ระบบเทรด forex อย่างไหนดี ตอน 1

ระบบเทรด forex อย่างไหนดี ตอน 1

จะเลือกระบบเทรดForex  อย่างไหนดี

ระบบการเทรดForex มีหลายแบบ แล้วแต่กำหนด ถ้าแบ่งตามรูปแบบเงื่อนไขในการเข้าเทรดและออกเทรดเป็นหลัก ก็จะมี

  1. การเทรดตามเทรน (trend trading)  
  2. การเทรดสวนเทรน (counter trading )
  3. การเทรดตอนราคาเบรค (Breakout Trading)  
  4. การเทรดตาม chart patterns
  5. การเทรดด้วย Fibonacci Retracement
  6. การเทรดด้วยการใช้อินเดิเคเตอร์
  7. การเทรดข่าว
  8. การเทรดด้วย price action
  9. การเทรดด้วยหลักการ Elliot Wave
  10. การเทรดแบบแนวรับ-แนวต้าน
  11. การเทรดแบบ supply/demand หรือการเทรดแบบ order flow หรืออื่นๆ

แต่ละรูปแบบการเทรดสามารถทำกำไรและเสียได้หมด อยู่ที่เงื่อนไขและความชอบของแต่ละเทรดเดอร์และเทรดอย่างไร

ระบบเทรด ไหนง่ายสุด

เมื่อดูเรื่องการศึกษาได้ง่าย แค่ทำความเข้าใจหลักการทำงานแต่ละตัวและการเรียนรู้ไม่นาน น่าจะเป็นระบบเทรดด้วยอินดิเคเตอร์และ chart patterns เพราะเป็นระบบที่เปิดเผยข้อมูลเยอะ แต่ข้อเสียคือ ระบบพวกนี้อ่านข้อมูลเก่าจนชัดเจนเกินไป พอชัดเจนเกินไปถ้ารู้ไม่ทันหมายความว่า ราคาได้วิ่งไปทางนั้นสักระยะแล้วแต่เรื่อง risk:reward ก็จะลดลง เพราะเมื่อราคาวิ่งไป

ถ้าท่านเปิดเทรดส่วน risk ก็จะมากขึ้นและส่วนของ reward ก็จะน้อยลง วิธีการแก้ง่ายๆ คือพยายามหา trade setup ที่มี risk:reward มากพอ เช่น 1:10  และพยายามเทรดจาก setup ที่มาจาก time frame ใหญ่เป็นหลักเพราะ reward จะมากพอ และให้เรียนรู้ความอดทน และอย่าเปิด positions รวมกันอย่ามากเกินไป เช่นใช้ D1 เป็นกรอบภาพใหญ่ที่ต้องการหา trade setup แล้วมาดูที่ชาร์ต H1 จะเห็นว่าชาร์ต D1 ดู Bollinger Bands ราคาแตะเส้นล่างของ lower bands และเกิด rejection บอกว่าราคาเกิด oversold แล้วกำลังจะเด้งกลับ

ตามหลักการเทรดของ Bollinger Bands และยังใช้ CCI เพื่อยืนยันอีกตัว จะเห็นว่าไปทางเดียวกัน ดูเส้นสีแดงแนวตั้ง จะเห็นว่าเงื่อนไขการเทรดจากอินดิเคเตอร์จะต้องมี price action หรือแท่งเทียนมายืนยันก่อนค่อยเกิดเงื่อนไขการเทรด แล้วมาดู trade setup ที่ H1 จะเห็นว่าราคาได้ขึ้นแล้ว risk ได้เกิดขึ้น เลยต้องรอให้เงื่อนไขเดียวกันกับที่เห็นในชาร์ต D1 มาเกิดที่ชาร์ต H1

เงื่อนไขความเป็นไปได้สูงจะเกิดขึ้นเพราะ ตรงที่ราคาวิ่งไปตอนแรกในชาร์ต D1 ก่อนที่ราคากลับมา มองเป็นว่าราคาได้ทดสอบได้ จะเห็นชัดว่าราคาทำ Higher High ได้ที่ชาร์ต H1 ขณะเดียวกัน ถ้าท่านสามารถอ่าน chart patterns เป็นท่านก็จะเห็นว่าเกิด Head and Shoulders ที่เลข 2  เกิดขึ้นที่จุดเดียวกันด้วย และยังเกิด key level ที่ราคาได้เอาชนะ resistance กลายมาเป็น support ที่เลข 3 ด้วย จะเห็นว่า เมื่อ technical analysis เกิดที่เดียวกันแบบนี้ เลยนำมาสู่ระบบเทรดฟอเรกที่เรียกกว่า confluence trading ได้อีกแบบ

