อินดิเคเตอร์สุดยอดตัวเสริมทัพ ATR Indicator หรือ Average True Range คือ กับการกำหนดความเสี่ยงในการเข้าออกออเดอร์กับความสามารถขั้นเทพในการบ่งชี้ถึงความผันผวนของตลาด…ในบทความนี้จะมาพูดถึง ความเป็นมา สูตร และวิธีการใช้งาน ATR เบื้องต้นนะครับถึงแม้ว่าอินดิเคเตอร์ตัวนี้จะไม่ได้มีความสามารถมากมายเหมือนกับอินดี้ตัวอื่นๆแต่ขอบอกไว้เลยว่ามีประโยชน์ที่คุ้มค่าและยังมีความแม่นยำสูงอีกทั้งยังลดความเสี่ยงของการเข้าออกสัญญาณการซื้อขายได้ดีอีกด้วยครับ
“ความสำเร็จมันอยู่ไม่ไกล อยู่ที่ว่าจะก้าวต่อไปหรือหยุดอยู่ที่เดิม”
ความเป็นมาของ ATR Indicator
ATR Indicator หรือ Average True Range คือ อินดิเคเตอร์ที่มีจุดประสงค์ในการช่วยในการหาความผันผวนของตลาด ณ เวลานั้นๆครับโดยที่ค่าที่ได้ออกมาจะแสดงอยู่ในลักษณะของเส้นทั่วๆไปและมีความมากน้อยขึ้นอยู่กับสินทรัพย์นั้นๆโดยมีสูตรที่ค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อยครับ…แต่แลกมาด้วยครับแม่นยำที่สูงทั้งนี้จะขอกล่าวอย่างละเอียดในหัวข้อถัดต่อจากนี้ให้ได้รับชมครับ
Average True Range หรือ ATR มีประวัติความเป็นมาและต้นกำเนิดมาจากบุคคลหนึ่งที่เป็นผู้คิดค้นอินดิเคเตอร์ยอดนิยมอย่างเช่น RSI, ADX และ Parabolic SAR ซึ่งมีนามว่า J. Welles Wilder โดยสามารถไปตามอ่านชีวประวัติที่แนบไว้ให้ได้โดยทำการอ้างอิงมาจากเว็บไซต์ชื่อดังอย่างเว็บวิกิพีเดียกันได้เลยครับ…ทั้งนี้ J. Welles Wilder ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับอินดี้ตัวนี้ไว้ค่อนข้างละเอียดในหนังสือที่มีชื่อว่า “New Concepts in Technical Trading Systems (1978)” ด้วยนั่นเองครับ
วิธีคำนวณ สูตร ATR Indicator
Average True Range มีส่วนประกอบหลักอยู่ด้วยกันอยู่ประมาณสองส่วนครับคือสมการหาค่า ATR และสมการหาค่า TR ทั้งนี้การหา TR ก็ยังถูกแบ่งแยกออกไปอีก 3 ประเภทครับโดยจะหาค่ามาจากค่าราคาแต่ละส่วนของราคากราฟของทั้ง2แท่งที่ติดกันซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
- การหาค่า TR ทั้ง 3 ประเภท
- ประเภทที่ 1 TR = ค่าความแตกต่างระหว่าง High – Low ของแท่งปัจจุบัน
เมื่อราคา High ปัจจุบัน มากกว่า Hight ก่อนหน้า และ Low ของแท่งปัจจุบัน น้อย Low ของแท่งก่อนหน้า - ประเภทที่ 2 TR = ค่าความแตกต่างระหว่าง High ปัจจุบัน –Closeแท่งก่อนหน้า
เมื่อ High ของแท่งปัจจุบัน มากกว่า High ของแท่งก่อนหน้า และ Low ของแท่งปัจจุบัน มากกว่า Low ของแท่งก่อนหน้า - ประเภทที่ 3 TR = ค่าความแตกต่างระหว่าง Low ปัจจุบัน – Closeแท่งก่อนหน้า
เมื่อ High ของแท่งปัจจุบัน น้อยกว่า High ของแท่งก่อนหน้า และ Low ของแท่งปัจจุบัน มากกว่า Low ของแท่งก่อนหน้า
- ประเภทที่ 1 TR = ค่าความแตกต่างระหว่าง High – Low ของแท่งปัจจุบัน
- การหาค่า ATR
- ATR = [(Previous ATR * (n – 1) + TR] / n
โดยที่
n คือจำนวนวันหรือจำนวนแท่งเทียนที่จะนำมาใช้โดยค่าปกติจะอยู่ที่ 14 วันหรือ 14 แท่งเทียน
TR คือ ค่าที่มากที่สุดของ TR ทั้ง 3 ประเภท
- ATR = [(Previous ATR * (n – 1) + TR] / n
หมายเหตุ : ATR จะสามารถหาได้ก็ต่อเมื่อได้ค่า TR มาแล้ว โดยที่ค่า TR ที่นำมาใช้จะต้องพิจารณามาแล้วว่าเป็น TR ที่มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกันใน 3 ประเภทดังสมการด้านบน
ระบบเทรด ATR Indicator ที่แนะนำ
