โบรกเกอร์ No Dealing Desk (NDD) คืออะไร? และวิธีเลือกโบรกเกอร์

เชื่อว่าโบรกเกอร์ประเภท NDD นั้นเป็นโบรกเกอร์ที่เทรดเดอร์หลายคนตามหาและอยากใช้บริการ เหตุผลเป็นเพราะอะไร? โบรกเกอร์ประเภทมันดียังไง? และมีโบรกเกอร์ไหนบ้างที่เป็นโบรกเกอร์ประเภทนี้ เราจะรู้กันในบทความนี้แน่นอน!


ฉบับย่อโดย Thaiforexbroker.com

  • โบรกเกอร์ No Dealing Desk (NDD) เป็นโบรกเกอร์ที่ให้บริการเทรดโดยไม่ผ่าน Dealing Desk ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์เข้าถึงตลาดระหว่างธนาคารได้โดยตรงและโปร่งใส
  • โบรกเกอร์ NDD ยังมีข้อเสียที่ต้องระวัง เช่น สเปรดลอยตัวที่อาจกว้างขึ้นในช่วงตลาดผันผวนและเงินฝากขั้นต่ำที่สูงกว่าโบรกเกอร์ทั่วไป
  • การเลือกโบรกเกอร์ NDD ที่เหมาะสมควรพิจารณาจากใบอนุญาตการกำกับดูแล รวมถึงค่าธรรมเนียมการเทรดและสเปรดสำหรับคู่สกุลเงินต่างๆ โบรกเกอร์ NDD ที่มีชื่อเสียง เช่น FXTM, FP Markets เป็นต้น

โบรกเกอร์ No Dealing Desk (NDD) คืออะไร?

  • No Dealing Desk (NDD) คือชื่อเรียกระบบการดำเนินการซื้อขายที่โบรกเกอร์ Forex ให้บริการ โดยที่เทรดเดอร์สามารถเข้าถึงอัตราแลกเปลี่ยนของตลาดผู้ให้บริการสภาพคล่องได้โดยตรงและไม่มีการกรองหรือปรับแต่งใดๆ จากโบรกเกอร์
  • การซื้อขายผ่าน NDD ไม่ต้องพึ่งพาผู้ให้บริการสภาพคล่องรายเดียว แต่จะได้เปรียบในการแข่งขันจากหลายๆ ราย ซึ่งช่วยให้ได้ราคาที่ดีที่สุด
  • หนึ่งในลักษณะเด่นของโบรกเกอร์ NDD คือ ค่าสเปรดที่ไม่คงที่ หรือ Variable Spread ซึ่งหมายความว่า สเปรดจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะตลาดในขณะนั้น โดยมีปัจจัยหลักๆ ที่มีผลต่อค่าสเปรด ดังนี้
    • ความผันผวนของราคา: ช่วงที่ราคาแกว่งตัวแรง สเปรดมักจะสูงขึ้น ในทางกลับกัน ช่วงที่กราฟราคาเคลื่อนไหวช้าๆ สเปรดก็จะต่ำลง
    • สภาพคล่อง: เวลาที่มีคนซื้อขายน้อย เช่น ช่วงเที่ยงคืนถึงเช้าหรือช่วงเที่ยงวัน สภาพคล่องในตลาดจะลดลง ทำให้สเปรดสูงขึ้น
ประเภทของ โบรกเกอร์ NDD
โบรกเกอร์ NDD มีซับเซตย่อยได้แก่ โบรกเกอร์ DMA/STP และ ECN/STP ซึ่งเป็นระบบที่ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดโดยตรงเพื่อความโปร่งใสและความรวดเร็ว

วิธีการทำงานของโบรกเกอร์ NDD

  1. โบรกเกอร์ NDD จะรับข้อมูลราคาจากผู้ให้บริการสภาพคล่องหลายเจ้า เช่น ธนาคารใหญ่ๆ หรือโบรกเกอร์รายใหญ่ เพื่อให้เทรดเดอร์ได้ราคาตลาดที่แข่งขันได้และแม่นยำที่สุด
  2. โบรกเกอร์จะเลือกราคาที่ดีที่สุด (สเปรดต่ำสุด) มานำเสนอให้กับเทรดเดอร์ ซึ่งก็คือราคาที่แสดงออกมาบนแพลตฟอร์มการเทรดนั่นเอง
  3. เมื่อเทรดเดอร์ตัดสินใจซื้อขาย ก็เหมือนกับเราทำสัญญาประเภท CFD (Contract for Difference) กับโบรกเกอร์ เป็นสัญาที่เราไม่ได้ครอบครองสกุลเงินนั้นจริงๆ แต่ซื้อขายอนุพันธ์ที่อิงตามการเคลื่อนไหวของราคาสกุลเงินแทน
  4. หลังจากการซื้อขายแล้ว โบรกเกอร์จะป้องกันความเสี่ยงด้วยการเปิดสถานะตรงข้ามกับคำสั่งของเรากับผู้ให้บริการสภาพคล่อง เพื่อชดเชยกำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขาย
  5. โบรกเกอร์ NDD จะใช้ระบบ A-Book ซึ่งเป็นการส่งคำสั่งของนักเทรดไปยังตลาดจริง ผ่านผู้ให้บริการสภาพคล่องโดยตรง ทำให้ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับเทรดเดอร์ทุกคน
การทำงานของโบรกเกอร์ No Dealing Desk
วิธีการทำงานของโบรกเกอร์ NDD (No Dealing Desk) ที่ส่งคำสั่งซื้อขายของเทรดเดอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ (ECN) เพื่อเข้าถึงผู้ให้บริการสภาพคล่องหลายรายโดยตรง เช่น ธนาคาร กองทุนเฮดจ์ และโบรกเกอร์อื่นๆ

