เทรด Indicator Forex ตอน 1

เทรด Indicator Forex ตอน 1

เทรด Indicator Forex ให้เป็น ตอน 1

Indicator Forex เป็นตัวช่วยด้าน technical analysis ที่เทรดเดอร์โดยเฉพาะที่เป็นเทรดเดอร์รายใหม่ๆ ที่ต้องการเข้าตลาด จะนิยมใช้กันในการวิเคราะห์หา trade setup ที่ตามมาด้วยจุดเข้าเทรดและจุดออกเทรดทั้งสำหรับเทรดตามเทรนหรือสวนเทรน จะเป็นการนำเสนอแนวกราฟฟิกประกอบ ให้มองเห็นการเคลื่อนไหวของราคาที่เปิดขึ้นชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเทรด

อินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไร

หลักการทั่วไปของการคำนวณของอินดิเคเตอร์คือใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเมื่อท่านมองย้อนหลังจะเห็นว่าอินดิเคเตอร์ไม่เคยผิดพลด เพราะการคำนวณของอินดิเคเตอร์ใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วหรือจากแท่งเทียนที่ปิดแล้ว นั่นเลยเป็นเหตุผลที่เรียกข้อมูลที่มาจากอินดิเคเตอร์ว่าเป็น lagging information แต่เมื่อท่านเปิดเทรดจริง (ที่เลข 1)

การเทรดจริงเป็นการเทรดสิ่งที่ยังไม่เกิด เทรดไปทางขาวมือ ไม่ใช่เทรดไปทางช้ายมือที่ราคาเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นเมื่อท่านเปิดเทรดด้วยวิธีการไหนก็ตาม เลยเรียก trade setup ว่าแต่ละเทรดมีความเป็นไปได้ขนาดไหน  แต่เมื่อท่านมองที่เลข 2 ท่านจะเห็นข้อมูลทั้งก่อนเทรดและหลังเทรด

และอินดิเคเตอร์ก็ทำงานแม่นหมด เพราะส่วนหลังที่เกิดหลังเลข 2 ถ้าข้อมูลราคเปลี่ยนไป ส่วนของอินดิเตอร์ก็จะเปลี่ยนไปได้ ท่านก็จะเห็นภาพตรงที่เลข 2 ต่างออกไปจากที่แสดง ดังนั้นต้องรู้ว่าอินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไรก่อน

ทำไมเทรดเดอร์ยังนิยมใช้อินดิเคเตอร์ในการเทรด

เหตุผลหลักๆ คือใช้งานง่าย และง่ายต่อการเข้าใจศึกษา ไม่ต้องเสียเวลาทำความเข้าใจมาก สามารถเอามาต่อยอดความรู้การเทรดได้เลย บางทีเทรดเดอร์มองเป็นตัวช่วยกรองสำหรับระบบเทรดที่ตัวเองใช้อยู่ เช่นอย่างภาพด้านบน เป็นการใช้ Bollinger Bands ในการกำหนดเทรน

และใข้ CCI เป็นตัวช่วยยืนยันหรือเป็น Oscillator ว่าราคาอยากไปทางที่เปิดเทรดหรือเปล่า บางเทรดเดอร์อาจใช้ Moving Average (MA) เป็นตัวกำหนดเทรนเข้าไปอีกก็ได้ หลายๆ ตัวช่วยยืนยันเข้าไป เช่นอย่างในภาพใช้ MA 50 เช่นเมื่อดู Bollinger Bands เป็นราคาอยู่ส่วนที่เป็นกรอบ upper band หรือ lower band อินดิเคเตอร์ก็บอกเทรน

แล้วก็มามองที่เส้น MA ประกอบว่าจะเทรดอย่างไร เช่นหลักการ MA 50 ดูเรื่องของเทรนก็บอกว่าถ้าราคาเหนือกว่าเป็นเทรนขึ้น หรือถ้าราคาต่ำกว่าเป็นเทรนลง แต่จะเห็นว่าแต่ละจุดราคาได้ห่างจากเส้น MA มาก ท่านก็จะใช้การเทรดเส้น MA อีกแบบ คือเทรดตอนที่ราคาจะออกจากเส้น MA

และถ้าห่างมากก็จะเทรดตอนที่ราคากลับมาหาเส้น MA อีกรอบ ก็จะเห็นว่าทั้ง MA และ Bollinger Bands ยืนยันกัน แล้วก็ดู CCI ที่เป็นตัวยืนยันว่าราคาอยากมาทางที่จะเปิดเทรดหรือเปล่า แต่ละจุดก็อยู่ส่วนที่เป็น Over Bought และ Over Sold พอดี และราคาก็หักหัวกลับมา แบบนี้ก็จะได้เงื่อนไขในการเปิดเทรด นี่คือการใช้งานง่ายของเรื่องอินดิเคเตอร์

