หลายๆ ครั้งเทรดเดอร์มักจะเทรด Forex แบบไม่มีการตั้ง Stop Loss ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเพราะว่าลืมหรือมั่นใจในกลยุทธ์ก็ตามแต่ แค่อยากจะบอกว่า…มันเสี่ยงมากๆ เลยครับที่ไม่มีการตั้ง Stop Loss ทุกครั้งในการเทรด ซึ่งทางออกของปัญหานี้อยู่ในบทความนี้แล้วครับ
Highlight บทคัดย่อ
- 5 วิธีเทรดแบบความเสี่ยงต่ำเมื่อไม่มี SL วิธีที่ 1 เน้นการปรับ Leverage ให้มีอัตราส่วนต่ำไว้ก่อน เช่น 1:50 โดยมีเป้าหมายหลักคือรักษาเงินทุนในพอร์ต ส่วนกำไรเป็นเป้าหมายรอง
- วิธีที่ 2 ใช้การลดขนาด Lot ในแต่ละครั้งของการเทรด ไม่ Overtrade โดยแนะนำให้ใช้บัญชีที่รองรับจำนวน Lot เล็กๆ ได้ เช่น บัญชี Cent
- วิธีที่ 3 ใช้หลัก Hedging เข้ามาช่วยหากราคาเคลื่อนที่ผิดทางที่คาดการณ์ไว้ เพื่อยื้อเวลาให้เราวางแผนสำรองหรือเทรดให้กำไรมาถัวเฉลี่ยได้
- วิธีที่ 4 เน้นการเทรดตามแนวโน้มหลักของราคาปัจจุบัน เพื่อป้องกันการขาดทุนและเพิ่มโอกาสกำไรมากกว่า
- วิธีที่ 5 เน้นเทรดน้อยครั้งแต่ละครั้งให้เทรดแบบมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ Timeframes ใหญ่ (4H, Day, Week) เป็นหลัก
5 วิธีลดความเสี่ยงในการเทรดเมื่อไม่ใช้ Stop Loss
การลดความเสี่ยงแบบมืออาชีพเมื่อเราเทรดแบบไม่มี Stop Loss ในที่นี้เราจะเน้นไปที่การปรับองค์ประกอบและปัจจัยที่ส่งผลให้การเคลื่อนที่ของราคามีความเสี่ยงที่จะขาดทุนให้ลดลง ซึ่งมี 5 วิธีดังนี้ครับ
1. ปรับ Leverage
- Leverage ก็คือการยืมกำลังซื้อจากโบรกเกอร์(คล้ายๆ ยืมเงิน) เพื่อให้เราสามารถเปิดออเดอร์ได้ใหญ่กว่าทุนที่มีจริง แม้เราจะมีเงินน้อย แต่ก็เทรดในปริมาณที่มากขึ้นได้ เช่น
- เปรียบเทียบง่ายๆ เช่น Leverage 1:2 เท่ากับคุณสามารถซื้อของได้เป็น 2 เท่าของเงินทุนจริง
- ถ้าเรามีเงิน 10 ดอลลาร์และต้องการซื้อขาย EUR/USD หากไม่มี Leverage จะสามารถซื้อขาย EUR/USD ได้มูลค่าตามเงินทุนของคุณเท่านั้น (อาจจะเล็กน้อยมาก)
- แต่ถ้าใช้ Leverage 1:2: เงิน 10 ดอลลาร์ของเราจะทำหน้าที่เป็น “หลักประกัน” (Margin) ทำให้สามารถควบคุมมูลค่าการซื้อขาย EUR/USD ได้ถึง 20 ดอลลาร์
- ถ้าได้กำไรจาก EUR/USD มา 10% = กำไร 2$ (ถ้าไม่มี Leverage ได้แค่ 1$) กลับกันหากขาดทุน 10% = เสีย 2$ (แบบไม่ใช้ Leverage เสีย 1$)
- จากตัวอย่างเทรดเดอร์คงเห็นแล้วว่า Leverage ถ้ายิ่งมีอัตราส่วนที่มาก ความเสี่ยงและกำไรก็จะมากตามไปด้วย ดังนั้นการลดความเสี่ยง = ลด Leverage
- ถ้าแนะนำควรตั้งค่า Leverage ต่ำไว้ก่อน เช่น 1:50 หรือ 1:20 เพื่อควบคุมความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่เราไม่มีการตั้ง Stop Loss ไว้ เพื่อรักษาเงินทุนเป็นเป้าหมายหลัก การทำกำไรเป็นเป้าหมายรอง

