เทรดด้วย Keltner Channel

เทรดด้วย Keltner Channel

เทรดด้วย Keltner Channel

                เมื่อดูรูปร่างที่ปรากฏออกมา จะมีลักษณะคล้ายๆ กับ Bollinger Bands แต่วิธีการกำหนด volatility ต่างกันออกไป โดย Bollinger Bands จะกำหนดจาการอิง standard deviation ส่วน Keltner Channels  ใช้ Average True Range (ATR) แทน

                Keltner Channels เมื่อท่านลากอินดิเคเตอร์ใส่ชาร์ตจะเห็นสามเส้นหลักๆ คือ Upper Band, Middle Band และ Lower Band จะเห็นว่ารูปแบบการนำเสนอแบบเดียวกันกับ Bollinger Bands เลย

                จุดเด่นหลักๆ ของ Keltner Channel น่าจะเป็นเรื่องการทำเทรน  เลยเป็นทูลที่เทรดเดอร์นิยมในการเทรดตามเทรนหรือเทรด breakout เมื่อมองดูภาพที่ประกอบ

                หลักการเทรดหลักๆ ของเรื่อง Keltner คือเทรดตามเทรน โดยการดูราคาปัจจุบันสัมพันธกันกับสามเส้นที่เป็น Bands ต่างๆ  เลยจะเห็นว่ามีการนำเรื่องอินดิเคเตอร์นี้ไปแทรกเมื่อราคาทำเทรนและเทรด pullback จะทำงานได้ดีมากเช่น     1. เมื่อเทรนกำลังทำขึ้น ราคาควรจะถึงเส้น upper band หรือใกล้ๆ มากถึงจะดี และอาจจะมีเกินบ้าง และราคามักจะอยู่เหนือเส้น middle band หรืออาจต่ำกว่าเล็กน้อย

  1. เมื่อเทรนกำลังทำลง ราคาควรจะถึงเส้น lower band หรือใกล้ๆ มากถึงจะดี หรืออาจจะเกินลงไปบ้าง และราคามักจะอยู่ต่ำกว่าเส้น middle band หรืออาจจะมากกว่าเล็กน้อย

                ตัวอย่างแรกที่นิยมเรื่องการใช้ Keltner Channels สำหรับเทรดเคือเรื่องเทรน  (Trend) และเทรดตอนราคาย่อตัวมา (Pullbacks)

                เมื่อดูชาร์ต EURUSD ด้านบน จะเห็นว่าเมื่อใช้ Keltner Channerls เข้าไปจะช่วยในการกำหนดเทรนได้ง่ายเพราะแค่ดูกรอบว่าราคาอยู่กรอบบนหรือกรอบล่าง ถ้ากรอบบนเป็นราคาอยู่ช่วงขาขึ้นหรือถ้าอยู่กรอบล่างเป็นช่วงทำเทรนขาลง  ตามภาพที่ยกมา หลักการเทรดทั่วๆ ไปคือเทรดเมื่อราคาย่อตัวมาแถวเส้น middle band หรืออาจต่ำกว่าก็ได้เล็กน้อย แต่ต้องรีบกลับมาถึงจะดี และการตั้ง stop loss ก็จะเป็นครึ่งระหว่างเส้น upper band กับ middle band ในกรณีเปิด sell order หรือระหว่าง minddle band กับ lower band กรณีเปิด buy order ส่วนเรื่องการตั้ง take profit ก็แถวๆ upper band หรือ lower band แล้วแต่ว่าเปิดเทรดทางไหนเป็นหลัก

                อีกกรณีที่นิยมใช้อินดิเคเตอร์คือการเทรด breakout

                เนื่องจากจุดเด่นของ keltner channels จะเห็นเรื่องการทำเทรนว่ากำลังทำเทรนทางไหน จะมีการพักหรือเปลี่ยนทิศทาง ดูราคาที่เปิดเผยตรงที่ bands ต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดประกอบกันจะทำให้ท่านมองเห็นเทรนได้ง่าย อย่างภาพด้านบน เมื่อราคาเปลี่ยนเทรนท่านจะเห็นว่าเพราะราคาก็จะเบรค middle band ให้ท่านดูลักษณะที่ราคาปิดประกอบ หรือถ้าท่านใส่เรื่อง price level ประกอบท่านจะเห็นชัดเจนมาก เมื่อราคาเบรคเส้น middle band ให้ท่านมองหา price level ประกอบ อาจจะเป็น support/resistance, supply/demand หรือ pivots ก็ได้ที่ถือว่าเป็น price levels จะเปิดโอกาสให้ท่านเทรดเรื่อง breakout ได้ง่ายๆ เพราะ keltner channels บอกเทรนเปลี่ยนและ price level breakout บอกถึง impulsive move ว่าขาใหญ่ต้องการเข้าเทรดพื้นที่ตรงนั้นจริง เมื่อราคาปิดก็สามารถปิดเทรดได้ หรือเพื่อความเป็นไปได้สูงไม่อยากวิ่งตามตลาด รอให้ราคาย่อตัวลงมาจุดที่เบรค หลักการเปิดเทรดก็แบบเดียวกัน

