ระบบเทรด Forex อย่างไหนดี ตอน 2

ระบบเทรด forex อย่างไหนดี ตอน 2

ระบบเทรด Forex อย่างไหนดี ( ตอน 2 )

ระบบเทรดForex ด้วย Demand/Supply

หลักการง่ายๆ ก็จะเป็นการหาความไม่สมดุลระหว่าง sellers และ buyers เมื่อราคาวิ่งอยู่ในกรอบ ถึงเกิดความสมดุลย์ระหว่างออเดอร์จาก sell และ buy จนกลายมาเป็น cluster หรือ consolidation หรือ Base การกำหนด demand/supply ได้เมื่อ breakout ที่เกิดจาก cluster หรือพื้นที่ consolidation เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เรียกพื้นที่นั้นเป็น supply/demand  

ส่วนที่เป็นเลข 3 คือ ตัวสำคัญที่เป็นตัวยืนยันว่าเกิด demand/supply แล้วมองมาที่ว่าราคาเกิด Breakout ตรงนั้นเรียกเป็น Base หรือพื้นที่ cluster/consolidation ก่อนที่จะเปิด Breakout และมองย้อนกลับมาอีกที ก่อนที่จะเกิด cluster/consolidation ว่าราคาวิ่งมาทางไหน จะเห็นว่าการที่จะกำหนดระบบเทรดแบบ demand/supply

ท่านต้องมองย้อนหลังกลับมาด้วยการหา strong move away หรือ breakout แรงๆ หรือเห็น momentum การเทรดแรงๆเกิดขึ้นแล้วมาหาต้นตอ ส่วนการเรียกชื่อเป็นการเรียกตามที่ที่ราคาวิ่งมาก่อนแบบไหน มาด้วย Base (หรือพื้นที่ consolidation/cluster) และตามด้วยที่เกิด Breakout วิ่งทางไหน

ก็จะมี 2 แบบหลักๆ คือ demand/supply zone สำหรับเทรดสวนเทรน (Reversal demand/supply zone) และ สำหรับเทรดตามเทรน (Continuation demand/supply zone)  การเทรดแนวนี้ตัวสำคัญสุดจะอยู่ที่ส่วนที่ 3 ที่ราคาเปิด Breakout ตรงนั้น ต้องการให้มองเห็นว่าเป็นผลจากการมีส่วนร่วมของขาใหญ่ ก็จะให้มองเห็นเป็น impulsive move  

และการเปิดเทรดจะเป็นตอนที่ราคากลับมาทดสอบพื้นที่ demand/supply ก็จะเน้นให้เปิดเทรดตอนที่ราคากลับมาครั้งแรกหรือ First-Time-Back เพราะ unfilled orders ที่เหลืออยู่ตรงที่ Base ตอนที่เปิด Demand/Supply  และการเปิด Breakout ทำให้เทรดเดอร์ที่รอเข้าได้โอกาสเข้าเทรดตรงนั้น และยังมาจากเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดที่ต้องการออกด้วย

ตัวกรอบเรื่องของ demand/supply ก็จะดูเรื่องลักษณะและคุณภาพของ Breakout ที่เกิดขึ้น ดูเรื่อง retracement ราคากลับ ดูเรื่องเวลาที่ Base ก่อนที่จะเกิด Breakout ดูเรื่อง risk:reward ดูเรื่องทางที่ราคาจะวิ่งไปเมื่อเปิดเทรดตอนที่ราคากลับมาเป็นต้น

เทรดฟอเรกซ์ ด้วยการใช้ Fibonacci Retracement

ระบบเทรดฟอเรกซ์ที่นิยมอีกอย่าง จะเป็นเรื่องของการใช้ Fibonacci Retracement หลักการหลักๆ จะเป็นการเทรดราคาย่อตัว ว่าควรจะเปิดเด้งกลับไปทางเดิม ด้วยการกำหนดพื้นที่เห็นราคาวิ่งชัดเจนหรือทำเทรน แล้วใช้ Fibo เพื่อกำหนดจุดว่าราคาน่าจะย่อมาตรงไหน ตัวเลขที่นิยมการย่อตัว มี 23.6% 38.2% 50.0% 61.8%  แล้วก็เปิดเทรดที่พื้นที่ตรงนั้น

