พื้นฐานการใช้ Renko Chart คู่แข่งกราฟแท่งเทียน

พื้นฐานการใช้ Renko Chart คู่แข่งกราฟแท่งเทียน

หนึ่งในอินดิเคเตอร์ประเภทกราฟที่เป็นถึงคู่แข่งของกราฟแท่งเทียน…. Renko Chart!! และวันนี้ก็มาถึงคิวอินดิเคเตอร์ Renko ที่เป็นอินดิเคเตอร์ประเภทหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของกราฟที่จะเข้ามาช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเข้าออกออเดอร์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้นและแน่นอนครับว่าทาง Thaiforexbroker ก็จะมานำเสนอถึงประโยชน์และข้อดีของการนำอินดิเคเตอร์ตัวนี้ไปใช้งานและรวมไปถึงบอกพื้นฐานการใช้งานเบื้องต้นเพื่อให้ทุกท่านนำไปต่อยอดและพัฒนากลยุทธ์ในการเทรดให้แม่นยำมากขึ้นไปอีก


Renko Chart คืออะไร

Renko Chart คือ หนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงพอสมควรครับซึ่งแน่นอนว่าถูกพัฒนาโดยคนญี่ปุ่นเช่นเดียวกันกับอินดิเคเตอร์ Heiken Ashi อีกทั้งยังเป็นคู่แข่งของกราฟแท่งเทียนที่คนนิยมใช้งานทั่วโลกอีกด้วย…และถึงแม้ว่ากราฟแท่งเทียนจะเป็นที่นิยมมากกว่าก็ตามแต่ก็ไม่ได้หมายความจะดีกว่า Renko Chart ไปซะทีเดียว แน่นอนครับว่าข้อดีและข้อเสียมันแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งานครับ

รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลอินดิเคเตอร์ Renko Chart
รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลอินดิเคเตอร์ Renko Chart

จากรูปภาพด้านบนจะเห็นได้ว่าลักษณะของกราฟ Renko นั้นมีความแตกต่างจากกราฟแท่งเทียนเป็นอย่างมากครับโดยลักษณะนั้นจะมีความคล้ายกับก้อนอิฐที่เรียกต่อกันในแนว 45 องศาวัดจากแนวระนาบโดยที่จะขึ้นหรือจะลงก็ขึ้นอยู่กับขนาด Box Size นั้นเองครับและเราสามารถกำหนดได้ว่าจะค่าที่เท่าไร โดยผมจะทำการอธิบายรายละเอียดเชิงลึกให้ฟังในหัวข้อถัดๆไปนะครับ ยิ่งไปกว่านั้นกราฟ Renko เป็นกราฟที่ไม่ได้ใช้ระยะเวลามาคำนวน ดังนั้นแล้ว Time Frame จะไม่มีผลต่อการคำนวนของอินดิเคเตอร์โดยผมจะทำการยกตัวอย่างให้เห็นภาพในหัวข้อถัดๆไปนะครับ

วิธีการคำนวณ Renko Chart

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าอินดิเตอร์ Renko จะมีลักษณะเป็นก้อนอิฐและไม่มีสูตรการคำนวนเนื่องจากก้อนอิฐที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาตามระยะทางที่กำหนด เช่นหากเรากำหนดให้ Renko เกิดขึ้นหนึ่งก้อนต่อระยะทางที่เปลี่ยนแปลงไป 10 pip ก็เท่ากับว่าหากมีการเคลื่อนที่ต่างจากเดิม 10 pip ก็จะมีก้อนอิฐเพิ่มขึ้นมา 1 ก้อนซึ่งเป็นค่าที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า Box size นั่นเองครับ

รูปภาพที่ 2 ตัวอย่างการเกิด Renko หนึ่งก้อนต่อระยะทางที่เปลี่ยนแปลงไป 10 pip
รูปภาพที่ 2 ตัวอย่างการเกิด Renko หนึ่งก้อนต่อระยะทางที่เปลี่ยนแปลงไป 10 pip

