Fisher Transform เป็นอินดิเคเตอร์ที่นับว่าทรงพลังตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ครับ โดยมันจะถูกนำมาใช้เพราะวิเคราะห์แนวโน้ม หรือ เทรนของตลาด forex รวมไปถึงวิเคราะห์หาจุดกลับตัวที่มี่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นครับ ซึ่งในบทความนี้เราจะพาเพื่อน ๆ เทรดเดอร์ไปรายละเอียดปลีกย่อยของ Fisher Transform ว่าคำนวณยังไง ใช้ยังไง และข้อควรระวังคืออะไร
ความเป็นมาของ Fisher Transform
ต้นกำเนิดของ Fisher Transform indicator ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามาจากใครและแนวคิดอะไร แต่ที่เราทราบกันคือมันถูกพัฒนาโดยคุณ J.F.Ehlers ครับ โดยคอนเซปของ indicator ตัวนี้จะเป็นการช่วยให้เทรดเดอร์หาจุดเปลี่ยน หรือ จุดกลับตัว ของกราฟ forex ซึ่งคล้ายคลึงกับ indicator ประเภท Oscillator momentum อื่น ๆ ครับ
หลักการทำงานของ Fisher
Fisher เป็น indicator ที่รายงานความเปลี่ยนแปลงทางคณิตศาสตร์ที่ใช้กับข้อมูลราคาเพื่อสร้างเลขที่บอกเราถึงการแกว่งตัวของตลาด forex โดยมันจะมีช่วงการแกว่างระหว่าง -1 ถึง 1 ครับ
ข้อดี คือ มันง่ายที่จะทำความเข้าใจและรู้ถึงความรุนแรงของสภาวะตลาดตอนนั้น ๆ เมื่อ output มีค่าสูงมากอาจจะบ่งบอกถึงสภาวะการซื้อมากเกินไป (overbought) และเมื่อค่าต่ำมากอาจจะบอกถึงสภาวะการขายมากเกินไป (oversold)
นอกจากนี้ indicator ตัวนี้ยังถูก optimized ตัวเส้น oscillator มาอย่างดีแล้วส่งผลให้ความช้าของข้อมูลมีน้อยลงมากเมื่อเทียบกับ indicator ตัวอื่นครับ
สูตรคำนวณ
Fisher ถูกคิดคำนวณบนพื้นฐานสมการง่าย ๆ ดังนี้ครับ
Fisher = 0.5∗ln (1+X / 1-X)
โดยที่ (X) คือการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลราคา
การตีความ indicator
- ค่าที่เข้าใกล้ 1 -> บ่งบอกถึงการ overbought
- ค่าที่เข้าใกล้ -1 -> บ่งบอกถึงการ oversold
วิธีการใช้งาน
เดิมทีแล้วเทรดเดอร์สามารถใช้ Fisher วิเคราะห์ได้กับหลาย ๆ เทคนิค เช่น การระบุการกลับตัว, การยืนยันเทรน, และการวิเคราะห์หา Divergence เป็นต้น แต่ในมุมมองของผู้เขียนคิดว่า การระบุการกลับตัวสำหรับ Fisher เป็นอะไรที่เข้าท่ากว่าการยืนยันเทรนและการวิเคราะห์หา Divergence ครับ
บนหน้าต่างของ Fisher จะมีเส้นอยู่สองเส้นได้แก่ Fisher line และ Tigger line โดยหากเราตั้งค่าเดิม ๆ จากโรงงานแล้วเจ้าตัว Fisher line จะเป็นเส้นสีแดง ในขณะที่ Tigger line จะเป็นสีน้ำเงินครับ
เทรดเดอร์สามารถดูจุดสภาวะการซื้อมากเกินไป หรือ overbought เมื่อทั้งสองเส้นมีค่ามากกว่า 1 หรือทั้งสองเส้นวิ่งขึ้นไปเหนือเส้น 1 ในทางกลับกัน หากเส้นแดงและน้ำเงินอยู่ใต้เส้น -1 หรือมีค่าน้อยกว่า -1 หมายความว่าตลาดอยู่ในสภาวะการขายมากเกินไป หรือ oversold ครับ
เมื่อเกิดการ overbought และ oversold นั่นอาจจะหมายถึงตลาดกำลังจะเข้าสู่การกลับตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ Time Frame ที่เทรดเดอร์กำลังเทรดด้วยครับ ผู้เขียนอาจจะให้การแนะนำไปก่อนว่าควรจะดูที่ Time frame ใหญ่ ๆ ก่อนแล้วจึงค่อยมาวิเคราะห์ใน Time Frame ย่อยอีกทีนึงก็ได้
วิธีการติดตั้งและการเรียกใช้งาน