2. ลดขนาด Lot
- วิธีต่อมาคือการลด ขนาด Lot ที่เราเข้าเทรด หลายคนคงจะรู้ว่าถ้าขนาด Lot ใหญ่ มันจะมีผลต่อการคำนวนการเคลื่อนที่ของแท่งเทียน ถ้าถูกทางก็กำไรสูงแต่ถ้าผิดทางก็ขาดทุนสูงเช่นกัน (Overtrade นั่นแหละ)
- ตัวอย่างเปรียบเทียบการใช้ Lot 1 และ Lot 0.01 สำหรับคู่เงินหลัก
- มูลค่าต่อการเคลื่อนไหว 1 pip: 1 Lot ≈ $10 ต่อ pip / 0.01 Lot ≈ $0.10 ต่อ pip
- หากราคาเคลื่อนไหวผิดทาง -50 pips เทรด 1 Lot จะขาดทุน $500 ในขณะที่เทรด เทรด 0.01 Lot ขาดทุนแค่ $5
- ถ้ามีเงินทุนแค่ 300$ และไม่มีการตั้ง Stop Loss ใช้ Lot 1 = ล้างพอรต์ไปแล้ว แต่ 0.01 Lot ขาดทุนแค่ 5$
- โดยเฉพาะเมื่อเรารู้แล้วว่าไม่มี Stop Loss จำนวน Lot โดยรวมควรจะต่ำเข้าไว้ เพื่อลดความเสี่ยงคล้ายๆ กับ Leverage เช่นกัน หรือใช้บัญชีประเภท Cent, Micro เพื่อจำกัดขนาด Lot อัตโนมัติ

3. ใช้ Hedging ป้องกัน
- อีกหนึ่งวิธีที่เทรดเดอร์หลายคนมักจะทำกรณีที่ไม่ใช้ Stop Loss ก็คือการใช้หลักการ Hedging เข้ามาจัดการในกรณีที่ราคาเคลื่อนไหวผิดทาง
- หลักการ Hedging แบบง่ายก็คือการเปิดออร์เดอร์สวนทาง เพื่อป้องกันความเสี่ยงของออเดอร์เดิมที่ขาดทุนอยู่ เช่น
- คาดการณ์ไว้และเปิด Buy EUR/USD ไว้แต่ราคาดิ่งลงเหวด้วยเหตุสุดวิสัย ทำให้ขาดทุนไปจำนวนหนึ่ง
- แต่เราไม่อยากปิดออเดอร์นี้ทิ้งไปและไม่ตั้ง Stop Loss ด้วย จึงเปิด Sell EUR/USD ในขนาด Lot เท่ากันตามไป
- สถานะพอร์ตตอนนี้ก็จะยังขาดทุนในปริมาณที่เท่ากับตอนก่อนเปิด Sell ไม่วาราคาจะขึ้นหรือลงเพราะสถานะ Buy/Sell จะหักลบกันเอง
- ส่วนใหญ่เทรดเดอร์จะใช้ Hedging เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดทุนเยอะกว่าเดิมและรอให้ราคากลับตัวไปตามที่คาดการณ์ตอนแรกหรือเทรดออเดอร์ใหม่เพื่อถัวเฉลี่ยกำไร/ขาดทุน ให้หมดไป

