Market Facilitation Index หรือ MFI เป็นอินดิเคเตอร์ในหมวดหมู่ Volume ที่ถูกพัฒนยาโดยคุณ Bill Wiliams ครับ โดยเจ้าอินดิเคเตอร์ตัวนี้จะใช้เพื่อดูอะไรนั้นมาติดตามกันครับ ต้องบอกว่าใครใช้ชำนาญมีโอกาสที่แกะรอยเจ้าได้เลย และถ้าแกะรอยได้ก็สามารถเทรดตามเจ้าเพื่อแอบทำกำไรไปพร้อม ๆ กับเขานั้นแหละ
ความเป็นมาของ Market Facilitation Index
MFI เป็นอินดิเคเตอร์ที่แถมมาให้กับ metatrader 4 (mt4) และ metatrader 5 (mt5) ซึ่งนั่นหมายความว่าเป็นอินดิเคเตอร์ที่ถูกพัฒนามานานระดับหนึ่งแล้วครับ โดยผู้พัฒนาคือคุณ Bill เจ้าเก่าเจ้าเดิมของเรา
สิ่งที่เทรดเดอร์มักจะดูจากอินดี้ตัวนี้คือ คุณภาพของการเคลื่อนไหลของราคากับความสัมพันธ์ที่มีต่อ Volume หรือ ปริมาณการซื้อขายในแต่ละแท่งเทียนครับ ส่งมันจะอาจจะเพียงพอที่จะบอกได้ว่า เมื่อไหร่ควรที่จะห่างจากตลาด และเมื่อไหร่ควรที่จะเข้าซื้อขายครับ
โดยสิ่งที่ผู้พัฒนาตั้งใจให้เราชาวเทรดเดอร์ได้เห็นมีมากกว่าแค่ค่า MFI ครับ เพราะเขาต้องการที่จะสื่อให้เราเห็นถึงความสัมพันธ์ของ การเคลื่อนที่ของราคา เทียบเทียบ ปริมาณการซื้อขาย ว่ามันสอดคล้องกันหรือไม่ มีสิ่งใดที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ หรือ บอกความแข็งแรงของเทรน หรือว่าจะเป็นการเทซื้อขายของเจ้าใหญ่ครับ
หลักการทำงานของ Market Facilitation Index
หลักการทำงานของ MFI เป็นการเก็บค่าของตัวแปรต่าง ๆ เช่น ราคาสูง (High price), ราคาต่ำ (Low Price), และ Volume การซื้อขายมาทำการเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์กันผ่านสมการอย่างง่ายดังนี้ครับ
สูตรคำนวณ
สมการการคำนวณหาค่า MFI คือ
MFI = (High Price – Low Price) / Volume
โดยอินดิเคเตอร์จะคอยคำนวณแบบนี้ให้เราทุก ๆ แท่งเทียนและแสดงออกมาให้รูปแบบของ Histogram บน indicator window ครับ ซึ่งค่า MFI จะบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวของราคาและปริมาณการซื้อขายของแท่งเทียนนั้น ๆ
และด้วยการเปรียบเทียบระหว่างค่า MFI และ Volume ของแต่ละแท่งเทียนนี้เองทำให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์ได้ว่า แท่งเทียนปัจจุบันอาจจะมีการเคลื่อนไหนไปในทิศทางไหน โดยเราจะอาศัยการตีความดังเนื้อหาของหัวข้อถัดไป
การตีความ indicator
ทางผู้พัฒนาอย่างคุณ Bill ได้ให้ข้อมูลการตีความอินดิเคเตอร์ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงระหว่าง MFI และ Volume ดังนี้ครับ
- MFI Up, Volume Up -> หมายถึงค่า MFI เพิ่มขึ้นและ Volume เพิ่มขึ้นตาม เราสามารถอ่านสถานการณ์ได้ว่า มีเทรดเดอร์จำนวนมากกำลังซื้อขายกันทำให้ Volume การซื้อขายเพิ่ม และการเข้าถือออเดอร์ของเทรดเดอร์เป็นไปทางในทางเดียวกันซะส่วนมากทำให้ตลาดเคลื่อนตัวได้เร็วและมีกำลังมาก
- MFI Down, Volume Down -> หมายถึงค่า MFI ลดลง และ Volume ลดลงตาม เราสามารถอ่านสถานการณ์ได้ว่า ตอนนี้ยังไม่มีเทรดเดอร์สนใจ หรือ ไม่มีเทรดเดอร์เข้ามาถือออเดอร์ครับ
