IG online trading platform ตอน 2 ชาร์ตและการเทรด

IG online trading platform 2

IG online trading platform ตอน 2 ชาร์ตและการเทรด

                จากภาพรวมที่ผ่านมา นอกจากการนำเสนอเป็นขั้นตอนที่ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลแต่ละส่วนได้ จะเห็นว่าสิ่งที่โดดเด่นเรื่อง workspace ที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจัดข้อมูลเป็นกลุ่มๆ ที่ต้องการและเข้าถึงได้ง่าย การโหลดและการจัดเก็บเป็นแบบอัตโนมัติไม่ต้องคอยกังวล ส่วนที่เด่นอีกอย่างเป็นเรื่องการนำเสนอชาร์ตและจัดการการเทรด ถือว่าทำได้ดีมากง่ายต่อการมองโดยเฉพาะ price chart แบบไร้อินดิเคเตอร์

                เมื่อท่านเปิดชาร์ตด้วยการเข้าถึงเมนูด้านช้ายแล้วเลือกตามลำดับมาก็จะเป็นชาร์ตแล้วท่านเลือก Add to workspace โดยโปรแกรมก็จะเพิ่มชาร์ตเข้ากับ worksacpe ที่ active ดูเมนู worksacpe ด้านบนประกอบ

                เมื่อท่านเปิดชาร์ตมาก็จะได้ค่า default จะเห็นว่ามี 2 ส่วนที่ต่างกัน ให้ดูที่ 1-Click ด้านบนที่มีการเลือกใช้และไม่เลือกใช้ เพื่อให้ง่ายและรวดเร็วต่อการเข้าเทรด แต่บางเทรดเดอร์อาจต้องการรอ หรือมีขั้นตอนมาทำให้ช้าก็เลือกปิดแทน นอกนั้นส่วนอื่นๆ ก็ไม่ต่างกัน  ดูส่วนประกอบในการนำเสนอก่อน

                แต่ละชาร์ตที่เปิดมาจะประกอบด้วย เลข 1 ส่วนที่เป็นฟังกชั่นสำหรับเทรดโดยจะมี 2 แบบที่จะกำหนดตามค่าที่เลือก 1-Click เทรดดิ้งหรือไม่ โดยในส่วนนี้คำว่า Deal ก็จะหมายถึง Market Execution ใน Metatrader  จะมีค่าให้กำหนด คือ Size ที่ต้องการเปิดเทรดแต่ละออเดอร์ Stop (Stop Loss) จะกำหนดเป็น points หรือจุด ถ้าเว้นไว้คือไม่กำหนด Limit หรือ Take Profit และตัวเลือกแบบ Net off หรือ Force Open

                เลข 2 จะเป็น Timeline ดูเวลาของแท่งเทียนประกอบกันไปสามารถปิดไม่แสดงได้

                เลข 3 เป็น Price changes สามารถปิดไม่แสดงได้

                เลข 4 ส่วน Signals น่าจะเป็นบริการที่มีประโยชน์สำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการหา trade singnals สำหรับแต่ละคู่เงินที่กำลังเปิดอยู่

                เลข 5 ก็จะเป็นส่วนข่าวที่เกี่ยวข้องกับคู่เงินที่เปิดชาร์ตอยู่

                เลข 6 จะเป็นเมนู Open ticket, Open ticket in  new window, Open Market in new window (สำหรับเปิดในอีกวินโดว์หนึ่งแหรือแยกออกไปจากกรอบของ worsksapce ได้ทำให้ดูง่ายขึ้น)

ฟังกชั่นชาร์ตที่น่าสนใจ เมื่อเปิดมาจะได้แบบนี้

ชาร์ตแท่งทียนจะมีการนำเสอนค่อนข้างจะไม่มีอะไรมาก มีแต่ price เท่านั้น หรือแม้แต่ราคาก็นำเสนอถือว่าดีกว่า เพราะการตีกรอบราคาใช้หลักการ grid หรือ round numbers เป็นหลักก็จะแสดงแต่ราคาหลักๆ เท่านั้น ด้วยการคลิกที่เลข 7 จะเห็นการปรับ Customise appearance จะมี Show grid ให้เลือกว่าจะแสดงหรือเปล่า

                เลข 1 จะเป็นตัวเลือกเปลี่ยน timeframes

                เลข 2 กำหนดดาต้าที่จะแสดง

                เลข 3 กำหนด chart layouts มี 6 แบบ

                เลข 4 สำหรับใช้อินดิเคเตอร์ที่มีมาให้

                เลข 5 การเลือกใช้ Objects ต่างๆ ประกอบการวิเคราะห์ (ข้อดีของ IG trading platform เมื่อท่านสร้าง objects และ เปิด Layout แบบหลายชาร์ต โปรแกรมจะคัดลอกหรือจัดการ objects ให้ท่านเองระหว่างชาร์ต) และ objects ค่อนข้างจะปรับแต่งได้ง่ายทุกจุด

                เลข 6 เป็น options กำหนดในการแสดงผลหรือไม่มี HLOC data, Drawings, Indicators, Open Positions, working Orders, Position Review, Timeline, Price changes, และ Price line

                เลข 7 – เป็น options อื่นๆ ก็มี Events ข่าวต่าง Type (ประเภทชาร์ตก็จะมี Candlestick, Line, HLOC และ Mountain) และ Layouts (หรือ templates), Customise appearance, และ Export chart

