Stop Hunting สิ่งที่ต้องเจอ
เมื่อท่านผ่านการเทรดมาสักระยะท่านอาจจะได้ยินคำว่า stop hunt ล่าstops ของโบรกบ้างของรายใหญ่บ้างซึ่งมันไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะถ้าท่านเข้าใจการทำงานออเดอร์ประเภทStop ordersท่านจะรู้ว่ามันจำเป็นและเป็นประเภทออเดอร์ที่สามารถบังคับให้เกิดได้ถ้าท่านสามารถสร้างเงื่อนไขที่ทำให้ราคาวิ่งไปถึงจุดตั้งStop ordersพวกนี้ได้
Stop hunting เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นในตลาดเพราะการเทรดและการทำกำไรของขาใหญ่ การเข้าใจว่าทำไม stop hunt จึงเกิด หรือเกิดที่ไหน และอย่างไร จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะได้รู้ทันว่าจะเทรดตามหรือจะแก้ position ที่อยู่ในตลาดอย่างไร
ประเภทออเดอร์มีmarket orders,limit orders,และstop ordersถ้าเป็นคำสั่งในmetatrader4พวก Limit ordersก็คือpending ordersมีsell limitและbuy limitถ้าเป็นstop ordersก็จะเป็นstop lossและbuy stop/sell stop.หลักการออเดอร์ ออเดอร์ประกอบด้วยจำนวนเทรดหรือวอลลูมที่ราคานั้นๆเปิดเทรดหรือจัดการโดยเทรดเดอร์ถ้าเป็นlimit ordersก็จะเพิ่มliquidityเข้าไปราคานั้นๆmarket ordersที่เปิดเทรดราคาmarket price(best bid/best ask)ลดliquidityออกจากตลาด
Stop loss เป็นออเดอร์ประเภทหนึ่งที่เป็น limit orders หรือ pending orders ใน Metatrader 4/5 จุดประสงค์หลักของคำสั่งประเภทนี้คือเพื่อจำกัดความเสี่ยงเบื้องต้นแต่ละออเดอร์ถ้าเกิดตลาดไม่ได้ไปตามที่เราคาดการณ์หรืออะไรจะเกิดขึ้นอย่างแรง เช่นข่าวแรงๆ เข้ามากระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคา เช่นช่วงข่าวนอนฟารม์หรือข่าวพวก FOMC
Stop loss มาจากการจำกัดความเสี่ยงของ open positions หรือออเดอร์ที่เปิดอยู่ในตลาด กำลังกำไร (in the money หรือ in profit) หรือกำลังติดลบ (out of the money หรือ in loss) จำนวนวอลลูมแต่ละออเดอร์ไม่รู้เพราะว่า ตลาดฟอเรกไม่ได้เปิดเผยเรื่องวอลลูมเพราะไม่ได้เป็น centralized trading server แบบตลาด Futures หรือ Options
ส่วนstop orders นั้นทำ2อย่างพร้อมกันเพราะเมื่อstop ordersทำงานออเดอร์ก็นี้ก็จะกลายเป็น market orders ดังนั้นจึงบอกได้ว่าราคาเปลี่ยนแปลงเพราะออเดอร์เป็นตัวกำหนด ไม่ใช่เพราะ demand/supply,support/resistanceหรือtechnical analysisอื่นๆแต่จุดพวกนี้เป็นจุดที่ดึงliquidityเข้าตลาด การเปิดออเดอร์(placing trades)หรือจัดการหรือออกเช่นtaking profit/stop lossก็เลยเกิดขึ้นบนพื้นพวกนี้โดยปริยายขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ทำให้เทรดเดอร์เปิดเทรด หรือจัดการออเดอร์ต่างกันไป
ที่มาของ Stop Orders และกลไกการทำงาน
ต้องไม่ลืมว่าlimit ordersและmarket ordersมีผลต่อliquidityอย่างไรและstop ordersก็จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีliquidityเยอะๆเช่นsupply/demand,support/resistance,round numbers,fibo retracements, จุดwaveเป็นต้นแล้วแต่วิธีการของtechnical analysis