การกำหนดเส้น Fibonacci ต้องรู้สักวิธีการคือต้องกำหนดที่เป็น Impulsive move คือต้องเห็น momentum trading เกิดขึ้น หรือเห็นบาร์ยาวๆ ต่อเนื่องและมีการเบรคพื้นที่ออเดอร์ฝั่งตรงข้ามได้ด้วย แล้วค่อยมากำหนดจุดที่เกิดขึ้นสำหรับ Fibo

ตัวอย่างภาพ จะเห็นว่าราคาได้เอาชนะหรือ engulf พื้นที่ supply ทั้ง 2 จุด จะเห็นบาร์ momentum เอาชนะ supply แรกด้วยบาร์ยาวๆ และไปเอาชนะ supply ด้านบนได้อีก แล้วท่านกำหนด Fibonacci Retracement สำหรับการเทรด Impulsive move ด้วยการกำหนดจากจุดด้านล่างขึ้นไปหาด้านบนก็จะได้ตามภาพ  และเรื่องตัวเลข retracement ว่าตรงไหนดี

วิธีการง่ายสุดให้ดูจุดที่ท่านตีเพื่อกำหดน Fibo ว่าราคาวิ่งแรงขนาดไหน ถ้าแรงบอกการเทรดทางนั้นแรง  การย่อตัวของราคาก็จะน้อย เช่นอาจย่อมาแค่ไม่เกิน 38.2%   ทั่วๆ ไปจะเห็นราคาย่อมาที่ 50.0 61.8 อย่างในตัวอย่างราคาย่อมาที่ 50.0 แล้วราคาก็เด้งขึ้น อีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยในการดูว่าราคาน่าจะ retracement ตรงเลขตัวไหน

ให้ดูตรงที่ท่านกำหนด Fibo ว่าราคาได้เอาชนะพื้นที่ตรงไหน ให้ความสำคัญพื้นที่ตรงนั้นกับตัวเลข Retracement Level อย่างที่ราคาย่อมาที่ 50.0 แล้วเด้ง ท่านจะเห็นว่าเป็นพื้นที่ราคาได้เอาชนะ supply ตัวด้านล่างพอดี

Price Action เทรดฟอเรก ด้วยชาร์ตเปล่า

เป็นการเทรดชาร์ตเปล่าด้วยการอ่านว่าราคาบอกอะไร ส่วนมากก็จะอ่านผ่านทางเทียนต่อเนื่องกัน บอกเรื่องการเข้าเทรดว่ามีความกดดันทางไหน การอ่านแท่งเทียนก็จะตีความบาร์ต่อบาร์ หรือเป็น price action patterns หลักการเทรด price action ต้องเข้าใจว่า ราคาเสนอผ่านเครื่องมือสำหรับมองตลาดอย่างไรเช่น แท่งเทียน แต่ละแท่งประกอบด้วย ราคา open, high, low และ close ของแต่ละช่วงเวลาแท่งเทียน

เทียบราคาปิดกับราคาเปิด เพื่อกำหนดว่าแท่งเทียนนั้นเป็น Bullish ราคาปิดสูงกว่าราคาเปิดและ Bearish ราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด แล้วก็จะได้ส่วนที่เป็น Body ของแท่งเทียนที่บอกว่าการเข้าเทรดแต่ละช่วงเป็นอย่างไร  และส่วนที่เป็น upper wick และ lower wick นอกจากบอกเรื่อง trading pressure เข้ามาจากการเข้าเทรดของเทรดเดอร์ทางนั้น ยังบอกถึงการใช้ออเดอร์พื้นที่ตรงนั้นด้วย