                และด้านล่างก็จะมีปุ่มให้คลิกเพื่อช่อนพื้นที่ออเดอร์ได้ ภาพโดยรวมการนำเสนอชาร์ตถือว่าดีมากสำหรับเทรดชาร์ตเปล่า สามารถเห็นตำแหน่งพื้นที่ filled orders และ round numbers ประกอบกันทันทีเลย โดยไม่ต้องใช้ทูลอย่างอื่นประกอบในการสแกนโครงสร้างราคาคร่าวๆ แบบรวดเร็ว

                เช่นเมื่อท่านเปลี่ยนชาร์ต layout แบบ 2 ชาร์ตและมีการสร้าง Objects ด้วย โปรแกรมจะคัดลอก objects ระหว่างชาร์ตให้เองมีประโยชน์มากสำหรับการวิเคราะห์

อีกส่วนเรื่อง News ด้านล่างก็จะมีประโยชน์มาก

และส่วนที่เป็น Signals สำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการหา trade signals เพื่อช่วยในการเทรด

ทั้งส่วน News และ Signals ถือว่าเป็นการผสมประสานเข้าได้ดีมากเมื่อเทียบกับ platform อื่นๆ

                การเปิดเทรด อย่างแรกดูโหมดก่อนว่าเป็น 1-Click หรือเปล่า ขั้นตอนการเปิดเทรด 1. เลือกว่าจะ Sell หรือ Buy 2. กำหนด Size ที่จะเทรด 3. กำหนด Stop loss หรือ Stop (ใน IG trading platform จะเรียก Stop loss เป็น Stop) ถ้าปล่อยว่างคือไม่กำหนด stop loss กับออเดอร์ที่จะเปิด 4. กำหนด Take Profit หรือ Limit Stop (ใน IG trading platform จะเรียก Take profit/TP เป็น Limit) ถ้าปล่อยไม่กำหนดคือไม่กำหนด TP กับออเดอร์ที่จะเปิด แล้วกด 5. Place Deal

เมื่อท่านเปิดออเดอร์แล้วก็จะกลายเป็น Position ที่จะโชว์บนชาร์ต (การกำหนดจะโชว์ Positons หรือ Orders สามารถคลิกขวาที่ชาร์ตแล้วจะมีเมนูขึ้นมาดูส่วน Show แล้วเลือก ) แล้วลากขึ้นหรือลงเพื่อกำหนด Stop (Stop loss) และ Limit (Take profit) ตามทิศทางออเดอร์ที่ท่านเปิดไป

เช่นตัวอย่างด้านบนเปิด long position ลากไปด้านบนคือกำหนด take profit และด้านล่างคือ stop loss จะเห็นว่าโปรแกรมช่วยคำนวณให้ท่านด้วยว่าระยะห่างเท่าไร เป็นเงินได้เสียเท่าไร และเมื่อคิดเป็นสัดส่วน Risk/Reward เป็นเท่าไร

อีกอย่างแม้ positions ที่เปิดพื้นที่เดียวกันโปรแกรมจะแยกออกมาให้แต่ละ postions สามารถจัดการได้ง่าย

การแก้ไขต่างๆ ทำได้ง่ายแค่คลิกไปที่เส้น positons หรือ orders แล้วก็จะมีเมนูขึ้นมาที่เส้นให้เลือกจัดการ เช่นต้องการแก้ sell limit ที่เส้นในชาร์ตด้านล่างก็คลิกที่เส้นก็จะมี Delete สำหรับยกเลิก pending order นี้ Stop/Limit  ถ้าลากที่เส้นก็จะเป็นการเปลี่ยนราคาสำหรับ limit order ถ้าเป็นคลิกที่กรอบ Stop/Limit เนื่องจากเป็น Sell Limit เมื่อลากขึ้นด้านบนก็จะป็นกำหนด stop loss สำหรับ sell limit order นี้ และลากลงล่างก็เป็นกำหนด take profit สำหรับ sell limit นี้

แต่ถ้าเป็น 1-click  เมนูสำหรับเปิดออเดอร์ด้านขวาก็จะเปลี่ยนไป มีให้กำหนดแค่ Size แล้วเลือกว่าจะเปิด Sell หรือ Buy ก็กดเลย

                โดยรวมการนำเสนอชาร์ตสำหรับเทรดค่อนข้างจะชัดเจนและใช้ง่าย  ทุกอย่างสามารถทำได้ด้วยเม้าส์ได้หมดและจัดการผ่าน object ได้ง่ายหมด ถือว่าเป็นโปรแกรมเทรดที่นำเสนอได้ดีทั้งรูปแบบการนำเสนอชาร์ตและการจัดการการเทรด เรียบง่าย ชัดเจน ไม่มีอะไรซับช้อน แม้เรียนรู้ใหม่ก็แทบไม่ใช้เวลานาน อาจมีการใช้คำต่างออกไปอย่างสำหรับเรื่องออเดอร์ เช่น Stop เป็น Stop loss หรือ Limit เป็น Take Profit สำหรับออเดอร์ที่จะเปิดและ positions ที่เปิดอยู่แล้ว

 

ทีมงาน : thaiforexbroker.com