เทรด Indicator Forex ให้เป็น ตอน 2
ใช้ Zigzag อินดิเคเตอร์กำหนดจุด swing high/swing low ช่วยเรื่องเทรน
อีกวิธีการที่กำหนดจุด swing high/swing low ที่สำคัญต่อการพัฒนาการเรื่องเทรน เพราะราคาไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง จะมีย่อตัวก่อน แล้วค่อยไปต่ออีก เกิดเป็นจุด swing ในการกำหนดได้ Zigzag เข้ามีส่วนช่วยในการกำหนดเรื่องนี้ จะเห็นว่าเรื่องของ Zigzag
ทำให้เกิดอินดิเคเตอร์ฟอเรกตามมาเยอะที่ใช้ในการกำหนดเช่น Fibonacci Retracement, Gartley, Elliott wave หรือ Harmonic patterns หรือแม้กระทั่งสำหรับ chart patterns เป็นที่รู้กันว่าเรื่องของเทรน เมื่อราคาทำเทรนขึ้นก็จะทำ Higher Highs ตามด้วย Higher Lows หรือสำหรับเทรนลงราคาก็จะทำ Lower Highs ตามด้วย Lower Lows
อีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ Zigzag คือใช้เพื่อหาแนวรับและแนวต้าน ราคาเมื่อทำ swing high ก็ได้กลายเป็น resistance และ swing low ก็เป็น support อย่างที่ภาพประกอบ จากจุดวงกลม จะเป็นจุดที่เข้าเทรดเรื่อง flipping level คือจากที่แนวรับกลายเป็นแนวต้านเพราะ swing low
โดนเบรคและกลายเป็นแนวต้าน หรือเพราะจากแนวต้านกลายเป็นแนวรับคือจากที่ swing high โดนเบรคแล้วก็กลายมาเป็นแนวรับ เพราะหลักการทำงานของแนวรับแนวต้านเป็นเพราะเทรดเดอร์ที่ต้องการเข้าเทรดและที่ติดอยู่ในตลาดที่ต้องการออกเทรดพื้นที่เดียวกันเพราะ price structure เปลี่ยนไป
ตัวอย่างการใช้อินดิเคเตอร์ฟอเรกเพื่อปรับแต่ง Zigzag ชื่อ lastmandstanding indicator
อินดิเคเตอร์ตัวนี้ช่วยให้ท่านโฟกัสเรื่อง swing high และ swing low ได้ง่าย ข้อดีของอินดิเคเตอร์ตัวนี้คือนอกจากปรับแต่งค่าได้แบบ Zigzag ยังให้ท่านปรับ Zigzag ได้ 2 ระดับ คือ Major และ Minor และจะสร้างจุด swing points ให้ท่านดูง่าย
สิ่งที่อินดี้ตัวนี้ช่วยคือให้ท่านหาแนวรับแนวต้านได้ง่ายจากจุด swing points และยังคงเป็นแนวรับแนวต้านหรือโดนเบรคหรือยัง
เมื่อโดนเบรกท่านก็จะหาโอกาสเทรดทางตรงข้ามได้ง่ายเพราะมีจุดโฟกัสเก่าที่เกิดขึ้นให้เห็น นอกจากเรื่องของเทรนแล้วที่เกิดขึ้นเพราะการพัฒนา swing highs/swing lows ทูลตัวนี้ยังช่วยให้ท่านเทรดแนวรับแนวต้านได้ง่าย เช่นการใช้อินดิเคเตอร์ฟอเรกตัวนี้ 2 ชาร์ต จะเห็นว่า H4 มี 2 จุดวงกลมด้านล่างที่บอกว่าเป็น swing low
หรือเป็น support มองมาทางช้ายมือใน time frame ย่อย M30 เป็นโครงสร้างชัดเจนหรือใช้อินดี้ชนิดเดียวกันประกอบ ก็จะเห็นว่าราคาเบรคตรงไหนบ้าง และดู oscillator ประกอบว่าได้เงื่อนไขการเปิดเทรดที่เลข 1 แล้วมองมา M30 เพื่อหาเงื่อนไขเปิดเทรดหรือที่เลข 2 เห็นชัดเจน
ใช้อินดิเคเตอร์ฟอเรกหลายตัว (แต่ไม่มาก) เพื่อช่วยการยืนยันกัน
การใช้อินดิเคเตอร์นอกจากเลือกประเภทว่าจะใช้ตัวไหนให้เหมาะกับกลยุทธ์การเทรดแล้ว ยังควรใช้ประกอบกับหลาย time frames ประกอบกัน แต่ท่านสามารถใช้อินดิเคเตอร์ฟอเรกหลายตัวช่วยยืนยันกัน เช่นเรื่องช่วงเทรน