ระบบเทรด Forex ตามเทรนและสวนเทรน

เรื่องการเข้าใจเทรนถือว่าเป็นพื้นฐาน โดยหลักการง่ายสุดในการกำหนดเทรนคือใช้เรื่องการพัฒนา swing high และ swing lows เข้ามาประกอบ  เทรนขาขึ้นก็จะกำหนดด้วย Higher Highs ตามด้วย Higher Lows และเทรนลงก็จะกำหนดด้วย Lower Lows ตามด้วย Lower Highs หลักการทำเทรน อธิบายง่ายๆ แบบนี้  เช่นเทรนขาขึ้น เมื่อราคาทำ Higher High ได้ ราคาทำ Higher Low

ราคาต้องสามารถทำ Higher High ใหม่ได้ด้วยการเบรค High ก่อนได้และ Higher Low ต้องไม่โดนเบรค และสร้าง Higher Low ขึ้นใหม่มาตาม ถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่ยังถือว่าเป็นเทรนขาขึ้น  แต่ถ้า Higher Low โดนเบรค ก็จะมองว่าเริ่มเป็นจุดแรกที่จะเปลี่ยนเทรนแบบภาพประกอบ ดังนั้นหลักการเทรดตามเทรน ก็จะมี 2 อย่างหลักๆ คืออย่างแรกเทรดตอนราคาเบรค High และสอง เปิดเทรดตอนที่ราคากลับมาทดสอบเทรนที่จุดราคาเบรคขึ้นไป  ส่วนการเทรดสวนเทรน แบ่งได้ 2 อย่าง

คือเทรดตอนที่ราคาเปลี่ยนเทรนเลย แบบที่ด้านบนที่เปลี่ยนเป็นทรนลงมา ด้วยการที่ราคาสามารถทำ Lower Low ได้ก่อนด้วยการเบรค Higher Low ฝั่งตรงข้าม แล้วราคาก็ทำ Lower High ได้ตามมา และก็ทำ Lower Lows ตามด้วย Lower Highs ต่อเนื่องกันลงมา เมื่อการพัฒนาเทรนเกิดขึ้น จะเห็นว่าเมื่อราคาทำ Lower Low ได้เพราะเอาชนะ Higher Low ฝั่งเทรนขาขึ้นได้ และตามด้วย Lower High และมีการเข้าเทรดแล้วราคาเบรค Lower Low อีก กลายมาเป็นเทรนเกิดขึ้น

หลักการเปิดเทรดตามเทรนก็เทรดแบบเดียว การเทรดสวนเทรนจะเป็นการเทรดสวนเทรนเลยแบบด้านบน และอีกอย่างสำหรับการเทรดสวนเทรน เช่นอย่างกรณีที่เทรนขาลง ท่านจะเห็นว่าเมื่อราคาทำ Lower Low ได้ราคาจะมีการเด้งกลับมาทำ Lower High เสมอ ตรงพื้นที่ตรงนี้ก็เปิดโอกาสให้ท่านเปิดสวนเทรน (ระยะสั้น) ได้เช่นกัน จะเห็นว่าระบบเทรดฟอเรกที่เทรดตามเทรนหรือสวนเทรน ต้องมาจากการเข้าใจเรื่องของเทรนก่อน

ระบบเทรด แบบแนวรับ-แนวต้าน มองเกินการทำเทรน

การเทรดแบบการใช้ความรู้เรื่องแนวรับแนวต้านหรือ support/resistance ถือได้ว่าเป็นรูปแบบการเทรดที่นิยมมาก การเข้าใจแนวรับแนวต้านเกิดได้อย่างไร และนอกจากนั้นเมื่อเข้าใจการเทรดฟอเรกแนวนี้แล้ว จะทำให้ท่านเข้าใจการเทรดแบบ supply/demand ด้วยแค่หลักการมุมมองต่างกัน การเทรดแนวรับ- แนวต้าน เน้นที่เห็นราคาเกิดเด้งหรือ rejection หรือ Break ที่พื้นที่ตรงนี้เป็นหลัก อย่างน้อยราคามาพื้นที่นี้  2 ครั้งขึ้นไป

