วันนี้ทาง Thaiforexbroker ก็จะขอมานำเสนออินดิเคเตอร์อีกตัวที่มีประสิทธิภาพสูงแต่คนรู้จักกันไม่มากครับคือ ASI Indicator หรือ Accumulative Swing Index นั่นเองครับ…และแนะนอนว่าประโยชน์ของการใช้งานอินดิเคเตอร์ตัวนี้มีค่อนข้างหลายประการไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการดูเทรนด์หรือจุดกลับตัว อีกทั้งยังสามารถที่จะนำไปผสมผสานเข้ากันกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆได้อย่างลงตัวด้วยความที่เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานได้ง่ายและค่อนข้างอิสระนั่นเองแหละครับ
ความเป็นมาของ Accumulative Swing Index (ASI)
Accumulative Swing Index (ASI) คือ หนึ่งในอินดิเคเตอร์ชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในอินดิเคเตอร์มาตรฐานของโปรแกรมเทรด MT5 และยังเป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่มีวิธีการใช้งานค่อนข้างง่ายแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก…อาจจะเป็นเพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักและยังไม่เคยเห็นเทรดเดอร์คนไหนนำมาใช้ แต่ทั้งนี้แน่นอนว่าเราก็จะไม่พลาดในการนำเสนออินดิเคเตอร์ตัวนี้ให้ได้รับชมกัน

จากรูปด้านบนนี้ก็จะเป็นการแสดงถึงตัวอย่างของอินดิเคเตอร์ ASI จะเห็นได้ว่าอินดิเตอร์จะมีลักษณะคล้ายกับเส้นค่าเฉลี่ยทั่วไปแต่จะแสดงผลออกมาแยกกับหน้าต่างหลักครับและนอกจากนั้นก็ไม่มีอะไรอีกเลยนอกจากขีดระดับ 0 ที่อยู่ไกลมากๆ…ถึงจะเป็นเช่นนั้นแต่การใช้งานนั้นถือว่าง่ายมากๆครับโดยผมจะขอกล่าวอย่างละเอียดในหัวข้อถัดๆไป
ทั้งนี้อินดิเคเตอร์ตัวนี้ถูกคิดค้นมาจากชายที่มีนามว่า J. Welles Wilder Jr. ซึ่งเป็นวิศวกรชาวอเมริกันที่ผันตัวมาเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และแน่นอนว่าบุคคลนี่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในวงการเทรดอย่างมากเพราะบุคคุลนี้คือชายที่ได้พัฒนาอินดิเคเตอร์ชื่อดังอีกหลายตัวและยังได้รับความนิยมในการใช้งานในระดับโลกไม่ว่าจะเป็น อินดิเคเตอ์ RSI, ADX หรือแม้กระทั้ง Parabolic SAR ก็เป็นผลงานของเขาทั้งสิ้นครับและแน่นอนว่ายังรวมไปถึงอินดิเคเตอร์ ASI ก็ด้วยเช่นกัน
วิธีคำนวณ สูตร Accumulative Swing Index
สมการในการคำนวนอินดิเคเตอร์ ASI นั้นดูเผินๆก็จะดูเหมือนจะไม่ค่อยมีอะไรมากมายครับเพราะส่วนใหญ่ล้วนจะประกอบไปด้วยชนิดของราคาต่างๆ เช่น ราคาปิด ราคาเปิด ราคาสูง และ ราคาต่ำ โดยที่ส่วนประกอบดังกล่าวก็จะถูกแทนลงสมการ ซึ่งหลักการนั้นผมก็จะขออธิบายคร่าวๆได้ว่า เป็นการคำนวณโดยนำความแตกต่างระหว่างราคาปิด(ปัจจุบัน)กับราคา(ปิดก่อนหน้า) อีกทั้งยังรวมไปถึงการคำนวนหาช่วงระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดใน(ปัจจุบัน)มารวมเข้าด้วยกันตามสมการดังต่อไปนี้ครับ
สูตรคำนวณ
- ASI = ASI (previous) + SI (current)
- SI = 50 × (C – Cy + 5 * (C – O) + 0.25 × (Cy – Oy)) / R
- C = current close price (ราคาปิดปัจจุบัน)
- Cy = previous close price (ราคาปิดก่อนหน้า)
- O = current open price (ราคาเปิดปัจจุบัน)
- Oy = previous open price (ราคาเปิดก่อนหน้า)
- R = the highest range value, selected from the following options:
หรือก็คือ ช่วงระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดใน(ปัจจุบัน) โดยเลือกจากค่าที่มากที่สุดจากทั้ง4ตัวเลือกข้างล่างนี้- (Current high – current close) หรือ ราคาสูงปัจจุบัน-ราคาต่ำปัจจุบัน
- (Current low – current close) หรือ ราคาต่ำปัจจุบัน-ราคาปิดปัจจุบัน
- (Current high – previous close) หรือ ราคาสูงปัจจุบัน-ราคาปิดก่อนหน้า
- (Current low – previous close) หรือ ราคาต่ำปัจจุบัน-ราคาต่ำก่อนหน้า
วิธีเรียกใช้งานและตั้งค่า ASI
อันดับแรกให้ทำการเปิดโปรแกรม MT5 ขึ้นมาก่อนจากนั้นให้ทำการเลือก Insert ต่อด้วย Indicator ตามด้วย Custom และ ASI ตามลำดับ …โดยที่ MT4 สามารถดาวน์โหลดได้จาก https://indicatorspot.com/indicator/asi-indicator/

