คู่มือการใช้งาน Accelerator Oscillator ฉบับลับ

Accelerator oscillator

Accelerator Oscillator เป็น indicator ตัวหนึ่งที่ถูกพัฒนาโดยตาวิลเลี่ยม (อีกแล้วครับท่าน 555+) โดยชื่อภาษาอังกฤษของนางคือ Bill Williams เทรดเดอร์ระดับตำนานผู้สรรค์สร้าง Indicator เจ๋ง ๆ มากมายในตลาด Forex แล้ว indicator ที่เราจะกล่าวในบทความนี้คือ Accelerator Oscillator (AC) ยอดอินดิเคเตอร์ความเร็วสูงครับ

ความเป็นมาของ Accelerator oscillator

AC เป็นเครื่องมือสุดคลาสสิคตัวหนึ่งที่เทรดเดอร์หลาย ๆ ท่านนิยมใช้กัน ซึ่งตัวของมันเองถูกพัฒนาบนพื้นฐานชอง Moving Average (MA) ที่ใช้วิธีการคำนวณแบบ Simple หรือ SMA นั่นเอง นอกจากนี้ตาวิลเลี่ยมยังได้จับ Indicator รุ่นพี่อย่าง Awesome Oscillator (AO) เข้ามาประยุกต์ใช้ในสมการอีกด้วย

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า AC indicator จะสามารถวัดและแสดงให้เราเห็นถึง Momentum และ Trend ของตลาด Forex ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และบอกให้เรารู้กลาย ๆ ครับว่า ทิศทางของตลาด Forex ในอนาคตอันใกล้จะวิ่งไปทางไหน

กลไกการทำงานของ Accelerator oscillator

หลักการการทำงานของ AC คือการคำนวณ Momentum จาก Indicator รุ่นพี่อย่าง AO ครับ โดย AC จะเปรียบเทียบค่าเหล่านั้นจาก SMA ระหว่าง Period ที่ 5 และ Period ที่ 34 (เปรียบเทียบช่วง SMA5 และ SMA34)

ซึ่งตัวเลข 5 และ 34 จะเป็นค่ามาตราฐานที่ผู้เขียนอาจจะต้องเสียความเสียด้วยที่ AC ใน metatrader 4 (mt4) และ metatrader 5 (mt5) นั้นอาจจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนค่าพวกนี้ได้ครับ.. ในส่วนวิธีการแสดงผลของ AC จะปรากฎออกมาให้เราเห็นที่ indicator window ตามภาพด้านล่างนี้เลยครับ

Accelerator oscillator indicator
ตัวอย่างการแสดงผลของ Accelerator oscillator indicator

สูตรคำนวณ

สูตรคำนวณของ AC นั้นหลาย ๆ คนอาจจะพอเดาได้ไม่ยากครับเพราะคุณวิลเลี่ยมใช้ SMA และ AO เข้ามาคำนวณโดยอาจจะต้องเกริ่นสมการของ AO ให้เทรดเดอร์ทราบก่อนดังนี้ครับ

 

AO = SMA (Median Price, 5) – SMA (Median Price, 34)

 

เมื่อ

  • AO = Awesome Oscillator
  • SMA = Simple Moving Average
  • Median Price, 5 = ราคากลางของ Period 5
  • Median Price, 35 = ราคากลางของ Period 34

หากใครยังสงสัยว่าแล้วเอา Median Price มาจากไหนอะไรยังไง? ต้องย้อนทบทวนบทเรียนที่กล่าวถึง MA ในบทก่อน ๆ ครับว่า MA นั้นสามารถคำนวณได้หลายแบบ และแต่ละแบบสามารถนำ ส่วนใดส่วนหนึ่งของราคามาคำนวณได้ เช่น Close Price, Open Price, High Price, และอื่น ๆ โดย Median Price ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งมีสมการดังนี้

 

Median Price = (High price + Low price) / 2

 

พอจะนึกออกลาง ๆ แล้วใช่ไหมล่ะครับ เอ… แต่ถ้าใครยังนึกไม่ออก ลองดูการตั้งค่า MA indicator ตามรูปด้านล่างนี้เผื่อจะพอคุ้นหน้า คุ้นตา กันบ้างเนอะ

ตั้งค่า Moving Average indicator
แสดงการตั้งค่า Moving Average indicator เพื่อ Remind ความทรงจำเกี่ยวกับ Apply method

มาต่อกันที่สูตรการคำนวณ AC กันครับ ย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวเบื้องต้นแล้วว่า AC จะดึงเอาค่า Momentum มาจาก AO และ SMA ใช่ไหมครับ มาดูกันว่ามันดึงมายังไง

 

AC = AO – SMA (AO, 5)

 

วิธีการติดตั้งและการเรียกใช้งาน

AC indicator ไม่จำเป็นต้องหาดาวน์โหลดจากที่อื่นและทำการติดตั้งครับ เนื่องจากมันเป็น Indicator ที่แถมมาพร้อมกับ Metatrader ของเราอยู่แล้ว เพียงแค่เราเรียกใช้งานมันให้เป็นก็พอซึ่งไม่ได้ยากเลยครับ

การเรียกใช้งาน Accelerator จาก MT4 / MT5

  • Manu -> Insert -> Indicator -> Bill William -> Accelerator Oscillator

วิธีการตั้งค่า

การตั้งค่าก็ไม่ได้มีอะไรมากครับเพราะหลัก ๆ มันก็ตั้งได้แค่สี ความทึบของเส้น และการเพิ่มระดับ (level) ของตัวเลขแกน x ซึ่งปกติแล้วเราจะตั้งให้มันอยู่ที่ 0 ดามรูปครับ