พอมาเด้งเทรดเดอร์ก็จะมองว่าครั้งต่อไปที่ราคามา ราคาก็น่าจะเด้งอีกจนกว่า support/resistance จะโดนเบรค และก็จะหาโอกาสเทรดฝั่งตรงข้าม หรือเรียกว่าการเทรด flipping level เช่นจากแนวต้านกลายเป็นแนวรับ หรือจากแนวรับกลายเป็นแนวต้าน หลักการดูนอกจากเรื่อง rejection และ break และต้องดูลักษณะแต่ละครั้งที่ราคากลับมาพื้นที่ๆ ทำให้เกิด rejection และ breakout ผลตามมาเป็นอย่างไร

การเปิดเทรดก็จะเปิดเมื่อราคากลับมาที่แนวรับหรือแนวต้าน และอีกอย่างต้องมองแนวรับหรือแนวต้านเป็นพื้นที่ หรือกรอบราคาตามแนวนอนเพราะเรื่องการทำงานของออเดอร์ เพราะเทรดเดอร์แม้จะเทรดพื้นที่เดียวกันแต่ไม่ได้เปิดเทรดที่ราคาเดียวกัน วงกลมคือจุดที่ราคาเบรค การเปิดเทรดก็เปลี่ยนข้างไปตามที่ลูกศรชี้  

นอกจากนั้น เมื่อมองจากมุมการทำเทรนที่ให้หลักการ swing high/swing low ประกอบ ท่านจะเห็นว่าเมื่อราคาทำ Higher High ได้ ราคาลงมาเท่ากับการสร้าง Resistance พอราคาเบรคได้ ก็กลายเป็น support เพราะหลักการเทรดแนวรับแนวต้าน เลยจะเห็นว่าราคามาเด้งตรงที่เบรค หรือที่เป็น support ในตอนทำเทรนขึ้นเป็นเรื่องปกติ

ระบบเทรด Breakout เข้าใจออเดอร์และเทรดใส่เทรดเดอร์

รูปแบบการเทรดอีกอย่างที่นิยมและเห็นประจำ หลังจากที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบสักระยะโดยหลักการทำงานของออเดอร์เป็นเพราะขาใหญ่ต้องการสะสม positions ในการเทรดต่อ ในกรอบที่ก่อนเกิด Breakout จะเรียกว่าเป็น consolidation โดยในกรอบนี้เทรดเดอร์ที่อยากเปิด sell ก็จะได้เปิด ที่อยากเปิด buy ก็จะได้เปิด

แต่ราคาไม่ไปไหน อยู่ในกรอบเป็นหลัก โดยกรอบที่เป็นพื้นที่ consolidation ส่วนด้านบนก็เป็นแนวต้านหรือ resistance และส่วนด้านล่างก็เป็นแนวรับหรือ support  หรือการ breakout เกิดที่กรอบแนวรับหรือแนวต้านที่ใช้พื้นที่ consolidation ก็ได้ หลักการทั่วๆ ไปของการเทรด Breakout คืออยู่ที่ว่า

ราคาได้เกิด Breakout จากอะไร เช่นภาพด้านบนเป็นการ breakout ที่ support/resistance และที่กรอบราคา หรือพื้นที่ราคาทำ consolidation สักระยะจะเห็นว่าเมื่อเปิด Breakout มักจะตามมาด้วยโอกาสการเปิดเทรด ดูที่กรอบสีเขียวที่เกิดขึ้นตามหลังจากการเกิด Breakout ก็จะเปิดโอกาสให้เทรดตามมาทางที่เกิด Breakout

ระบบเทรด Breakout สามารถปิดเทรดตอนที่ราคาเกิด Breakout ขึ้นหรือตอนที่ราคากลับมาเทสแบบข้างบนได้ เพราะหลักการเทรดจะเป็นการเน้นเทรดใส่เทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด ดังนั้นการเปิด Breakout มักจะเห็นว่าเป็นพื้นที่มีการเปิด trading transactions เยอะๆ หรือกรอบราคาที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันก่อน