ต่อมาให้ทำการการตั้งค่าพารามิเตอร์ตามที่ต้องการโดยผมจะใช้ค่าพารามิเตอร์ดั้งเดิมในคู่เงินของ XAUUSD โดยจะทำการเปลี่ยนเพียงสีและขนาดเส้นดังรูปภาพด้านล่างนี้เลยครับ

พื้นฐานการใช้งาน Accumulative Swing Index เบื้องต้น
วิธีการใช้งานของอินดิเคเตอร์ ASI นั้นมีความสามารถหลักที่สามารถเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือความสามารถในการดูเทรนด์และแน่นอนว่ามันมีความแม่นยำพอๆกับกราฟแท่งเทียนอีกทั้งในบางกรณีอาจจะมีความไวกว่าด้วยซ้ำไปครับ ซึ่งวิธีการใช้งานผมจะขอแบ่งแยกออกเป็นข้อๆได้ดังนี้

ประการแรก คือ การใช้อินดิเคเตอร์ ASI ในการดูเทรนด์ ดังตัวอย่างรูปภาพด้านบนจะเห็นได้อย่างชัดเจนครับว่าเมื่อเราทำการตีเทรนด์แนวรับแนวต้านในเทรนด์ขาขึ้นนั้น ทั้งในกราฟและอินดิเตอร์นั้นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างแม่นยำครับ…เพียงแต่หากลองสังเกตดูดีๆแล้วในบางจังหวะที่ราคามีการทะลุแนวรับแนวต้านออกไปหรือแม้กระทั่งตอนที่กราฟราคากำลังทำการทดสอบแนวรับแนวต้านอยู่นั้นจะสังเกตได้ว่าตัวอินดิเคเตอร์จะมีการบอกได้ไวกว่านั่นเองครับ นั่นจึงเป็นประโยชน์ต่อเรามากในกรณีที่เราต้องยืนยันสัญญาณการเทรดหรือจะนำไปใช้ในกรณีอื่นๆก็ได้ด้วยนั่นเอง