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าต่อแม้เวลาจะผ่านไปเป็นวันๆแต่หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาเกินกว่า 10 pip ก็จะไม่มี Renko เกิดขึ้นมาใหม่นั่นเอง ผมจึงสรุปไปดังต้นบทความได้ว่าอินดิเคเตอร์ตัวนี้เวลาและ Time Frame จะไม่มีผลต่ออินดิเคเตอร์นั่นเอง

วิธีเรียกใช้งานและตั้งค่า

เนื่องจากอินดิเคเตอร์ตัวนี้ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในอินดิเคเตอร์มาตรฐานของโปรแกรม MT4 และ MT5 ดังนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องดาวน์โหลดอินดิเคเตอร์และทำการติดตั้งให้เรียบร้อยเสียก่อนโดยมีวิธีการขั้นตอนง่ายๆดังนี้

รูปภาพที่ 3 ตัวอย่างการเข้าสู่ระบบ MQL5 บนโปรแกรม Meta Trader 4 
รูปภาพที่ 3 ตัวอย่างการเข้าสู่ระบบ MQL5 บนโปรแกรม Meta Trader 4

1.ให้ทำการเข้าสู่ระบบ MQL5 บนโปรแกรม Meta Trader 4 ดังตัวอย่างรูปภาพด้านบน

รูปภาพที่ 4 วิธีการดาวน์โหลด Renko
รูปภาพที่ 4 วิธีการดาวน์โหลด Renko

2.หลักจากนั้นให้ทำการคลิกที่ลิงค์ https://www.mql5.com/en/market/product/57447 หลังจากนั้นให้ทำการเข้าสู่ระบบตามด้วยกด Download และให้เลือก Yes, I have… ตามลำดับดังรูปภาพด้านบน

รูปภาพที่ 5  วิธีการเรียกใช้งาน Renko
รูปภาพที่ 5  วิธีการเรียกใช้งาน Renko

3.เมื่อเสร็จแล้วอินดิเคเตอร์ก็จะไปปรากฎในช่องของ Navigator โดยอัตโนมัติ ให้เราทำการดูโฟลเดอร์ที่มีชื่อว่า Market ดังรูปจากนั้นให้ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่ออินดิเคเตอร์เพื่อทำการเรียกใช้งาน

รูปภาพที่ 6 วิธีการตั้งค่าพารามิเตอร์ Renko
รูปภาพที่ 6 วิธีการตั้งค่าพารามิเตอร์ Renko

4.ในการตั้งค่าพารามิเตอร์เป็นเราสามารถกำหนด Renko Box Size ได้ตามต้องการโดยที่นี้ผมจะตั้งค่าไว้ที่ 100 หน่วยเป็น Pip

พื้นฐานการใช้งาน Renko Chart

ก่อนที่จะไปเริ่มต้นพื้นฐานการใช้งานผมขอพูดคุยเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อแตกต่างของ Renko Chart กับ กราฟแท่งเทียนดังรูปภาพที่ปรากฎด้านล่างได้ว่า

รูปภาพที่ 7 ข้อแตกต่างกราฟแท่งเทียนและ Renko
รูปภาพที่ 7 ข้อแตกต่างกราฟแท่งเทียนและ Renko

การทำงานของ Renko นั้นจากที่ได้กล่าวไปว่าเวลานั้นไม่มีผลต่อการใช้งานเพราะแบบนั้นแล้วการแสดงผลของกราฟทั้งสองนั้นมีความแตกต่างกันมากพอสมควรซึ่งผมทำการเปรียบเทียบให้เห็นในกรอบสีชมพูเพื่อให้เห็นถึงข้อแตกต่างได้อย่างชัดเจนครับ โดยที่หากใครจะนำ Renko ไปใช้งานคู่กับกราฟแท่งเทียนก็ควรจะต้องระวังในจุดนี้ให้มากครับ อีกทั้งการใช้งานคู่กันอาจจะจำเป็นจะต้องเปิดถึงสองหน้าต่างเลยทีเดียว จึงอาจจะทำให้เกิดความสับสนเพิ่มมากขึ้นไปอีก

รูปภาพที่ 8 การใช้ Renko ในการดูเทรนด์ จุดกลับตัว และสัญญาณการเข้าออกออเดอร์
รูปภาพที่ 8 การใช้ Renko ในการดูเทรนด์ จุดกลับตัว และสัญญาณการเข้าออกออเดอร์