เพราะเทรดเดอร์ที่อยู่ในกรอบพวกนี้ก็จะตั้ง stop loss ห่างจากทางที่ตัวเองเทรดไม่มาก ขาใหญ่ที่เข้ามาตรงนี้ก็จะใช้ประโยชน์จากเรื่อง stop loss ที่มาจากเทรดเดอร์ทั้งสองข้างเพื่อช่วยในการเทรดของพวกเขา

จะเห็นว่าก่อนราคาจะลงมาได้ทำ false breakout เพื่อล่า stop loss ของเทรดเดอร์ที่เปิดเทรด buy ในกรอบ consolidation เพราะขาใหญ่ต้องการเข้าตลาดอีกด้วย  พอราคาเบรคลงมาก็จะมีทั้งราคาและ stop loss ของเทรดเดอร์ที่เปิดbuy ในกรอบนั้น และยังมี sell stop orders จากพวก breakout traders ที่ต้องการเทรดด้วย

และราคากลับมาแล้วโดนดันลงไปอย่างเร็วเป็น quick test รายย่อยที่รอเข้าตาม breakout ก็ได้โอกาสเปิดเทรดทั้ง stop loss และ sell stop และ sell market orders จากที่รอเข้าเทรด มีแต่เงื่อนไข sell market orders เลยทำให้ราคาลงเร็ว

ระบบเทรดForex ด้วย Demand/Supply

หลักการง่ายๆ ก็จะเป็นการหาความไม่สมดุลระหว่าง sellers และ buyers เมื่อราคาวิ่งอยู่ในกรอบ ถึงเกิดความสมดุลย์ระหว่างออเดอร์จาก sell และ buy จนกลายมาเป็น cluster หรือ consolidation หรือ Base การกำหนด demand/supply ได้เมื่อ breakout ที่เกิดจาก cluster หรือพื้นที่ consolidation เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เรียกพื้นที่นั้นเป็น supply/demand  

ส่วนที่เป็นเลข 3 คือ ตัวสำคัญที่เป็นตัวยืนยันว่าเกิด demand/supply แล้วมองมาที่ว่าราคาเกิด Breakout ตรงนั้นเรียกเป็น Base หรือพื้นที่ cluster/consolidation ก่อนที่จะเปิด Breakout และมองย้อนกลับมาอีกที ก่อนที่จะเกิด cluster/consolidation ว่าราคาวิ่งมาทางไหน จะเห็นว่าการที่จะกำหนดระบบเทรดแบบ demand/supply

ท่านต้องมองย้อนหลังกลับมาด้วยการหา strong move away หรือ breakout แรงๆ หรือเห็น momentum การเทรดแรงๆเกิดขึ้นแล้วมาหาต้นตอ ส่วนการเรียกชื่อเป็นการเรียกตามที่ที่ราคาวิ่งมาก่อนแบบไหน มาด้วย Base (หรือพื้นที่ consolidation/cluster) และตามด้วยที่เกิด Breakout วิ่งทางไหน

ก็จะมี 2 แบบหลักๆ คือ demand/supply zone สำหรับเทรดสวนเทรน (Reversal demand/supply zone) และ สำหรับเทรดตามเทรน (Continuation demand/supply zone)  การเทรดแนวนี้ตัวสำคัญสุดจะอยู่ที่ส่วนที่ 3 ที่ราคาเปิด Breakout ตรงนั้น ต้องการให้มองเห็นว่าเป็นผลจากการมีส่วนร่วมของขาใหญ่ ก็จะให้มองเห็นเป็น impulsive move  

และการเปิดเทรดจะเป็นตอนที่ราคากลับมาทดสอบพื้นที่ demand/supply ก็จะเน้นให้เปิดเทรดตอนที่ราคากลับมาครั้งแรกหรือ First-Time-Back เพราะ unfilled orders ที่เหลืออยู่ตรงที่ Base ตอนที่เปิด Demand/Supply  และการเปิด Breakout ทำให้เทรดเดอร์ที่รอเข้าได้โอกาสเข้าเทรดตรงนั้น และยังมาจากเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดที่ต้องการออกด้วย