ประการที่สอง คือ การใช้ ASI ควบคู่กับ EMA หรือค่าเส้นเฉลี่ยอื่นๆในการเข้าออกออเดอร์ จากรูปภาพด้านบนจะเห็นได้ว่าเราจะใช้หลักการเดียวกับการ Cross Over ทั่วๆไปเลยครับก็คือการที่ ASI ตัดลง EMA เราสามารถทำการเปิดออเดอร์ Sell เพราะมีโอกาสที่กราฟจะทำการกลับตัวเป็นเทรนด์ขาลง ในขณะเดียวกันหาก ASI ตัดขึ้นเหนือ EMA เราสามารถทำการเปิดออเดอร์ Buy ได้เพราะมีโอกาสที่กราฟจะทำการกลับตัวเป็นเทรนด์ขาขึ้น….ทั้งนี้อาจจะนำอินดิเคเตอร์หรือกลยุทธ์อื่นๆเข้ามาร่วมยืนยันสัญญาณการเทรดให้แม่นยำมากขึ้นไปอีกได้ครับ
โดยจะสังเกตได้ว่าในการใช้เทคนิคการ Cross Over ระหว่างอินดิเคเตอร์ในหมายเลข 2 กับเทคนิคการ Cross Over กับกราฟแท่งเทียนในหมายเลขที่ 1 จะมีข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดอย่างหนึ่งว่าตัวอินดิเคเตอร์นั้นจะมีการบอกสัญญาณที่ไวกว่าในบางกรณีครับทั้งนี้สามารถที่จะใช้เทคนิคทั้งสองหมายเลขมาใช้ร่วมกันเพื่อยืนยันสัญญาณการเทรดให้แม่นยำมากขึ้นไปอีกได้นะครับ

ประการสุดท้าย คือ การใช้อินดิเคเตอร์ ASI ในดูความแข็งแกร่งของเทรนด์ จะสังเกตุได้ว่าตัวเลขของอินดิเคเตอร์จะมีทั้งค่าตั้งแต่ติดลบจนไปถึงค่าเป็นที่เป็นบวก ทั้งนี้วิธีใช้อาจจะมองได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่ค่าเป็นบวก ณ ขณะนั้นจะมองว่ามีการทำราคาในเทรนขาขึ้นที่แข็งแกร่งในทามเฟรมใหญ่และในทางตรงข้ามหากเป็นค่าลบ ณ ขณะนั้นจะมองว่ามีการทำราคาในเทรนขาลงอย่างแข็งแกร่งเช่นเดียวกัน ซึ่งยิ่งห่างจากหมายเลข 0 มากเท่าไรก็จะยิ่งแข็งแกร่งมากเท่านั้น…ทั้งนี้อาจจะใช้ได้บางคู่เงินเท่านั้นเพราะในบางครั้งค่าราคาของอินดิเคเตอร์อาจจะห่างไกลจากเลข 0 มากเลยทีเดียวดังนั้นวิธีนี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการที่จะเทรดในระยะสั้นมากเท่าไหร่ครับและคิดว่ามีอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมกว่านี้ในการดูความแข็งแกร่งของเทรนด์เช่น ADX เป็นต้น
ข้อควรระวังในการใช้
- ASI นั้นเป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Lagging นั้นหมายความว่ามักจะทำให้จังหวะการซื้อหรือขายช้าเกินไป และมักจะมีการเปลี่ยนแปลงของอินดิเคเตอร์ตลอดเวลาไม่ตายตัว
- เหมาะสำหรับตลาดที่มีสภาวะราคาเป็นเทรนด์เท่านั้น
- เป็นเพียงข้อมูลที่คำนวนจากค่าเฉลี่ยย้อนหลังเท่านั้นเพื่อประโยชน์ในการบอกแนวโน้มจึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นตัวหลักในการบอกสัญญาณการซื้อขายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- ควรใช้อินดิเคเตอร์ประเภท Leader indicator เข้ามาร่วมใช้ด้วย
สรุป
ASI เป็นอินดิเคเตอร์ที่มีประโยชน์ในการการช่วยวิเคราห์แนวโน้มที่เกิดขึ้นทำให้เราสามารถคาดการ์ณและวิเคราห์กับสิ่งที่เกิดขึ้นมาได้ อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่มีลักษณะในการใช้งานที่ค่อนข้างง่ายและยังมีความอิสระในการใช้งานควบคู่กับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆได้อย่างไม่มีข้อจำกัด…ทั้งนี้ก็มีข้อควรระวังคืออินดิเคเตอร์นี้เป็นประเภท Lagging indicator จึงทำให้สามารถบอกสัญญาณได้ช้าเล็กน้อยนั่นเองครับ