พื้นฐาน Volumes Indicator กับสุดยอดเครื่องมือที่ถูกลืม

พื้นฐาน Volumes Indicator กับสุดยอดเครื่องมือที่ถูกลืม

อินดิเคเตอร์ที่มักจะถูกมองข้ามแต่กลับใช้งานได้ดีมากหากใช้ให้เป็น Volumes Indicator !! … ในวันนี้มาพบกับบทความวิธีการใช้อินดิเคเตอร์พื้นฐานอย่าง Volume Indicator ที่มีความสามารถในการบ่งบอกถึงปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์หรือคู่สกุลเงินนั้นๆว่า ณ ขณะนั้นมีการซื้อขายมากน้อยเพียงใดเพื่อนำข้อมูลนี้ไปต่อยอดในการใช้วิเคราห์กราฟในอนาคตนั่นเอง


ความหมายของ Volumes Indicator คือ

Volumes Indicator คือ อินดิเคเตอร์ที่ถูกจัดอยู่ในอินดิเคเตอร์พื้นฐานของโปรแกรม MT5 และ MT4 และยังถูกจัดอยู่ในอินดิเคเตอร์ประเภท Volume ซึ่งแน่นอนว่าประโยชน์ของมันถือความสามารถในการบอกถึงปริมาณการซื้อขาย ณ ขณะนั้นว่ามีมากน้อยเพียงใดแต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการใช้งานผมขอทำการอธิบายพื้นฐานเกี่ยวกับ Volume ให้ฟังกันก่อนครับว่ามีคำนิยามและและความหมายเป็นอย่างไรเพื่อให้สามารถรู้ถึงความสำคัญของมัน

รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของ Volumes Indicator
รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของ Volumes Indicator

Volume แปลความหมายตามภาษาอังกฤษตรงตัวได้ว่า “ปริมาณ” และแน่นอนว่าทุกครั้งที่มีการซื้อขายหากเราทราบถึงปริมาณแล้วเราจะสามารถอนุมานได้ว่า ณ สถาณการณ์นั้นจะเป็นอย่างไร เช่น หากเราทำการซื้อขาย ณ ที่ใดที่หนึ่งของราคาเราจะต้องมีการพิจารณาในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคและอินดิเคเตอร์ต่างๆเข้ามาพิจารณาด้วย แต่ถ้า ณ ขณะนั้นเราสามารถรู้ได้ว่าปริมาณการซื้อขายที่เราจะซื้อนั้นกลับมีปริมาณที่สูงมากนั้นหมายความว่าเราสามารถจะใช้ข้อมูลนี้ในการพิจารณาต่อไปได้ว่าเราควรที่จะเข้าออกออเดอร์ดีหรือไม่

เพราะการที่เมื่อใดก็ตามเมื่อมีปริมาณการซื้อขายที่มากกว่าผิดปกตินั้นหมายความว่ามีทั้งผู้ซื้อและขายในราคาตรงจุดนั้นเป็นจำนวนมากและแน่นอนว่าเราต้องหาเหตุผลว่า ณ ราคาจุดๆนั้นมีความสำคัญอย่างไรจึงทำให้เกิดการปริมาณการซื้อมากที่จุดนั้น นั่นหมายความว่า คุณมีโอกาสที่จะทำกำไรไปพร้อมกับคนอื่นๆหรือสูญเสียโอกาสในการทำกำไรก็ได้เช่นเดียวกันนั่นเอง โดยบทความนี้ก็จะมาสอนถึงวิธีการใช้งานและการวิเคราห์ปริมาณการซื้อขายเบื้องต้นในแต่ละจุดให้ได้รับชมกันนั่นเองครับ

วิธีคำนวณ สูตร Volumes Indicator

จากการสืบหาข้อมูลในปัจจุบันสมการที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบ แต่สามารถระบุการเกิดสีต่างๆของแท่งอินดิเคเตอร์ตัวนี้ได้ว่าเกิดจากการเปรียบเทียบของปริมาณการซื้อขาย ณ ราคากราฟปัจจุบันเทียบกับปริมาณการซื้อขายของกราฟแท่งเทียนในราคาก่อนหน้า ซึ่งแน่นอนว่าค่าที่ได้ออกมาจะแตกต่างกันไปในแต่ละทามเฟรมโดยผมจะทำการสรุปได้ดังสมการต่อไปนี้