โดยวิธีการใช้งานเบื้องต้นนั้นค่อนข้างง่ายครับ เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนดังรูปภาพด้านบน เพียงเราดูสีที่เกิดขึ้นเท่านั้นเองผมจึงสรุปวิธีการใช้งานให้ฟังได้แบบง่ายๆดังนั้น

  • เมื่อ Renko เป็นสีเขียว มีโอกาสที่กราฟจะทำแนวโน้มขาขึ้น สามารถที่จะ Buy ได้
  • เมื่อ Renko เป็นสีแดง มีโอกาสที่กราฟจะทำแนวโน้มขาลง สามารถที่จะ Sell ได้
  • สามารถเล่นเป็นจุดกลับตัวได้หากมีการเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียว / สีเขียวเป็นสีแดง
  • สามารถใช้หลักการนี้ใช้เพื่อกำหนดจุดเข้าออกออเดอร์หรือใช้ในการตั้ง TP / SL ได้

เงื่อนไขการ Buy

รูปภาพที่ 9 เงื่อนไขการ Buy Renko+RSI XAUUSD H1
รูปภาพที่ 9 เงื่อนไขการ Buy Renko+RSI XAUUSD H1
  1. เพิ่ม RSI (14) เข้ามาจากนั้นรอสัญญาณ Renko เกิดก้อนอิฐสีเขียว
  2. ณ ขณะนั้น RSI จะต้องอยู่ใต้ ระดับ 30 ให้ทำการเปิดออเดอร์ Buy
  3. ทำการ SL / TP ไว้เมื่อ Renko เปลี่ยนไปเป็นก้อนสีแดง

เงื่อนไขการ Sell

รูปภาพที่ 10 เงื่อนไขการ Sell Renko+RSI XAUUSD H1
รูปภาพที่ 10 เงื่อนไขการ Sell Renko+RSI XAUUSD H1
  1. เพิ่ม RSI (14) เข้ามาจากนั้นรอสัญญาณ Renko เกิดก้อนอิฐสีแดง
  2. ณ ขณะนั้น RSI จะต้องอยู่เหนือ ระดับ 70 ให้ทำการเปิดออเดอร์ Sell
  3. ทำการ SL / TP ไว้เมื่อ Renko เปลี่ยนไปเป็นก้อนสีเขียว

ข้อควรระวังในการใช้

รูปภาพที่ 11 ข้อควรระวังในการใช้ Renko
รูปภาพที่ 11 ข้อควรระวังในการใช้ Renko

จากภาพด้านบนนี้จะเป็นเหตุการ์ณที่มีการเปลี่ยนแปลงของสี Renko ที่มักจะพบได้บ่อยและแน่นอนว่าเราไม่ควรจะใช้อินดิเคเตอร์ Renko ตัวเดียวในการเข้าออกออเดอร์เพราะจะสังเกตได้ว่าหลังจากที่มีการเปลี่ยนจากเขียวเป็นสีแดงได้ไม่นานนักก็กลับมีการเปลี่ยนกลับไปเป็นสีเขียวเหมือนเดิมนั่นเองครับ  ดังนั้นเราควรจะต้องมีอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆที่เหมาะสมเข้ามายืนยันสัญญาณการกลับตัวที่แท้จริงด้วยนั่นเอง

สรุป

อินดิเคเตอร์ Renko เป็นอินดิเคเตอร์ประเภทปรับเปรียบกราฟให้มีลักณะเป็นก้อนอิฐทำมุม 45 องศากับแนวราบและจะมีการการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของราคาตามค่าที่เรากำหนดซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของความสามารถในการดูเทรนด์และจุดกลับตัวอีกทั้งยังสามารถใช้ควบคู่กับอินดิเคเตอร์อื่นๆได้อย่างง่ายดาย ทั้งนี้แนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าควรจะใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆเนื่องจากมีหลายครั้งที่ Renko มักจะเกิดสัญญาณหลอกนั่นเองครับ

อ้างอิง

https://forexthai.in.th/renko-chart/

สารบัญบทความ