Multi-charts ใช้อย่างไรบ้าง ตอน 1

Multi-charts ใช้อย่างไรบ้าง ตอน 1

Multi-charts ใช้อย่างไรบ้าง ตอน 1

                การเทรดชาร์ตเปล่า นอกจากเข้าใจเรื่องออเดอร์ทำงานอย่างไรแล้ว เข้าใจเทรดเดอร์อื่นๆ ที่จะเข้าเทรด และเข้าใจเงื่อนไขตลาด การมองให้ละเอียดลงไป โดยเฉพาะแท่งเทียนด้วยการมองหลาย timeframes ประกอบกันจะทำให้ท่านเข้าใจตลาดและละเอียดในการเทรดมากขึ้น

                หลักๆ ทั่วไปก็จะเห็นว่ามีการนำเรื่องหลาย timeframe มาช่วยในการวิเคราะห์เป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องของเทรนและภาพรวมของราคาที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดเพื่อสัมพันธ์กับ trade setup ที่ต้องการจะเทรด เป็นการเพิ่มความเป็นไปได้ในเรื่องของ confluence ต่าง timeframes ด้วย แต่จริงๆ การมองหลาย timeframe สามารถใช้ได้มากกว่านั้น

                ข้อ 1. ใช้ multi-charts ช่วยให้ท่านเข้าใจเรื่องรูปแบบ price action ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

                รูปแบบ price action ไม่ว่าจะเป็น Pin bar, Engulfing bar, Doji, 2 Bar Reversal เป็นต้น  ถ้าท่านอยากรู้ว่าตรรกะการเทรดอะไรอยู่เบื้องหลังของแต่ละรูปแบบ price action ที่เกิดขึ้นท่านต้องดูรายละเอียดใน timeframe ย่อยลงไป

                ยกตัอย่างเช่น Pin bar ในชาร์ต D1 และก็มี 2 timeframes ย่อยลงมาคือ H4 และ H1 ถ้าเป็นการพูดทั่วๆ ไปเมื่อมองชาร์ต D1 ก็จะบอกว่า buy trading pressure เข้ามา และสามารถเอาชนะกลายเป็น Pin bar เกิดขึ้น เมื่อมองลงมาที่ชาร์ต H1 ท่านจะเข้าใจว่าทำไม  ก่อนที่ราคาจะลงราคาได้ทำ consolidation แล้วราคาลงมา และมาทำ consolidaiton ด้านล่าง  เกิด trading transactions มี positons เกิดขึ้น เกิดการสะสม positions  เป็นการสะสมของขาใหญ่จนกว่าเกิด false break ด้านล่างที่ลงไปเพื่อล่า stop เลยทำให้เรียก fasle break ว่าเป็น stop hunt เมื่อราคาเบรคกรอบด้านล่างเพื่อล่า stop เพื่อเข้าเทรดที่ราคาดีกว่าและเด้งขึ้นมาเบรคกรอบด้านบน ก็ทำให้เกิด trapped traders  ก็จะมีทั้งการตั้ง stop loss และปิดเอง ก็จะทำให้เกิด buy market orders เข้ามาเป็นหลัก ถ้าไม่มี sell  ออเดอร์ก็จะทำให้ราคาขึ้นเร็ว พร้อมทั้งมีการเข้าเทรดด้วย นี่คือสิ่งที่เรียกว่า buying pressure เกิดที่ pin bar ของชาร์ต D1

                นั่นคือตรรกะที่บอกว่า Pin bar ทำไมมักจะทำงานดีเมื่อใช้กับการเปิดเทรดที่แนวรับหรือแนวต้าน หรือ supply/demand เมื่อตอนราคากลับมา เพราะมี trapped traders ที่จำต้องออกเมื่อราคาวิ่งสวนอยู่นั่นเอง จึงยิ่งทำให้ราคาไปทางที่เกิด Pin bar ได้ง่าย พอเกิดขึ้นข้อมูลก็เปลี่ยนไปด้วย เทรดเดอร์ที่รอเข้าก็สนใจเทรดไปทางนั้นอีก เทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ก็ยิ่งจะหาทางออกอีกเพราะ market orders ไม่ได้มาจากการเข้าเทรดอย่างเดียว มาจากเทรดเดอร์ที่ออกจากตลาดด้วย และยิ่งเป็นพวกที่ต้องออกเพราะติดลบมากขึ้น ยิ่งทำให้ราคาวิ่งเร็ว

