Chaikin Oscillator หรือที่เราย่อกันว่า CHO เป็น indicator ประเภท Volume Oscillation ตัวหนึ่งที่ถูกพัฒนาโดยคุณ Mark Chaikin ในปี 1970 ซึ่งก่อนหน้านี้เองคุณ Chaikin มีการสร้าง indicator ตัวอื่นมาก่อน และมันก็เป็นที่นิยมเอามาก ๆ
แน่นอนครับว่า Indicator ดังกล่าวชื่อว่า Accumulation/Distribution (AD) และ Chaikin Money Flow (CMF) นั่นเองครับ ซึ่งทั้งสองตัวนี้เป็น indicator ประเภท Oscillator ที่ถูกจับเข้าอยู่ใน MT4/MT5 อย่างอัตโนมัติ
ความเป็นมาของ CHO
CHO เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาภายใต้จุดมุ่งหมายเพื่อช่วยตรวจจับแนวโน้ม (Trend) และความแข็งของราคาตลาด Forex ครับ ซึ่งแน่นอนเลยว่ามันสามารถเตือนเราล่วงหน้าถึงความเป็นได้ว่า จะเกิดการกลับตัวของกราฟเมื่อไหร่… หลักการทำงานคร่าว ๆ ของ CHO คือว่า มันจะค่อยวัดแรงซื้อ (Accumulation) และแรงขาย (Distribution) ของคู่เงินนั้น ๆ แล้วแสดงผลให้เราเห็นออกมาเป็น “เส้น” ดังรูปด้านล่างนะครับ
วิธีการคำนวณของ CHO
ค่า Oscillator ที่ของ CHO ได้มากจากการคำนวณจาก AD indicator ก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับ Fast และ Slow smoothing เข้ากับค่าที่ได้จาก AD อีกทีนึง จากนั้นจึงจะสามารถกำหนดความแตกต่างระหว่าง Fast กับ Slow Moving Average ของค่า oscillator ที่ได้จะ AD เป็นอันดับสุดท้ายครับ
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า AD มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานของ CHO ซึ่งเอาจริง ๆ แล้วหากอยากเจาะเพื่อทำความเข้าใจมากกว่านี้ เห็นทีจะต้องทำความเข้าใจ AD อย่างลึกซึ้งกว่านี้อีกนิด เพราะเจ้าตัว AD เองก็มีวิธีคำนวณที่หลากหลาย เช่น การคำนวณแบบ Classic, Classic Incremental, และ Trade Station เป็นต้น
สูตรคำนวณ
เอาเป็นว่าบทความนี้จะขอข้ามส่วนนั้นไปก่อน เนื่องจาก CHO เองได้มีการคำนวณค่า oscillator จาก AD indicator มาให้เราแบบอัตโนมัติแล้วครับ ซึ่งสูตรดังกล่าวก็จะตามที่ระบุด้านล่างนี้เลย
- CHO = Fast MA – Slow MA
เมื่อ
- CHO คือ ค่า CHO ของ Period ที่กำลังคำนวณ
- Fast MA และ Slow MA คือ ค่า MA ที่ได้จากการคำนวณของ AD indicator ซึ่งปกติแล้วโรงงานอาจจะต้องให้เป็นแบบ Smoothed ขึ้นอยู่กับเจ้าของ Indicator นั้น ๆ
วิธีการตั้งค่า
จุดหลัก ๆ ที่เราจะไปตั้งค่ามีอยู่ 3 ส่วนด้วยกันได้แก่
- Fast MA: พารามิเตอร์ตัวนี้ช่วยปรับจำนวน Period ของ Fast MA indicator เพื่อนำมาคำนวณ CHO อีกทีนึง ซึ่งค่าที่เป็นไปได้ในการตั้งค่าคือ 1 – 1,000 ครับ โดยค่าเดิมจากผู้พัฒนาจะตั้งอยู่ที่ 3 การที่ค่าตัวนี้มีค่าน้อยมากเท่าไหร่ ค่า CHO ก็จะมีความอ่อนไหวมากขึ้น (เปลี่ยนแปลงง่ายขึ้น) เท่านั้น
- Slow MA: พารามิเตอร์ตัวนี้ก็คล้าย ๆ กับ Fast MA เลยครับ มันสามารถตั้งค่าได้ตั้งแต่ 1 ถึง 1,000 โดยยิ่งมีค่าน้อยเท่าไหร่ ค่า CHO ที่ได้มาก็จะยิ่งมีความไวต่อราคาตลาดมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งค่าเดิมโรงงานเขาตั้งมาให้ที่ 3 ครับ
