วิธีการช่วยกรองการเข้าเทรด
ตลาดมักจะเกิดสัญญาหลอกประจำที่พื้นที่ trade setup เกิดขึ้น อาจทำให้เทรดเดอร์ที่ไม่รู้ทันแทนที่จะได้กำไรแต่กลับเป็นราคาวิ่งไปแตะ stop loss ก่อนแล้วไปทางที่เปิดเทรด ทำให้เสียดายหรือจำต้องเปิดเพิ่มอีก เมื่อราคาวิ่งไปแล้ว false signal ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเมื่อเข้าใจตลาดเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้น เพราะการเข้าเทรดของขาใหญ่เป็นหลัก และหลักการทำงานของออเดอร์ หลักการทำกำไรและสูญเสีย
False breakout หรือ true breakout
False breakout อาจได้ยินชื่ออื่นๆ เช่น fakeout, bull/bear trap, stop run, stop hunt หรือ liquidity spike เป็นอันเดียวกัน เหตุผลหลักเพราะขาใหญ่ต้องการเข้าเทรด อาจจะเห็น Pin bar หรือ Engulfing bar เกิดประจำ ที่เทรดเดอร์รายย่อยอาจจะโดนหลอกจึงจำเป็นต้องการตัวกรองเพราะเทรดเดอร์รายย่อยขาดความอดทน เช่นเมื่อเห็น Pin bar เกิดขึ้นก็รีบเข้าเลยแทนที่ปจะปล่อยให้แท่งเทียน pin bar จบก่อน เพราะแม้ว่าราคาจะทำเทรนมาสักระยะ แต่เกิด Pin bar แต่เมื่อแท่งเทียนยังไม่จบอาจจะไม่ใช่เวลาในการเข้าเพราะขาใหญ่อาจล่า stop orders ก่อน เพราะ false breakout จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อราคาเบรค support/resistance หรือ supply/deman zone แล้วราคารีบกลับลงมาและไปทางที่ตรงข้ามกับ breakout คือถือว่า false breakout ยืนยัน ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องจำคืออย่าเทรดแท่งทียนปัจจุบันเป็น Breakout รอให้แท่งเทียนจบก่อนค่อยเทรด
หางบาร์ยาวและสั้น (long-tailed pin bar/short-tailed pin bar)
หลักการออเดอร์เบื้องต้นบอกว่า ถ้าหางบาร์ทางไหนยาวแสดงว่ามี market orders เข้ามาอย่างแรงจนเกิดหางบาร์ขึ้น ยิ่งถ้าหางบาร์ยาวยิ่งดีเพราะหมายถึงมีแต่เทรดเดอร์เทรดเปิด market orders ด้านนั้นๆ (aggressive/massive market orders ที่ทำให้ราคาวิ่งไปทางใดทางหนึ่งเพราะตอนนั้นๆ มีแต่เทรดเดอร์อยากเทรดทางนั้นสนใจแค่ market price เพราะกลัวไม่ทันเข้าเทรด กลัวพลาดโอกาสเข้าเทรด ยิ่งถ้าเป็นหางบาร์ที่เกิดที่ แนวรับ แนวต้าน ก็ยิ่งสื่อความหมายได้เยอะ หางบาร์ที่เกิดขึ้นจะเป็นตัวกรองอีกตัวที่ราคากำลังบอกว่าฝ่ายไหนชนะหรือตลาดกำลังเทรดจากฝ่ายไหนเป็นหลัก นอกจากนี้แล้ว หางบาร์ยังบอกถึงว่าราคาได้ไปเคลียร์ limit orders ที่ทางหางบาร์เกิดขึ้นด้วย การอ่านหางบาร์ต้องใช้ปริบทประกอบ แต่หางบาร์จะให้ข้อมูลจุดที่มี filled orders/unfilled orders ได้ดีด้วย
