สังเกตไหมว่าทุกครั้งเวลาเทรด Forex มักจะมีบริเวณหรือระดับราคาที่กราฟมักจะเด้งขึ้นหรือเด้งลง ในจุดนี้จุดเดิมซ้ำๆ เทรดเดอร์รายย่อยอย่างเรามองเห็นเป็นแนวรับ/แนวต้าน แต่รายใหญ่กลับไม่ได้มองแบบนั้น พวกเขามองเห็น ”Liquidity” มันคือของหวานสำหรับพวกเขา ทำไมน่ะหรอ? คำตอบอยู่ในบทความนี้ครับ
Highlight บทคัดย่อ
- Liquidity คือปริมาณคำสั่งซื้อขายจำนวนมากในระดับราคาต่างๆ ที่รายใหญ่มองหาเพื่อเติมเต็มคำสั่งขนาดใหญ่ของตัวเอง, สร้างโมเมนตัมและหาจุดกลับตัวของราคา ขณะที่รายย่อยมองเห็นเป็นเพียงแนวรับ/แนวต้าน
- รายใหญ่ไม่ได้คาดการณ์ทิศทางราคา แต่สร้างเงื่อนไขให้ราคาเคลื่อนไหวตามต้องการ ผ่านเทคนิคอย่าง
- False Breakout
- Stop Hunt
- Fakeout
- ตัวอย่างการ Stop Hunt ที่รายใหญ่ใช้เพื่อเติม Liquidity ให้ตัวเองเข้าตลาดได้ในปริมาณมาก โดยพุ่งเป้าไปที่บริเวณที่มีคำสั่งซื้อขายหนาแน่น เพื่อสร้างโอกาสเทรดแบบ Low Risk/High Reward
- สำหรับเทรดเดอร์รายย่อยมีคำแนะนำคือ ควรอดทนรอจังหวะไม่ไล่ราคา, วิเคราะห์เชิงลึกด้วย Volume, Order Flow และ Price Action และเน้นเทรดตาม Zone แทนที่จะยึดติดกับระดับราคาแบบตายตัว
Liquidity คืออะไร? ทำไมรายใหญ่ต้องใช้มัน
- Liquidity หรือสภาพคล่องในตลาด Forex พูดง่ายๆ คือปริมาณคำสั่งซื้อขายที่มีอยู่จำนวนมาก ณ ระดับราคาต่างๆ ในตลาด
- ตัวอย่าง: ถ้าเราอยากขายหุ้น 1,000 หุ้น แต่มีคนรอซื้ออยู่แค่ 100 หุ้น = ตลาดขาดสภาพคล่อง เพราะปริมาณซื้อขายน้อย จำเป็นต้อง Slippage แต่ถ้ามีจำนวนคนรอซื้อหุ้นมากๆ หุ้น 1,000 หุ้น อาจจะขายได้อย่างรวดเร็วในราคาที่ดีกว่า
- เหตุผลที่รายใหญ่สนใจ Liquidity เหล่านี้ ก็เพราะ…
-
- เติมเต็มคำสั่งของตัวเอง: การที่รายใหญ่จะซื้อขายในสถานะขนาดใหญ่โคตรๆ ได้ พวกเขาต้องการ “คู่สัญญา” จำนวนมากในราคาที่ต้องการ ซึ่งจุดที่มี Liquidity เยอะๆ เป็นเหมือนแหล่งรวมของคำสั่งที่สามารถเติมเต็มออเดอร์ของพวกเขาได้โดยไม่ทำให้ราคาเคลื่อนไหวผิดปกติ
- สร้างโมเมนตัม: บางครั้งรายใหญ่อาจตั้งใจดันราคาไปยังบริเวณที่มี Stop Loss หรือ Pending Orders เยอะ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานของคำสั่งเหล่านั้น มันจะได้ทั้งปริมาณและสร้างโมเมนตัมในทิศทางที่รายใหญ่ต้องการ
- หาจุดกลับตัว: บริเวณที่มี Liquidity หนาแน่นอาจเป็นจุดที่รายใหญ่เข้าซื้อหรือขายเพื่อกลับทิศทางราคา เช่น หลอกให้ราคาหลุดแนวรับเพื่อให้รายย่อยเทขาย แล้วรายใหญ่เข้าซื้อที่ราคาต่ำ

Price Level สำคัญยังไง?