ตัวกรอบเรื่องของ demand/supply ก็จะดูเรื่องลักษณะและคุณภาพของ Breakout ที่เกิดขึ้น ดูเรื่อง retracement ราคากลับ ดูเรื่องเวลาที่ Base ก่อนที่จะเกิด Breakout ดูเรื่อง risk:reward ดูเรื่องทางที่ราคาจะวิ่งไปเมื่อเปิดเทรดตอนที่ราคากลับมาเป็นต้น

เทรดฟอเรกซ์ ด้วยการใช้ Fibonacci Retracement

ระบบเทรดฟอเรกซ์ที่นิยมอีกอย่าง จะเป็นเรื่องของการใช้ Fibonacci Retracement หลักการหลักๆ จะเป็นการเทรดราคาย่อตัว ว่าควรจะเปิดเด้งกลับไปทางเดิม ด้วยการกำหนดพื้นที่เห็นราคาวิ่งชัดเจนหรือทำเทรน แล้วใช้ Fibo เพื่อกำหนดจุดว่าราคาน่าจะย่อมาตรงไหน ตัวเลขที่นิยมการย่อตัว มี 23.6% 38.2% 50.0% 61.8%  แล้วก็เปิดเทรดที่พื้นที่ตรงนั้น

การกำหนดเส้น Fibonacci ต้องรู้สักวิธีการคือต้องกำหนดที่เป็น Impulsive move คือต้องเห็น momentum trading เกิดขึ้น หรือเห็นบาร์ยาวๆ ต่อเนื่องและมีการเบรคพื้นที่ออเดอร์ฝั่งตรงข้ามได้ด้วย แล้วค่อยมากำหนดจุดที่เกิดขึ้นสำหรับ Fibo

ตัวอย่างภาพ จะเห็นว่าราคาได้เอาชนะหรือ engulf พื้นที่ supply ทั้ง 2 จุด จะเห็นบาร์ momentum เอาชนะ supply แรกด้วยบาร์ยาวๆ และไปเอาชนะ supply ด้านบนได้อีก แล้วท่านกำหนด Fibonacci Retracement สำหรับการเทรด Impulsive move ด้วยการกำหนดจากจุดด้านล่างขึ้นไปหาด้านบนก็จะได้ตามภาพ  และเรื่องตัวเลข retracement ว่าตรงไหนดี

วิธีการง่ายสุดให้ดูจุดที่ท่านตีเพื่อกำหดน Fibo ว่าราคาวิ่งแรงขนาดไหน ถ้าแรงบอกการเทรดทางนั้นแรง  การย่อตัวของราคาก็จะน้อย เช่นอาจย่อมาแค่ไม่เกิน 38.2%   ทั่วๆ ไปจะเห็นราคาย่อมาที่ 50.0 61.8 อย่างในตัวอย่างราคาย่อมาที่ 50.0 แล้วราคาก็เด้งขึ้น อีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยในการดูว่าราคาน่าจะ retracement ตรงเลขตัวไหน

ให้ดูตรงที่ท่านกำหนด Fibo ว่าราคาได้เอาชนะพื้นที่ตรงไหน ให้ความสำคัญพื้นที่ตรงนั้นกับตัวเลข Retracement Level อย่างที่ราคาย่อมาที่ 50.0 แล้วเด้ง ท่านจะเห็นว่าเป็นพื้นที่ราคาได้เอาชนะ supply ตัวด้านล่างพอดี

Price Action เทรดฟอเรก ด้วยชาร์ตเปล่า

เป็นการเทรดชาร์ตเปล่าด้วยการอ่านว่าราคาบอกอะไร ส่วนมากก็จะอ่านผ่านทางเทียนต่อเนื่องกัน บอกเรื่องการเข้าเทรดว่ามีความกดดันทางไหน การอ่านแท่งเทียนก็จะตีความบาร์ต่อบาร์ หรือเป็น price action patterns หลักการเทรด price action ต้องเข้าใจว่า ราคาเสนอผ่านเครื่องมือสำหรับมองตลาดอย่างไรเช่น แท่งเทียน แต่ละแท่งประกอบด้วย ราคา open, high, low และ close ของแต่ละช่วงเวลาแท่งเทียน

