Mobile trading – Metatrader 5 (ตอน 2)
การเพิ่มอินดิเตอร์ก็จะทำด้วยการ tap ที่เลข 2 แล้วโปรแกรมก็จะโชว์รายการอินดอเคเตอร์ขึ้นมา แบ่งเป็นหมวดหมู่ TREND, OSCILLATORS, VOLUMNES และ BILL WILLIAMS เมื่อท่าน tap อินดิเคเตอร์ทีท่านต้องการโปรแกรมจะเปิดหน้าค่า default ของอินดิเคเตอร์ขึ้นมาท่านสามารถปรับค่าได้ แล้ว tap อีกทีที่ DONE ก็เรียบร้อย
แต่การเพิ่มอินดิเคอเตอร์บางตัว ก็จะเพิ่มส่วนวินโดวส์ข้ามด้วย เช่น CCI การปรับส่วนสูงของวินโดวส์ท่านสามารถทำได้ด้วยการ tap ที่ชาร์ตยาวสัก 1 วินาที แล้วก็ลากเส้นบนของวินโดวส์นั้นๆ เพื่อปรับขนาด
ตรงส่วนที่เป็น เลข 4 ที่ท่านสามารถเพิ่มวินโดวส์เข้าไปได้ ช่วยให้ท่านวิเคราะห์ Multi-chart view ได้
จากภาพด้านบนเป็นการ tap ที่เลข 4 เพื่อเพิ่มชาร์ตวินโดวส์เข้าไป จะมี 2 ชาร์ตวินโดวส์ ท่านสามารถจัดการ หรือจัดเรียงชาร์ตวินโดวส์ได้ด้วยการ tap อีกครั้งจะมีรายการขึ้นมาแล้วเลือก
หรือท่าน tap ที่ชาร์ตสัก 1 วินาที จะมีไอคอนสำหรับ tap ขึ้นมาที่ด้านบนขวาของแต่ละชาร์ตวินโดวส์ท่านสามารถ tap จัดการได้
Settings อื่นๆ ของชาร์ตท่านสามารถเข้าถึงได้ด้วยการ tap ชาร์ตแล้วจะมี Radial menu
เมื่อท่าน tap ที่ชาร์ต จะมี Radial menu ขึ้นมาก็จะมี timeframes ให้เลือก ตามด้วย ไอคอน สำหรับเพิ่มและจัดการอินดิเคเตอร์ Settings สำหรับชาร์ตมี
- ชาร์ต (Bar chart, Candlestick และ Line chart)
- OHLC สำหรับราคา Open Hig Low Close
- Show data window
- Show volume
- Show trade level – แสดงตำแหน่งที่เปิดเทรดหรือไม่
- Independent charts
- Showe period sperators – แสดงเส้นเวลาหรือไม่
- Ask price line – แสดง ask price line หรือไม่
- Last pice line แสดง last price line หรือไม่
- Colors – ปรับค่าสีชาร์ตแสดงผล
จะห็นว่าส่วนนี้ไม่ได้ต่างจากเวอร์ชั่น Desktop เท่าไร
Objects ที่ท่านสามารถใช้ได้ด้วยการ tap ที่ชาร์ตแล้ว tap ที่ไอคอน object ที่ Radial menu
ขั้นตอนก็เลือก object ที่ต้องการหรือ tap ที่ไอคอน + เพื่อเลืออก object อื่นๆ ที่ต้องการ แล้วก็มา tap ที่ชาร์ต
โดยการ tap ที่ไอคอน + ก็จะมีรายการตามประเภทมาให้ มี LINES, CHANNELS, GANN, FIBONACCI, ELLIOTT และ SHAPES
การสร้าง objects ต่างกันออกไป เพราะบาง objects มีจุดเปลี่ยนแปลงและจุดใช้ขยับหลายจุด แต่หลักการสำหรับขยับ object คือใช้จุดตรงกลาง และเมื่อท่านเลือก object จะมีวินโดวส์เล็กๆ ด้านบนด้านช้ายของชาร์ต ให้ท่านเห็นตำแหน่งที่แน่นอนของ object
การเปลี่ยนค่าต่างๆ ของ obects ง่ายๆ tap ที่ object ให้เห็นว่า objects ได้ถูกเลือกแล้วท่านก็ลากไปมาเพื่อเปลี่ยนค่า หรืออาจ tap นานสัก 1 วินาที จะเป็นการเลือกและจะเห็นไอคอนรูปดินสอที่บอก object properties
การปรับเปลี่ยนค่า objects จะมีค่าต่างๆ คือ Name, Ray right/left, Point, Symbol, Timeframe, Style และ Levels ให้ท่านสามารถปรับได้ หลังจากเสร็จท่านก็ tap ที่ DONE ด้านบนขวา
หรืออีกวิธีการหนึ่งในการเปลี่ยนค่า object properties ท่าน tap ที่ไอคอน object ที่ Radial menu และโปรแกรมจะเปิด Objects ขึ้นมา
ก็จะมีรายการ objects ที่สร้างไว้ ท่านสามารถ tap ที่เลข 1 หรือไอคอน + เพื่อสร้าง object เพิ่ม หรือ tap ที่ไอคอนเลข 2 เพื่อเลือก objects ที่ต้องการลบ แล้วก็ tap อีกครั้งก็เป็นการลบ