สูตรคำนวณ

  • Value Up = ปริมาณการซื้อขาย ณ ปัจจุบันมากกว่า ปริมาณการซื้อขายก่อนหน้า
    (ระบบตั้งค่าดั้งเดิมให้เป็นสีเขียว)
  • Value Down = ปริมาณการซื้อขาย ณ ปัจจุบันน้อยกว่า ปริมาณการซื้อขายก่อนหน้า
    (ระบบตั้งค่าดั้งเดิมให้เป็นสีแดง

การเรียกใช้งานพร้อมวิธีตั้งค่า

อันดับแรกให้เข้าสู่โปรแกรม MT5 หรือ MT4 จากนั้นให้ทำการเลือก Insert>Indicators>Volumes> Volumes ดังตัวอย่างรูปภาพด้านล่าง

รูปที่ 2 วิธีการเรียกใช้งานอินดิเคเตอร์ Volumes
รูปที่ 2 วิธีการเรียกใช้งานอินดิเคเตอร์ Volumes

หลังจากนั้นจะปรากฎหน้าต่างการตั้งค่าของอินดิเคเตอร์ขึ้นมาให้สังเกตว่าเราไม่สามารถที่จะตั้งค่าอะไรได้เลยนอกจากสีและความหนาของเส้นโดยผมจะทำการเปลี่ยนเพียงขนาดของเส้นอินดิเคเตอร์เท่านั้นเพื่อให้สามารถใช้งานอินดี้ได้ง่ายขึ้น

รูปที่ 3 วิธีการตั้งค่าอินดิเคเตอร์ Volumes
รูปที่ 3 วิธีการตั้งค่าอินดิเคเตอร์ Volumes

พื้นฐานการใช้งาน Volume Indicator

จากที่เราได้อธิบายหลักการเบื้องต้นของอิดิเคเตอร์ Volume ไปแบบพอหอมปากหอมคอบ้างเรียบร้อยแล้วต่อมาผมก็จะอธิบายเกียวกับพื้นฐานการใช้งานและสิ่งสำคัญที่ต้องระวังเพื่อให้สามารถเห็นภาพให้ชัดยิ่งขึ้นไปอีกได้ดังต่อไปนี้

รูปที่ 4 สีของอินดิเคเตอร์ Volumes
รูปที่ 4 สีของอินดิเคเตอร์ Volumes

ประแรกคือ สีของอินดิเคเตอร์นั้นเป็นเพียงการบ่งบอกถึงปริมาณการซื้อขาย ณ ราคากราฟปัจจุบันเทียบกับปริมาณการซื้อขายของกราฟแท่งเทียนในราคาก่อนหน้าเท่านั้น จากภาพที่ 4 จะเห็นได้ว่า ณ ราคาปัจจุบันนั้นมีการขึ้นลงของกราฟราคาแท่งเทียนยังไม่สิ้นสุดทำให้เกิด Volumes ขึ้นและลงไปมา โดยสามารถสังเกตจากรูปได้ว่าเมื่อใดก็ตามหาก Volumes ปัจจุบนน้อยกว่า Volumes แท่งก่อนหน้าก็จะเป็น Volumes แท่งสีแดง แต่หากมากกว่าก็จะเป็นแท่งสีเขียว

ดังนั้นเราจึงไม่สามารถระบุได้ว่า ปริมาณที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นเป็นปริมาณจากกการซื้อหรือการขายอย่างใดอย่างหนึ่งได้และ Volumes สีเขียวนั้นไม่ได้หมายถึงเกิดปริมาณซื้อที่มากกว่าแต่อย่างใด โดยเหตุผลที่ใช้อ้างอิงคือเมื่อมีผู้ซื้อก็ต้องมีผู้ขายนั้นเองครับ ในกรณีนี้เราจะถือว่าปริมาณที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการบ่งบอกถึงจำนวนเท่านั้นแต่ไม่ได้บอกถึงประเภทผู้ซื้อและผู้ขายที่มากกว่ากัน

รูปที่ 5 ปริมาณที่เกิดขึ้นของอินดิเคเตอร์ Volumes ในแต่ละช่วงเวลา
รูปที่ 5 ปริมาณที่เกิดขึ้นของอินดิเคเตอร์ Volumes ในแต่ละช่วงเวลา

รวมไปถึงปริมาณที่เกิดขึ้นนั้นจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาหรือทามเฟรมที่ใช้ด้วยนั้นเองครับจะเห็นได้อย่างชัดเจนในรูปภาพที่ 5 ว่าในช่วงเวลาของ H1 และ Day มีปริมาณของ Volume ที่แตกต่างกันอย่างมากเนื่องจากเราทำการอ้างอิงเทียบกับปริมาณของกราฟ ณ แท่งเทียนนั้นๆครับและข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งอินดิเคเตอร์นี้ควรจะใช้ในช่วงทามเฟรม H1 ลงมาเนื่องจากจะทำให้สามารถเห็นถึงปริมาณที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น จึงเหมาะกับผู้ที่ทำการเทรดในระยะสั้นๆมากกว่าระยะยาวนั้นเอง