ท่านอาจใช้ Bollinger Bands และ MA ดูเทรน ใช้ CCI, RSI, MACD เป็นตัวช่วยเป็น oscillators ว่าราคาอยากไปทางที่ท่านจะเปิดเทรดหรือเปล่า หรือใช้ Zigzag ประกอบ จุดที่ท่านเปิดเทรดเป็นแนวรับหรือแนวต้านหรือเปล่า
เช่นอย่างภาพด้านล่างใช้ lastmandstanding indicator ที่เป็นตัวกำหนด ZigZag แต่สามารถกำหนดได้ใกล้กว่า Zigzag ที่มากับ Metatrader 4 ปรับส่วนที่เป็น Major แลัวยังเพิ่มส่วนที่เป็น Minor swing points ได้อีกด้วย
จะเห็นว่าอินดิเคเตอร์ไม่ได้ดีเส้นแบบ Zigzag แต่เป็นการใช้วงกลมแทน วงกลมที่เห็นเป็น swing points เดียวกับ Zigzag ที่มากับ Metatrader สามารถปรับค่าได้เหมือนกัน ส่วนวงกลมเล็กเป็น Minor swing points เมื่อดูเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า Minior ในส่วนของ H4 เมื่อเปิดที่ H1 กลายมาเป็น Major ไป
ดังนั้นข้อดีของอินดี้ตัวนี้คือให้ท่านเห็นจุด swing points ต่าง timeframe ได้ง่ายที่ชาร์ตเดียวเลย นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มเส้น MA เข้ามาด้วยอินดิเคเตอร์ฟอเรกตัวนี้ได้ทั้ง Zigzag สามรถใช้ได้ 2 ระดับและ MA ด้วย และจุดที่ตีกรอบสีแดงเป็นจุดที่ราคาย่อตัวมาหลังจากที่ราคาเบรค swing high/swing low
และราคากลับตัวมี CCI เป็นตัวยืนยันด้วย และเมื่อมองมาที่ H4 ก็เป็นจุดที่ราคาเบรค Minor swing points พอดี
ใช้อินดิเคเตอร์กับ confluence ที่เกิดขึ้น
อีกวิธีการหนึ่งในการใช้อินดิเคเตอร์ฟอเรกให้ได้ผลเพราะเรื่องที่ให้ข้อมูลช้าหรือ lagging information คือให้ trade setup ตรงที่จะเข้าเทรด เกิดที่เดียวกันกับ technical analysis อย่างอื่นด้วย
เช่นเป็นเรื่อง support/resistance, round numbers, Fibonacci retracement, chart patterns หรือ supply/demand จะทำให้เข้าเทรดได้เร็วกว่าที่จะรออินดิเคเตอร์ได้วิ่งไปสักระยะแล้วค่อยเกิดการยืนยันทางนั้น
การที่รูปแบบ technical analysis หลายแบบทำให้เกิด trade setup ที่เดียวกันก็จะทำให้จุดที่เทรดทำงานดี เพราะเมื่อเทรดเดอร์ต่างสนใจจุดนั้นก็จะทำให้เกิด liquidity เยอะตรงนั้น
เมื่อมีการดันราคาด้วยทางที่ขาใหญ่เข้าเทรด ก็จะทำให้มีเทรดเดอร์ที่เสียหรือ trapped traders เกิดขึ้น ก็จะออกจากตลาดทำให้ราคาวิ่งได้เร็วขึ้น และก็จะเปิดโอกาสให้เทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรดได้เข้าเทรดอีกด้วย
อย่างภาพด้านบน เมื่อดูชาร์ต H4 จะเห็น swing low และเมื่อมองมาทางช้ายอีกจะเห็นจุด swing high ที่ราคาได้เอาชนะ เพราะจุด swing point เดิมกลายเป็นแนวรับจากแนวต้าน และสุดท้ายราคาได้เบรคแนวรับอีกที ดูรายละเอียดที่ชาร์ต M30 ตรงที่ราคาเบรคยังเป็น Round Number ด้วย (ราคาที่ลงท้ายด้วยเลขสำคัญ 00 50 ที่เทรดเดอร์มักตัดสินใจที่นั่น)
ท่านก็จะได้ confluence จากเรื่อง support/resistance, round number และราคาเบรคลงมาทำ impulsive move ท่านก็ใช้ Fibonacci Retracement เพื่อกำหนดว่าราคาน่าจะย่อตัวมาตรงไหน อย่างจุดที่เลข 2 จะเห็นเรื่องของ confluence trading ได้ชัดมาก (support/resistance break + round number + Zigzag + MA 55 + Fibonacci + CCI oversold) ความเป็นไปได้สูงก็จะเพิ่มขึ้น