อีกตัวอย่างนี่เป็น Engulfing Bar ที่นิยมกันเมื่อเปิดเทรดที่จุดแนวรับหรือแนวต้าน หลักการเดียวกันเกิด trading transactions ขึ้นก่อน ทำให้เกิดมีเทรดเดอร์ที่ถือ positions เมื่อราคาวิ่งสวนทางไหน ทางนั้นก็จะเป็น trapped traders โดยส่วนมากก็จะเป็นรายย่อยเพราะรายย่อยไม่ได้เทรดแบบขาใหญ่ที่เทรดด้วยจำนวนวอลลูมเยอะ ที่จะปั่นหรือดันราคาไปทางที่พวกเขาต้องการได้

                ทั้ง Pin Bar และ Engugulfing Bar ที่ยกมา เมื่อท่านใช้ต่าง timeframe ประกอบ โดยเฉพาะ timeframe ย่อยลงมาท่านจะเห็นรายละเอียดหมด ถ้าเข้าใจเรื่องออเดอร์ทำงานอย่างไรและเทรดเดอร์อื่นๆ ที่เทรดด้วยท่านก็จะมองออกว่าทำไม จึงเป็นที่นิยมเมื่อราคาไปถึงจุดแนวรับหรือแนวต้าน เพราะมี trapped traders ช่วยดันให้เป็นอันดับแรก

                ข้อ 2. ใช้ multi-charts ช่วยเพื่อดูรายละเอียด demand/supply base หรือแนวรับแนวรับต้าน

                สิ่งหนึ่งที่เจอประจำเมื่อท่านกำหนด support/resistance zone หรือ supply/demand zone จาก timeframe ใหญ่ เช่นเมื่อท่านกำหนดจุดพวกนี้จากชาร์ต D1 เป็นหลัก ก็จะทำให้กรอบราคาสำหรับ supply/demand zone หรือ support/resistance zone ท่านกว้างหรือหลายปีบมากถึงมากเกินไป  วิธีการนี้ท่านสามารถใช้เรื่อง multi-charts ประกอบได้ เพื่อดูว่าจุดที่น่าสนใจจริงๆ หรือเป็นต้นตออยู่ตรงไหน

                หรืออย่าง swap level ที่เกิดขึ้นที่เลข 1 และ 2 ที่เปิดชาร์ต H4 เพื่อดูรายละเอียด แม้ว่าจะเห็นภาพคร่าวๆ แต่ท่านก็ยังไม่เห็นจุดที่ชัดเจนต้องเปิด timeframe ย่อยลงไปอีกเพื่อเห็นจุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ  ก็รู้ว่าเมื่อราคากลับมาควรเปิดตรงไหน เมื่อราคาเบรคตรงไหนว่าราคาจะขึ้นไปต่อ อย่างที่เลข 2 เมื่อท่านเปิดลงไปอีก timeframe คือ H1 ท่านจะเห็นชัดเจนว่าตรงไหนสำคัญมากสุดในพื้นที่ ท่านก็รู้ว่าควรจะเปิดเทรดตรงไหนและ stop loss สัมพันธ์กับตรงนี้ หรือถ้าราคาเบรคตรงนี้ก็จะเปลี่ยนข้อมูลสำคัญ

                สิ่งสำคัญมองหาพื้นที่ได้เพราะมองง่ายเช่น ดูการวิ่งจากแรงๆ หรือ strong move away เป็นเบื้องต้นสำหรับหา demand/supply base ว่าเกิดขึ้นตรงไหนพร้อมดูที่มา หรือถ้าเป็น key level ก็จะมองพื้นที่ๆ เคยเป็นแนวรับหรือแนวต้าน แล้วราคาเบรค กลายมาเป็น swap level หรือ flip level แนะให้ท่านมองพวก key level เป็นกรอบราคาหรือเป็นโซนแบบเดียวกับการมอง demand/supply ให้สนใจเรื่อง cluster of orders ที่อยู่พื้นที่นั้นเป็นหลัก แล้วมอง price structure และ price action ที่เกิดขึ้น ส่วนที่อยู่ตรงต้นตอและส่วนตอนที่ราคากลับมา

                เพราะ price structure และ price action ที่เกิดขึ้นจะบอกว่ามี trading transactins เกิดขึ้นตรงไหน ถ้าราคาวิ่งสวนแล้วจะมี trapped traders เกิดขึ้นตรงไหน และตรงไหนเป็นพื้นที่ที่เทรดเดอร์พวกนี้เดือดร้อน เมื่อหาต้นตอถูกจุดก็จะหาจุดเข้าเทรดได้แม่น และสามารถวาง stop loss และ take profit ได้ถูกจุดตามมาด้วย

ทีมงาน : thaiforexbroker.com