เคล็ดลับในการเทรด Forex ในตลาดแห่งนี้มีหลากหลายรูปแบบมากๆ หนึ่งในนั้นที่เทรดเดอร์นิยมใช้กันไม่น้อยก็คือการเทรดในรูปแบบ “Pullback” ว่ากันว่ามันคือรูปแบบที่กราฟราคามักจะเกิดขึ้นเสมอเมื่อเข้าสู่เทรนด์ใดเทรนด์หนึ่งและในบทความนี้เราจะไปทำความรู้จักกับมันพร้อมเทคนิคการจับจังหวะเข้าเทรด Pullback กันครับ
Highlight บทคัดย่อ
- Pullback คือการย่อตัวของราคา โดยราคามีการปรับตัวสวนทางกับแนวโน้มหลักชั่วคราว ก่อนที่จะกลับไปเคลื่อนที่ตามแนวโน้มเดิม
- มีเครื่องมือหรือเทคนิคในการเทรดจับจังหวะ Pullback มาแนะนำ 5 อย่างด้วยกันคือ Breakout pullback, Horizontal Steps, Trendline, Moving Average, Fibonacci Retracement
- Breakout Pullback คือราคาวิ่งทะลุแนวรับ-แนวต้านและ Pullback ย้อนกลับมาทดสอบ ส่วน Horizontal Steps คือกรณีที่ราคา Pullback แบบ Sideway
- ส่วน Trendline คือราคา Pullback กลับมาที่เส้นแนวโน้มหลักแล้วหาจังหวะเข้าเทรด เช่นเดียวกับเส้น Moving Average ที่ใช้เป็นระดับการเข้าเทรด Pullback ได้ เมื่อราคาวิ่งมาแตะ
- และสุดท้าย Fibonacci Pullback คือการเทรดเมื่อราคา Pullback กลับมาที่ระดับ Fibonacci Retracement สำคัญ เช่น 38.2%, 50%, 61.8% เป็นต้น
Pullback คืออะไร?
- Pullback เรามักจะคุ้นกับคำว่าราคา”ย่อตัว” ซึ่งหากเป็นแนวโน้มขาขึ้น ราคาก็จะปรับตัวลดลงนิดนึงก่อนพุ่งกลับขึ้นไปตามเทรนด์ เช่นเดียวกับเทรนด์ขาลงที่ราคาจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อยก่อนจะลงต่อ
- เพราะอย่างที่ทราบกันว่าตลาด Forex ไม่ได้เคลื่อนที่แบบเส้นตรงมันจะต้องมีช่วงที่เป็นคลื่นแนวโน้มหลักและคลื่นปรับฐาน ซึ่งก็คือ Pullback นั่นเอง
- จังหวะ Pullback ส่วนมากเทรดเดอร์จะใช้จังหวะนี้ในการเข้าเทรด โดยรอให้ราคาย่อตัว(Pullback) ก่อนที่จะเปิดสถานะตามแนวโน้มหลักต่อไป

5 เทคนิคเทรดแบบ Pullback
เมื่อรู้จักแล้ว Pullback คืออะไร ทีมงานของเราก็อยากจะแชร์เทคนิคพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ 5 แบบในการเทรด Pullback เผื่อว่าเทรดเดอร์คนไหนเห็นแล้วว่าน่าสนใจอยากจะลองเอาไปปรับใช้ในการเทรดจริงก็ไม่ว่ากันครับ
1. Breakout pullback
- เทคนิคแรกเลยคือ Breakout pullback มันคือการเกิด Pullback หลังจากที่ราคาทะลุแนวรับ-แนวต้าน ราคามักจะกลับไปทดสอบแนวนั้นอีกครั้ง ก่อนที่จะกลับวิ่งไปตามทิศทางที่มันทะลุออกมา
- ซึ่ง Breakout pullback จะพบเจอได้บ่อยมากๆ เพราะราคาแทบจะ Breakout ในทุกๆ วัน หากใครจับจังหวะนี้ได้ก็เท่ากับโอกาสทำกำไรอยู่ตรงหน้าแล้ว
- ยกตัวอย่างจากในรูปจะเห็นว่าราคาวิ่งทะลุแนวต้านไปได้ก่อนจะย้อนกลับมาทดสอบที่แนวต้านเดิม(หรือก็คือแนวรับใหม่) ซึ่งจังหวะนี้เทรดเดอร์หลายคนมักจะเปิดออเดอร์ Buy ที่แนวสำคัญนี้
- แต่ถ้าให้ทีมงานแนะนำ อยากให้รอราคายืนยันก่อน โดยวาง Buy Stop ไว้ที่จุดสูงสุดที่ราคา Breakout ออกมาดีกว่า เพื่อป้องกัน False Breakout นั่นเอง

