อินดิเคเตอร์ที่มีความสามารถในการวัดความผันผวน และ โมเมนตัม … Awesome Oscillator หรือ AO คือหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ยังไม่ค่อยนิยมแต่กลับมีสิทธิภาพที่น่าเหลือเชื่อครับโดยหากเปรียบเทียบกันกับอินดิเคเตอร์ประเภทเดียวกันในหมวดของ Oscillator อย่าง Moving average convergence divergence (MACD) ถือว่ามีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมากอีกทั้งยังมีจุดเด่นที่สามารถใช้แทน MACD ได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยครับซึ่งจะมีความเป็นมาและขั้นตอนการใช้งานอย่างไรไปรับชมกันได้เลยครับ
ความสุขคือการเดินทาง ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง
ความเป็นมาของ Awesome Oscillator

ก่อนที่จะเข้าเนื้อหาสำคัญของอินดิเคเตอร์ AO เราจะก็จะมาขอเกริ่นประวัติความเป็นมาของอินดิเคเตอร์ตัวนี้สักนิดหนึ่งครับ Awesome Oscillator เป็นเครื่องมือหนึ่งครับที่จัดอยู่ในประเภทOscillator ตามชื่อของมันครับ โดยอินดิเคเตอร์ชนิดนี้จะมีหัวใจหลักและการพัฒนามาจากจากอินดิเคเตอร์ Moving Average ซึ่งผมจะขอกล่าวอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไปนะครับ…

ทังนี้อินดิเคเตอร์ Awesome Oscillator (AO) ถูกสร้างโดย Bill Williams ผู้พัฒนาอินดิเคเตอร์ชื่อดังอย่าง Alligator indicator อินดิเคเตอร์ จรเข้แห่งหนองน้ำอเมซอน นั่นเองครับและอย่างที่กล่าวไปครับเนื่องจาก Awesome Oscillator นั้นมีมีหลักการแนวคิดมาจาก Moving Average เช่นเดียวกันกับ MACD แลด MAOS จึงทำให้หน้าตาของอินดิเคเตอร์ทั้งสามมีความใกล้เคียงกันมากๆครับเพราะจะแสดงผลในรูปแบบของ Histogram เช่นเดียวกันและใช้งานคล้ายกันอีกด้วยนั่นเองครับ
วิธีคำนวณ สูตร Awesome Oscillator
จากภาพที่เห็นด้านนี้ล่างนี้จะเป็นการเปรียบเทียบกันครับระหว่าง AO และ MACD จะมีส่วนที่คล้ายคลึงกันมากครับเหตุเพราะอินดิเคเตอร์ทั้งสองมีต้นกำเนิดมากจากแหล่งดียวกันคือ Moving Average ซึ่งจะแตกต่างกันอย่างไรผมจะอธิบายไว้ที่หัวข้อถัดไปครับ…

ซึ่งรูปภาพด้านบนผมได้ทำการตั้งพารามิเตอร์ MACD ให้ใกล้เคียง กับ AO มากที่สุดคือคือการใช้ Fast EMA (34) และ Slow EMA (5) นั่นเองครับและจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยมากจริงๆหากไม่นำในส่วนของเส้น Signal MACD มาเปรียบเทียบเพราะ AO นั้นไม่มีครับ…แต่สิ่งที่ AO มีมากกว่าคือ Histogram ที่แยกเป็นสีให้ครับว่า Histogram แท่งไหนอยู่ในขาขึ้น/ขาลงนั้นเองครับซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชอบมากครับแต่ทั้งนี้ก็ยังมีข้อเสียอยู่ครับคือไม่สามารปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ได้เลยจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม AO ถึงยังไม่ค่อยนิยมมากนักครับ
สูตรคำนวณ
เมื่อเราพอเข้าใจหลักการบ้างแล้วผมก็จะพามาดูวิธีการคำนวนของ AO ก่อนนะครับโดยจะมีสมการดังนี้
- Awesome Oscillator = SMA (MEDIAN PRICE, 5)-SMA (MEDIAN PRICE, 34)
- SMA = Simple Moving Average
- Median Price = (HIGH+LOW)/2
จะเห็นได้ชัดครับว่าสมการส่วนใหญ่ของ AO นั้นมีพื้นฐานมาจาก Simple Moving Average และจะใช้ได้เพียงสองค่าเท่านั้นคือ SMA (34) และ SMA (5) โดยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และนี้คือข้อเสียใหญ่ของอินดิเคเตอร์ตัวนี้ครับอีกทั้งสิ่งหนึ่งที่แตกต่างจาก MACD คืออินดิเคเตอร์ AO ใช้ค่ากราฟราคากลางมาคิดและแน่นอนครับว่ามันเปลี่ยนแปลงไม่ได้เหมือนกันครับ
วิธีตั้งค่า
วิธีการเรียกใช้งานนั้นสามารถเรียกใช้ได้ผ่านทางโปรแกรม MT4 โดยไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดเพิ่มครับโดยทำการคลิก Insert ที่มุมซ้ายบนหลังจากนั้นเลือก Indicator ตามด้วย Bill Williams และ Awesome Oscillator ตามลำดับครับ