การเทรดด้วย price action จำเป็นต้องอ่านต่อเนื่องกันค่อยจะเห็นปริบท และภาพรวมจุดที่ท่านต้องการเทรด ไม่ใช่จะมาเปิดแต่หารูปแบบ price action เพื่อเข้าเทรดเลย เช่นการอ่านแท่งเทียนเพื่อเทรด price action ที่แท่งเทียนเลข 1

เมื่อเปรียบเทียบกับแท่งเทียนก่อนนี้จะเห็นว่าขนาดแท่งเทียนยาวกว่ามาก จนมาขนาดของ Body จะเห็นว่าราคาเปิดส่วนบนใกล้ๆ High เลยทำให้ upper wick น้อย และราคาลงมาปิดล่างได้ด้วย body ที่ขนาดยาวเพราะระยะห่างราคาเปิดและราคาปิดห่างกันเยอะมาก เมื่อเทียบกับบาร์ก่อนนี้ เลยมองว่าเป็นการมีส่วนรวมของขาใหญ่ เลยมองว่าเป็น momentum bar ดูส่วนที่เป็น lower wick แทบไม่มี แสดงว่าเทรดเดอร์ที่เปิด buy ไม่พอสามารถดันราคาขึ้นไปได้

ดูบาร์เลข 2 และเลข 3 ตามมา ราคาไม่สามารถปิดบนส่วนที่ปิดของบาร์เลข 1 ได้เลย เป็นการยืนยันการข้าเทรดที่แท่งเทียนเลข 1 ด้วย และทั้งบาร์เลข 2 และ 3 จะมีหางบาร์ lower wick เข้ามา แม้บอกว่ามี buy trading pressure เข้ามา แต่ขณะเดียวกันก็มีการใช้ buy orders ตรงพื้นที่นั้นไปได้ พอมาบาร์ที่ 4 จะเห็นชัดว่า buy orders ที่พยายามเทรดช่วงนี้ได้โดนซึมซับไป มาก เลยทำให้บาร์ 4 ราคาปิดตรงที่ Low ไม่มีหางบาร์เลย  ส่วนบาร์ที่เลข 5 เป็นต่อเนื่องกันมาเมื่ออ่าน price action ต่อตั้งแต่บาร์เลข 1 2 3 และ 4

ระบบเทรดด้วย price action ก็จะมีการกำหนดรูปแบบประกอบด้วยเพื่อให้ง่ายเช่น Pin Bar, Engulfing Bar, Doji  การอ่าน price action ต้องเข้าใจแต่ละแท่งเทียนว่าบอกอะไร และอ่านต่อเนื่องกันเป็นปริบท

Order flow ระบบเทรดฟอเรก ด้วยความเข้าใจเรื่องออเดอร์

การที่ราคาวิ่งขึ้นหรือลงได้ เพราะจำนวนออเดอร์ของเทรดเดอร์ที่เปิดเข้าเทรดเกินกันทางใดทางหนึ่ง หรือเรียกกว่า ความไม่สมดุลระหว่าง demand/supply เกิดขึ้น เช่นการจะเปิดเทรด buy ที่จุด trade setup ที่ท่านกำหนด เมื่อท่านเปิดเทรด

ถ้าราคาจะวิ่งไปทางที่ท่านเปิดเทรดและท่านทำกำไรได้ ก็ต่อเมื่อมีแต่เทรดเดอร์เปิดเทรดทางเดียวกับท่าน โดยเฉพาะถ้าท่านเปิดเทรดทางเดียวกับขาใหญ่ด้วย เพราะขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนออเดอร์ที่มีวอลลูมเยอะ ก็จะสามารถดันราคาไปทางที่พวกเขาต้องการได้ ออเดอร์ที่มาทางขาใหญ่ก็จะเกินฝั่งตรงข้าม มากและสักระยะ ก็จะทำให้ราคาวิ่งไปทางนั้นได้ ระบบเทรดด้วย order flow เป็นการเทรดเมื่อเห็นว่าออเดอร์จะมาทางไหนบ้างที่จะมาทางที่ท่านเปิดเทรด

