กลยุทธ์เทรด Set and forget
หัดใช้กลยุทธ์เทรด set and forget เหมือนจะดูง่าย แค่ตั้ง pending orders พร้อมด้วย take-profit และ stop-loss พอไม่ต้องมาปล่อยให้อารมณ์มายุ่งเกี่ยวหรือชึ้นำอีกตอนจะเปิด ปล่อยให้เป็นเรื่อง objective analysis วิเคราะห์จากสิ่งที่เห็น และเทรดแบบเป็นระบบ rule-based trading ตามที่กำหนดได้เลย ลดความเครียดและความกดดันจากอารมณ์
แต่การเทรดไม่ได้แค่ set and forget เท่านั้น การที่จะมาใช้กลยุทธ์แบบนี้ได้เพื่อความเป็นไปได้สูง อย่างแรกต้องมาจากความเข้าใจ นำความเข้าใจมาเป็นความรู้เทรดบ่อยๆ จนมั่นใจระดับการวิเคราะห์แล้วตั้งเทรดรอ การศึกษาเป็นเรื่องจำเป็นและความเข้าใจตลาดต้องมาก่อน ยกตัวอย่างกลยุทธ์เทรดแบบ Set and Forget แบบ supply/demand หรือ price levels
การใช้กลยุทธ์นี้อย่างแรกเลย ต้องสามารถแบ่งระดับความเป็นไปได้ของ price levels ได้ เช่นถ้าเป็นการให้คะแนนจุดที่ท่านต้องการเทรด คะแนนเต็มอาจเป็น 10 เช่นกรณีเทรดแนว supply/demand เป็นตัวอย่าง
1. Strength of the move
= strongest =2, strong = 1, weak = 0 เป็นการดูว่าราคาวิ่งจากไปตอนยืนยันว่าเป็น demand/supply อย่างไร วิ่งออกไปแรงๆ หรือค่อยๆ วิ่งออกไป โดยตรงนี้จะเป็นตัวบอกความไม่สมดุลย์ที่ระหว่าง sellers และ buyers เป็นอย่างไร ดังนั้นถ้าออเดอร์อีกฝ่ายหนึ่งมาก การจากไปก็ยิ่งแรงเพราะมีแต่ market orders ฝั่งนั้นไม่มี limit orders ฝั่งตรงข้ามพอ
2. เรื่อง Risk:Reward
= strongest = 2; strong=1, weak=0 เป็นการดูว่าราคาวิ่งไปจากตอนเกิด demand/supply เกิดความไม่สมดุลย์ในข้อแรกว่าไปได้ไกลหรือเปล่า เมื่อเทียบกับพื้นที่หรือส่วนที่เป็น base ของ demand/supply โดยเปรียบเทียบสัดส่วนอย่างน้อย 3 เท่าของ base ก็เป็น Risk:Reward 1:3 ขึ้นถือว่าดีสุดให้คะแนนเป็น 2 ถ้าเป็น 1:2 ถือว่าดีให้คะแนนเป็น 1 และ 1:1 ให้คะแนนเป็น 0 เพราะ risk:reward บอความเป็นไปได้ ถ้ายิ่งมากยิ่งดี
3. เรื่องสัมพันธ์กับ timeframe ใหญ่
เพราะเราไม่ต้องเปิด sell จากการวิเคราะห์ใน H1 supply ที่ D1 demand เป็นต้น ต้องให้ไปทางเดียวกัน ต้องเปิด sell จากการวิเคราะห์ H1 supply ที่ D1 supply แบบนี้ หากให้คะแนนก็เป็น 2 – 1 – 0 ตามอันดับ
4. เรื่อง retracements
(strongest = 2, strong = 1, weak = 0) เพราะความเป็นไปได้สูงจะอยู่ที่การกลับมาครั้งแรก เพราะ unfilled orders ยังมากอยู่หรือมีเทรดเดอร์อยากเพิ่มเพราะพลาดจากรอบแรก และ trapped traders ก็จะต้องออกเพราะข้อมูลเปลี่ยนไป การเทรดการกลับมาครั้งแรกก็ให้คะแนน 2 การกลับมาครั้งที่สองก็ให้คะแนน 1 และครั้งสามไปเป็น 0
5. เรื่องเวลาที่ base
– หลักการออเดอร์และการและ fill ออเดอร์บอกว่า ถ้าออเดอร์ข้างใดข้างหนึ่งเกินกันมาก เวลาที่ใช้ในการ fill orders ก็จะน้อย ดังนั้นตรงที่เป็น base ของ supply หรือ demand ไม่ครวจะมีหลายบาร์ เช่นถ้าเป็น H1 ก็สัก 2-5 บาร์ หรือ H4/D1 1-3 บาร์พอ
6. เป็นการดูว่า ราคากลับมาหาพื้นที่จะเปิดเทรดอย่างไร
