเสี่ยงน้อยกว่าแต่ได้ราคาไม่ดีเท่าเข้า Buy ที่เส้น Trendline
- ส่วนจุดออกออเดอร์ ที่ดีที่สุดสำหรับ Buy ก็คือจังหวะที่ราคาทะลุเส้น Trendline แต่!! ระวังการ False Breakout ควรปิดออเดอร์ระดับเดียวกับที่ราคา Breakout มาจะดีกว่า เพื่อรอยืนยันว่า Breakout นี้คือของจริง
จุดเข้า Sell ในเทรนด์ขาลง

- ก่อนอื่นต้องตรวจสอบเทรนด์ขาลงที่แท้จริงเพื่อวาดเส้น Trendline ขาลงคือราคาต้องรีบาวด์ขึ้นไปสัมผัส Trendline ขาลง อย่างน้อย 2 จุด
- และเราจะใส่เส้น Trendline ขาลงนี้ เป็นแนวต้านไดนามิค เพื่อใช้วางจุดเข้า Sell เมื่อราคารีบาวน์มาแตะเส้น Trendline แต่จะปลอดภัยกว่าหากวาง Sell Stop ไว้ที่ระดับ Low ล่าสุด ก่อนขึ้นไปแตะ Trendline
- กรณีเดียวกับขาขึ้นเลยครับ จะดีมากถ้าบริเวณเส้น Trendline มีสัญญาณแท่งเทียนขาลง เช่น Bearish Engulfing, Pinbar แบบ Shooting Star ทิ้งไส้ขึ้นด้านบน
- จุดออกออเดอร์ก็คล้ายกับขาขึ้น คือจังหวะที่ราคา Breakout เส้น Trendline ขาลงออกมานั่นแหละ แต่จะชัวร์กว่านี้ คือรอจนกว่าราคาจะผ่านแนวเดิมที่ทะลุเพื่อยืนยันว่าราคาได้ Breakout ของจริงหรือเป็นแค่ False Breakout
สัญญาณการเปลี่ยนเทรนด์!

- สิ่งหนึ่งที่เทรดเดอร์ต้องรู้ให้ไวคือการเปลี่ยนแนวโน้มของราคาเพื่อจะได้หาจังหวะเข้าเทรดในช่วงเริ่มเทรนด์ (ดีกว่าไปเข้าช่วงกลางหรือปลายเทรนด์เยอะเลย)
- จากในรูปจะเห็นว่าช่วงเริ่มแรกราคาทำแนวโน้มเป็นขาลงซึ่งมี Trendline ชัดเจน แต่เมื่อเกิดจังหวะ Breakout จาก Trendline ขาลง เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์ได้ 2 ทางคือ
- เกิดการเปลี่ยนแนวโน้ม
- อาจจะเป็น False Breakout
- จะยืนยันว่าเป็นแบบไหนก็ต้องรอให้ราคาเฉลยอีกทีครับ เช่นในรูปภาพ ราคาทำ High สูงขึ้นเรื่อยๆ เกิด Higher Low 2 จุด ก็หมายความว่าเทรนด์ได้เปลี่ยนจากขาลงเป็นขาขึ้นเรียบร้อยครับ
- ออเดอร์ Sell ก็ควรปิดให้หมด ได้เวลาเล่นหน้า Buy แล้วครับ!
วิดีโอเกี่ยวกับ Trendline
มีวิดีโอตัวหนึ่งครับเกี่ยกวับกลยุทธ์การเทรดโดยใช้เพียงเส้น Trendline เท่านั้น ก็สามารถทำกำไรได้แล้ว การเข้า-ออกออเดอร์จะเหมือนกับที่บทความได้บอกไปหรือไม่ลองติดตามดูครับ ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย
- Focus นาทีที่ 00:28 คำจำกัดความของเส้นแนวโน้ม
- Focus นาทีที่ 01:16 วิธีการลากเส้นแนวโน้มอย่างถูกต้อง
- Focus นาทีที่ 01:50 ทำไมต้องใช้เส้นแนวโน้ม
- Focus นาทีที่ 03:30 ตัวอย่างการเทรดเมื่อทะลุเส้นแนวโน้ม
- Focus นาทีที่ 04:13 ตัวอย่างการทะลุหลอก False Breakout
- Focus นาทีที่ 05:20 การเปลี่ยนแนวโน้มแบบต่อเนื่อง
สรุป
เคยได้ยินคำว่า “Trend is a friend til the end” ไหมครับ นั่นเป็นคำที่บ่งบอกว่าเทรนด์มันสำคัญแค่ไหนสำหรับเทรดเดอร์ ซึ่ง เส้น Trendline ก็จะเป็นสิ่งสำคัญไปโดยปริยายเพราะมันใช้ระบุแนวโน้มเพื่อให้เราทำกำไรได้ ซึ่งเนื้อหาในบทความมันพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับการเทรดในตลาด Forex ยังมีขุมทรัพย์ความรู้อีกเยอะมากให้เทรดเดอร์ได้ตามหา
การฝึกฝนและทำความเข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่ของราคาควบคู่กับการใช้ Trendlines จะทำให้การตัดสินใจเทรดของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยิ่งพื้นฐานการเทรดเราแน่นต่ไปเราก็ต่อยอดเทคนิคอื่นๆ ได้สบายมากครับ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com