รูปแบบ Price Action แบบ 2 Bar Reversal

Price Action แบบ 2 Bar Reversal

รูปแบบ Price Action แบบ 2 Bar Reversal

รูปแบบ price action ต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ที่เทรดชาร์ตเปล่าพยายามหา pattern เพื่อจะง่ายต่อการทำความเข้าใจหรือเป็นรูปแบบเพื่อง่ายต่อการตีความหรืออ้างอิงทีหลังในการเทรด Pin Bar, Engulfing Bar, Outside Bar เป็นต้น ล้วนเป็นเพราะผลของการสู้กันระหว่าง buyers และ sellers ที่เกิดเป็น trading transaction ที่จบลงด้วยแท่งเทียนหรือบาร์ที่มีเรื่องเวลาเป็นตัวกำหนดสำหรับแต่ละแท่งเทียนหรือบาร์ ซึ่งตรรกะไม่ต่างกันเป็นเรื่องของความพยายามและผลที่ตามมา เช่น มองเป็นรูป trading pressure ที่เกิดจากข้างที่ดันราคากลับมาทำเป็น pin bar หรือมองเป็นว่าฝ่ายชนะด้วยการมองแบบ Engulfing bar หรือความพยายามยังมีผลต่อเนื่องด้วยการมองแบบ Outside Bar รูปแบบ 2 Bar Reversal ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้น

ตามที่เคยอธิบายมา ส่วนมากเรื่องรูปแบบ price action ต่างๆ ก็จะมองจาก 2 บาร์หรือแท่งเทียนขึ้นเป็นหลัก แล้วค่อยมาจำแนกรูปแบบต่างๆ กันออกไปแล้วแต่การตีความ หลักการ 2 Bar Reversal หลักๆ ก็เป็นแค่ Pin bar แต่แค่เป็นการมองจาก 2 บาร์ประกอบกัน หลักการที่จะทำให้ 2 bar Reversal ต่างไปจาก Engulfing Bar คือบาร์หลังไม่จำเป็นต้อง engulf บาร์ก่อนนี้แบบ Engulfing Bar

Bearish 2 Bar Reversal  โดยบาร์แรก ราคาต้องเป็น up bar หรือราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด และราคาปิดต้องใกล้ๆ ที่เป็น high เพราะจะทำให้เทรดเดอร์คิดว่าราคาได้เบรคขึ้นไป โดยเฉพาะเมื่ออยู่พื้นที่ resistance แต่นี่เป็นการหลอกหรือกับดัก เมื่อบาร์ที่สองเปิดขึ้นมาราคากลับลงล่างสวนอย่างรวดเร็วทำให้เทรดเดอร์ที่เปิด long positions ไปตอนที่ราคาขึ้นไปด้วยคิดวาราคาจะไปต่อติดลบ ราคาลงมาเลยทำให้ต้องเกิดการ liquidate ออเดอร์ที่ต้องออกเพื่อจำกัดการสูญเสียเลยทำให้เกิด sell market orders เข้ามาอย่างเร็ว โดยราคาปิดของบาร์ที่สองต้องใกล้กับราคาต่ำสุดและต่ำกว่าราคาเปิดของบาร์แรกด้วย

Bullish 2 Bar Reversal โดยบาร์แรกราคาต้องเป็น down bar หรือราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด และราคาปิดต้องใกล้ๆ ที่เป็น low เพราะจะทำให้เทรดเดอร์คิดว่าราคาได้เบรคลงไป โดยเฉพาะเมื่ออยู่พื้นที่ support แต่นี้เป็นการหลอกหรือกับดัก เมื่อบาร์ที่สองเปิดขึ้นมาราคากลับขึ้นมาสวนอย่างรวดเร็วทำให้เทรดเดอร์ที่เปิด short positions ไปตอนที่ราคาลงไปด้วยคิดว่าราคาจะลงต่อติดลบ ราคากลับขึ้นมาเลยทำให้ต้องเกิดการ liquidate ออเดอร์ที่ต้องออกเพื่อจำกัดการสูญเสีย เลยทำให้เกิด buy market orders เข้ามาอย่างเร็ว โดยราคาปิดของบาร์ที่สองต้องใกล้กับราคาสูงสุดและสูงว่าราคาเปิดของบาร์แรกด้วย

ดังนั้นหลักการตรรกะที่อยู่เบื้องหลังรูปแบบ price action จึงเป็นแบบเดียวกันกับ Pin bar คือจะเห็นราคาวิ่งไปทางใดทางหนึ่งอย่างรวดเร็วก่อนเพื่อให้เทรดเดอร์เทรดตามไปทางนั้นๆ หรือเพื่อ stop hunt พื้นที่นั้นๆ แล้วราคาก็เด้งกลับสวนทางอย่างรวดเร็ว ให้เทรดเดอร์ที่เทรดไปทางนั้น กลายเป็น trapped traders ที่จำต้องออกจาก positions ที่ตัวเองเปิดเทรดเพื่อจำกัดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้