หลังจากที่เรา download indicator มาเป็นที่เรียบร้อยให้ทำการแตกไฟล์ -> จากนั้นให้ Copy mq4 file ไปวางเอาไว้ในโฟล์เดอร์ MQL4 -> Indicator
วิธีเรียกใช้งาน ให้เทรดเดอร์ ลากเมาส์ไปที่ Navigator window -> คลิ๊กขวาที่ Indicator -> คลิ๊กไปที่ Refresh -> ลาก Fisher indicator ลงมาวางบน Chart ได้เลยครับ
วิธีการตั้งค่า
Indicator ตัวนี้มีการตั้งค่าที่เรียบง่ายมาก ๆ ครับ โดยจะมีให้ตั้งค่าเพียง Length ซึ่งค่านี้จะเป็นการปรับความ smoothness level ของเส้น oscillator lines ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีแล้วมันจะมีเส้น base line มาให้แค่เส้นเดียว คือ เส้น 0 ให้เราเติมเส้น 1 และ -1 เข้าไปเพื่อง่ายต่อการมองหาจุดสภาวะซื้อมากเกินไปสภาวะขายมากเกินไปครับ
กลยุทธ์การเทรด
ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอกลยุทธ์การเทรดให้เพื่อน ๆ อยู่สองกลยุทธ์ครับ โดยทั้งสองกลยุทธ์จะให้หลักการเดียวกัน เพียงแต่จุดเข้าซื้อขายจะมีความแตกต่างกัน
กลยุทธ์ที่ 1
กลยุทธ์นี้จะเป็นการเข้าซื้อขายหลังจากเกิดช่วง Overbought / Oversold มาซักพักหนึ่ง เนื่องจากมันจะมีความแน่นอนกว่า แต่เราจำเป็นต้องเทรดกันใน Time Frame ใหญ่ซักนิดนึง เพื่อให้เราสามารถตั้ง Take profit ได้กว้างขึ้นครับ ดังนั้นเราจะไปเล่นกันใน Time Frame H4 กัน
เงื่อนไขการเข้า Buys
- รอจังหวะให้เส้น Fisher และ Tigger ตัดขึ้นเส้น 0 โดยไม่สนใจว่า candlestick จะเป็นยังไง
- เข้า Buy ได้เลย
เงื่อนไขการเข้า Sells
- รอจังหวะให้เส้น Fisher และ Tigger ตัดลงเส้น 0 โดยไม่สนใจว่า candlestick จะเป็นยังไง
- เข้า Sell ได้เลย
การตั้ง Take Profit และ Stop Loss
- Take Profit ในฝั่งขา Buy จะเป็นจุดที่สิ้นสุด Overbought และตั้ง Stop Loss ประมาณ 500 จุด
- ในส่วนของฝั่ง Sell เราจะ take profit เมื่อสิ้นสุด Oversold อีกรอบและตั้ง Stop Loss ประมาณ 500 จุด
- ข้อสังเกต คือ บางวงรอบกำไรขาดทุนจะไม่เท่ากันเลยขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดล้วน ๆ และไม่สามารถประเมินหรือควบคุม Risk Reward Ratio ได้ครับ ดังนั้นแนะนำให้เทรดเดอรไป Backtest กราฟเปล่าให้ชัวร์ ๆ เพื่อเก็บสถิติการเทรดของตัวเองก่อนครับ
กลยุทธ์ที่ 2
กลยุทธ์ที่สองก็ได้ไอเดียมาจากกลยุทธ์แรกครับเพียงแต่จะปรับการเข้า order ให้ไวมากขึ้นเท่านั้นเอง
เงื่อนไขการเข้า Buys
- รอจังหวะให้เส้น Fisher และ Tigger ตัดขึ้นเส้น 1 โดยไม่สนใจว่า candlestick จะเป็นยังไง
- เข้า Buy ได้เลย
เงื่อนไขการเข้า Sells
- รอจังหวะให้เส้น Fisher และ Tigger ตัดลงเส้น -1 โดยไม่สนใจว่า candlestick จะเป็นยังไง
- เข้า Sell ได้เลย
การตั้ง Take Profit และ Stop Loss
- Take Profit ในฝั่งขา Buy จะเป็นจุดที่สิ้นสุด Overbought และตั้ง Stop Loss ประมาณ 500 จุด
- ในส่วนของฝั่ง Sell เราจะ take profit เมื่อสิ้นสุด Oversold อีกรอบและตั้ง Stop Loss ประมาณ 500 จุด
สรุป
โดยสรุปแล้ว Fisher Transform ถือว่าเป็น indicator ที่ใช้งานคล้าย RSI ได้เลย โดยอาจจะนำมาเทรดแบบ Stand-alone ได้แต่เทรดเดอร์จำเป็นต้องมีความขำนาญและได้ backtest กราฟเปล่ามาแล้วพอสมควรครับ