อินดิเคเตอร์ในตำนาน Pivot point

อินดิเคเตอร์ในตำนาน Pivot point

หนึ่งในสุดยอดเครื่องมือทำมาหากินของนักเทรดเดอร์ที่มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน Pivot point !! …. ในวันนี้เราก็จะมาทำความรู้จักหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่มีต้นกำเนิดมาจากนักเทรดรุ่นเก่าตั้งแต่สมัยที่ยังซื้อขายหุ้นบนกระดานกันอยู่และมันเป็นหนึ่งในเครื่องมีที่ยังคงมีคนนินมใช้มาจวบจนปัจจุบันด้วยความสามารถที่น่าทึ่งในการมองหาแนวรับแนวต้านที่แม่นยำเอามากๆอีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้อินดิเคเตอร์อื่นๆได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ดังนั้นเราไปดูกันครับว่าจะมีวิธีการใช้งานและหลักการทำงานอย่างไร


ความเป็นมาของ Pivot point Indicator คือ

Pivot point หรือ PP เป็นอินดิเคเตอร์หรือเครื่องมือช่วยเทรดชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนินมาอย่างยาวนานครับถูกพัฒนาขึ้นโดยเทรดเดอร์มืออาชีพใน Wall Street ในสมัยที่ยังซื้อขายหุ้นบนกระดานกันอยู่ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากเลยทีเดียวครับ ดังนั้นเราจึงอนุมานได้ว่าเหตุผลที่ยังมีคนใช้จวบจนปัจจุบันเป็นเพราะความสามารถของมันสามารถทำงานได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมากนั่นเองแหละครับ

รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Pivot point
รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Pivot point

โดยจากรูปภาพด้านบนนี้จะเป็นตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Pivot point ในหน้าต่างของโปรแกรมเทรดชื่อดังอย่าง Trading view โดยปัจจุบันสามารถหาดาวห์โหลดและติดตั้งได้บนโปรแกรมเทรดอื่นๆอย่าง Metatrader 4 และ Metatrader 5 ได้อย่างไม่ยากเย็นนักครับ ซึ่งในวันนี้ผมก็จะมานำเสนอการใช้งาน Pivot point ผ่านทางโปรแกรมเทรด Trading view เนื่องจากใช้ในการอธิบายได้ค่อนข้างง่ายและมีสีสันสวยงามง่ายต่อการวิเคราห์นั้นเองครับ แน่นอนว่าสามารถเอาไปปรับใช้กับ Metatrader 4 และ Metatrader 5 ได้โดยมีลักษณะการใช้งานแบบเดียวกันนั่นเอง

วิธีคำนวณ สูตร Pivot point Indicator

ก่อนจะไปดูวิธีการใช้งานผมก็จะขออธิบายหลักการคำนวนของ PP ให้ได้รับชมกันก่อนครับโดยผมก็จะขออธิบายหลักการโดยง่ายได้แบบนี้ว่า PP เป็นเครื่องมือที่จะทำการคำนวนโดยอ้างอิงจากราคา สูง(High) , ราคาต่ำ (Low) และ ราคาปิด (Close) ของช่วงเวลาก่อนๆครับโดยที่จะไม่ได้ให้ความสำคัญกับราคาเปิด (Open) เนื่องจากนักวิเคราห์มองว่า ราคาเปิด (Open) เป็นเพียงช่วงราคาของมือสมัครเล่นเท่านั้นจึงไม่สำคัญมากนักนั่นเองครับ

ทั้งนี้แน่นอนว่า PP เป็นเครื่องมือที่จะทำการคำนวนโดยอ้างอิงจากช่วงก่อนๆดังนั้นแล้วในการเทรดแต่ละ Timeframe จึงคำนวนจากช่วงเวลาที่แต่ต่างกันดังต่อไปนี้ครับ

  • กราฟ TF 1min ,5min และ15min จะคำนวณค่า High, Low และ Close จาก Day (ก่อนหน้า)
  • กราฟ TF 30min, 60min และ 120 min จะคำนวณค่า High, Low และ Close จากWeek(ก่อนหน้า)
  • กราฟ TF Day จะคำนวณค่า High, Low และ Close จาก Month ก่อนหน้า
  • กราฟ TF Week และ Month คำนวณค่า High, Low และ Close จากปี(Year)ก่อนหน้า

สูตรคำนวณ

  • Pivot Point (P) = (High + Low + Close)/3
    • Support 1 (S1) = (P x 2) – High
    • Support 2 (S2) = P – (High – Low)
    • Resistance 1 (R1) = (P x 2) – Low
    • Resistance 2 (R2) = P + (High – Low)
    • โดยที่ หากมี R3…..Rn ก็จะมีการคูณตัวเลขที่แตกต่างกันออกไปในระยะที่เท่าๆกัน

วิธีเรียกใช้งาน และ ตั้งค่า Pivot point อินดิเคเตอร์

อันดับแรกให้เราทำการเปิดโปรแกรม Trading view ขึ้นมาก่อนครับโดยตัวอย่างในบทความนี้ผมจะเลือกใช้กราฟ XAUUSD ในทามเฟรม 1H เป็นตัวอย่างนะครับ จากนั้นให้ทำการคลิก “อินดิเคเตอร์”(หมายเลขที่1) > พิมพ์คำว่า “Pivot point Standard” (หมายเลขที่2) > คลิกเลือก“Pivot point Standard” (หมายเลขที่3) ก็จะเป็นการเรียกใช้งาน Pivot point บน Trading view นั่นเอง