กลับมาแบบบาร์ยาวๆ หรือกลับมาแบบ สร้าง demand/supply มาตามทางที่วิ่งมาด้วย เพราะต้องไม่ลืมว่าราคาจะวิ่งไปได้ง่ายทางที่มีน้อย หรือไม่มี demand/supply เมื่อ market orders เข้ามา ราคาจะไปทางนั้นง่าย ดังนั้นเมื่อเราเปิดเทรดเราต้องเห็นทางที่ราคาจะวิ่งไปมีตัวต้านทานน้อยหรือเปล่า
Enhancer | Score | Max Score |
1. Strength of the move | 2 | |
2. Risk:Reward | 2 | |
3. Location with Big picture | 2 | |
4. Retracements | 2 | |
5. Time at level/base | 1 | |
6. Arrival | 1 | |
Total score | 10 |
หรือแม้แต่ support/resistance level ก็ทำแบบเดียวกันได้เพราะ ถ้าท่านจะใช้กลยุทธ์ set and forget แต่ละจุดที่ท่านจะวางออเดอร์ ต้องผ่านการกรองต่างๆ เช่นเดียวกับการกรอง demand/supply ด้านบน กลยุทธ์การเทรดอาจเป็นดังนี้ เช่น ถ้า total score เท่ากับ 9 หรือ 10 ท่านอาจตั้ง limit orders ถ้าเป็น 8 ท่านอาจเปิดเทรดเองเพราะต้องรอดู price action ยืนยัน และถ้าคะแนนต่ำกว่า 7 ท่านอาจไม่เทรดเลย
ชาร์ตด้านขวาเป็น D1 เริ่มด้วยเลข 1 จะราคาลงแรงบาร์ยาวๆ และชนะฝั่งตรงข้าม บอกว่าขาใหญ่เข้าเทรดเลยมี sell market orders เยอะและต่อเนื่อง เลข 2 เป็นการเช็ค risk:reward โดยเปรียบเทียบกับกรอบ base ของ supply ด้านบนและราคาวิ่งลงไปล่างสุดก่อนกลับมา สัดส่วนน่าจะได้ 1:3 ได้ เลข 3 เป็นการดูตำแหน่งที่จะเทรดว่าสัมพันธ์กับ big picture หรือเปล่า ในที่นี้คือชาร์ตขวามือคือชาร์ต D1 ที่เป็น supply ที่ต้องการหาโอกาสเข้าเทรด ถ้าเปิด sell ตรงนี้ก็จะสัมพันธ์กันพอดีไม่ได้เทรดสวนเทรน เลข 4 เป็นการกลับมาครั้งแรกของราคา ขาใหญ่เทรดไปครั้งแรกและชนะฝ่ายตรงข้ามด้วยจากข้อแรกที่เปิดเผย เป็นไปได้ว่าขาใหญ่จะเข้าเทรดอีก เทรดเดอร์อื่นๆ ที่รอก็เห็นก็เข้าเทรดอีก เทรดเดอร์พวกเทรดสวนขึ้นมาถ้าราคาไม่ไปต่อก็จะออกอีก คำสั่งพวกนี้ล้วนทำให้เกิด sell orders อีกรอบ เลข 5 ดูเวลาที่ base ของ supply จะเห็นว่า 2 บาร์ก่อนลง ใช้เวลาไม่นานเมื่อเทียบกับการลง เป็นการบอกได้ว่าความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นจริง และสุดท้ายที่เลข 6 ที่ตีเป็น 2 เส้นคู่กันเพื่อดูว่าราคาวิ่งกลับมาอย่างไร จะเห็นว่าระยะห่าง demand 1 ก็ห่างพอที่จะสะสมกำไรได้ อาจเป็นการปิดบางส่วนถ้าเปิดเทรดลงไปเพราะ demand 1 ไม่มีโครงสร้างที่แข็งพอ ราคาอาจแค่หยุดพักสักระยะน่าจะลงไปต่อได้ ตรงแถว demand 2 น่าจะเป็นจุดทีพีที่ราคาวิ่งไปได้
ท่านอาจให้คะแนนดังนี้
Enhancer | Score | Max Score |
1. Strength of the move | 2 | 2 |
2. Risk:Reward | 2 | 2 |
3. Location with Big picture | 2 | 2 |
4. Retracements | 2 | 2 |
5. Time at level/base | 1 | 1 |
6. Arrival | 0 | 1 |
Total score | 9 | 10 |
ถ้า total score ท่านให้คะแนนได้แบบที่เป็นตัวอย่าง ท่านก็จะตั้ง sell limit ordes ใว้ตรงที่เลข 3 ได้แบบไม่ต้องกังวล
ดังนั้น กลยุทธ์การเทรด set and forget จะต้องวิเคราะห์ให้ออกแบบนี้ก่อน และสามารถให้คะแนนลำดับความเป็นไปได้เป็น ว่ามีความเป็นไปได้มากขนาดไหน
ทีมงาน : thaiforexbroker.com