ทำไม Absorption ถึงเกิดก่อน Breakout? เทคนิคอ่านพฤติกรรมขาใหญ่

ในวันนี้เรียกว่าจะมาแชร์เทคนิคก็ไม่ใช่ แชร์กลยุทธ์ก็ไม่เชิง แต่มันคือปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในตลาด Forex ที่เทรดเดอร์รายย่อยอย่างเรามักจะจะกลายเป็น “เหยื่อ” ดังนั้นบทความนี้ก็เหมือนการทำความเข้าใจและเป็นคำเตือนสำหรับเทรดเดอร์ทุกคนที่อาจจะกำลังเจอสถานการณ์ “Absorption” นี้ครับ


 

Highlight บทคัดย่อ

  • Absorption ในตลาด Forex คือการดูดซึมคำสั่งในกรอบแคบๆ บริเวณแนวรับ/ต้าน โดยขาใหญ่ใช้ Market Orders จับคู่กับ Limit Orders เพื่อลดจำนวนออเดอร์ฝั่งตรงข้ามก่อนการ Breakout
  • เหตุผลหลักที่ Absorption เกิดก่อน Breakout คือ
    1. เพื่อสร้าง Liquidity ในการเทรดปริมาณมาก
    2. ลดแรงต้าน/สนับสนุน
    3. หยั่งเชิงผู้เล่นรายใหญ่อีกฝั่ง
  • การสังเกตพฤติกรรมเพื่อจับร่องรอยการ Absorption ทั้งโซน Demand และ Supply คือ ราคายึกยักในกรอบ, การทดสอบแนวหลายครั้งและ Volume ที่เปลี่ยนแปลง
  • คำแนะนำสำหรับเทรดเดอร์รายย่อยในสถานการณ์ Absorption คือ
    • ควรรอ Breakout ยืนยัน + ระบุกรอบ Absorption ให้ชัดเจน
    • สังเกต Volume ประกอบการ Breakout และบริหารความเสี่ยงเสมอ

Absorption คืออะไร?

  • คำว่า Absorption ถ้าแปลตามคำศัพท์แปลว่าการดูดซึม ในบริบทของการเทรด Forex มันคือกระบวนการที่ราคาเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่ที่มี Limit Orders จำนวนมาก (ทั้ง Buy Limit และ Sell Limit)
  • เพื่อเป็นการจับคู่คำสั่ง Limit Orders เหล่านั้นกับคำสั่ง Market Orders (น่าจะมาจากขาใหญ่) เพื่อลดจำนวน Limit Orders ก่อนจะ Breakout ครับ
    • ยกตัวอย่าง: หากราคามาที่แนว Demand (Buy Limit Orders เยอะ) และเกิด Absorption (มี Sell Market Orders เข้ามา) แต่ราคาไม่สามารถทะลุลงไปได้ แสดงว่าแรงซื้อบริเวณนี้ยังคงมีอยู่
    • ยิ่งเกิด Absorption หลายครั้ง = Buy Limit Orders อ่อนกำลังลงเพราะโดนคำสั่ง Sell Market Orders มา Match ไป และขาใหญ่พร้อมดันราคาลงอีก
    • เมื่อ Buy Limit Orders เหลือน้อย หรือถูกซึมซับไปมากพอ หากมี Sell Market Orders เข้ามาอีกครั้ง ก็จะทำให้ราคาสามารถ “Break” แนว Demand ลงไปได้
การใช้ตัว Pacman สื่อถึงการกัดกิน Limit Orders จากรายใหญ่โดยใช้ Market Orders ซึ่งเป็นการทำ Absorption เพื่อให้ Limit Orders ลดจำนวนลงก่อนจะ Breakout ราคา

ทำไม Absorption ต้องเกิดก่อน Breakout?