เรื่องการเทรด ท่านสามารถเปิดได้หลายทาง อย่างแรก ถ้าอยู่โหมด Quotes ท่าน tap คู่เงินที่ท่านต้องการเทรด โปรแกรมจะโชว์รายการขึ้นมา บนสุดจะเป็น New Order หรือถ้าอยู่โหมดชาร์ต ท่านก็สามารถ tap ด้านบนขวาสุดเพื่อเปิด New Order ได้ หรืออยู่โหมด Trade ที่แสดงรายการการเทรดต่างๆ และยอมรวมบัญชีเทรด
แล้วโปรแกรมจะเปิดหน้า New order ขึ้นมา ท่านสามารถเลือกแบบเทรดทันทีหรือ Instant Execution หรือเป็น Pending orders (ก็จะมี Buy Limit, Sell Limit, Buy Stop, Sell Stop, Buy Stop Limit และ Sell Stop Limit)
เลข 1 ท่านสามารถเลือกคู่เงินที่จะเทรด
เลข 2 ประเภทออเดอร์แบบ เปิดเทรดทันที หรือแบบ pending orders
เลข 3 ล็อตที่จะเทรด สามารถปรับขึ้นหรือลง ด้วยการ tap รายการจากด้านช้ายหรือขวา
เลข 4 ราคาที่จะตั้ง stop-loss
เลข 5 ราคาที่จะตั้ง take-profit
เลข 6 แล้วก็ tap ที่ Sell หรือจะ Buy
เมื่อท่าน tap ไอคอนเทรด (ไอคอนที่ 3) ด้านล่างเพื่อเปิดหน้าหลักเป็น trade
ในโหมดนี้ก็จะแสดงรายละเอียดทั้งหมดของ บช เทรด เลข 1 เป็นการเรียงอันดับ (Order, Time, Symbol และ Profit) และ เลข 2 เป็นสำหรับเปิด order ใหม่ และ เลข 3 รายการ positons ที่เปิดอยู่และ เลข 4 รายการออเดอร์ที่ pending เอาไว้หมด และเมื่อท่าน slide ที่ positions/orders มาทางด้านช้าย ก็จะมีรายการขึ้นมา
เลข 1 close position สำหรับ position และ delete order สำหรับ pending order
เลข 2 modify position/order
เลข 3 เพิ่ม/new order
เลข 4 เปิดชาร์ต และ เลข 5 เปิด Depth of Market
อีกอย่างการเปิดเทรด ท่านสามารถทำได้ด้วยการเปิด Depth of Market (DoM) ที่ท่านสามารถเข้าถึงได้ด้วย ถ้าอยู่โหมด Quotes ท่าน tap ที่คู่เงินก็จะแสดงรายการเมนูขึ้นมา จะมี Depth of Market
เลข 1 เปลี่ยนโหมด Depth of Market
เลข 2 modify positions
เลข 2 เป็นการกำหนด stop loss เป็น points สำหรับ limit order/market order
เลข 3 ล็อตที่จะใช้
เลข 5 เป็นการกำหนด take profit เป็น point สำหรับ limit order/market order
และในส่วน Depth of Market จะมี 4 คำสั่งหลักๆ Buy Limit, Sell Limit, Buy Stop และ Sell Stop (ส่วนอีก 2 – Buy Stop Limit และ Sell Stop Limit ออเดอร์ไม่ได้ใช้ในส่วนนี้)
ส่วนด้านล่าง 7 8 และ 9 เป็นคำสั่งสำหรับ market order
Sell – จะเปิด sell market order ที่ราคาปัจจุบัน Best Bid ตามล็อตที่กำหนดที่เลข 5
Close – สั่งปิด position ถ้ามี position ที่เลือก
Buy – จะเป็นการเปิด buy market order ที่ราคาปัจจุบัน Best Ask ตามล็อตที่กำหนดที่เลข 5
ส่วนสุดท้าย History สามารถเข้าถึงด้วยการ tap ที่เมนูหลัก แล้ว tap ที่ History หรือส่วนด้านล่างที่เป็นไอคอนที่ 4
โดยส่วนนี้ก็จะแสดงรายการเทรดของบัญชีเทรดนั้นๆ
หน้าแสดงผลหลัก ก็จะแสดงรายการเทรดของบัญชีเทรด มีการกำหนดการแสดงผลประกอบได้
เลข 1 กำหนดว่าแสดงการเทรดคู่เงินไหน
เลข 2 เรียงอันดับ (symbol, ticket, open time, close time และ profit)
เลข 3 กำหนดช่วงเวลาแสดงออเดอร์ (Today, Last week, Last month, Last 3 months, และ Custom period)
โดยการแสดงผล จะแบ่งเป็น Posititons, Orders หรือ Deals และเมื่อ tap แต่ละรายการจะมีรายละเอียดขึ้นมา
นอกจากนี้ก็จะเป็นส่วน News และ Community chat
จากที่อธิบายมาถือว่า ใช้ไม่ยากและไม่มีช่องว่างการเรียนรู้มากเท่าไร ถ้ามีพื้นฐานการเทรด Metatrader 4/5 อาจมีการเรียนรู้เรื่องการ tap และ slide ประกอบเพื่อจัดการ obects หรือเข้าถึงเมนู ที่สำคัญท่านสามารถเทรดที่ไหนก็ได้
ทีมงาน : thaiforexbroker.com