อินดิเคเตอร์ที่นิยมใช้กัน

เมื่อมองจากการจัดหมวดหมู่ของ Meta trader จะเห็นมีหมวดหลักๆ ดังนี้ Trend, Oscillators, Volumes, Bill Williams และ Custom ที่นิยมกันมากจะอยู่ที่ 2 ประเภทแรก เรื่องของเทรนที่นิยมกันจะเห็นการใช้ MA (Moving Average) Bollinger Bands, Ichimoku Kinko Hyo, ADX, Parabolic SAR

ส่วนที่เป็น Oscillators ที่เป็นตัวช่วยยืนยันว่าราคาอยากทางเทรนที่เกิดขึ้นก็จะมี Commondicty Channel Index (CCI), Relative Strength Index (RSI), MACD, Average True Range, Stoch, DeMarker ส่วนที่เป็น Volume เน้นเรื่อง trading volume ที่เกิดขึ้นแต่ละแท่งเทียนเพื่อประกอบการเทรด ก็จะมีเรื่องการเทรดแบบ Volume Spread Analysis ที่เด่น

แต่ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไรเพราะเรื่อง trading server ของตลาดฟอเรกเป็นแบบ decentralized trading server ไม่เหมือนกับตลาดที่เทรดพวก Futures หรือ Options ที่ข้อมูลที่ออกมากจากแหล่งเดียวกันหมด ทุกเทรดเดอร์เห็นภาพเดียวกันเรื่อง volume

แต่ในการเทรดฟอเรกภาพวอลลูมที่เห็นเป็นของโบรกเกอร์หรือ liquidity providers ของโบรกเกอร์ ในส่วน Bill Williams ก็เป็นอินดิเคเตอร์ตามหลักการของ Bill Williams ที่นิยมกัน และส่วนที่เป็น Custom เป็นส่วนอินดิเคเตอร์อื่นๆ นอกจากกลุ่มพวกนั้น

การใช้งานอินดิเคเตอร์ขึ้นอยู่กับแต่ละเทรดเดอร์ถนัดและชอบ ก็จะหาใช้ตัวที่ตัวเองเข้าใจได้ดี ศึกษาได้ง่าย และช่วยกำหนด trade setup ได้ง่ายว่าเทรดแบบไหน หลักๆ ก็จะตามความเข้าใจเรื่องของเทรนเป็นหลัก อินดิเคเตอร์ที่เป็นตัวกำหนดและกรองเรื่องเทรนเลยเป็นที่นิยม และประเภท oscillators ที่เป็นตัวช่วยยืนยันการวิ่งของราคา

ตัวอย่างการเทรดเทรนด้วยอินดิเคเตอร์

ในที่นี้จะใช้ตัวที่เป็นกำหนดเทรนคือ Bollinger Bands และ MA 50 หลักของ Bollinger Bands เมื่อท่านใส่ชาร์ตก็จะตี 3 เส้นขึ้นมา มีเส้น Upper Band, Middle Band และ Lower Band ก็ให้มองกรอบราคาที่อยู่ระหว่าง Band คือกรอบที่อยู่ระหว่างเส้น Upper Band และ Middle Band มองเป็นเทรนขาขึ้น

ถ้ากรอบราคาอยู่ระหว่าง Middle Band และ Lower Band มองเป็นเทรนลง  และเส้น MA 50 ราคาเหนือกว่าเส้นเป็นขาขึ้น ราคาต่ำกว่าเส้นเป็นขาลง หลักการเทรด เส้น MA มี 2 อย่างหลักๆ คือเทรดตอนที่ราคาออกจาก และตอนที่ราคากลับเข้าหาเส้น

และยังมีการใช้ Oscillators 2 ที่เป็นตัวช่วยกรองว่าราคาอยากไปทางที่เป็นเทรนจริง CCI และ RSI บอกถึงเรื่อง overbought และ oversold ราคาอยู่ overbought ราคาเด้งเป็นการยืนยันเทรนขึ้น และถ้าราคามาถึง oversold  ถ้าเป็นราคาเด้งลง บอกว่ายืนยันเทรนลงกำลังจะเกิดขึ้น