ทำไมรายใหญ่ต้องทำให้ราคาเกิด Absorption ก่อนจะ Breakout ทำไมไม่ Breakout ตามทิศทางที่ต้องการไปเลย? มันมีเหตุผลรองรับอยู่ปประมาณนี้ครับ

1. Liquidity

  • เพราะว่าพื้นที่ที่มี Limit Orders หนาแน่นมักจะมี “Liquidity” สูง ซึ่งขาใหญ่ต้องการ Liquidity เพื่อที่จะสามารถเทรดด้วยปริมาณมากโดยไม่ทำให้ราคาเคลื่อนที่ผิดปกติมากนัก
  • การที่ราคาเข้าสู่พื้นที่ Liquidity และเกิด Absorption คือการที่ Market Orders เข้ามา “กิน” Limit Orders เหล่านั้น

2. ลดแรงต้าน

  • ลองคิดเล่นๆ ว่า บริเวณที่มี Limit Orders เยอะๆ ก็เหมือนมีกำแพงหนาๆ ยากมากที่จะทะลุไปได้ในครั้งเดียว การเกิด Absorption ก็เหมือนการค่อยทลายกำแพงนั้นครับ
  • เช่น ขาใหญ่ที่มีเป้าหมายจะดันราคาขึ้น จะใช้ Buy Market Orders เข้ามากินหรือ Match กับ Sell Limit Orders เหล่านั้น แบบนี้จะค่อยๆ ลดจำนวน Sell Limit Orders ที่เป็นแรงต้านไปได้เยอะครับ
  • ยิ่งเกิด Absorption บ่อยเท่าไหร่ยิ่งหมายความว่าบริเวณนั้นมี Limit Orders เยอะเท่านั้น

3. หยั่งเชิงฝั่งตรงข้าม

  • รายใหญ่ในตลาด Forex ใช่ว่าจะอยู่ฝั่งเดียวกันเสมอไปครับ ก่อนที่จะทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อดันราคาไปในทิศทางที่ต้องการ รายใหญ่ใหญ่จึงต้องการ “ทดสอบ” ก่อนว่ามีผู้เล่นรายใหญ่อีกฝั่งที่พร้อมจะเข้ามาต่อสู้หรือไม่
  • ช่วง Absorption ราคาจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ บริเวณแนวสำคัญ การเคลื่อนไหวนี้เหมือนเป็นการหยั่งเชิงเพื่อดูว่ามีแรงซื้อหรือแรงขายขนาดใหญ่เข้ามาสวนหรือไม่
  • หากราคาไม่สามารถทะลุผ่านกรอบ Absorption ไปได้ง่ายๆ และมีการสวนกลับที่แข็งแกร่ง ก็พอจะเดาได้ว่ามีผู้เล่นรายใหญ่อีกฝั่งที่พร้อมจะสู้ในทิศทางตรงกันข้าม
เหตุผลหลักที่เกิด Absorption ก่อนการ Breakout มีหลายปัจจัย เช่น รายใหญ่ต้องการสภาพก่อนในการ Breakout, เป็นการทดสอบรายใหญ่ฝั่งตรงข้ามและลดแรงต้านจาก Limit Orders แต่มีเหตุผลน่าคิดที่ว่าบางทีอาจจะเป็นแผนสร้าง”เหยื่อ” ของรายใหญ่ก็เป็นได้

เทคนิคอ่านพฤติกรรมขาใหญ่ผ่าน “ร่องรอย” Absorption

ทีมงาน Thai Forex Broker ก็เตรียมตัวอย่างกรณีศึกษาเอาไว้เพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจพฤติกรรมขาใหญ่ที่เกิดจากการ Absorption ทั้งในโซน Demand/Supply พร้อมคำแนะนำสำหรับเทรดเดอร์รายย่อยว่าควรทำยังไงในช่วง Absorption