รูปที่ 6 การใช้ปริมาณ Volume ในการดูเทรนด์
รูปที่ 6 การใช้ปริมาณ Volume ในการดูเทรนด์

ประการที่สอง การใช้ปริมาณ Volume ในการดูเทรนด์ จากรูปภาพที่ 6 ด้านบนครับผมจะขออธิบายให้ฟังอย่างง่ายได้ว่ากราฟมีการทำพักตัวและอยู่ในสภาะ Sideway มาสักพักอันเนื่องมาจากการเกิด Volume ที่ไม่มากและค่อนข้างสม่ำเสมอนั้นหมายความถึงยังไม่มีปริมาณการซื้อขายเข้ามามากเท่าไรแต่ทันที่มีการเกิด Volume ที่มากขึ้น ณ หมายเลข 2 นั้นหมายถึงขณะนั้นมีโอกาสที่กราฟจะมีการปรับตัวไปในทิศทางใดทางนึงนั่นเองครับ

รูปที่ 7 การใช้ปริมาณ Volume ในการปริมาณการซื้อขายที่มากเกินไป
รูปที่ 7 การใช้ปริมาณ Volume ในการปริมาณการซื้อขายที่มากเกินไป

ประการที่สาม การใช้ปริมาณ Volume ในการปริมาณการซื้อขายที่มากเกินไป จากรูปภาพที่ 7 จะปรากฎให้เห็นถึงกราฟมีการทำราคาเป็นเทรนด์ขาขึ้นโดยที่ก่อนหน้านี้มีอัตราการเกิดของ Volume ที่ไม่มากและสม่ำเสมอ ก่อนที่จะมีการเพิ่มขึ้นของ Volume อย่างรวดเร็วจึงสามารถที่จะบ่งบอกได้ว่าเมื่อมีการปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้น ณ จุดๆนั้นก็มีโอกาสที่กราฟจะทำการย่อลงมาพักตัวหรือสามารถกลัวตัวได้นั่นเองครับ

ข้อจำกัดในการใช้งาน Volume Indicator

  • ไม่สามารถใช้ อินดิเคเตอรเพียงตัวเดียวในการใช้งานได้แต่ต้องมีกลยุทธ์และองค์ความรู้อื่นๆเข้ามาพิจารณาด้วยเพราะอินดิเคเตอร์นี้สามารถที่จะบอกถึงปริมาณการซื้อขายได้เพียงอย่างเดียว
  • วิธีการใช้งานนั้นคิดอยู่กับวิธีการพิจารณาของแต่ละคนดังนั้นเราจึงต้องมององค์ประกอบอื่นๆด้วยและยังต้องอาศัยความรู้และประการ์ณอื่นๆร่วมด้วย
  • ไม่สามารถใช้งานในทามเฟรมใหญ่ๆได้เนื่องจากมีปริมาณการซื้อขายที่แตกต่างกันไม่มากเมื่อเทียบกับกับ Volumes ก่อนหน้า

สรุป

Volumes Indicator คืออินดิเคเตอร์ที่สามารถบ่งบอกถึงปริมาณการซื้อขายของสินทรัพย์หรือคู่สกุลเงินนั้นโดยสามารถนำค่าที่ได้ไปใช้งานในการวิเคราห์กราฟในอนาคตได้หลากหลายรูปแบบ…แต่น่าเสียดายที่เราไม่สามารถบอกได้ว่า มีปริมาณการซื้อหรือปริมาณการขายที่มากกว่ากัน ถึงกระนั้นก็ยังมีอินดิเคเตอร์อื่นๆที่สามารถหาคำตอบในเรื่องนี้ได้หากใช้คู่กันอาจจะเป็นเทคนิคที่ดีมากเลยครับ ดังนั้นแล้วการใช้อินดิเคเตอร์ Volumes ควรจะใช้ร่วมกับเทคนิคและอินดิเคเตอร์อื่นๆร่วมด้วยเพื่อให้สารถตอบโจทย์การใช้งานได้มากขึ้นนั้นเอง

อ้างอิง

https://www.metatrader5.com/en/terminal/help/indicators/volume_indicators/volumes

https://forexthai.in.th/volume-forex/