รูปที่ 2 วิธีเรียกใช้งานอินดิเคเตอร์ PP
รูปที่ 2 วิธีเรียกใช้งานอินดิเคเตอร์ PP

จากนั้นแล้วผมจะทำการดับเบิลคลิกที่ตัวอินดิเคเตอร์บนหน้าจอแสดงผลครั้งเพื่อทำการเปิดการตั้งค่าพารามิเตอร์ขึ้นมาโดยผมจะใช้ค่าพาราคามิเตอร์ดั้งเดิมครับดังรูปภาพด้านล่าง เพียงแต่ผมจะทำการเปลี่ยนสีของ P, S(n), และ R(n) เพื่อให้มีการแสดงผลที่แตกต่างกันออกไปครับ

รูปที่ 3 วิธีตั้งค่า PPS อินดิเคเตอร์
รูปที่ 3 วิธีตั้งค่า PPS อินดิเคเตอร์

วิธีการใช้งาน Pivot point เบื้องต้น

รูปที่ 4 วิธีการใช้งาน PP เบื้องต้น
รูปที่ 4 วิธีการใช้งาน PP เบื้องต้น

จากรูปภาพที่ปรากฎด้านบนจะเป็นการใช้งานเครื่องมือเบื้องต้นครับโดยผมจะขออธิบายตัวย่อของแต่เส้นดังนี้คือ

  • P = Pivot point
  • S(n) = Support(n) หรือก็คือแนวรับที่ n
  • R(n) = Resistance (n) หรือก็คือแนวต้านที่ n
  • โดยที่ n เท่ากับจำนวนเต็มบวกมีค่าตั้งแต่ 1 ขึ้นไป นั้นหมายถึงยิ่งมีค่ามากเส้นของ Support หรือ Resistance จะมีค่าห่างจาก Pivot point มากเท่านั้น

จากรูปที่ปรากฎด้านบนจะเห็นว่า PP ได้ทำการคำนวนอินดิเคเตอร์ตามสมการออกมาทำให้เราสามารถได้เส้นแนวรับ/แนวต้านสำคัญออกมาอย่างมีนัยสำคัญครับ โดยจะเห็นได้ว่ากราฟมีการทำการกลับตัวในจุดที่ชนเส้นแนวรับ/แนวต้านอยู่บ่อยครั้งยิ่งเส้นแนวรับ/แนวต้าน อยู่ห่างจากเส้น P เท่าใดยิ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงของแนวรับแนวต้านนั้นเป็นอย่างมากครับ

เงื่อนไขการ Buy

รูปที่ 6 เงื่อนไขการ Buy  PP + EMA200 XAUUSD H1
รูปที่ 6 เงื่อนไขการ Buy  PP + EMA200 XAUUSD H1
  1. ทำการเรียกใช้ PP + EMA200 ขึ้นมาหลังจากนั้นรอให้ราคาทำการเทสไปที่เส้น P หนึ่งครั้ง
  2. รอจนกว่ากราฟแท่งเทียนจะวิ่งตัดขึ้นเหนือ EMA200 จึงทำการ Buy
  3. ทำการ TP เมื่อกราฟถึงตำแหน่งเส้น R1 หรือ R2 และทำการ SL เมื่อกราฟมีการตัดลงมาอยู่ใต้เส้น EMA200

เงื่อนไขการ Sell

รูปที่ 7  เงื่อนไขการ Sell PP + EMA200 XAUUSD H1
รูปที่ 7  เงื่อนไขการ Sell PP + EMA200 XAUUSD H1
  1. ทำการเรียกใช้ PP + EMA200 ขึ้นมาหลังจากนั้นรอให้ราคาทำการเทสไปที่เส้น P หนึ่งครั้ง
  2. รอจนกว่ากราฟแท่งเทียนจะวิ่งตัดลงใต้เส้น EMA200 จึงทำการ Sell
  3. ทำการ TP เมื่อกราฟถึงตำแหน่งเส้น S1  และทำการ SL เมื่อกราฟมีการตัดขึ้นมาอยู่เหนือเส้น EMA200

ข้อควรระวังในการใช้

อินดิเคเตอร์ชนิดนี้เหมาะสำหรับกราฟในช่วงที่เป็นสภาวะ Sideway ที่มีการกลับตัวไปมาอยู่ในกรอบเท่านั้นครับ จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเทรดในตลาดที่มีสภาวะเป็นเทรนด์เท่าไรเนื่องจากอินดิเคเตอร์นี้เป็นการคำนวนหาแนวรับและแนวต้านสำคัญที่ได้มาจากราคาจากช่วงเวลาก่อนหน้าและเป็นการตีแนวรับแนวต้านเป็นแนว Horizonta หรือ ตามแนวนอน นั่นเองครับ

สรุป

PP เป็นอินดิเคเตอร์ที่เข้ามาช่วยเหลือนักเทรดในการวิเคราห์หาแนวรับและแนวต้านทีสำคัญโดยจะคำนวนโดยอ้างอิงจากราคาของช่วงเวลาก่อนหน้าซึ่งขึ้นอยู่กับทามเฟรมที่จะใช้โดยประโยชน์ของมันถือว่าเหมาะสำหรับการใช้งานในตลาดที่มีสภาวะ Sideway เท่านั้นเนื่องจากเป็นการตีเส้นในแนวนอนซึ่งสามารถทำให้หลุดแนวรับแนวต้านได้ง่ายในสภาวะที่ตลาดเป็นเทรนด์นั่นเองครับ

อ้างอิง

https://forexthai.in.th/pivot-point/