2. ระนาบขั้นบันได (Horizontal Steps)
- อีกหนึ่งรูปแบบที่มักจะเจอคือการ Pullback แบบออกไปทาง Sideway มากกว่าแบบกลับตัวสั้นๆ คือเทรดเดอร์จะสังเกตุได้เลยว่ามันคล้ายกับรูปบันได้ที่กำลังเดินขึ้นหรือเดินลงตามเทรนด์
- ซึ่งรูปแบบนี้ไม่ได้มีบ่อยเท่ากับรูปแบบแรก แต่มีข้อดีคือเทรดเดอร์สามารถหาจังหวะเข้าเทรดได้ง่ายกว่าแบบแรก เพราะราคาวิ่งในกรอบแคบๆ
- แต่ถ้าแนะนำก็คงจะรอให้ราคาทะลุออกจากกรอบ Sideway เสียก่อนค่อนเข้าเทรด เพื่อให้ราคายืนยันทิศทางก่อน และที่น่าสนใจอีกก็คือเทรดเดอร์สามารถขยับ Stop Loss เลื่อนตามแนวบันไดได้ด้วย
- ยกตัวอย่างจากรูปภาพเช่น เมื่อเจอลักษณะ Pullback แบบ Sideway เทรดเดอร์สามารถเปิดออเดอร์ Buy ภายในกรอบ Sideway หรือตั้ง Buy Stop เหนือกรอบ Sideway ก็ได้ พร้อมขยับ SL ไว้ที่ขั้นบันได้ก่อนหน้า

3. เส้นเทรนด์ไลน์ (Trendline)
- ต่อมาเป็นการจับจังหวะ Pullback โดยใช้เส้น Trendline ซึ่งรูปแบบนี้คือเทรดเดอร์ต้องยืนยันแนวโน้มพร้อมกับวาดเส้น Trendline ให้ครบสมบูรณ์ก่อน (คือการที่ราคาสร้างฐานชันขึ้นหรือลง 3 จุดเป็นต้นไป)
- ดังนั้นรูปแบบการ Pullback ตามเส้น Trendline ต้องรอให้เกิดฐานแนวโน้มที่ชัดเจนก่อนและรอให้ราคา Pullback มาที่เส้นแนวโน้มจากนั้นถึงเข้าออเดอร์ตามแนวโน้มหลัก
- คำแนะนำคือเมื่อราคาเกิด Pullback กลับไปที่เส้นแนวโน้มแล้ว รอให้ราคาทะลุผ่านจุดสูงสุด/ต่ำสุด อันสุดท้ายก่อนจึงเข้าออเดอร์ตาม ดังตัวอย่างในรูปภาพ
- อันที่จริงรูปแบบ Trendline มีข้อเสียคือต้องรอนานกว่าราคาจะทำฐานได้ 3 จุด เพราะเทรดเดอร์อาจจะพลาดโอกาสไปหลายครั้งแล้ว