- Method: พารามิเตอร์ตัวนี้จะเป็นการตั้งวิธีคำนวณ MA ทั้งส่วนของ Fast และ Slow เพื่อนำค่านั้นมาหาค่า CHO อีกที ซึ่งเราสามารถตั้งได้แบบ MA method เลย นั้นก็คือสามารถมีวิธีเลือกคำนวณได้ทั้งแบบ Simple, Exponential, Smoothed, Linear weighted เป็นต้น โดยค่าเดิมโรงงานจะตั้งอยู่ที่ Simple ครับ ในส่วนของ AD calculation mode ถ้าเป็นตัวที่ติดมากับ Metatrader จะไม่สามารถตั้งได้เพราะเขาจะ Set ให้เป็น Classic Increment เอาไว้ ถ้าหากใครอยากเปลี่ยนวิธีคิดก็สามารถโหลด Indicator CHO ตัวอื่นมาใช้แทนได้ครับ
วิธีการใช้งาน CHO indicator
ใช้บอก Trend: ปกติแล้ว CHO สามารถบอกเราได้ครับว่า ณ ขณะนี้เป็นเทรดอะไรอยู่ โดยเราจะวิเคราะห์จากค่า CHO ที่ได้มาแล้วเอามาเปรียบเทียบกับเส้นกลาง หรือ เส้นศูนย์ครับ
- ค่า CHO > 0 = แนวโน้มขาขึ้น
- ค่า CHO < 0 = แนวโน้มขาลง
ใช้บอก Divergent: นอกจากที่ CHO จะสามารถบอกเทรดได้แล้ว มันยังบอกจุดกลับตัว หรือ Divergent ได้อีกด้วยนะ แต่ว่าเทคนิคนี้อาจจะต้องใช้ความชำนาญนิดนึง เพราะมันต้องดูกราฟเปล่าไปด้วยนั้นเอง โดยวิธีดูคือ
- ให้มองหากราฟที่เป็นเทรนก่อน
- ให้มาดูที่ CHO indicator ว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับกราฟแท่งเทียนไหม หากมันวิ่งกันไปคนละทิศละทาง นั่นแหละครับ มันกำลังบ่งบอกว่า นี้คือจุดกลับตัว
ระบบเทรดที่แนะนำ
ถึงแม้ CHO จะทำงานได้ดีมาก ๆ ยามที่ตลาดเป็นเทรนอย่างรุนแรง แต่หากจะใช้ CHO เพื่อเทรน ณ จุดกลับตัวก็สามารถทำได้ดีเช่นกัน ทว่า CHO ไม่ควรถูกนำใช้เทรดแบบ Stand-Alone โดยคำแนะนำจากผู้สร้าง CHO อย่างคุณ Chaikin ระบุไว้ว่าให้ควรใช้ควบคู่ไปกับ Indicator ตัวอื่น เช่น RSI เพื่อยืนยันสัญญาณอีกทีหนึ่งครับ
ด้วยเหตุนี้เราจึงขอแนะนำระบบเทรด จุดกลับตัว โดยใช้ CHO กับ RSI ครับ ปล. หากใครจะนำไปใช้อยากให้ท่านลอง Backtest กราฟเปล่าด้วยตัวเองก่อน เพื่อความชัวร์สำหรับคู่เงินที่ท่านจะเทรดด้วยครับ
สัญญาณ Buys
- รอให้ RSI < 30
- รอให้สัญญาณ CHO > 0
- เมื่อเงื่อนไขที่ 1 และ 2 ครบแล้ว ให้เราทำการเข้าไม้ Buy ได้เลย โดยอาจจะออก Lot size เล็ก ๆ แต่เน้นกิน TP ประมาณ 1,000 จุด เนื่องจากเราจะเทรดใน Time Frame H4
- ให้ตั้ง RR เท่ากับ 1:1 หรือ 1:2 ก็ย่อมได้ครับ
สัญญาณ Sells
- รอให้ RSI > 70
- รอให้สัญญาณ CHO < 0
- เมื่อเงื่อนไขที่ 1 และ 2 ครบแล้ว ให้เราทำการเข้าไม้ Sell ได้เลย โดยอาจจะออก Lot size เล็ก ๆ แต่เน้นกิน TP ประมาณ 1,000 จุด เนื่องจากเราจะเทรดใน Time Frame H4
- ให้ตั้ง RR เท่ากับ 1:1 หรือ 1:2 ก็ย่อมได้ครับ
ข้อควรระวังของ CHO
การใช้ CHO แบบ Stand-alone เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ต้องอาศัยความชำนาญในระดับหนึ่งโดยเฉพาะทักษะการมองเทรนและการตีแนวรับแนวต้านครับ เพื่อเป็นการแก้ไขหรือชดเชยทักษะตรงนี้ การใช้ indicator อีกตัวเข้ามาช่วย ดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีไม่น้อยเลยครับ
สรุป
Chaikin Oscillator (CHO) เป็น Tools ที่สามารถตรวจจับแนวโน้มของตลาด Forex ได้ดี และสามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเทรดแบบ Trend Follow หรือจะเป็นการเทรดแบบ Divergent เป็นต้น การใช้ RSI เข้ามาช่วยเทรด ณ จุดกลับตัว เป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกให้แก่เทรดเดอร์ได้มากพอสมควร อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์ควรฝึกฝนทักษะการอ่านและวิเคราะห์กราฟเปล่าให้ชำนาญเพื่อลดการถูกหลอกจาก Indicator ครับ