ตัวอย่างที่ 1

ตัวอย่างการเกิด Absorption โซน Demand สังเกตเห็นจำนวน Absorption เกิดขึ้นถึง 5 ครั้งก่อนจะ Breakout รวมถึงการทิ้งไส้ยาวลงล่างของราคาบ่งบอกได้ว่ามีแรงสู้จากฝั่ง Buy Limit ค่อนข้างเยอะ
  • จากในรูปภาพจะเห็นว่า ราคายึกยักในกรอบ Demand (สีเขียว) หลายครั้งและไม่ได้ทะลุลงไปในทันทีแต่มีการแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบนี้ นี่เป็นสัญญาณของการ Absorption ของ Buy Limit Orders ที่อาจมีอยู่ในโซนนี้
  • การที่ราคาไม่สามารถทะลุ Demand Zone ลงไปได้ใน 3 ครั้งแรกแสดงว่ายังมีแรงซื้ออยู่ แต่ครั้งที่ 4 เกิด ราคาสามารถลงไปต่ำกว่ากรอบ Demand ได้ จนเกิดไส้เทียนยาวชี้ลงล่าง(Wicks) แต่ยังปิดไม่ได้
  • ราคาทดสอบบริเวณ Demand Zone ถึง 5 ครั้ง ทุกครั้งที่ราคาลงมาในโซน Demand จะมีการ Match และ Fill ของ Buy Limit Orders ทำให้จำนวน Buy Limit Orders ในบริเวณนั้นค่อยๆ ลดลง
  • จนกระทั่งราคา Breakout ออกจากโซน Demand จนได้แสดงถึงแรงขายจำนวนมากที่เข้ามาหลังจาก Buy Limit Orders ในบริเวณนั้นถูกดูดซับไปมากพอ ทำให้ไม่มีแรงซื้อมากพอที่จะต้านทาน
  • เทรดเดอร์ที่ตั้ง Buy Limit Orders ในบริเวณ Demand นี้จึงกลายเป็น “Trapped Traders หรือเทรดเดอร์ที่ติดกับดัก” และส่วนมากก็จะมาปิดออเดอร์เพราะยอมแพ้ในโซนสีแดง ทำให้ราคายิ่งพุ่งลงไปอีก

ตัวอย่างที่ 2

ตัวอย่างรูปภาพ Absorption ในโซน Supply โดยรอบนี้เกิด Absorption 3 ครั้ง + อาจจะมี Stop Hunt เกิดขึ้นจังหวะที่ราคาพุ่งลงมาเกินระดับราคาเดิม แต่สุดท้ายก็เป็นฝั่ง Buy ที่เอาชนะโซนนี้ไปได้
  • ตัวอย่างนี้คล้ายกับตัวอย่างแรกเพียงแค่เป็นฝั่ง Absorption ของ Sell Limit Orders สังเกตจากราคาวิ่งขึ้นมาบริเวณกรอบสีชมพู (Supply Zone) หลายครั้งและบางครั้งก็เกิดไส้เทียนยาวชี้ขึ้นบน (Wicks)
  • ราคามีการยึกยักและพยายามขึ้นต่อแต่ถูกแรงขายดันกลับลงไปถึง 3 ครั้ง แสดงถึงการ “ซึมซับ” Sell Limit Orders โดย Buy Market Orders จากขาใหญ่
  • สังเกตก่อนที่ราคาจะพุ่งจะไปโซน Supply อีกครั้ง มีช่วงที่ราคามีการพยายามทะลุแนว Low ของ 2 ครั้ง ก่อนหน้า นี่อาจจะเป็นการล่า Stop Loss ของฝั่ง Buy ก็เป็นได้
  • เมื่อราคา Breakout ขึ้นไป เทรดเดอร์ที่เปิด Sell ในบริเวณ Supply Zone ที่เกิด Absorption กลายเป็น Trapped Traders ในสถานะขาดทุน
  • สุดท้าย Trapped Traders จะถูกบังคับให้ปิดสถานะ Short (Sell) เพื่อจำกัดความเสี่ยง ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงซื้อและเร่งให้ราคาขึ้นไปอีกในกรอบสีเขียว