ดังนั้นหลักการเทรด 2 Bar Reversal ก็จะเป็นพื้นที่ราคาจะเด้งเร็ว เช่นเทรดเมื่อเห็นราคา impulsive move เกิดขึ้นก่อน ราคาย่อกลับมาแล้วเห็น price action แบบนี้เกิดขึ้นก็มักจะเป็นที่จุด support/resistance, support/demand หรือ ตรงที่เป็น flipping level พื้นที่ราคาเอาชนะตอนราคาทำ impulsive move

ที่เลข 1 จะเห็นว่าราคาเบรค high ไปเพื่อให้เทรดเดอร์คิดว่าราคาจะไปต่อ long positions ก็จะมาจากเทรดเดอร์ที่เทรด breakout ก็จะเปิดเมื่อราคาเบรค high อีกกลุ่มก็จะมาจากตอนที่ราคาย่อตัวลงมา เทรดเดอร์ประเภทที่เทรดตามเทรนหรือ trend traders ก็จะเข้าตอนราคา pullback แล้วเด้งขึ้นไป และอีกอย่างตรงเหนือ high ขึ้นไปก็จะมี stop loss ของกลุ่มเทรดเดอร์ที่เทรดสวนเทรนหรือ contrarian traders ที่เปิดสวนตอนที่ราคาทำ high ก่อนจะโดนเบรค ทั้ง 3 แหลงที่มาคือ แหล่ง buy market orders ที่เกิดขึ้นเมื่อราคาเบรค high ขึ้นไปเป็นพื้นที่ขาใหญ่ได้ออเดอร์ตรงข้ามเมื่อพวกเขาต้องการจะเปิด short positions ก็เลยเป็น 2 Bar Reversal เกิดขึ้น และยังถือว่าเป็น impulsive move ที่เกิดขึ้นด้วยตามด้วยที่เลข 2 จึงไม่แปลกเป็นผลต่อเนื่อง ทั้งจากการเข้าเทรดเพิ่มและการออกจากตลาดของ trapped traders ที่กล่าวไว้ด้านบน ต้องไม่ลืมว่าราคาขึ้นหรือลงเพราะ market orders เกิน limit oreders และ limit orders ลดลงเพราะราคาทำการ retracement ไปที่พื้นที่นั้นๆ จะเห็นว่าก่อนที่ 2 Bar Reversal ที่เลข 2 จะเกิดขึ้นราคาได้แทงหางบาร์นำร่องไปก่อน เพื่อลด buy limit orders ตรงที่ราคาวิ่งลงไปเลยทำให้ trapped traders ด้านบนและกลุ่มที่เทรดสวนตอนราคาไม่สามารถผ่านกรอบ 2 ไปได้เลยจำต้องออก

เลข 3 ก็หลักการเดียวกับเลข 1 แต่ราคาอ้างอิงจุดที่เป็น resistance หรือ supply ตรงพื้นที่เลข 1 และราคาที่กรอบ demand ไม่มีโครงสร้างที่บอกว่าแข็ง เมื่อราคาวิ่งผ่านได้ long positions ที่อยู่ตรงนี้ก็จะกลายเป็น trapped positions ทันที ก็จะเร่งราคาลงไปได้ง่ายอีกเมื่อมีการออกจากตลาด จนกว่ามาถึงเลข 4 ราคามาถึง Demand พร้อมทั้งมีการกลับไปครั้งแรกราคาได้เด้งขึ้นไปลดออเดอร์ตรงข้ามหรือ sell limit orders ตรงนั้นไปแล้ว พอมาที่เลข 4 เป็นการมาครั้งที่ 2 และเกิดเป็น 2 Bar Reversal เกิดขึ้นด้วย ก็เลยเปิดโอกาสเทรดเมื่อ price aciton เปิดเผยอย่างที่เห็น

หลักการสำคัญการดูรูปแบบ price action ต่างๆ ต้องเข้าใจออเดอร์ทำงานอย่างไร มาจากไหน เพราะเงื่อนไขอะไรที่จะทำให้เกิดออเดอร์พื้นที่ตรงนั้นได้มากพอที่จะดันราคาไปต่อได้แบบที่อธิบายมาด้านบน  โดยถ้าเป็นเงื่อนไขประเภทที่ต้องเกิดด้วยไม่เช่นนั้นจะเกิดการสูญเสียมากกว่าที่กำหนด

ทีมงาน : thaiforexbroker.com