เทรดเดอร์ Forex อาจจะคุ้นเคยกับโบรกเกอร์ ECN หรือบัญชี ECN แต่รู้ไหมว่าในโลกนี้มีโบรกเกอร์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความคล้ายกับ ECN มากนั่นก็คือ โบรกเกอร์ DMA เรามาทำความรู้จักแบบเชิงลึกให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ECN กับ DMA กันดีกว่า
ฉบับย่อโดย Thaiforexbroker.com
- โบรกเกอร์ประเภท DMA/STP ให้คำสั่งซื้อขายเข้าสู่ตลาดโดยตรง โดยไม่ผ่านการแทรกแซงหรือปรับราคา ทำให้การซื้อขายมีความโปร่งใสและรวดเร็ว ซึ่งคล้ายกับ ECN แต่ DMA มักมีเทคโนโลยีที่ดีกว่า
- ข้อดีของโบรกเกอร์ DMA คือการเข้าถึงราคาตลาดจริง ความรวดเร็วในการดำเนินการและการเข้าถึงสภาพคล่องสูงโดยตรง ข้อเสียคือต้องใช้ทุนสูง มีความซับซ้อนและอาจมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
- โบรกเกอร์ DMA เหมาะกับเทรดเดอร์มืออาชีพที่ต้องการราคาตลาดจริง การดำเนินการที่รวดเร็ว ไม่มีการแทรกแซงและค่าคอมมิชชั่นต่ำ โดยเฉพาะผู้ที่มีเงินทุนสูง
โบรกเกอร์ DMA/STP คืออะไร?
- โบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ประเภท Direct Market Access (DMA/STP) เป็นโบรกเกอร์ที่ไม่มีตัวกลางในการซื้อขาย หมายความว่าคำสั่งซื้อขายของเราจะถูกส่งเข้าสู่ตลาดโดยตรง โดยไม่ผ่านการจัดการหรือปรับราคาจากโบรกเกอร์
- ซึ่งรูปแบบจะคล้ายกับโบรกเกอร์ ECN ที่ให้คำสั่งซื้อขายเข้าตลาดได้โดยตรง แต่ DMA มีความแตกต่างจาก ECN หลักๆ ในแง่ของเทคโนโลยีการซื้อขายที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

ลักษณะการทำงานของโบรกเกอร์ DMA/STP
ภาพรวมการทำงานของระบบ DMA จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ ที่ทำให้ลูกค้าสามารถส่งคำสั่งซื้อขายเข้าสู่ตลาดโดยตรง ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. BM&FBOVESPA Network
- เป็นเครือข่ายของตลาดหลักทรัพย์ (BM&FBOVESPA) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการซื้อขาย ในเครือข่ายนี้จะประกอบไปด้วย
- Exchange Host and Matching Engine: เป็นเครื่องจับคู่คำสั่งซื้อขาย ทำหน้าที่ในการจับคู่คำสั่งระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดโดยตรง
- UMDF Server และ EntryPoint Server : เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลจาก Matching Engine ไปยังระบบ TTNET ผ่าน Router
2. TTNET (DMA Provider Network)
- เป็นตัวกลางในการส่งคำสั่งจากโบรกเกอร์ DMA มายังตลาดหลักทรัพย์
- TT BVMF Gateway : เป็นเกตเวย์ที่รับคำสั่งจากเทรดเดอร์อย่างเราๆ และเชื่อมต่อไปยัง BM&FBOVESPA Network เพื่อให้คำสั่งซื้อขายสามารถเข้าสู่ตลาดโดยตรงได้
- โดยจะมี Monitering ใช้สำหรับการตรวจสอบและเฝ้าระวังระบบ เพื่อความปลอดภัยและความเสถียร
3. DMA Clients
- ก็คือเทรดเดอร์หรือนักลงทุนที่ใช้บริการโบรกเกอร์ประเภท DMA อยู่ โดยโบรกเกอร์จะใช้ซอฟต์แวร์ที่เชื่อมต่อกับ DMA Provider Network
- เทรดเดอร์จะใช้เครื่องทือในการส่งคำสั่งซื้อขายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ คือ X Trader มันคือแพลตฟอร์มการเทรดอีกชนิดหนึ่ง
- ส่วนใหญ่ X Trader จะเน้นการเทรดฟิวเจอร์ส (futures) และออปชั่น (options) เป็นหลัก นิยมใช้ในสถาบันการเงิน บริษัทเทรดดิ้งที่มีการซื้อขายปริมาณสูง