การเทรดด้วยอินดิเคเตอร์ทำไมบอกว่า มันให้ข้อมูลช้าหรือ lagging information การเทรดที่เลข 1 เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ท่านจะเห็นว่าเมื่อดูเทรน Bollinger Band อยู่กรอบล่างราคายังเป็นเทรนลง และราคายังอยู่ใต้เส้น MA ด้วย

แม้ว่าระยะห่างจะเกิดขึ้นแล้ว ให้เน้นเทรดราคากลับไปหาเส้น MA แม้ว่า Oscillators ทั้ง 2 ยืนยันด้วย แต่อินดิเคเตอร์ตัวกำหนดเทรนอยู่ด้านบน แต่ถ้าเทรดเทรนด้วยการมอง H4 อย่างเดียวอาจไม่กล้าเปิดเทรดที่เลข 1 และ 2 เพราะราคายังสวนเทรน ท่านอาจต้องการเห็นว่าราคาต้องการเปลี่ยนจริงด้วยการทำเทรนขึ้น

ดูอย่างการเทรดที่เลข 3 และ 4 จะเป็นการเทรดตามเทรน แล้วท่านค่อยดู Oscillator ประกอบ 2 จุดนี้ความเป็นไปได้สูงก็จะเกิดขึ้น

ใช้อินดิเคเตอร์หลาย time frames ประกอบกัน

แม้ว่าการใช้อินดิเคเตอร์ในการเทรดจะได้ข้อมูลเพราะอินดิเคเตอร์ประมวลผลจากข้อมูลที่เกิดขึ้น และถ้าแท่งเทียนหรือข้อมูลปัจจุบันยังไม่จบ ข้อมูลที่ได้จากอินดิเคเตอร์ก็จะต่างกันออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบช่วงเวลาแท่งเทียน เลยบอกว่า อินดิเคเตอร์มัน repaint ด้วยคือเปลี่ยนไปเรื่อยตามข้อมูลที่เกิดขึ้นถ้ายังไม่จบ

ดังนั้นการใช้อินดิเคเตอร์อย่างแรกควรรอให้แท่งเทียนชาร์ตที่ท่านกำหนด trade setup จบก่อน และให้ใช้ข้อมูลจาก time frame ย่อยลงไปมาประกอบในการเข้าเทรด เช่นอย่างภาพท่านกำหนดเทรนจาก H4 และการเทรดต้องดู M30/H1 ประกอบ

ภาพด้านบน ท่านได้เทรนมีการยืนยันทั้งจาก Bollinger Bands และ MA แต่พอท่านดูเรื่องตัวช่วยยืนยันคือ CCI และ RIS ได้ขึ้นมาเยอะแล้ว ใกล้จะถึง overbought ลองมองย้อนกลับไปดูตอนที่เลข 1 และ 2 พอ oscillators ได้เงื่อนไข แต่เรื่องของเทรนยังไม่ได้ แต่พอมาที่เลข 3 และ 4 พอเทรนได้เงื่อนไขกลับเป็นว่า oscillators ทั้ง CCI และ RSI ได้มาเยอะแล้ว

ดังนั้นเมื่อท่านเลือกที่จะเทรดตามเทรน สิ่งที่ต้องการคือว่าต้องเห็นเทรนเกิดขึ้นก่อน แต่พอท่านใช้อินดิเคเตอร์ชุดเดียวกันประกอบที่ M30 ท่านจะเห็นว่าเงื่อนไขได้ เช่นที่เลข 3 ราคาอยู่ในกรอบ upper band ราคาลงมาทดสอบที่เส้น middle band แล้วเด้งขึ้น บอกถึงความเป็นไปได้ที่เทรนจะทำต่อตามหลังที่เลข 1 และ 2 ได้เบรคเทรนขึ้นมา

แล้วมามอง M30 ราคาเด้งที่เส้นล่าง lower band และ oscillators ยืนยันว่า oversold น่าจะเด้งตามเทรนที่เกิดขึ้นใน H4 ท่านจะพบว่าข้อมูลที่ได้จากชาร์ต M30 แบบเดียวกันกับที่ H4 ตรงจุดที่ 1 และ 2 แต่ต่างกันที่เลข 1 และ 2 ในชาร์ต H4 ไม่ได้มีกรอบที่เกินหรือ time frame ใหญ่กว่าที่เป็นตัวกำหนดเทรนแบบที่ทำงานในชาร์ต M30 ที่มีชาร์ตบอกเทรนใน H4 เป็นตัวกำหนดเทรนอยู่

ทีมงาน : thaiforexbroker.com