การเทรด Forex แบบไม่มี Stop loss

การเทรด Forex แบบไม่มี Stop loss

การเทรด Forex แบบไม่มี Stop loss

เรากล่าวถึงการเทรด Forex แบบมี Stop loss มาพักใหญ่ เราจะกล่าวถึงการเทรดแบบไม่มี Stop loss บ้าง ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางทำกำไรได้เสียทีเดียว แต่การเทรดแบบไม่มี Stop loss นั้นในระยะยาวแล้วมันมีความเสี่ยงมากกว่า ความเสี่ยงของมันก็ไม่แตกต่างจากการเทรดแบบมี Stop loss เลย ซึ่งความเสี่ยงของการเทรดแบบไม่มี Stop loss มันเป็นการพนัน  เรากำลังพนันว่าอะไรหน่ะหรือ? เดี๋ยวเราอธิบายรายข้อเลยดีกว่า

การเทรดแบบไม่มี Stop loss เป็นการพนัน

การเทรดแบบไม่มี Stop loss เป็นการพนันระยะยาว โดยเราพนันว่าราคาจะวิ่งไปไม่ถึงในจุดที่เราคาด Model ที่ใช้การเทรดแบบไม่มี Stop loss ได้แก่ Expert Advisor ที่ใช้กลยุทธ์ Martingale เป็นส่วนใหญ่ กลยุทธ์เหล่านี้ จะต้องเปิดออเดอร์เรื่อย ๆ ในระยะที่แน่นอน และคิดว่ามันจะกลับตัวมาชน Take Profit ของเรา นั่นคือ เรากำลังเดิมพันว่า ราคาจะเคลื่อนไหวไม่เกินจากราคาที่เราคาดไว้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปที่ 1 แสดงการเข้าเทรดแบบ Grid

ในตัวอย่างเป็นการเข้าเทรดแบบ Grid กล่าวคือ การเข้าซื้อเมื่อราคาลง เพื่อถัวเฉลี่ยต้นทุนให้ได้ในราคาต่ำ เสร็จแล้วรอราคาขึ้น วิธีนี้อาจจะใช้ได้ผลในสินทรัพย์ที่ไม่มี   Leverage อย่างตลาดหุ้น วิธีการชื่อดังที่ใช้การเทรดแบบ Grid ในตลาดหุ้นได้แก่ KZM ของ Mudleygroup ซึ่งครั้งแรกใช้กับ TDEX เท่านั้น และกลยุทธ์ DSM ซึ่ง 2 วิธีนี้เป็นที่โด่งดังในพันทิป อาศัยความผันผวนเก็บการแกว่งตัวทุกจุด เพื่อลดการพยากรณ์ด้านราคาออกไป ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ก็เป็นแบบ Grid เช่นเดียกวัน อย่างไรก็ตาม สามารถประยุกต์กลยุทธ์แบบ Grid ได้หลายแบบ ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่มี Stop loss กันทั้งสิ้นเพราะใช้หลักการ 2 อย่างคือ ไม่ขายไม่ขาดทุน และ ราคาไม่มีทางลงไปเท่ากับศูนย์ แต่หลักการนี้ไม่ได้เป็นจริงทุกตลาด นั่นทำให้ กลยุทธ์ KZM นั้นถึงต้องใช้กับ TDEX เพราะว่าเป็นการรวมดัชนีนั่นเองทำให้มีการนำหุ้นมาเข้าดัชนีใหม่และไม่มีทางที่ราคาจะลดต่ำไปจนถึง 0 บาท แต่อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์หลาย ๆ คนก็ชะล่าใจและนำไปใช้กับหุ้นตัวเล็ก ๆ เพราะอัตราส่วนเปลี่ยนแปลงสูง และได้กำไรทีละมาก ๆ เนื่องจาก KZM นั้นให้ผลตอบแทนน้อยจนความคุ้มค่าในการลงทุนต่ำ โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่มีการแกว่งตัวขึ้นลงน้อย และนอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ในตลาด Forex ที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดอย่างยิ่ง เนื่องจาก 2 หลักการที่ว่านั้นใช้ไม่ได้จริง

กลยุทธ์ Grid แบบผสม

กลยุทธ์ Grid แบบผสม คือกลยุทธ์ที่ปรับมาจาก Grid นั่นคือมีการเพิ่มกลไก หรือ การเพิ่มเทคนิคทางด้านพยากรณ์ หรือ 2 อย่างเข้าไปในกลยุทธ์การเทรดแบบ Grid โดยแทนที่จะเข้าเทรดทุกช่วงราคาที่มันเคลื่อนไหวลง อาจจะมีการสลับ Grid หรือปรับขนาดของจำนวนที่แทนที่จะเทรดที่จำนวนเท่ากัน หรือใช้เส้น Moving Average เป็นตัวบ่งชี้สัญญาณในการเข้าเทรด เช่นถ้าตัดกันขึ้นแล้วถึงส่งคำสั่งตามจำนวนที่กำหนด เพื่อลดการเข้าเทรดสะเปะสะปะ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