ข้อดี-ข้อเสีย ของโบรกเกอร์ DMA
เรามาดูข้อดีและข้อเสียของโบรเกอร์ประเภทนี้เพื่อให้เข้าใจเงื่อนไขของมันได้มากขึ้น
ข้อดี | ข้อเสีย |
ความโปร่งใสของราคาในตลาด | แพลตฟอร์ม DMA ค่อนข้างซับซ้อน |
รวดเร็ว ไม่รีโควต | อาจจะมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ |
ไม่มีโบรกเกอร์มาแทรกแซง | ใช้เงินทุนสูง |
ไม่มีการคิดค่า Spread | |
เข้าถึงสภาพคล่องของตลาดได้โดยตรง |
ตารางนี้สรุปข้อดีและข้อเสียของโบรกเกอร์ประเภท DMA ซึ่งเหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการความโปร่งใสและราคาตลาดของจริง แต่ควรพิจารณาพวกเงินฝากที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเภทและความซับซ้อนของแพลตฟอร์ม
เปรียบเทียบ DMA กับ ECN
- DMA และ ECN มีความเหมือนกันตรงที่ ทั้งคู่จะช่วยให้เทรดเดอร์ส่งคำสั่งซื้อขายเข้าตลาดโดยตรง ไม่มีการแทรกแซงจากโบรกเกอร์ ซื้อขายในราคาตลาดได้ทั้งคู่
- ส่วนความแตกต่างของทั้ง 2 ก็มีประมาณนี้…
- DMA จะเหมาะกับการเทรดปริมาณมากและต้องการความเร็วสูง ส่วน ECN อาจมีความล่าช้าบ้างในสภาวะตลาดผันผวน เหมาะกับการเทรดระยะสั้นหรือปริมาณไม่มาก
- โดยทั่วไปแล้ว DMA จะมีค่าคอมมิชชั่นต่ำกว่า ECN เนื่องจากมีค่าธรรมเนียมน้อยกว่าและไม่มีการปรับราคาขึ้น
- การส่งคำสั่งซื้อขาย DMA จะส่งตรงไปยังตลาดหลักทรัพย์ ส่วน ECN ส่งเข้าสู่เครือข่าย ECN ซึ่งรวบรวมคำสั่งซื้อขายจากเทรดเดอร์หลายรายและเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการสภาพคล่อง

ตัวอย่างโบรกเกอร์ DMA/STP ที่น่าสนใจ
มีโบรกเกอร์ที่น่าสนใจบางรายที่รองรับประเภท DMA/STP ซึ่งประเภทบัญชีที่แพงที่สุดนั่นแหละคือบัญชีแบบ DMA ทางทีมงานจึงรวบรวมรายชื่อบางส่วนมาให้ผู้อ่านได้รู้จักครับ
- Fp Markets : มีบัญชี DMA สำหรับการเทรด CFD หุ้นและ Forex ผ่านแพลตฟอร์ม IRESS DMA ของ FP Markets
- CMC Markets : มีแพลตฟอร์ม Next Generation ที่ใช้งานง่าย แต่สเปรดอาจกว้างกว่าโบรกเกอร์อื่นๆ
- Pepperstone : บัญชี Razor ของ Pepperstone เป็นบัญชีประเภท DMA สเปรด RAW และค่าคอมมิชชั่น 3 USD (ต่อล็อตต่าด้าน)
- IG Markets : มีบริการ DMA ผ่านแพลตฟอร์ม L2 Dealer เทรดได้ทั้งหุ้น และ Forex

ใครควรใช้โบรกเกอร์ DMA?
- นักลงทุนหรือเทรดเดอร์ที่ต้องการราคาตลาดจริง มีความโปร่งใสในคำสั่งซื้อขาย ไม่มี markup
- เทรดเดอร์มืออาชีพที่มีทุนเยอะพอสมควรและประสบการณ์ในการจัดการความเสี่ยงสูง
- เทรดเดอร์ที่ต้องการความเร็วในการซื้อขาย ไม่มีการแทรกแซงจากโบรกเกอร์
- เทรดเดอร์ที่ต้องการตลาดสภาพคล่องสูงเพราะ DMA มักเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการสภาพคล่องรายใหญ่
- เทรดเดอร์ที่เน้นลดต้นทุนการเทรด บัญชี DMA อาจมีเงินฝากขั้นต่ำที่ค่อนข้างสูงแต่ค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายมักถูกกว่า ECN ใครที่เทรดปริมาณสูงจะคุ้มมากๆ
วีดีโอเกี่ยวกับโบรกเกอร์ DMA/STP ที่น่าสนใจ
จากที่ผมได้พูดถึงรายชื่อโบรกเกอร์ที่เป็นแบบ DMA/STP ไป อาจจะยังมีรายชื่อไม่เยอะจุใจเท่าไหร่ ทางทีมงานก็เลยไปเจอกับวีดีโอหนึ่งเกี่ยวกับ Top 5 โบรกเกอร์ DMA ที่ดีที่สุด ซึ่งอาจจะมีรายชื่อโบรกเกอร์ที่น่าสนใจที่ในบาทความยังไม่ได้กล่าวถึง ในวิดีโอก็มีรายชื่อโบรกเกอร์ดังนี้
- 5. eToro (นาทีที่ 0:35)
- 4. Alpari (นาทีที่ 1:55)
- 3. FP Markets (นาทีที่ 3:00)
- 2. FXTM (นาทีที่ 4:24)
- 1. Pepperstone (นาทีที่ 5:35)
สรุป
สรุปแล้ว โบรกเกอร์แบบ DMA มีข้อดีในเรื่องความโปร่งใส ราคาตลาดจริง การดำเนินการที่รวดเร็วและค่าคอมมิชชั่นที่ต่ำ แต่ก็มีข้อเสียเช่น เงินฝากขั้นต่ำสูงและความซับซ้อนของแพลตฟอร์มเทรด ดังนั้นเทรดเดอร์ควรพิจารณาต้นทุน ความเหมาะสมของเงื่อนไขการเทรดกับกลยุทธ์ส่วนตัว เพื่อจะได้เลือกใช้งานโบรกเกอร์ DMA ได้เข้ากับตัวเอง
สำหรับใครที่สนใจเปิดบัญชี DMA ก็ควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์ ทดสอบแพลตฟอร์มก่อนและตรวจสอบให้แน่ใจว่าโบรกเกอร์มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือจริง
ทีมงาน : thaiforexbroker.com