เทียบราคาปิดกับราคาเปิด เพื่อกำหนดว่าแท่งเทียนนั้นเป็น Bullish ราคาปิดสูงกว่าราคาเปิดและ Bearish ราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด แล้วก็จะได้ส่วนที่เป็น Body ของแท่งเทียนที่บอกว่าการเข้าเทรดแต่ละช่วงเป็นอย่างไร  และส่วนที่เป็น upper wick และ lower wick นอกจากบอกเรื่อง trading pressure เข้ามาจากการเข้าเทรดของเทรดเดอร์ทางนั้น ยังบอกถึงการใช้ออเดอร์พื้นที่ตรงนั้นด้วย

การเทรดด้วย price action จำเป็นต้องอ่านต่อเนื่องกันค่อยจะเห็นปริบท และภาพรวมจุดที่ท่านต้องการเทรด ไม่ใช่จะมาเปิดแต่หารูปแบบ price action เพื่อเข้าเทรดเลย เช่นการอ่านแท่งเทียนเพื่อเทรด price action ที่แท่งเทียนเลข 1

เมื่อเปรียบเทียบกับแท่งเทียนก่อนนี้จะเห็นว่าขนาดแท่งเทียนยาวกว่ามาก จนมาขนาดของ Body จะเห็นว่าราคาเปิดส่วนบนใกล้ๆ High เลยทำให้ upper wick น้อย และราคาลงมาปิดล่างได้ด้วย body ที่ขนาดยาวเพราะระยะห่างราคาเปิดและราคาปิดห่างกันเยอะมาก เมื่อเทียบกับบาร์ก่อนนี้ เลยมองว่าเป็นการมีส่วนรวมของขาใหญ่ เลยมองว่าเป็น momentum bar ดูส่วนที่เป็น lower wick แทบไม่มี แสดงว่าเทรดเดอร์ที่เปิด buy ไม่พอสามารถดันราคาขึ้นไปได้

ดูบาร์เลข 2 และเลข 3 ตามมา ราคาไม่สามารถปิดบนส่วนที่ปิดของบาร์เลข 1 ได้เลย เป็นการยืนยันการข้าเทรดที่แท่งเทียนเลข 1 ด้วย และทั้งบาร์เลข 2 และ 3 จะมีหางบาร์ lower wick เข้ามา แม้บอกว่ามี buy trading pressure เข้ามา แต่ขณะเดียวกันก็มีการใช้ buy orders ตรงพื้นที่นั้นไปได้ พอมาบาร์ที่ 4 จะเห็นชัดว่า buy orders ที่พยายามเทรดช่วงนี้ได้โดนซึมซับไป มาก เลยทำให้บาร์ 4 ราคาปิดตรงที่ Low ไม่มีหางบาร์เลย  ส่วนบาร์ที่เลข 5 เป็นต่อเนื่องกันมาเมื่ออ่าน price action ต่อตั้งแต่บาร์เลข 1 2 3 และ 4

ระบบเทรดด้วย price action ก็จะมีการกำหนดรูปแบบประกอบด้วยเพื่อให้ง่ายเช่น Pin Bar, Engulfing Bar, Doji  การอ่าน price action ต้องเข้าใจแต่ละแท่งเทียนว่าบอกอะไร และอ่านต่อเนื่องกันเป็นปริบท

Order flow ระบบเทรดฟอเรก ด้วยความเข้าใจเรื่องออเดอร์

การที่ราคาวิ่งขึ้นหรือลงได้ เพราะจำนวนออเดอร์ของเทรดเดอร์ที่เปิดเข้าเทรดเกินกันทางใดทางหนึ่ง หรือเรียกกว่า ความไม่สมดุลระหว่าง demand/supply เกิดขึ้น เช่นการจะเปิดเทรด buy ที่จุด trade setup ที่ท่านกำหนด เมื่อท่านเปิดเทรด

ถ้าราคาจะวิ่งไปทางที่ท่านเปิดเทรดและท่านทำกำไรได้ ก็ต่อเมื่อมีแต่เทรดเดอร์เปิดเทรดทางเดียวกับท่าน โดยเฉพาะถ้าท่านเปิดเทรดทางเดียวกับขาใหญ่ด้วย เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนออเดอร์ที่มีวอลลูมเยอะ ก็จะสามารถดันราคาไปทางที่พวกเขาต้องการได้ ออเดอร์ที่มาทางขาใหญ่ก็จะเกินฝั่งตรงข้าม มากและสักระยะ ก็จะทำให้ราคาวิ่งไปทางนั้นได้ ระบบเทรดด้วย order flow เป็นการเทรดเมื่อเห็นว่าออเดอร์จะมาทางไหนบ้างที่จะมาทางที่ท่านเปิดเทรด