รูปที่ 2 แสดงภาพเส้น MA สีน้ำเงินกับสีเหลือง และจุดเข้าเพียง 2 จุด

จากภาพที่ 2 จะเห็นว่าเราจะเข้าเทรดทุก ๆ ระยะในระยะทางเท่ากัน แต่เราไม่ทำ เราทำเฉพาะเมื่อเส้นสีเหลือตัดขึ้นมากกว่าเส้นสีน้ำเงินเท่านั้น และทำการรวบออเดอร์ที่ไม่ได้เปิดก่อนหน้ามาเปิดด้านล่างทั้งหมดทำให้ราคาเฉลี่ยที่ได้ ดีกกว่าการเข้าทุกจุดก่อนหน้า มีความเสี่ยงน้อยกว่ากำไรมากกว่า ซึ่งข้างต้นเป็นการปรับ Grid ที่ใช้เทคนิค การพยากรณ์ Moving Average และจำนวน Lot พร้อมกัน ยังมีกลยุทธ์ที่ใช้กลไกในการปรับ Grid เช่น Mechanical Trading Techniques อยู่เช่น ระบบ Lucky 7 ซึ่งหาได้ทั่วไปใน Internet ซึ่งเป็น Grid ประยุกต์เช่นกัน

รูปที่ 3 รูปแบบการเข้าเทรดของกลยุทธ์ Lucky 7

กลยุทธ์ Lucky 7 ก็ยังเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่เป็นรูปแบบ Grid แบบประยุกต์ที่ไม่ใช้กลไกการคาดเดาราคาแต่จะทำการส่ง Lot ไปเรื่อย ๆ เมื่อทิศทางเคลื่อนไหวออกจากจุดที่กำหนด ดังรูป หลักการของการเทรดของ Lucky 7 คือ ราคาจะมีทิศทางชัดเจน นั่นคือ ถ้ามันเคลื่อนไหวทางใดทางหนึ่งก็จะทำให้ไม่ต้องเข้าเทรดจำนวน lot ทบกัน ถ้ามีเทรนด์ก็จะทำให้ทำกำไรได้ไม่ยากในระบบบนี้ แต่ถ้าเกิดลักษณะ Sideway อย่างในรูปจะทำให้ระบบ Lucky 7 มีปัญหา เพราะว่าต้องใช้ขนาด Lot มากกว่า 3 เท่า (แปรผันกับระยะห่างของกรอบ Sideway) ในการที่จะทำให้กำไรมันครอบคลุมส่วนที่ขาดทุนอยู่ จากตัวอย่างในภาพจะเห็นว่า Sell lot 1 กับ Buy lot 1 ทำให้เรารับรู้ Loss ไปแล้ว การที่เราจะกำไรได้ เราต้องส่ง Lot จำนวน 2 เท่าเพื่อ Cover ส่วนที่ขาดทุนได้เมื่อระยะทางวิ่งไปเท่ากับระยะทางที่เราขาดทุน แต่ถ้าจะให้กำไรเร็วขึ้นต้องเพิ่มเป็น 3 เท่าหรือมากกว่านั้น ซึ่งถ้าเราเพิ่ม Lot ไป 3 เท่าจะเห็นว่าครั้งต่อไปเราต้องส่งเป็น 9 lot ทำให้การเทรดประสบปัญหา นี่จึงเป็นจุดอ่อนของระบบ Lucky 7

ระบบที่ไม่มี Cutloss จึงเป็นการพนัน

จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด ระบบที่ไม่มี Cutloss แล้วนำไปใช้ในสินทรัพย์ที่มี Leverage แบบ Forex จึงเป็นระบบของการพนัน ทำให้คนคิดว่ามีโอกาสกำไรสิน่าในระยะที่เทรดเดอร์คาดเดาไว้ หากเหตุการณ์คาดไม่ถึงเกิดขึ้น เช่นการเกิด Spike price แล้วราคากลับมาที่เดิม อาจจะทำให้เทรดเดอร์ขาดทุนจน ล้างพอร์ทไปได้ ทางผู้เขียนจึงไม่ขอแนะนำในการใช้ระบบการเทรดแบบนี้ในการเทรด Forex แต่อย่างไรก็ตามเราจะกล่าวถึงระบบไม่มี Stop loss กันอีกว่ามันจะทำอย่างไรให้ได้เปรียบมากที่สุด สำหรับคนที่อยากรู้เราจะเปิดเผยแบบหมดเปลือก เพราะมันก็ยังใช้ไม่ได้อยู่ดี

 

Keywords : ระบบ KZM ระบบ DSM ระบบ Martingale การเทรดไม่มี Stop loss

ทีมงาน : thaiforexbroker.com