Average True Range (ATR) เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้เพียงวัดความผันผวนของกราฟราคาเท่านั้น…ดังนั้นแล้วหมายความว่าเราจะไม่สามารถนำ ATR มาใช้เปล่าๆได้โดยปราศจากกลยุทธ์การเทรดอื่นๆไม่ว่าจะเป็น ชาร์ตแพทเทิร์น หรือ กลยุทธ์ที่ใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆเข้ามาประกอบ แต่ทั้งนี้แล้วเราก็ควรจะต้องรู้ถึงพื้นฐานการใช้งานของเจ้าตัว ATR กันก่อนที่จะนำไปประกอบร่างกับเทคนิคและกลยุทธ์อื่นๆซึ่งผมก็จะทำการอธิบายให้ฟังกันอย่างง่ายโดยให้ดูรูปภาพด้านล่างประกอบไปด้วยนะครับ
จากรูปดังกล่าวผมจะทำการเรียกใช้ ATR โดยการตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆเป็นค่าดั้งเดิมนะครับโดยผมจะเรียกใช้งานในกราฟคู่เงิน XAUUSD ในทามเฟรม 4 ชั่วโมง และเมื่อเอานำเมาส์ไปชี้ในจุดที่ผมต้องการทราบค่า ATR นั้นก็จะปรากฎค่าดังรูปภาพด้านบนครับ โดยหมายความว่า ณ กราฟแท่งนั้นมีความผันผวนโดยคำนวนจาก ATR อยู่ที่ 19.20 pip นั่นเองครับ
โดยลักษณะการใช้งานทั่วไปเมื่อมีคนเปิดออเดอร์ ณ จุดๆนั้นแล้วก็มักจะนำค่า ATR เป็นตัวกำหนด Slop Loss โดยนำค่าราคาปัจจุบันและมาบวก/ลบด้วยกับค่า (ATR ที่มักจะคูณ 1-4 เท่า) นั่นเองครับพอเราได้จุดที่สามารถตั้ง SL ได้แล้วเราก็จะนำไปหาตำแหน่ง TP ได้ด้วยการกำหนด RR นั่นเองครับซึ่งผมจะทำการอธิบายการใช้งานอย่างละเอียดให้ดูในหัวข้อถัดไป
วิธีตั้งค่า ATR Indicator พื้นฐาน + 2 EMA
วิธีตั้งค่า ATR Indicator พื้นฐานทั่วไป
ทำการเรียกใช้งาน ATR โดยเลือกหัวข้อ Insert ที่มุมซ้ายจากนั้นเลือก Custom และ ATR
หลังจากนั้นผมจะทำการตกแต่งสีและความหนาเส้นเล็กน้อยครับโดยทำการเลือกค่า Input เป็นค่าดั้งเดิมหลังจากนั้นทำการคลิก OK ดังรูปด้านล่าง
วิธีตั้งค่า EMA ใช้ร่วมกับ ATR Indicator
เมื่อทำการตั้งค่า ATR เรียบร้อยแล้วในหน้าต่างเดียวกันนั้น ผมก็จะใช้คู่เงิน XAUUSD ในทามเฟรมที่ 1 ชั่วโมงหลังจากนั้นผมก็จะทำการเรียกใช้อินดิเคเตอร์ Moving Average มาใช้งานร่วมกันซึ่งผมจะเลือกใช้งานแบบ Exponential โดยใช้ Period อยู่ที่ 50 และ 100 ดังรูปภาพด้านล่าง
เงื่อนไขการ Buys
- รอกราฟอยู่เหนือเส้น EMA 50 และ 100 หลังจากนั้นรอกราฟทำราคาปิดใต้เส้น EMA 50 แต่ไม่เกิน EMA 100
- รอจนกว่ากราฟจะทำราคาปิดเหนือเส้น EMA 50 อีกรอบและทำการ Buy
- ทำการตั้ง SL โดยการวัดลงไปจาก Low ของแท่งเทียนนั้น ลบ ด้วย ATR
- ทำการตั้ง TP ไว้โดยใช้อัตราส่วน RR เท่ากับ 1:1 หรือ 1:1.5
เงื่อนไขการ Sells
- รอกราฟอยู่ใต้เส้น EMA 50 และ 100 หลังจากนั้นรอกราฟทำราคาปิดเหนือเส้น EMA 50 แต่ไม่เกิน EMA 100
- รอจนกว่ากราฟจะทำราคาปิดใต้เส้น EMA 50 อีกรอบและทำการ Sell
- ทำการตั้ง SL โดยการวัดลงไปจาก High ของแท่งเทียนนั้น บวก ด้วย ATR
- ทำการตั้ง TP ไว้โดยใช้อัตราส่วน RR เท่ากับ 1:1 หรือ 1:1.5
ข้อควรระวังในการใช้ ATR Indicator
การใช้งาน ATR นั้นมีไม่มากครับเนื่องจากไม่ใช่อินดี้สำหรับการเข้าสัญญาณในการทำกำไรแต่ก็สำคัญพอๆกันครับ เนื่องจากใช้เป็นจุดในการตั้ง SL ได้เยี่ยมซึ่งข้อควรระวังคือ ATR นั้นไม่สามารถใช้ในกรณีที่ต่างทามเฟรม ต่างคู่เงิน หรือ สินทรัพย์ได้นั้นเองครับ เพราะค่าจะไม่เหมือนกันดังนั้นหากนำไปใช้ควรจะตรวจให้ดีก่อนทุกครั้งนะครับ
สรุป
ATR ความสามารถในการวัดความผันผวนและสุดยอดเครื่องมือในการตั้งจุด SL และ TP ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่อินดี้สำหรับการเข้าสัญญาณแต่กลับมีประโยชน์เป็นอย่างมากครับแต่อย่างไรก็ตามก็ควรที่จะระวังการใช้งานในส่วนของการเลือกใช้ทามเฟรมและคู่เงินด้วยนั่นเองครับ… ทั้งนี้ก็หวังว่าบทความนี้จะตอบโจทย์ในการใช้ ATR ขั้นพื้นฐานและการใช้งานเบื้องต้นนะครับ