คำแนะนำช่วงที่เกิด Absorption

  1. รอ Breakout ยืนยัน: หากเรารู้แล้วว่าตอนนี้ราคากำลังเกิดการ Absorption อยู่ ทางที่ดีอย่างเพิ่งรีบเข้าเทรดครับ แนะนำให้รอสัญญาณการ Breakout ที่ชัดเจนก่อนแล้วค่อยเข้าเทรดตามจะดีกว่า
  2. ตีกรอบ Absorption ให้ชัดเจน: พยายามระบุพื้นที่ Absorption ให้ชัดเจนครับเพราะมันสามารถวิเคราะห์ได้ลึกขึ้น เช่น หากเกิด Absorption แบบเคลื่อนรุนแรงก็แสดงว่าบริเวณนั้นเกิดการต่อสู้กันอย่างหนักของทั้ง 2 ฝั่ง (Buy/Sell)
  3. รอ Volume ยืนยัน Breakout: เมื่อราคาทะลุออกจากกรอบ Absorption ให้รอแท่งเทียนที่มี Volume เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเพื่อยืนยันการ Breakout จริง
  4. บริหารความเสี่ยงอยู่เสมอ: ต่อให้เราไม่ได้เทรดในช่วง Absorption ก็ตาม เทรดเดอร์ก็ควรกำหนดขนาด Position ที่เหมาะสม ถ้าเข้าเทรดก็ควรวาง Stop Loss ให้อยู่เหนือ/ใต้กรอบ Absorption อย่างระมัดระวัง เผื่อกรณี False Breakout เอาไว้ครับ
สิ่งที่เทรดเดอร์รายย่อยควรระวังหรือควรทำตามข้อแนะนำเหล่านี้เมื่อเจอกับ Absorption คือ รอ Breakout ยืนยันทิศทางก่อน, ระบุกรอบ Absorption ให้ชัดรวมถึงดู Volume และบริหารความเสี่ยง(กรณีเข้าเทรดไปแล้ว)

วิดีโอเกี่ยวกับ Absorption

 

จริงอยู่ที่ในบทความแนะนำว่าว่าช่วง Absorption ให้รอดูท่าที ไม่ต้องรีบเข้าเทรดก็เพราะความปลอดภัยของเงินทุนโดยเฉพาะมือใหมม่ครับ แต่ถ้าอยากเข้าเทรดในช่วงนี้จริงๆ ทีมงานไปเจอคลิปตัวนึงเกี่ยกับ Order Flow เป็น วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้เป็นสัญญาณยืนยันในการเข้าเทรดช่วง Absorption ครับ

  • Focus นาทีที่ 00:14 อธิบาย Absorption Setup
  • Focus นาทีที่ 00:59 การใช้ Order Flow ในการเข้าเทรด
  • Focus นาทีที่ 04:33 ผลลัพธ์การเทรด
  • Focus นาทีที่ 05:49 สรุป

สรุป

เห็นหรือยังครับว่าตลาด Forex ยังมีอะไรให้น่าค้นหาและเรียนรู้อีกเยอะ Absorption คือตัวอย่างหนึ่งในนั้นที่เป็นผลมาจากการขยับของรายใหญ่ในตลาด การเรียนรู้และเข้าใจ Absorption จะช่วยให้เทรดเดอร์รายย่อยพอจะคาดการณ์ถึงโอกาสการเกิด Breakout ที่ตามมาได้

ทั้งนี้อย่าลืมว่าแม้เราจะเข้าใจกลไกอย่างลึกซึ้งแล้วก็ตาม อย่าละเลยที่จะบริหารความเสี่ยงในการเทรดอยู่เสมอเพราะการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเป็นกุญแจสำคัญในการเทรดตามรอยเท้าของรายใหญ่และเพิ่มโอกาสทำกำไรในตลาดที่มีการแข่งขันสูงแบบนี้ครับ

สารบัญบทความ