ข้อดี-ข้อเสีย ของโบรกเกอร์ No Dealing Desk

โบรกเกอร์ NDD มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งเทรดเดอร์ควรรู้ไว้เพื่อพิจารณาก่อนที่จะเลือกใช้บริการ

ข้อดี

  • โบรกเกอร์ NDD ให้การเข้าถึงตลาดระหว่างธนาคารโดยตรง ทำให้ได้ราคาที่โปร่งใสกว่า
  • เนื่องจากโบรกเกอร์ไม่เทรดในทิศทางตรงข้ามกับลูกค้า จึงลดโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • เทรดเดอร์มักจะได้ราคาซื้อขายที่ดีกว่าเนื่องจากมีการรวบรวมราคาจากผู้ให้บริการสภาพคล่องหลายแห่ง
  • คำสั่งซื้อขายจะถูกดำเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มีการรีโควต
  • เนื่องจากมีค่าสเปรดแบบลอยตัว มีโอกาสที่ต้นทุนการเทรดจะต่ำลงในช่วงที่มีสภาพคล่องสูง

ข้อเสีย

  • ต่อเนื่องจากข้อดีข้อสุดท้าย ถ้าในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง สเปรดอาจกว้างขึ้นมาก ทำให้ต้นทุนการเทรดเพิ่มขึ้น
  • ส่วนใหญ่โบรกเกอร์ NDD เหล่านี้มักกำหนดเงินฝากขั้นต่ำที่สูงกว่าโบรกเกอร์แบบ Market Maker
  • การมีสเปรดแบบลอยตัวทำให้ต้นทุนการเทรดคาดการณ์ได้ยากล่วงหน้า
ความแตกต่างของ NDD และ Dealing Desk
โบรกเกอร์ NDD ต่างจากโบรกเกอร์ Dealing Desk ที่ทำกำไรจากการขาดทุนของลูกค้า แต่โบรกเกอร์ NDD จะทำกำไรจากค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียม ดังนั้น ยิ่งลูกค้าเทรดได้กำไรมากโบรกเกอร์ก็ยิ่งได้ประโยชน์

การเลือกโบรกเกอร์ประเภท NDD

ทีนี้เรามาดูในส่วนของการเลือกใช้บริการโบรกเกอร์ประเภท NDD กันบ้างว่าเราควรพิจารณาปัจจัยอะไรบ้าง รวมถึงทีมงานอยากจะแนะนำรายชื่อโบรกเกอร์ NDD เผื่อผู้อ่านได้เอาไปคัดเลือกด้วยตัวเองต่อไป

  • ตรวจสอบการกำกับดูแล (Regulation)
    • โบรกเกอร์ที่ได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ จะมีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากมีมาตรฐานการดำเนินงานที่เข้มงวดและมีระบบคุ้มครองเงินทุนของลูกค้า
    • เราสามารถพิจารณาจากใบอนุญาตที่โบรกเกอร์ได้รับจากหน่วยงานที่มีชื่อเสียง เช่น FCA (สหราชอาณาจักร), ASIC (ออสเตรเลีย), หรือ FSA (ญี่ปุ่น)
    • อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลใบอนุญาตบนเว็บไซต์ของโบรกเกอร์และตรวจสอบความถูกต้องกับเว็บไซต์ของหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อยืนยันอีกที
  • ประเมินความคุ้มค่า
    • โบรกเกอร์ NDD อาจมีค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าคอมมิชชั่น, ค่า swap, ค่าธรรมเนียมการฝาก/ถอน ซึ่งเราควรเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมของแต่ละโบรกเกอร์ให้ชัดเจน
    • ส่วนค่าสเปรด แม้ว่าโบรกเกอร์ NDD จะมีสเปรดต่ำ แต่ก็อาจแตกต่างกันไปตามคู่สกุลเงิน เราควรเปรียบเทียบสเปรดของแต่ละโบรกเกอร์ และเลือกใช้กับคู่เงินที่เราเทรดบ่อยที่สุด
หน่วยงานกำกับดูแล
หน่วยงานกำกับดูแลที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น ASIC (ออสเตรเลีย), FCA (สหราชอาณาจักร), และ FSA (ญี่ปุ่น) มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองนักลงทุนและกำหนดมาตรฐานการดำเนินงานของโบรกเกอร์เพื่อความโปร่งใสและปลอดภัย