- Price Level หรือระดับราคาก็ต่อมาจาก Liquidity อีกที ระดับราคาที่กราฟมักจะหยุด-กลับตัว-ทะลุ ซ้ำๆ จะถือว่า Price Level นั้น มีบทบาทสำคัญต่อตลาด
- อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า Price Level นี่แหละที่เทรดเดอร์รายย่อยมองเห็นเป็นแนวรับ/แนวต้าน แต่รายใหญ่กลับมองเป็น Liquidity Pool = พื้นที่ที่มี Stop Loss หรือ Pending Orders ของรายย่อยจำนวนมาก
- ความแตกต่างระหว่างรายย่อยกับรายใหญ่คือ รายใหญ่ไม่ได้คาดการณ์ว่าราคาจะไปไหน แต่พวกเขาสร้างเงื่อนไขให้ราคาเคลื่อนไปทิศที่เขาอยากให้ไป เช่น
- Breakout หลอก: ดันราคาให้ทะลุแนวต้านสำคัญ คนแห่ไล่ซื้อแต่รายใหญ่เทขายใส่ทันที ราคากลับเข้าแนวเดิม รายย่อยที่ออกออเดอร์ก็ขาดทุน
- Stop Hunt: ดันราคาไปแตะจุดที่มี Stop Loss เยอะ สร้างสภาพคล่องให้เข้า Position หลังจากนั้นราคาก็มักจะกลับตัวไปยังทิศทางเดิม
- Fakeout: สร้างสัญญาณเท็จให้นักเทรดรายย่อยเข้าใจผิดและเข้าสู่ตลาดในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง เพื่อเปิดสวนให้รายย่อยขาดทุน
- Whipsaw: คล้ายกับ Stop Hunt คือการทำให้ราคาที่ขึ้นลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง คล้ายกับการเลื่อยไม้ เทรดเดอร์ที่พยายามจับทิศทางอาจพลาดจังหวะและอาจถูก Stop Loss หรือตัดสินใจปิดสถานะด้วยความตกใจ

ตัวอย่างการเข้าเทรดของรายใหญ่

จุดสังเกต
- บริเวณแนวรับที่ถูกเบรคลงมา มักจะมี Buy Limit Order (คำสั่งซื้อรอ) วางอยู่จำนวนมาก เทรดเดอร์ที่เชื่อว่าราคามีโอกาสเด้งขึ้นจากแนวรับเดิมก็จะตั้งออเดอร์ซื้อ(Buy) รอไว้
- การที่ราคามีปฏิกิริยา ณ ระดับราคาเหล่านี้ สะท้อนถึงการตัดสินใจเทรดตามแนวรับแนวต้านหรือ Demand/Supply Zone ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กัน
สิ่งที่เกิดขึ้น
- เมื่อราคาลงมาด้วยแรงขาย (Sell Order) มันได้เข้ามาจับคู่กับ Buy Limit Order ที่วางไว้ ทำให้ปริมาณ Buy Order ในบริเวณนั้นลดลง (Liquidity ลดลง) Buy Limit Order ที่ถูกจับคู่ ก็กลายเป็นสถานะซื้อ (Long Position)
- เทรดเดอร์ที่เปิด Long Position เหล่านี้ ก็มักจะตั้ง Stop Loss และ Take Profit ซึ่งคำสั่งเหล่านี้ก็เป็นเหมือน Liquidity เช่นกันในตัวอย่าง ส่วนมากรายย่อยก็จะตั้งไว้ใต้กรอบ Demand Zone
- เมื่อรายใหญ่ สังเกตเห็นการกระจุกตัวของคำสั่งอย่าง Buy Limit และการตั้ง Stop Loss ของรายย่อย จึงดันราคาลงไปกิน Stop Loss ของรายย่อยบริเวณใต้ Zone ด้วยคำสั่งขาย (Sell) จำนวนมาก
- เมื่อ Stop Loss เหล่านั้นทำงาน รายย่อยที่เห็นว่าราคาหลุด Zone จึงรีบเปลี่ยนคำสั่งกลายเป็น Sell Market Order มันก็จะมาเจอกับ Buy Limit Order ที่รายใหญ่วางไว้ ทำให้รายใหญ่ได้เข้าตลาดในราคาที่ดีกว่าและ Stop Hunt ก็เกิดขึ้น ด้วยเหตุผลนี้
ปล. Stop Hunt ไม่ใช่แค่ “หลอกกิน Stop” แต่เป็นกลยุทธ์เพื่อเติม Liquidity ให้เข้าตลาดได้ในปริมาณมากเพราะรายใหญ่ไม่สนใจทิศทางกราฟเท่ากับ “ตำแหน่งที่มีคำสั่งจำนวนมากรออยู่” เพราะนั่นคือโอกาสในการเข้าเทรดแบบ Low Risk / High Reward
เทรดเดอร์รายย่อยควรเรียนรู้จากรายใหญ่ยังไง?