ความรู้จำเป็นเบื้องต้นสำหรับการใช้อินดิเคเตอร์ฟอเรกให้ได้ผล
ข้อเสียของการใช้ข้อมูลจากอินดิเคเตอร์คือข้อมูลที่ได้ล่าช้าหรือเป็น lagging information และยังเปลี่ยนแปลงถ้าเป็นการดูจากแท่งเทียนที่ยังไม่จบ ดังนั้นต้องรอให้แท่งเทียนชาร์ตที่ท่านใช้อินดิเตอร์สำหรับกำหนด trade setup ให้จบก่อน อีกอย่างเข้าใจเรื่องทำไมเกิด swing highs/swing lows หรือ support/resistance จึงเกิดขึ้น
เพราะราคาไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง แม้ว่าจะทำเทรนก็ตาม ก็มีการย่อตัวแนวรับแนวต้านพวกนี้ล้วนเกิดขึ้นเพราะออเดอร์ที่เกิดขึ้นกับตลาดที่ราคาและเวลานั้นๆ เป็นอย่างไร ก็จะสะท้อนออกมาเป็นชาร์ต และข้อมูลจากชาร์ตก็จะนำมาประมวลผลเพื่อแสงผลของอินดิเคเตอร์ เช่นอย่างแนวรับที่จุด swing low หรือแนวต้นที่จุด swing high ที่ทำให้ราคาเด้งออกมา เพราะเรื่องของออเดอร์ที่เกินกัน
ตามหลักการทำงานออเดอร์บอกว่าราคาวิ่งไปทางไหนเพราะความไม่สมดุลย์เกิดขึ้น อย่างที่เลข 1 หลังจากที่ราคาขึ้นราคาหยุดและลงมาจนกลายเป็น Higher High ที่ลงมาได้เพราะ sell orders เกิน buy orders ต้องเข้าใจเรื่องออเดอร์ว่า market orders ไม่ได้มาจากการเปิดเข้าเทรดอย่างเดียว ที่ HH เลข 1 sell orders ที่เข้ามามาจากเทรดเดอร์ที่เปิด Long positions หรือเปิด buy ตอนที่ราคาขึ้นมา
โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่อยู่ตอนแรกก็จะกำไรมาก เทรดเดอร์พวกนี้ปิดกำไรก็เท่ากับเปิด sell market orders ด้วย sell orders เลยมาจาก 2 กลุ่มนี้ ราคาลงมาได้แสดงว่า buy market orders ไม่พอ เลยทำให้ราคาลงมาได้ พอถึงจุดที่บอก HL ราคาเด้งขึ้นก็เกิดเพราะแบบเดียวกัน เทรดเดอร์ที่เปิด sell ก็มาปิดทำกำไร ที่ HL 1 เท่ากับเปิด buy market orders
แต่มีอีกกลุ่มที่รอเทรดเพราะเห็นราคาเบรคหรือ trend traders ก็จะเข้าเทรดอีกที่ HL 1 พอราคาขึ้นมาและเบรคได้ก็มี Breakout traders เข้ามาเทรด Buy ที่จุดราคาเบรค และยังมี stop loss ของเทรดเดอร์ที่เปิด short positions ที่ HH 1 อีก เลยทำให้ราคาเบรคและขึ้นไปได้เลยทำ HH 2 ได้ ให้มองหลักการทำงานที่จุด swing points ที่ Zigzag เป็นแบบนี้
ควรใช้ Indicator Forex สำหรับเทรดอย่างไร
จากที่อธิบายมา การใช้อินดิเคเตอร์เพื่อเทรดต้องเข้าใจว่าข้อมูลช้าหรือ lagging information
- กำหนดว่าจะใช้กับ trade setup ที่ time frame ไหนก่อน และรอให้ราคาปิด และดูว่าใช้อินดิเคเตอร์เข้าเทรดอย่างไร ตามเทรนหรือสวนเทรน
- ให้ใช้เรื่อง time frame ย่อยประกอบเพื่อการเข้าเทรดและออกเทรด
- ให้ใช้อินดิเคเตอร์ฟอเรกตัวอื่นช่วยยืนยันกัน
- เข้าใจเรื่องออเดอร์ว่าทำงานอย่างไร เช่นที่แนวรับแนวต้าน เกิดขึ้นและจะมาจากไหนบ้าง หรือถ้าเป็นเทรดเดอร์ที่เทรดชาร์ตเปล่าเป็นก็จะใช้อินดิเคเตอร์เพื่อยันยันการเทรดเมื่อเปิดเทรดแล้ว เห็นอินดิเคเตอร์เกิดทางที่เปิดก็จะปล่อยให้กำไรยาวไป เพราะอินดิเคเตอร์ฟอเรกบอกข้อมูลที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไรในตอนนั้นๆ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com