4. เทรดตามเทรนด์หลัก
- อีกหนึ่งปัจจัยที่ใช้เพื่อลดความเสี่ยงเวลาที่เราเทรดแบบไม่มี Stop Loss ก็คือการเทรดไปตามเทรนด์หลักของตลาด ณ ปัจจุบัน ต่อให้วิเคราะห์กราฟเปล่าก็ตาม การเทรดตามเทรนด์หลักมีโอกาสชนะมากกว่าเสมอ
- ตัวอย่างแนวทางในการเทรดตามเทรนด์หลักเช่น หากแนวโน้มปัจจุบันคือเทรนด์ขาลง เราเน้นเปิด Sell มากกว่า Buy เพราะไม่ว่าราคากำลังอยู่ในช่วงคลื่นไหนมันจะลงไปตามเทรนด์หลักอยู่ดี
- แต่หากกรณีที่เราเปิด Sell ช่วงที่เทรนด์กำลังจะหมดแรงและกลับตัว จำนวน Pips ที่จะขาดทุนมันก็ยังไม่มากเท่าเทรดสวนเทรนด์แน่นอน และเรายังปรับไปเทรดตามเทรนด์ใหม่ได้ด้วย

5. เทรด TF ใหญ่ เน้นคุณภาพ ไม่เน้นจำนวน
- วิธีสุดท้ายหากเราเทรด Forex แบบไม่มี Stop Loss เราควรเน้นการเทรดแต่ละครั้งให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเทรดบ่อยๆ เพราะการเทรดบ่อยครั้งควบคุมความเสี่ยงยากกว่าอีกทั้งยังต้องวิเคราะห์ซับซ้อนกว่าด้วย
- การเทรดโดยที่เรามั่นใจ รอให้สัญญาณการเข้าเทรดชัดเจนเท่านั้นจึงจะเข้าเทรด ในระยะยาวอาจจะทำกำไรโดยรวมมากกว่าการเทรดบ่อยๆ เดี๋ยวกำไร เดี๋ยวขาดทุนสลับไปมาแบบนี้
- ซึ่งการจะเทรดน้อยครั้งแต่มีประสิทธิภาพนั้นมันบังคับทางอ้อมว่าเราต้องเทรดบน Timeframes ใหญ่ไปโดยปริยาย เช่น TF 4H, Daily, Weekly เป็นต้น TF เหล่านี้มีประโยชน์ตรงที่
- ลดสัญญาณรบกวนระยะสั้นๆ เห็นแนวโน้มชัดเจนกว่า
- มีเวลาตัดสินใจและวางแผนเทรดได้นานกว่า
- แนวโน้มใน TF ใหญ่มีโมเมนตัมและแรงส่งมากกว่า จึงเชื่อมกับข้อ 4 ในการเทรดตามเทรนด์

วิดีโอเกี่ยวกับการเทรดแบบไม่มี Stop Loss
ในเมื่อบทความของเรากำลังพูดถึงการลดความเสี่ยงในการเทรด Forex แบบไม่มี Stop Loss ทีมงานเลยไปเจอวิดีโอตัวหนึ่งที่อธิบาย กลยุทธ์การเทรดแบบไม่ใช้ Stop Loss เช่นเดียวกัน สุดท้ายแล้วผลลัพธืค่อนข้างน่าตกใจมาก จะเป็นยังไงลองไปรับชมกันนะครับ
- Focus นาทีที่ 1:36 อธิบายกลยุทธ์
- Focus นาทีที่ 3:20 ตัวอย่างการเทรด 2 ตัวอย่างแบบยาวๆ
- Focus นาทีที่ 5:22 Back test กลยุทธ์ 100 ครั้ง
- Focus นาทีที่ 7:12 สรุปผลลัพธ์ของกลยุทธ์นี้
สรุป
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าบทความนี้ไม่ได้มีเจตนาเชิญชวนหรือแนะนำว่าให้เทรด Forex แบบไม่มี Stop Loss นะครับ การเทรด Forex ทุกครั้ง เทรดเดอร์ควรจะต้องมีการตั้ง Stop Loss ทุกครั้งเพื่อจำกัดความเสี่ยง แต่ถ้าไม่ได้ตั้ง Stop Loss มันก็พอจะมีวิธีลดความเสี่ยงที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเช่นกันเหมือนในบทความนี้
สุดท้ายไม่ว่าเทรดเดอร์จะตั้ง Stop Loss หรือไม่ การบริหารความเสี่ยงก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอยู่ดีเพราะต่อให้ตั้ง Stop Loss ทุกครั้งแต่เทรดด้วยความเสี่ยงสูง เช่น Overtrade หนักมาก ยังไงพอร์ตเราก็เสียเงินอยู่ดีครับ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com