- MFI Up, Volume Down -> หมายความว่า ค่า MFI เพิ่มขึ้น แต่ Volume กลับลดลง มันบ่งบอกถึง ตลาดไม่ได้สัมพันธ์กับ Volume ที่มาจากเทรดเดอร์ครับ และราคายังเปลี่ยนแปลงอยู่ นั่นอาจจะมาจากการเกร็งกำไรของ Broker หรือ เจ้าใหญ่ ๆ เขานั่นเอง
- MFI Down, Volume UP -> หมายความว่า ค่า MFI ลดลงและ Volume ก็ลดลงตามด้วย มันก็บอกเราได้ว่า ตอนนี้กำลังมีการสู้กันระหว่าง Seller กับ Buyer อยู่นะ เหตุที่รู้เพราะว่าเราดูจาก Volume ที่เพิ่มขึ้นแต่แท่งเทียนกลับมี High Low ที่ไม่ห่างกันมากแต่จะเป็นการวิ่งของราคาที่เปลี่ยนไปแปลงมากเยอะมาก ๆ แทน ปกติการเบรคของแท่งเทียนแบบนี้จะช่วยให้รู้ว่า แท่งเทียนนี้บอกการไปต่อของเทรนหรือการสิ้นสุดเทรน สภาวะแบบนี้เรียกว่า “curtsying”
วิธีการใช้งาน
ปกติแล้วผู้เขียนจะใช้งาน MFI ในการดูเทรนที่แข็งแรง และจุดกลับตัวเป็นหลักครับ โดยการดูเทรนนั้นเราจะตี Trend Line ขึ้นมาก่อน จากนั้นให้เรามองหาเส้นแท่ง MFI สีเขียว ๆ เพื่อยืนยันว่าอันนี้แหละเป็นเทรนที่แข็งแรง
ในขณะที่การกลับตัว ผู้เขียนจะมองหา reversal candlestick pattern ก่อนแล้วจึงไปดูที่ MFI โดยที่เราจะต้องดูว่า MFI ควรเป็นแท่งเขียวสองแท่งดังรูปครับ
วิธีการติดตั้งและการเรียกใช้งาน
หลังจากที่เรา download และติดตั้ง mt4 มาแล้วให้เราไปที่ Manu -> กด Insert -> แล้วไปที่ Bill William -> กดไปที่ Market Facilitation Index
วิธีการตั้งค่า
การตั้งค่าสำหรับกลยุทธ์นี้เราสามารถเลือกเปลี่ยนได้ที่สีและความหนาของแท่ง MFI ครับ ซึ่งจะใช้สีอะไรก็ได้ตามความชอบของเราได้เลยครับ
กลยุทธ์การเทรด
กลยุทธ์การเทรดที่จะนำเสนอในวันที่จะเป็นการเทรดแบบ Follow Trend หรือการเทรดตามเทรนนั้นเองครับ โดบเราจะเลือกใช้ Indicator สองตัวด้วยกัน ได้แก่ Mover Average และ MFI พระเอกของเราในบทความนี้
วิธี Set up indicator Mover Average คือให้เราเลือกการคำนวณ MA method เป็น Simple และสร้างมันขึ้นมา 2 เส้นด้วย ได้แก่ 14 และ 26 ครับ (เลขนี้นิยมมาก ๆ) ซึ่งส่วน MFI เราจะต้องค่าเป็นค่าเดิมโรงงานแต่เพิ่มความหนาของเส้นมาอีกระดับนึงครับ
เงื่อนไขการเข้า Buys
- รอจังหวะให้เส้น SMA(14) อยู่เหนือ SMA(26) เพื่อวิเคราะห์ว่าเป็นขาขึ้น
- ใช้ MFI เพื่อยืนยันสัญญาณเข้า โดยต้องให้แท่ง MFI เป็นสีเขียวเท่านั้นครับ
เงื่อนไขการเข้า Sells
- รอจังหวะให้เส้น SMA(14) อยู่ใต้ SMA(26) เพื่อวิเคราะห์ว่าเป็นขาลง
- ใช้ MFI เพื่อยืนยันสัญญาณเข้า โดยต้องให้แท่ง MFI เป็นสีเขียวเท่านั้นครับ
การตั้ง Take Profit และ Stop Loss
- เราจะทำการ Take Profit เมื่อเกิดสัญญาณการตัดกันอีกครั้งของเส้น SMA ครับ
สรุป
MFI ถือว่าเป็นอินดิเคเตอร์ประเภทบอกปริมาณซื้อขายที่ดีตัวหนึ่งเลย ถึงแม้ว่าจะใช้ยากไปซักหน่อยแต่เชื่อเถอะครับว่าหากเราชำนาญและหมกหมุ่นกับมันจริง ๆ สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือแกะรอยการเทดตามเจ้าได้ดีจัวหนึ่งเลย