สิ่งที่ต้องใส่ใจอยู่ตลอดเมื่อเปิดเทรด
การเทรดเป็นเรื่องการเทรดหาโอกาสความเป็นไปได้ เก็งกำไรจากราคาขึ้นหรือราคาลงจากการเคลื่อนไหว เนื่องจากเทรดเดอร์รายย่อยเทรดด้วยจำนวนน้อยไม่เพียงพอที่จะดันหรือปั่นราคาไปทางใดทางไหนึ่งได้ ดังนั้นกลยุทธ์ส่วนมากที่นิยมกันก็จะหาว่าร่องรอยขาใหญ่เทรดตรงไหนแล้วเทรดตามจากร่องรอยที่เปิดเผยบนชาร์ต ดังนั้นการใช้อินดิเคเตอร์จึงดึงดูดเทรดเดอร์ได้ตลอดเพราะเมื่อคำนวณย้อนหลังอินเดอเคเตอร์ไม่เคยพลาด แต่พอตลาดวิ่งไปข้างหน้า อินดิเคเตอร์ก็เปลี่ยนไปตามข้อมูลใหม่ที่อัพเดทตอนแท่งเทียนใหม่จบ มักจะทำให้เปิดเทรดเรื่อยสำหรับมือใหม่ หรือถ้าเทรดเดอร์ที่เทรดเป็นและมีประสบการณ์ในการใช้อินเดิเคเตอร์ยืนยันอาจมีการเปิดออเดอร์เพิ่ม ดังนั้นเมื่อเปิดออเดอร์แล้วในการเทรดไม่ได้จบแค่ว่าเปิด แต่มีหลายสิ่งตามมาอีกที่ต้องใส่ใจอยู่ตลอด
ข้อ 1. ออเดอร์ที่เปิดไป เป็นเพราะการเทรดที่มีการวางแผน ไตร่ตรองวิเคราะห์ก่อนหรือเปล่า หรือเปิดเทรดเพราะเห็นบาร์ยาวๆ เกิดกระตุ้นให้อยากเทรด หรือเปิดเพราะพวกมากพาไปเห็นเขาเทรดเลยกลัวพลาดโอกาส กลัวไม่ทัน เพราะการเทรดที่มีการวางแผนต้องมีองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่น
ตลาดที่จะเทรด – จะเทรดแค่ฟอเรกหรือจะเทรดตลาดอื่นด้วยเช่น Comodities Indices
ทุนสำหรับเทรด – ในการเทรดต้องดูทุนตัวเองว่ามีเท่าไร ถ้าเปิดไปแล้วเหลือ equity เท่าไร leverage บัญชีเทรดเท่าไร เพราะมีผลต่อจำนวนออเดอร์ที่เปิดแล้วและที่จะเปิดเพิ่มอีก หรือแหล่งที่มาของทุนเป็นเงินก็บหรือเงินที่จัดสรรมาลงทุนเทรด เพราะมีผลต่างกันกับคำว่า รับการสูญเสียได้หรือเปล่า (affordable loss) เพราะเมื่อช่วงรอออเดอร์ที่เปิดติดลบอาจสร้างความกดดันให้ได้ถ้าเป็นทุนที่รับการสูญเสียไม่ได้ เพราะถ้าถึงกับล้างพอร์ตอาจทำให้ความมั่นใจในการวิเคราะห์และการเทรดกระทบไปหมด
กลยุทธ์สำหรับเทรด – เป็นอย่างไร เทรดเพราะอินดิเคเตอร์บอกสัญญาณหรือ free signals ที่มีแจกทั่วๆ ไป หรือเทรด price action ที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจตลาดด้วยตัวเอง เพราะเมื่อทุกเทรดเดอร์ทำสิ่งเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน สิ่งที่เรียกว่า ข้อได้เปรียบ trading odds ก็จะไม่เป็นแบบนั้นอีกต่อไป แต่ตรงกันข้ามกลับเป็นสิ่งที่ทำให้ขาใหญ่รู้ว่ารายย่อยเทรดอย่างไร เทรดตรงไหน พวกเขาสามารถใช้ข้อมูลตรงนี้เพื่อเพิ่ม trading odds ให้กับพวกเขาได้ และกลยุทธ์อาจเป็นแบบระยะยาว ระยะปานกลางหรือระยะสั้น ก็ต่างกันออกไปอีก พร้อมกันนั้นการเข้าเทรดและการออกเทรด เข้า-ออกแบบไหนต้องชัดเจนมีการจุดกำหนดชัดเจนก่อนว่าแต่ละจุดที่ตรงไหน มองเห็น risk:reward ได้ชัดเจนหรือเปล่า
การจัดการความเสี่ยง – ในการเทรดเพื่อเป็นการรักษาทุน การเทรดต้องมีการจำกัดความเสี่ยงว่ารับได้เท่าไร แต่ละออเดอร์คำนวณการจัดการความเสี่ยงอย่างไร เช่นถ้าราคาวิ่งสวนท่านอาจใช้เป็นการตั้ง stop loss เพื่อกำหนดจุดรับความเสี่ยงเบื้องต้นหรือถ้าท่านเข้าใจรื่อง stop hunting อาจมีการตั้ง stop loss พื้นที่กว้างขึ้นก็ได้ หรือถ้าเทรนสวนการเทรดท่านเป็นช่วงๆ แต่ระยะทางที่วิ่งมากพอที่จะทำให้ท่านสูญเสียได้ถ้าไม่ตั้ง stop loss ท่านก็ต้องใช้วิธีการ hedging เข้ามาประกอบและมีการเทรดตามไปด้วย