ส่วนstop ordersนั้นมีที่มาจาก2ส่วน คือส่วนที่รอเข้าตลาดคือsell stopและbuy stopและออเดอร์ที่เกิดจากtradersที่เปิดออเดอร์ที่อยู่ในตลาดต้องการจะออกจากตลาดถ้าเป็นการออกกำไรก็จะเป็นtake profit และถ้าสูญเสียก็เป็นstop lossตรงส่วนเรื่องstop huntนั้นจะเน้นเรื่องstop lossเป็นหลักเพราะกลุ่มหลังจะโดนบังคับต้องจำกัดความเสี่ยงเลยไม่มีทางเลือก
เช่นเรื่องของคำว่า accumulation เพราะเงื่อนไขตลาดเช่นถ้าขาใหญ่จะ stop hunt หรือล่า stop loss orders สิ่งแรกที่พวกเขาต้องมั่นใจคือว่า open positions พื้นที่พวกเขาต้องการต้องมากพอ ดังนั้นก็จะเห็นหลังช่วงตลาด accumulation เป็นหลัก และอีกอย่างที่ต้องดูประกอบเรื่องเวลาและ accumulation ยิ่งถ้านานยิ่งหมายความว่า positions ที่อยู่ในช่วง accumulation ก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ
ตำแหน่งการวาง Stop Loss และการเกิด Stop Hunting
Stop loss ออเดอร์อยู่ตรงไหน เมื่อกล่าวทั่วไปที่ไหนมี positions ถ้าเป็นเทรดเดอร์ที่มีวินัยหรือรับความเสี่ยงบื้องต้นได้ ก็จะมีการกำหนด stop loss เบื้องต้นไปแต่ละ position ที่เปิดเข้าไปในตลาด หลักการตั้ง stop loss ทั่วๆ ไปก็จะเป็นใต้ swing low เล็กน้อยหรือเหนือกว่า swing high เล็กน้อย หรือต่ำกว่า demand และสูงกว่า supply หรือต่ำกว่า support และสูงกว่า resistance เล็กน้อย เมื่อเกิดพื้นที่สะสมออเดอร์หรือช่วง accumulation บอกให้รู้ว่า open positions อยู่ตรงไหนมาก ดังนั้นพื้นที่เป็น accumulation ส่วนมากก็จะเป็นเป้าสำหรับ stop hunting
การทำงานของ Stop Orders
ออเดอร์มี 3 ประเภทหลักๆ คือ market orders, limit orders (หรือ pending orders) และ stop orders โดย market orders จะเป็นออเดอร์ที่เปิดจากราคาปัจจุบัน ที่เรีกว่า Best Bid หรือ Best Ask แล้วแต่เราเปิดเทรดข้างไหน Market orders หน้าที่หลักคือลด liquidity หรือจำนวนวอลลูมที่ราคานั้นเมื่อเปิดเทรด (ราคานั้นก็คือราคาปัจจุบันเมื่อราคาไปถึง) Limit orders หน้าที่หลักคือเพิ่ม liquidity หรือจำนวนวอลลูมเข้าที่ราคานั้นๆ ที่มีการตั้ง limit orders ดังนั้น trading transaction จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการจับคู่ระหว่าง market orders กับ limit orders ฝั่งตรงข้าม ราคาจะขึ้นหรือจะลงเป็นผลการบวก-ลบ ระหว่าง market orders และ limit orders ถ้า limit orders ไม่มากพอ market orders ที่เข้ามาก็จะไปเทรดที่ราคาปัจจุบันของตลาดต่อไป ส่วน stop orders คือออเดอร์ที่ทำหน้าที่ 2 อย่าง ทั้ง limit orders และมาเป็น market orders ดังนั้น stop orders จะทำงานก็ต่อเมื่อราคาวิ่งไปถึงจุดที่ตั้งจากนั้นก็กลายเป็น market orders
กรณีศึกษาและการวิเคราะห์ Stop Hunting
อย่างแรกเมื่อเข้าใจการทำงานของ stop orders ทำงานอย่างไร นั่นคือ stop orders สามารถทำให้เกิด market orders ไป fill กับ limit orders ได้อย่างง่าย ทำให้เทรดเดอร์ที่ตั้ง limit order มั่นใจได้ว่าออเดอร์ของพวกเราจะได้เข้าตลาดและได้ราคาที่ดี แถม market orders ที่เข้ามามาจากประเภท บังคับทำงาน