หลักการ order flow ก็เน้นศึกษาเรื่อง โครงสร้างตลาด ราคาเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประเภทออเดอร์และทำงานอย่างไร เรื่อง Liquidity ว่าเพิ่มและลดอย่างไร  เรื่องเทรดเดอร์อื่นๆ ในตลาดว่าเทรดอย่างไรเช่น ขาใหญ่ และรายย่อย และเรื่องที่สามารถใช้ประโยชน์จากตลาดได้ อย่างเช่นเรื่อง stop hunt เป็นตัวอย่างที่ดี

อย่างการเปิดทรดด้านบนด้วยระบบเทรดฟอเรกแบบ order flow ก็มองว่าเป็นไปได้ที่จะมีที่เปิดเทรดตรงนั้นเพราะ เทรดเดอร์อื่นๆ ก็เห็นเช่นกัน ดังนั้นเทรดเดอร์พวกนี้เปิดเทรด sell ก่อนก็จะกำหนด stop loss ไว้ด้านบน หลักการทำงานของ stop loss คือเมื่อราคาไปแตะได้ stop loss ก็จะกลายเป็น buy market orders ทันที ก็จะเปิดโอกาสให้ขาใหญ่ใช้ตรงนี้เพื่อเข้าเทรดได้ที่ราคาดีกว่า

ในที่นี้คือเปิด sell ได้สูงกว่าราคาดีกว่า และออเดอร์ที่จะทำให้ออเดอร์ขาใหญ่ที่กำหนดไว้เข้าตลาดได้คือการดันราคาไปแตะ stop loss ก็จะได้ buy market orders ไปจับคู่กับ sell limit orders ที่ด้านบนที่กลายมาเป็นส่วนของ Stop hunt

พอราคาลงมาราคาได้เบรคกรอบตรงที่ราคาทำตอนที่ราคามาถึง supply ครั้งแรก เทรดเดอร์ที่เปิด buy ตรงนี้ (เพราะการเปิดเทรดไม่ว่าจะเป็น buy หรือ sell จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีออเดอร์ตรงข้ามมาจับคู่ที่ราคาเดียวกันเสมอ)  ราคาไม่ไปต่อเทรดเดอร์พวกนี้จะกลายเป็นติดลบ เรียกเทรดเดอร์พวกนี้ว่า trapped traders ก็จะหันมาออกจากตลาดเป็นหลักเพราะไม่อยากเสีย

การออกจากตลาดเมื่อเกิดขึ้นจะกลายมาเป็น market order ฝั่งตรงข้ามที่เปิดเทรดทันทีที่ออก ไม่ว่าจะออกด้วยการปิดเองหรือด้วย stop loss ก็ตาม พอมีการเปิด buy เข้าไปออเดอร์ที่เปิดออกจากตลาดที่เป็น sell เลยมาจับคู่กับ buy order ที่เปิดเทรดเข้าไป ราคาไม่ไปไหนเกิดกรอบ consolidation ต่อจนราคาเบรคลงมาด้านล่างที่บาร์ลงยาวๆ แรงๆ เพราะราคาได้มาแตะ stop loss ของออเดอร์ที่เปิด long positions ใน 2 กรอบด้านบน และยังมี sell stop orders จาก breakout traders

จะเห็นระบบเทรดฟอเรกมีหลายแบบเอาที่ชอบ ที่ถนัด ที่หาแหล่งศึกษาได้ง่ายๆ ระบบไหนๆ ทำเงินได้หมด และเสียได้หมด อยู่ที่คนเทรดว่ารู้จริงกับระบบเทรดที่ใช้หรือเปล่า  ยังมีระบบเทรดอีกหลายอย่างหรืออาจกำหนดขึ้นมาเองก็ได้ ถ้าเข้าใจว่าตลาดทำงานอย่างไร

ทีมงาน : thaiforexbroker.com