เพราะหางบาร์บอกนัยยะเรื่องออเดอร์ 2 อย่างคือเรื่องมีเทรดเดอร์เข้าเทรดจนเรียกว่าเป็น trading pressure ด้านนั้นๆ หรือเรียกว่า rejection อีกนัยหนึ่งเมื่อราคากลับมาที่ๆ ราคาเกิด rejection ที่เกิดก่อน มีการ fill ออเดอร์พื้นที่ตรงนั้นไปก่อนด้วย เลยทำให้ออเดอร์พื้นที่ตรงนั้นประเภท unfilled orders หรือ limit orders ที่รอจะเข้าตลาดเมื่อราคากลับมาอีก ลดลงไป หรือ liquidity ที่ราคานั้นๆ แถวพื้นที่นั้นลดลงไป โอกาสจะทำให้ราคาวิ่งผ่านได้ง่ายมี ดังนั้นเรื่องหางบาร์อาจจะช่วยเป็นตัวกรองได้ทั้ง 2 เรื่องคือถ้าเป็นที่ราคาเกิด rejection เช่นที่ แนวรับ หรือ แนวต้าน หรือ supply/demand zone และอีกอย่างก่อนที่ราคาจะวิ่งมาถึงจุด rejection ได้เห็นหางบาร์แทงลงไปเพื่อเคลียรออเดอร์ด้วย ยิ่งจะทำให้การเข้าเทรดที่จุด rejection เป็นไปได้สูงขึ้น
อย่าเทรดเมื่อเห็นโครงสร้างราคาไม่ชัดเจน
โครงสร้างราคาต่อ trade setup มีผลต่อความเป็นไปได้สูงของการเทรดแต่ละครั้ง เช่นอย่างตัวอย่างที่ยกมาเทรด pin bar หรือ engulfing bar ถ้าเป็นช่วงตลาดวิ่งอยู่ในกรอบไม่หลุดไปทางใดทางหนึ่ง อย่าพยายามเทรด เพราะไม่มีร่องรอยการเข้าเทรดของขาใหญ่เปิดเผยออกมาก่อน แม้ว่าจะมีรูป price action พวกนี้จะเกิดขึ้นก็ตาม แต่ละ trade setup ต้องเห็น impulsive move ก่อนที่จะเป็นส่วนประกอบหลักของแต่ละ trade setup
เข้าเทรดด้วย confirmation เป็นกรณีๆ ไป ไม่เสมอไป
แม้ว่าการเข้าเทรดที่ดีต้องการ confirmation จากรูปแบบ price action ที่เกิดขึ้นก่อนก็ตาม แต่เมื่อนึกถึงการที่ขาใหญ่เข้าเทรดจะรู้ว่าขาใหญ่เทรดไม่รอดูการยืนยัน เพราะขาใหญ่สามารถปั่นราคาได้ตามที่พวกเขาต้องการ สิ่งที่พวกเขามองคือเงื่อนไขการเข้าและออกเทรดคือ ออเดอร์ตรงข้ามที่มากพอ และมีเทรดเดอร์เกิดการสูญเสียเมื่อราคาวิ่งสวน เช่นถ้าเป็น trade setup ที่เห็นจาก D1 เป็นจุดใหญ่ ท่านอาจดูการยืนยันจาก H1 สำหรับยืนยันการเข้าเทรดเพราะระยะะที่ราคาจะวิ่งไปอีกมากและเป็นภาพใหญ่ แต่ถ้าเป็นภาพย่อยลงมาเช่น H1 ไม่จำเป็นต้องรอเพราะเมื่อเห็นโครงสร้างราคาสัมพันธ์กับ teimframe ใหญ่ เพราะการรอคือการเพิ่มความเสี่ยง (risk) และลดกำไร (reward) หรือการยืนยันการเทรด ต้องดูต้นตอนที่เป็นจุดอ้างอิงแต่ละ trade setup เพราะโครงสร้างจะต่างกันออกไป และดูเรื่อง retracement พร้อมประกอบ
สุดท้ายตัวกรองการเข้าเทรดอีกตัวคือเรื่อง confluence ที่เกิดขึ้นจุดเดียวกันประกอบด้วย เพราะ confluence บอกว่าเป็นจุดที่มี liquidity เยอะมากพอ เพราะการมีการเข้าเทรดหรือการออกเทรดเกิดขึ้นที่จุดนั้นทำให้ market orders เข้ามาเยอะ
ดังนั้นการเข้าใจโครงสร้างที่เกิดขึ้น ที่ทำให้เกิด trade setup ก่อนจะเป็นตัวช่วยตัวแรก แล้วตามด้วยตัวกรองต่างๆเพื่อ timing เหมาะสม แต่ถ้าเป็นการเทรดจากจุดอ้างอิงจาก timeframe เช่น D1 แม้ว่าจะเห็นราคาวิ่งไปบ้างแล้ว แต่ด้วยระยะที่วิ่งไปมากพอถือว่าเข้าช้าหน่อยก็ไม่กระทบแต่เน้นให้เป็นว่าเข้าเทรดช่วงต้นของสัญญาณที่เกิดขึ้นเพราะ price structure ที่เกิดขึ้นใน timeframe ย่อยเช่น H1 จะเปิดเผยให้ชัดเจน ค่อยหาสัญญาณเข้าเทรดอีกก็ได้ถ้ายังเป็นช่วงต้นของสัญญาณการเทรด
ทีมงาน : thaiforexbroker.com