                จะเห็นว่าการเทรดแบบ pullback หรือ breakout ก็เป็นหลักการเทรดทั่วๆ ไปที่นิยมกัน สำคัญที่กำหนดเทรนให้เป็น เพราะ keltner channels เป็นตัวกรองเรื่อง volatility สำหรับการทำเทรน ดังนั้นการเทรดเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้สูง ให้ใช้หลักการเรื่อง confluence เข้ามาประกอบก็จะดี เช่นเมื่อท่านมองเรื่องพื้นที่ breakout ของ price level เป็น เมื่อท่านเห็น แล้วท่านใช้อินดิเคเตอร์ตัวนี้ประกอบ ก็จะทำให้ท่านหาจุดเทรดได้ง่ายขึ้นและเห็นการเปลี่ยนแปลงของเทรนได้ว่าตลาดกำลังเปลี่ยนไป หรืออาจใช้อินดิเคเตอร์พวก Oscillators เช่น RIS หรือ CCI ประกอบก็ได้ หรือมี trendline ประกอบก็ได้ที่เป็นตัวกำหนดเทรนแล้วแต่เทรดเดอร์ถนัด

                หลักสำคัญเมื่อท่านเข้าใจการทำงานเพราะเป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดเทรน ท่านต้องแบ่งออกให้ชัดเจนว่าเทรนนั้นท่านมองจาก timeframe ไหนเป็นหลักก่อนแล้วค่อยยึดไว้ เพราะเมื่อท่านใช้อินดิเคเตอร์ตัวเดียวกัน แต่พอท่านเปลี่ยน timeframe รูปแบบการทำเทรนผ่านอินดิเคเตอร์ก็จะต่างกันออกไป เช่นอย่างภาพบนที่เปิด 2 ชาร์ตประกอบกันมี H4 ที่ใช้ Keltner Channels เป็นตัวหลักในการกำหนดเทรน หลังจากที่เกิด breakout เมื่อท่านดู M15 กับชาร์ต H4 ที่เป็นตัวหลัก แม้ว่าจะมีการทำ breakout ขึ้นไปราคาอยู่ส่วนบน upper band แต่เป็นโอกาสให้ท่านเปิด sell market ที่มีความเป็นไปได้สูง เพราะความสัมพันธ์กับเทรนที่กำหนดด้วย keltner channels ในชาร์ต H4

                เพราะเรื่องของเทรนเมื่อมองต่างชาร์ตต่าง timeframe ภาพที่ออกมาจะต่างกันออกไปเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้น  เลยทำให้เกิดกลยุทธ์การเทรดต่าง timeframe กันออกไป และแต่ละกลยุทธ์ก็จะมีกรอบหรือ timeframe ที่ถือว่าเป็นเทรนหลักอยู่ เพราะเมื่อกรอบเทรนหลักเปลี่ยนไปก็จะไม่ได้กลับมาทันทีเลย  เป็นเพราะเรื่องเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดด้วยที่กลายเป็น trapped traders เมื่อเทรนเปลี่ยนไปและมีภาพเทรนใหม่ที่เกิดขึ้น ก็จะดึงดูดเทรดเดอร์ที่รอเข้าให้หันมาสนใจทางเทรนใหม่ที่เกิดขึ้นได้ อย่างเช่นกรณีการเทรดแบบที่อิงชาร์ต H4 และ M15 ที่ยกมา

                เทรนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเทรด เพราะจะทำให้ความเป็นไปได้สูงเมื่อมองเป็น และไม่ได้เทรดสวนขาใหญ่ด้วย พยายามมองหาต้นตอแต่ละจุดที่ทำให้เกิดเทรนว่าเป็น Impulsive move ก่อนเป็นสำคัญและใช้ Keltner Channels บอกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นแล้วเทรดตามไป

ทีมงาน : thaiforexbroker.com