- อดทนรอจังหวะ ไม่ไล่ราคา: แทนที่จะรีบร้อนเข้าเทรดตามการเคลื่อนไหว ควรสังเกตและรอให้เกิดสภาวะที่อาจเป็น “Liquidity Trap” ก็คือพวก False Breakout หรือ Stop Hunt จากรายใหญ่นี่แหละครับ
- วิเคราะห์เชิงลึกด้วย Volume, Order Flow, Price Action: 3 อย่างนี้คือพระเอกที่จะช่วยให้รายย่อยไม่ติดกับดักรายใหญ่
-
- Volume: แสดงปริมาณการซื้อขาย ระดับราคาต่างๆ เราจะได้เห็นว่าบริเวณไหนมีคำสั่งซื้อขายเยอะ
- Order Flow: การวิเคราะห์การไหลของคำสั่งซื้อขายแบบเรียลไทม์ เพื่อเช็คความสมดุลระหว่างแรงซื้อและแรงขาย
- Price Action: การวิเคราะห์พฤติกรรมของกราฟราคา เน้นไปที่รูปแบบแท่งเทียนและ Chart Pattern
- เข้าใจ Liquidity เชิงลึก: เทรดเดอร์ต้องตระหนักไว้เสมอว่าแนวรับแนวต้านหรือโซน Demand/Supply เป็นพื้นที่ที่มีความผันผวนราคาจะวิ่งไม่ได้ถ้าไม่มีฝั่งตรงข้ามรายใหญ่จึงล่อให้รายย่อยเปิด Order ก่อน
- จุดที่คนเข้าเทรดเยอะ = จุดที่รายใหญ่จะเข้าเทรดสวน ให้เผื่อพื้นที่สำหรับการแกว่งตัวของราคาไว้เสมอ

วิดีโอเกี่ยวกับ Liquidity
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Liquidity แบบเชิงลึกมากขึ้น ทีมงานเลยอยากจะแชร์วิดีโอตัวนี้ให้ผู้อ่านได้เห็นภาพและเข้าใจ Liquidity ในตลาด Forex มากยิ่งขึ้นครับ
- Focus นาทีที่ 00:18 แนวคิดเรื่องสภาพคล่อง (Liquidity)
- Focus นาทีที่ 00:48 การระบุพื้นที่สภาพคล่อง Liquidity Zone
- Focus นาทีที่ 03:07 ปฏิกิริยาของราคาเมื่อต้องเจอ Liquidity Zone
สรุป
เมื่อเราเข้าใจแล้วว่ารายใหญ่มักจะมองหา Liquidity เป็นหลัก เราจะเห็นภาพชัดขึ้นว่าทำไมพวกเขาถึงเลือกเข้าเทรดที่บริเวณนี้ การเคลื่อนไหวของตลาดไม่ได้เกิดจากเรื่องบังเอิญ แต่เป็นเหตุผลจากการหา Liquidity อย่างมีแบบแผนของรายใหญ่ สิ่งเหล่านี้คือข้อมูลความรู้ที่เทรดเดอร์รายย่อยอย่างเราๆ ควรจะต้องเข้าใจการทำงานของรายใหญ่และการเทรดตามรอยเท้าของรายใหญ่จะมีโอกาสชนะมากกว่า
สุดท้ายแล้วตลาด Forex ก็คือกลไกการซื้อขายในระดับใหญ่ ใครที่สามารถมองออกว่า ใครกำลังควบคุมทิศทาง? พวกเขากำลังมองหาอะไร? คนนั้นก็จะมีมุมมองการเทรดที่เหนือกว่าเทรดเดอร์ทั่วไปครับ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com