แนะนำโบรกเกอร์ NDD

  1. FXTM : เป็นหนึ่งในโบรกเกอร์ NDD ที่ดีที่สุดเนื่องจากมีค่าธรรมเนียมการเทรดที่ต่ำมาก สำหรับบัญชี Advantage ที่มีเงินฝากขั้นต่ำ $500 จะมี Spread เริ่มต้นที่ 0.0 pips
  2. FP Markets : มีสินทรัพย์ให้เลือกมากมาย ทั้ง Forex, คริปโตเคอเรนซี่, ETF และพันธบัตร โบรกเกอร์ยังรองรับการฝากและถอนด้วยคริปโตเคอเรนซี่
  3. BlackBull Markets : BlackBull Markets เป็นหนึ่งในโบรกเกอร์ NDD ที่ดีที่สุด เช่นกัน เนื่องจาก มีบัญชี ECN ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ มีเซิร์ฟเวอร์ Equinix ในเมืองนิวยอร์ก (NY4), ลอนดอน (LD5) และโตเกียว (TY3)
  4. Exness : เป็นโบรกเกอร์ Forex ที่ให้บริการทั้งระบบ Dealing Desk (DD) และ No Dealing Desk (NDD) ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทบัญชี เช่น บัญชี Pro และ Zero ของ Exness ที่ใช้ระบบ NDD
  5. OANDA : เป็นโบรกเกอร์ที่ให้บริการในรูปแบบ No Dealing Desk (NDD) โดยเฉพาะในบัญชีที่มีค่าคอมมิชชั่น ในบางประเภทบัญชีเช่นกัน
โบรกเกอร์ No Dealing Desk (NDD) ที่มีชื่อเสียง
โบรกเกอร์ No Dealing Desk (NDD) ที่มีชื่อเสียง เช่น OANDA, FXTM, Exness, BlackBull, และ FP Markets มักมีการดำเนินการคำสั่งซื้อขายแบบ STP หรือ ECN โดยใช้สเปรดลอยตัวและไม่มีการรีโควต

วิดีโอเกี่ยวกับ TOP 5 โบรกเกอร์ NDD ที่ดีที่สุด

ทีมงานของเราได้ไปเจอกับวิดีโอหนึ่งที่เนื้อหาเกี่ยวกับการจัดอันดับ Top 5 โบรกเกอร์ประเภท NDD ที่ดีที่สุด ซึ่งในเนื้อหสวิดีโอก็อาจจะมีทั้งโบรกเกอร์ที่ตรงและไม่ตรงกับในบทความ นั่นก็เพราะโบรกเกอร์ NDD นั้นมีเต็มไปหมดในโลกนี้ ที่เรานำเสนอมาก็เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้น ส่วนในวิดีโอจะมีโบรกเกอร์อะไรบ้าง ไปดูกัน!

  • โบรกเกอร์ FXTM นาทีที่ 1:20
  • โบรกเกอร์ eToro นาทีที่ 4:16
  • โบรกเกอร์ BlackBull Markets นาทีที่ 6:02
  • โบรกเกอร์ Key to Markets นาทีที่ 7:54
  • โบรกเกอร์ Exness นาทีที่ 11:13

สรุป

เจาะลึกกันไปมากแล้วสำหรับโบรกเกอร์ประเภท NDD ซึ่งด้วยคุณสมบัติของโบรกเกอร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับเทรดเดอร์ที่ต้องการความโปร่งใส, การดำเนินการรวดเร็ว, Spread ต่ำและเข้าถึงตลาดจริง โดยเฉพาะ Scalpers, HFTและเทรดเดอร์ที่เน้นกลยุทธ์ระยะสั้น

ในอนาคตเชื่อว่าโบรกเกอร์ประเภทนี้ก็จะได้รับความนิยมในหมู่เทรดเดอร์มากขึ้นเรื่อยๆ และตลาด Forex เริ่มให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของเทรดเดอร์มากขึ้น จึงเป็นแนวโน้มที่สนับสนุนให้โบรกเกอร์ NDD เติบโตต่อไปในยุคที่เทคโนโลยีกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การศึกษาและทำความเข้าใจกับโบรกเกอร์ NDD จะเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่ตัวเทรดเดอร์เอง

ทีมงาน thaiforexbroker.com

สารบัญบทความ