ตัวอย่างการตั้งค่า AC indicator Forex
ตัวอย่างการตั้งค่า AC indicator Forex

การอ่านค่า Indicator

คุณวิลเลี่ยมท่านบอกมาประมาณนี้ครับว่า วิธีใช้และอ่านค่าของ AC ให้เริ่มจากการดูเส้น 0 ครับ เนื่องจากเส้น 0 คือจุดที่ Momentum สมดุลกับความเร็ว (Balance = Acceleration) จากนั้นให้ตีความประมาณนี้ครับ

เมื่อเทรดเดอร์เห็น AC อยู่เหนือเส้น 0 แสดงว่าช่วงเวลานั่น ๆ อาจจะเป็นตลาดขาขึ้น ซึ่งความเร่งสามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างเห็นได้ชัด.. หากเทรดเดอร์ต้องการเข้า Buy ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนครับว่า AC indicator จะไม่ขึ้น Show แทบแดง (False Signal)

การอ่านกราฟ AC ขาขึ้น
การอ่านกราฟ AC ขาขึ้น หรือ ตลาดกระทิง จาก indicator window

ในทางกลับกันครับ หากเทรดเดอร์สังเกตุเห็น AC อยู่ใต้เส้น 0 แสดงว่าช่วงนั้นอาจจะเป็นตลาดขาลง ดังนั้นการชะลอตัว (Deceleration) มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งหากเทรดเดอร์ต้องการเข้า Sell ควรจะดูให้แน่ใจว่าไม่มีสัญญาณแท่งเขียวปรากฎให้เห็นเป็น False Signal ครับ

การอ่านกราฟ AC ขาลง
การอ่านกราฟ AC ขาลง หรือ ตลาดหมี จาก indicator window

กลยุทธ์การเทรด Accelerator indicator

กลยุทธ์ที่จะนำเสนอวันนี้คือกลยุทธ์เทรดตามเทรน หรือ Trend Follow ครับ โดยเราจะเทรดกันในคู่เงิน EUR/USD บน Time Frame H1 ขึ้นไปครับ ซึ่ง Setup ของกลยุทธ์นี้เราจะใช้ Indicators สองตัวได้แก่ SMA จำนวน 3 เส้น (Period = 200, 12, 26) และ AC indicator ครับ และให้ตั้ง Take Profit ประมาณ 350 – 500 จุดโดยมี RR เท่ากับ 1:1 ครับ

เงื่อนไขการเข้า Buys

  1. รอให้ SMA (12) อยู่เหนือเส้น SMA (26) และ SMA (200) เพื่อให้ตลาดเป็นขาขึ้นอย่างรุนแรง
  2. ต้องให้ AC มีค่ามากกว่า 0 และต้องให้แท่ง AC มีสีเขียวติดต่อกัน 3 แท่งจึงจะสามารถเข้า Buy ได้
ตัวอย่างการเข้า Buy ในตลาดกระทิง
ตัวอย่างการเข้า Buy ในตลาดกระทิงจ้า

เงื่อนไขการเข้า Sells

  1. รอให้ SMA (12) อยู่ใต้เส้น SMA (26) และ SMA (200) เพื่อให้ตลาดเป็นขาลงอย่างรุนแรง
  2. ต้องให้ AC มีค่าน้อยกว่า 0 และต้องให้แท่ง AC มีสีแดงติดต่อกัน 3 แท่งจึงจะสามารถเข้า Buy ได้
ตัวอย่างการเข้า Sell ในตลาดกระหมี
ตัวอย่างการเข้า Sell ในตลาดกระหมีจ้า

ข้อดีและข้อเสียของ AC indicator

เรามาดูกันถึงข้อดีและข้อเสียของ AC indicator กันหน่อยดีกว่าครับว่ามันมีอะไรบ้าง ซึ่งเมื่อเทรดเดอร์ทราบถึงข้อมูลเหล่านี้แล้วสามารถนำมันไปลดทอนจุดอ่อนของ AC ได้เลยครับ

ข้อดี ข้อเสีย
วิเคราะห์เทรนได้มีประสิทธิภาพมาก ๆ ไม่เหมาะกับการวิเคราะห์ช่วง Sideway เท่าไหร่นัก
บอกสัญญาณซื้อขายได้ดีในช่วงตลาดกำลังเป็นเทรน บางครั้งเกิด False Signal ให้เห็นบ้าง
ทำกำไรได้ดีในช่วงตลาดเป็นเทรน หากเข้าผิดจังหวะแล้วไม่ตั้ง Stop Loss มีโอกาสเสียเยอะ

สรุป

AC indicator เป็นเครื่องมือที่ดีมากตัวหนึ่งที่นิยมใช้ในการระบุแนวโน้มของตลาด Forex แต่จะมีประสิทธิภาพน้อยลงเมื่อตลาดเข้าสู่ Sideway ซึ่งเทรดเดอร์หลาย ๆ ท่านสามารถนำไปใช้ทำกำไรได้ด้วยการเทรดแบบใช้ AC แบบ Stand-alone หรือจะใช้ควบคู่ไปกับ Indicator ตัวอื่นเพื่อส่งเสริมความสามารถของการเทรดแบบ Trend Follow ได้ หรือ จะเป็น indicator บางตัวที่ส่งเสริมการเทรดในช่วง Sideway เพื่อกลบจุดอ่อนของ AC indicator ครับ