จากที่อธิบายมาจึงไม่แปลกที่จะเกิด stop hunt 1 ก่อนเพื่อขาใหญ่ต้องการจะเข้าเทรดจากด้านบนเพราะ buy market orders สามารถวิ่งเข้าไปหา sell limit orders ด้านบนได้ แล้วดันราคาลงมาแตะ stop orders ด้านล่างทำให้เกิด stop hunt 2 ก็จะทำให้เกิด sell market orders ที่พื้นที่ตรงนั้นไปเลยทำให้ดันราคาลงไปต่อได้เร็ว
ชาร์ตราคาลงมา ยืนยัน supply 1 และ supply 2 แล้วราคาเด้งกลับขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้ราคาล่าสุดอยู่ในกรอบสีแดงเลข 2 ไม่ไปไหนหลังจาก sideway มาสักระยะเป็นหลัก ตรงพื่นที่ sideway เลข 1 ก็จะมี open positions ทั้ง buy และ sell อยู่ในตลาด ความรู้ทั่วไปในการเทรดคือ จากจุดนี้ถ้าท่านเข้าใจตลาดและออเดอร์ทำงานอย่างไรและเทรดเดอร์ เทรดอย่างไร ท่านก็จะวิเคราะห์ได้ว่า
1. ถ้าเป็นพวกที่เปิดออเดอร์อยู่แล้วและติดลบ ก็จะตั้ง stop loss บนหรือล่างกรอบ อาจเป็นจุด high/low หรือนับ pips ก็ได้
2. ถ้าพวกที่รอเทรด breakout/breakdown เทรดเดอร์พวกนี้ก็จะ ตั้ง buy stop หรือ sell stops บนหรือล่างกรอบราคา สิ่งที่คนทั้ง 2 กลุ่มนี้ทำคือ ตั้ง stop orders ถ้าขาใหญ่จะเข้าเทรดบ้าง แต่ไม่แน่ใจว่า liquidity จะพอเข้าเมื่อ sell หรือเปล่า เพราะด้วยที่เป็นขาใหญ่และเทรดด้วยจำนวนเยอะเลยต้องการออเดอร์ฝั่งตรงข้ามที่เยอะพอที่จะ fill sell orders ของพวกเขาแต่ที่พวกเขาเห็นแน่ๆ คือมี stop orders ที่อยู่เหนือและล่างกรอบ เขาต้องการจะ sell ก่อน เลยต้องไปโฟกัสที่ buy stops ถ้าพวกเขาสามารถดันราคาไปบนเพื่อให้ stops เหล่านี้ทำงาน buy market orders พวกนี้ก็จะเกิดขึ้นทันที พวกขาใหญ่ก็เลยไปวาง sell limit ไว้ด้านบนแถวพื้นที่ supply 1 ตรงจุดนี้อาจจะมองเป็นการปั่นราคา (price manipulation) ถ้าไม่เข้าใจเรื่องของออเดอร์ และการใช้จุดอ่อนของฝั่งตรงข้ามเพื่อเข้าเทรดตำแหน่งที่ดีกว่า
ผลที่ได้จากการทำให้ buy stops ทำงาน คือ
1. ขาใหญ่มั่นใจว่ามีออเดอร์ไปหา sell limit พวกเขา
2. ด้วย buy market orders พวกนี้มาจาก stops ออเดอรที่โดนเงื่อนไขบังคับเปิด ส่วนมากจะเป็นจุดที่ราคาสูงไปหรือต่ำไป
3. จำนวนLiquidityจำกัดเพราะmarket ordersพวกนี้มาจากการออกตลาดไม่ใช่เข้าตลาดความต่อเนื่องของออเดอร์เลยไม่ต่อเนื่องพอliquidityไม่มากพอก็จะทำให้sell market orders(หลังจากออเดอร์ที่พวกเขาfilledไปแล้ว)ทำให้ราคาลงง่ายผลที่เกิดคือขาใหญ่ได้จุดเข้าราคาที่ดีและราคาลงได้เร็วและง่ายพอลงมาราคาก็มาแตะ sell stopsที่ตั้งต่ำกว่าราคากรอบล่างก็จะปิดโอกาสให้ขาใหญ่ปิดทำกำไรsell positonsด้านบนบางส่วนได้ จนกว่ามีร่อยรอยว่าเปิดsellอีกรอบที่2บาร์สุดท้ายกรอบเลข4ราคาปิดต่ำกว่ากรอบเลข4 พวกขาใหญ่ก็ใช้ประโยชน์stopด้านล่างของกรอบเลข4 และจากกรอบเลข 2 อีกเลยทำให้ราคาลงได้ง่ายใต้เส้นเลข 5
Stop orders เป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งที่จำเป็นต้องมีเสมอ เพราะมีส่วนช่วยในการปกปิดการเทรดด้วยจำนวนเยอะๆ ของขาใหญ่ เพราะการเทรดด้วยจำนวนที่เยอะแต่ถ้าจำนวนออเดอร์ตรงข้ามไม่พอ ราคาก็จะวิ่งไปหา liquidity ที่ราคาจุดถัดไปจะทำให้เกิด slippage (จุดคลาดเคลื่อนที่ต้องการเข้ากับจุดที่การเทรดเปิดให้) ก็จะทำให้การจัดการยากขึ้นไปด้วย
ทีมงาน : thaiforexbroker.com