หลังจากนั้นผมก็จะทำการเลือกตั้งค่าแค่ในส่วนของ Color และ Levels ดังรูปภาพด้านล่างนะครับเนื่องจากว่าเราไม่สามารถตั้งค่าในส่วนของพารามิเตอร์ได้นั่นเองครับ

ระบบเทรด Awesome Oscillator ที่แนะนำ
Awesome Oscillator หรือ AO มีความสามรถเช่นเดียวกันกับ MACD ครับและวิธีการใช้งานก็เหมือนกันนั่นเองครับคือความสามารถในการดูโมเมนตัม ดูแน้วโน้ม และ จุดกลับตัวเป็นหลักครับโดยผมจะอธิบายตามรูปด้านล่างนี้นะครับซึ่งให้ทำการสังเกตหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ไว้นะครับเมื่อใดก็ตามที่มีการตัดลงของ Histogram ที่ระดับ 0 ในหมายเลข 1 นั้นหมายความว่ามีโอกาสที่กราฟจะทำการเปลี่ยนเทรนด์เป็นขาลงและในขณะเดียวกันหากตัดขึ้นดังหมายเลข 2 ก็แสดงว่ากราฟมีโอกาสในการเปลี่ยนเป็นเทรนด์ขาขึ้นนั่นเองครับ

ทั้งนี้ความสามารถที่แตกต่างจาก MACD ที่เป็นข้อดีที่ผมชอบมากขึ้นการแสดงผลของ Histogram นั้นเป็นเป็นสีที่บ่งบอกถึงเทรนด์ในระยะสั้นๆนั่นเองครับโดยให้ทำการสังเกตหมายเลข 3 และ 4 ไว้นะครับไม่ว่าจะอยู่ในระดับ เหนือ 0 หรือ ใต้ 0 ก็ตามก็สามารถบ่งบอกถึงเทรนด์ ณ ขณะนั้นได้ตามสีเช่นหมายเลข 3 มี ทิศทาง Histogram ขึ้นและมีสีเขียวบ่งบอกถึงจะมีเทรนด์ขาขึ้นในระยะสั้นและหากมีสีแดงในทิศทางลงก็จะบ่งบอกถึงจะมีเทรนด์ขาลงในระยะสั้นดังหมาย 4 นั่นเองครับ
เงื่อนไขการ Buys

- ทำการเรียกใช้ EMA (20) และ EMA(50) ตามลำดับและรอจนกว่าเส้น EMA (20) จะตัดขึ้นเหนือเส้น EMA(50)
- รอกราฟขึ้นเหนือ EMA ทั้งสองและทำการปิดใต้เส้น EMA (20) แต่ไม่เกิน EMA(50)
- รอจนกว่ากราฟจะปิดเหนือเส้น EMA (20) อีกรอบหนึ่งและขณะนั้น Histogram จะต้องอยู่เหนือระดับ 0 และมีแท่งสีเขียวปรากฎ
- ทำการตั้ง SL ที่ Low ก่อนหน้าและตั้ง TP ไว้ที่อัตรส่วน RR ที่ 1:1
เงื่อนไขการ Sells

- ทำการเรียกใช้ EMA (20) และ EMA(50) ตามลำดับและรอจนกว่าเส้น EMA (20) จะตัดลงใต้เส้น EMA(50)
- รอกราฟลงใต้ EMA ทั้งสองและทำการปิดเหนือเส้น EMA (20) แต่ไม่เกิน EMA(50)
- รอจนกว่ากราฟจะปิดใต้เส้น EMA (20) อีกรอบหนึ่งและขณะนั้น Histogram จะต้องอยู่ใต้ระดับ 0 และมีแท่งสีแดงปรากฎ
- ทำการตั้ง SL ที่ High ก่อนหน้าและตั้ง TP ไว้ที่อัตรส่วน RR ที่ 1:1
ข้อควรระวังในการใช้ Awesome Oscillator
การใช้ AO ในการบอกเทรนด์ในระยะสั้นนั้นยังถือว่าไม่แม่นยำมากนักครับเพราะมีในหลายครั้งก็มักจะเกิดสัญญาณหลอกและมีโอกาสทำให้ขาดทุนได้ง่ายครับทั้งนี้ควรใช้ร่วมกับกลยุทธ์และอินดิเคเตอร์อื่นๆร่วมด้วย

สรุป
Awesome Oscillator มีความสามารถคล้ายคลึงกับ MACD ครับและมีความสามารถในการบอกเทรนด์และโมเมนตัมรวมไปถึงยังสามารถบอกจุดกลับตัวได้อีกด้วยครับทั้งนี้ก็ยังมีข้อเสียอยู่คือไม่สามารถที่เปลี่ยนค่าพารามิเตอร์ได้ครับดังนั้นจึงเหมาะกับการใช้ในสินทรัพย์และสกุลเงินบางประเภทเท่านั้นทั้งนี้ยังต้องระวังเกี่ยวกับสัญญาณหลอกของ AO เอาไว้ด้วยโดยการใช้กลยุทธ์และอินดิเคเตอร์อื่นๆเพิ่มจะดีมากเลยทีเดียวครับ
อ้างอิง
https://forexthai.in.th/awesome-oscillator/