4. เส้น Moving Average
- เส้น Moving Average จัดได้ว่าเป็นอินดิเคเตอร์ที่นิยมสูงสุดในการใช้วิเคราะห์จากเทรดเดอร์เพราะมันใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรวมถึงการใช้จับจังหวะ Pullback ด้วย
- เส้น Moving Average นอกจากจะแสดงค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของราคาแล้วมันยังใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านแบบไดนามิกคือปรับไปตามราคาได้ด้วย ดังนั้น เส้น MA จะอยู่ช่วง Period ไหน ขึ้นกับเทรดเดอร์ว่าชอบเทรดระยะไหน
- MA 20 = เทรดระยะสั้นและเส้นก็ไวต่อการเปลี่ยนแปลงราคาและอาจมีสัญญาณหลอก
- MA 50 = เหมาะกับระยะกลาง กรองสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าเป็นเส้นที่สมดุลระหว่างความไวและความมั่นคง
- MA 100 = เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว แสดงภาพรวมแนวโน้มที่มั่นคงและเป็นแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่ง
- การเข้าเทรดก็อาศัยจังหวะที่ราคา Pullback กลับมาแตะบริเวณเส้น MA แต่ต้องระวังนิดนึงถ้า Pullback บางครั้งอาจจะตัดเส้น MA ได้ (โดยเฉพาะ Period น้อย) ดังนั้นควรเว้นระยะห่างของ Stop Loss ให้ดี

5. Fibonacci Retracement
- Fibonacci คือตัวเลขมหัศจรรย์ที่สามารถใช้ได้ในทุกๆ อย่างของโลกใบนี้และรวมไปถึงตลาด Forex ด้วย และเราสามารถใช้ปรากฏการณ์นี้ในการเทรด Pullback ได้เช่นกัน
- Fibonacci มักจะถูกใช้ในการจังหวะกลับตัวของราคาดังนั้นเทรดเดอร์สามารถหาจุดที่คาดว่าราคาจะ Pullback กลับไปยังที่นั้นได้ พร้อมกับสามารถเข้าออเดอร์ในระดับที่เหมาะสมอย่างแม่นยำ
- โดยระดับที่น่าจับตามองของตัว Fibonacci มี 3 ระดับที่ทีมงานขอแนะนำคือ
- 38.2% = เป็นระดับที่ราคามักจะย่อตัวมา ถือว่าเป็นระดับ Level 1
- 50% = ระดับนี้เป็นระดับที่ราคามักจะมีการกลับตัวอย่างมีนัยสำคัญ
- 61.8% = ระดับนี้คือ Golden Ratio เป็นระดับ Fibonacci ที่สำคัญที่สุด
- ทั้ง 3 ระดับนี้เทรดเดอร์สามารถแบ่งออเดอร์ออกเป็นไม้ย่อยๆ เพื่อเข้าตามระดับที่กล่าวไป

วิดีโอเกี่ยวกับ Pullback
ทีมงาน Thai Forex Broker ไปเจอคลิปวิดีโอตัวหนึ่งมาครับ เกี่ยวกับ วิธีระบุและเทรด Pullback อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เทคนิคการซื้อขาย Price Action ที่เรียบง่าย ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เพิ่มเติมจากบทความได้เป็นอย่างดีและน่าสนใจอยากให้รับชมกันครับ
- Focus นาทีที่ 00:40 แนวโน้มของตลาด
- Focus นาทีที่ 02:05 ระดับ Pullback ที่น่าสนใจ
- Focus นาทีที่ 07:20 สัญญาณเข้าเทรด
- Focus นาทีที่ 11:49 ตัวอย่างการเทรด
สรุป
จากเทคนิคทั้ง 5 แบบล้วนมาจากการใช้เครื่องมือและอินดิเคเตอร์พื้นฐานในแพลตฟอร์มการเทรดทั่วไป ในการหาจังหวะเทรด Pullback อยากจะแนะนำเทรดเดอร์มือใหม่ที่จะเทรด Pullback แบบนี้ให้ลองเลือกใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งและฝึกจนชำนาญดีกว่าที่จะใช้คละกันไปจนสร้างความเข้าใจผิดได้
สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่เทรดเดอร์ทั้งหลายและสามารถนำไปต่อยอดสร้างระบบเทรดที่มีประสิทธิภาพเพื่อกำไรในตลาดแห่งนี้ได้
อ้างอิง
ทีมงาน : thaiforexbroker.com