ข้อ 2. จำนวนล็อตที่เปิดเป็นอย่างไร เปิดมากเกินทุนเหรือเปล่า เพราะตลาดฟอเรกเป็นตลาด leverage สามารถเปิดเทรดเกินทุนตัวเองได้แล้วแต่ leverage บัญชีเทรที่ดเปิดยิ่ง leverage เยอะก็จะเทรดเกินทุนจริงได้เยอะ เช่น 1:500 สามารถเทรดได้ถึง 5 เท่าของทุน เช่นทุน 1000 ดอล สามารถเปิดเทรดล็อตรวมได้ถึง 5000 ดอล อาจจะต่ำกว่านั้นเล็กน้อยเพราะเรื่อง margin ประกอบ แม้ว่าเป็นการเสี่ยงที่สูงและผลตอบแทนสูงก็ตาม แต่เป็นการเสี่ยงเกินไปโดยไม่จำเป็นเพราะตลาดมีโอกาสมาตลอด เพราะโบรกต้องการให้เราเทรด รายได้ของโบรกมาจาก trading transaction ที่เกิดขึ้น ยิ่งล็อตเยอะ พวกเขายิ่งได้เยอะ เรื่อง leverage จึงเป็นกลยุทธ์ของโบรกในการหารายได้แต่ก็เป็นดาบสองคมถ้าใช้เป็นก็มีประโยชน์
ข้อ 3. เปิดออเดอร์พร้อมกันมากเกินไปหรือเปล่า แม้ว่าตลาดจะเปิดให้เทรดหลายคู่เงินและแต่ละคู่เงินโอกาสก็เกิดเรื่อย โดยเฉพาะคู่เงินที่สัมพันธ์ค่าเงินเดียวกัน เช่น GBP ก็จะมี GBPUSD, GBPJPY, GBPAUD, GBPCHF, GBPCAD, GBPNZD EURGBP เป็นต้น การเข้าเทรดค่าเงินนั้นๆ ของขาใหญ่มักจะเปิดเผยร่องรอยการเทรดที่คู่เงินอื่นๆ ด้วย โอกาสหรือ trade setup มักจะเกิดขึ้นหลายๆ คู่พร้อมกัน อาจทำให้ท่านผลอเปิด positons หลายๆ คู่พร้อมกันได้ กลายเป็นการเปิดเทรดมากไปแบบไม่ทันระวัง
ข้อ 4. ใช้ leverage มากเกินไป – leverage แม้ว่าจะเป็นสิ่งดึงดูดให้รายย่อยเข้าตลาดได้ง่ายและเร็ว สามารถเทรดเกินเงินได้ แต่ท่านต้องไม่ลืมว่าเทรดเกินเงินได้แต่เมื่อราคาวิ่งสวนท่าน ราคาสวนวิ่งมาเท่าที่ทุนท่านมี ท่านก็ล้างพอร์ต เช่น ทุน 100 ดอล ใช้ leverage 1:500 เทรดได้ถึง 5 เท่าของทุนคือเปิดเทดรล็อตรวมได้ถึง 0.50 (ตัวอย่างเป็น standard account ที่ ล็อต 0.10 เท่ากับเปิดเทรดออเดอร์ละ 100 ดอล) เช่นท่านเปิด Buy EURUSD ด้วยล็อต 0.50 ค่าบีบที่เกิดขึ้นได้-เสีย ตกที่ประมาณ 5 ดอลลาร์ ถ้าวิ่งไปทางที่ท่านเปิด 50 บืบ ท่านก็ได้กำไร 50×5 = 250 ดอนลาร์เมื่อท่านปิด แต่ถ้าราคาวิ่งสวนทางที่ท่านเปิดเทรดประมาณ 20 บีบ ท่านก็ล้างพอร์ตแล้ว การใช้ leverage ต้องเข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้น อาจใช้วิธีการอื่นประกอบไปด้วยเช่นเรื่อง hedging
ข้อ 5. สำคัญสุดก็ว่าได้ เป็นการเปิดเทรดเพื่อเอาคืนหรือแก้แค้นตลาดหรือเปล่า เพราะเมื่อใดก็ตามถ้ามีอารมณ์เข้ามาเป็นตัวกำหนดการตัดสินในการเทรด มักจะเกิดการสูญเสียที่เจ็บปวดตามมา
สิ่งที่ยกมาเป็นหัวข้อหลักๆ เมื่อท่านเปิดเทรดท่านต้องใส่ใจตลอดว่าสถานการณ์พอร์ตท่านเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน สัดส่วนทุนเมื่อมี open positions ส่วนต่างระหว่าง Balance และ Equity เท่าไร การจำกัดความเสี่ยงต้องเกิดที่จุดไหน เพราะการสูญเสียเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด ถ้าทุนยังเหลือหรือกระทบน้อยที่สุดโอกาสก็มีตลอด
ทีมงาน : thaiforexbroker.com