หลักการ order flow ก็เน้นศึกษาเรื่อง โครงสร้างตลาด ราคาเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประเภทออเดอร์และทำงานอย่างไร เรื่อง Liquidity ว่าเพิ่มและลดอย่างไร  เรื่องเทรดเดอร์อื่นๆ ในตลาดว่าเทรดอย่างไรเช่น ขาใหญ่ และรายย่อย และเรื่องที่สามารถใช้ประโยชน์จากตลาดได้ อย่างเช่นเรื่อง stop hunt เป็นตัวอย่างที่ดี

อย่างการเปิดทรดด้านบนด้วยระบบเทรดฟอเรกแบบ order flow ก็มองว่าเป็นไปได้ที่จะมีที่เปิดเทรดตรงนั้นเพราะ เทรดเดอร์อื่นๆ ก็เห็นเช่นกัน ดังนั้นเทรดเดอร์พวกนี้เปิดเทรด sell ก่อนก็จะกำหนด stop loss ไว้ด้านบน หลักการทำงานของ stop loss คือเมื่อราคาไปแตะได้ stop loss ก็จะกลายเป็น buy market orders ทันที ก็จะเปิดโอกาสให้ขาใหญ่ใช้ตรงนี้เพื่อเข้าเทรดได้ที่ราคาดีกว่า

ในที่นี้คือเปิด sell ได้สูงกว่าราคาดีกว่า และออเดอร์ที่จะทำให้ออเดอร์ขาใหญ่ที่กำหนดไว้เข้าตลาดได้คือการดันราคาไปแตะ stop loss ก็จะได้ buy market orders ไปจับคู่กับ sell limit orders ที่ด้านบนที่กลายมาเป็นส่วนของ Stop hunt

พอราคาลงมาราคาได้เบรคกรอบตรงที่ราคาทำตอนที่ราคามาถึง supply ครั้งแรก เทรดเดอร์ที่เปิด buy ตรงนี้ (เพราะการเปิดเทรดไม่ว่าจะเป็น buy หรือ sell จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีออเดอร์ตรงข้ามมาจับคู่ที่ราคาเดียวกันเสมอ)  ราคาไม่ไปต่อเทรดเดอร์พวกนี้จะกลายเป็นติดลบ เรียกเทรดเดอร์พวกนี้ว่า trapped traders ก็จะหันมาออกจากตลาดเป็นหลักเพราะไม่อยากเสีย

การออกจากตลาดเมื่อเกิดขึ้นจะกลายมาเป็น market order ฝั่งตรงข้ามที่เปิดเทรดทันทีที่ออก ไม่ว่าจะออกด้วยการปิดเองหรือด้วย stop loss ก็ตาม พอมีการเปิด buy เข้าไปออเดอร์ที่เปิดออกจากตลาดที่เป็น sell เลยมาจับคู่กับ buy order ที่เปิดเทรดเข้าไป ราคาไม่ไปไหนเกิดกรอบ consolidation ต่อจนราคาเบรคลงมาด้านล่างที่บาร์ลงยาวๆ แรงๆ เพราะราคาได้มาแตะ stop loss ของออเดอร์ที่เปิด long positions ใน 2 กรอบด้านบน และยังมี sell stop orders จาก breakout traders

จะเห็นระบบเทรดฟอเรกมีหลายแบบเอาที่ชอบ ที่ถนัด ที่หาแหล่งศึกษาได้ง่ายๆ ระบบไหนๆ ทำเงินได้หมด และเสียได้หมด อยู่ที่คนเทรดว่ารู้จริงกับระบบเทรดที่ใช้หรือเปล่า  ยังมีระบบเทรดอีกหลายอย่างหรืออาจกำหนดขึ้นมาเองก็ได้ ถ้าเข้าใจว่าตลาดทำงานอย่างไร

ทีมงาน : thaiforexbroker.com

สารบัญบทความ