ต้นทุนการเทรด Forex
ต้นทุนการเทรดคือค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เทรดเดอร์ต้องจ่ายสำหรับการเทรด ก็จะมีแบบที่เป็นเลือกได้ (optional costs) เช่น การเข้าถึงข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ บริการด้านวิเคราะห์ทาง technical analysis บริการด้าน trading signals บริการด้านการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้นในการเทรด และอีกแบบเป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกๆ เทรดเดอร์ต้องจ่าย (compulsor costs)
ทุกๆ เทรดที่ท่านเปิดเทรดกับโบรกเกอร์ที่ท่านเปิด จะมีค่าใช้จ่ายหมด หรือ comissions สำหรับเทรดที่ท่านเปิดกับโบรกเกอร์ ค่าใช้จ่ายพวกนี้ก็จะต่างกันออกไปแล้วแต่ละโบรกเกอร์และอีกอย่างค่าใช้จ่ายอยู่ที่สเปรด (spread) ส่วนมากก็จะขึ้นกับประเภทบัญชีที่ท่านเปิดเทรด เช่นประเภทบัญชีที่เรียก Fixed Spread บัญชีประเภทนี้ก็จะไม่มีค่าคอมมิสชั่น แต่ส่วนมากสเปรดระยะห่างราคา Bid และราคา Ask โดยเฉพาะก็ถือว่าค่อนข้างเยอะ เช่น EURUSD สเปรดที่ 2 pips หรือ 20 points ถ้าท่านเปิดเทรด 0.10 หรือ 100 ดอลต่อออเดอร์ท่านต้องจ่ายค่าสเปรดถึง 2 ดอลลาร์ ออเดอร์ท่านที่เปิดจะกำไรได้ก็ต่อเมื่อวิ่งไปทางที่ท่านเปิด 3 บีบขึ้นท่านค่อยจะได้กำไร 1 บีบ หรือ 1 ดอล หรืออย่างคู่อย่าง GBPJPY สเปรดสูงถึง 5-7 บีบ ของบางโบรกเกอร์ เช่น ถ้าเทรด 100 ออเดอร์ท่านต้องจ่ายต้นทุน 200 ดอลให้กับโบรกเกอร์ บัญชีประเภทนี้ก็จะมีข้อดีคือไม่ต้องกังวลเมื่อตอนมีข่าวแรงๆ สเปรดก็จะเท่าเดิมหรือแม้แต่ตอนตลาดปิดสเปรดก็จะเท่าเดิม
อีกประเภทบัญชีเทรดเป็นประเภทที่คิดค่าใช้จ่ายจากค่าคอมมิสชั่น และสเปรดแต่ละออเดอร์แต่ละคู่เงินที่ท่านเทรด ส่วนมากจะเรียกเป็นประเภทบัญชี ECN หรือ Variable Spread โดยสเปรดอาจน้อยกว่าประเภทแรก แต่เมื่อมีข่าวแรงที่กระทบต่อคู่เงินนั้นๆ อาจมีการถ่างสเปรดขึ้นมากน้อยแล้วแต่ข่าวว่าแรงขนาดไหน สเปรดก็จะเปลี่ยนแปลงตลอด และมีการถ่างสเปรดตอนปิดตลาดด้วย
อีกต้นทุนการเทรดที่จะเกิดขึ้นเมื่อท่านถืออเดอร์ข้ามวันเรียกว่า SWAP หรือการถือข้ามวันแล้วแต่คู่เงินไปที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน อาจเป็นทางที่ swap เป็นลบก็ได้แล้วแต่คู่เงินไปต้องเรียกคู่เงินนั้นๆ ขึ้นมาเพื่อดูรายละเอียด ด้วยการคลิกขวาที่คู่เงินที่ Specification ที่ Market Watch แต่ถ้าเป็นประเภทบัญชีที่เป็น Islamic Account ก็จะได้รับการยกเว้นจากโบรกเกอร์ เรื่อง swap นั้นจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ประเภทบัญชีเทรดถ้าไม่ใช่ประเภทที่เป็น Islamic Account
Swap
ประเภทที่มีการคิดค่าคอมมิสชั่นและสเปรดที่เป็นต้นทุนการเทรดมีข้อดีและข้อเสีย เช่น ต้นทุนการเทรดเฉลี่ยต่อออเดอร์ก็จะต่ำเมื่อเทียบกับประเภทแรก และบางโบรกคู่เงินหลักๆ เช่น คู่เงินที่เป็นคู่หลัก EURUSD, USDJPY, GBPUSD, AUDUSD, USDCAD, USDCHF, USDJPY สเปรดจะเห็นน้อยมาก เช่น 0.1-0.3 points ไม่ถึง 1 บีบ (10 points เท่ากับ 1 บีบ)
บัญชีเทรดประเภทที่มีค่าคอมบวกกับสเปรดก็จะเหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเปิดออเดอร์บ่อยหรือเปิดออเดอมากเป็นประจำเพราะจะช่วยลดต้นทุนการเทรดได้เยอะ แต่ต้องดูช่วงเวลาประกอบเพราะสเปรดไม่กำหนดว่าเท่าไหร่ขึ้นกับ volatility ตอนนั้นๆ ส่วนมากถ้าเป็นช่วงที่ตลาดคู่เงินนั้นๆ เปิดก็จะทำให้สเปรดน้อยลง
อีกอย่างหนึ่งอาจถือว่าเป็นต้นทุนอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้นการ requotes ตอนที่เปิดเทรดอีกราคาแต่ราคาไป fill ออเดอร์ที่ท่านเปิดเทรดอีกราคา แทนที่ท่านจะได้ราคาที่ต้องการ แต่กลับต้องห่างออกไปอีก ส่วนมากการ reqoutes เกิดจากที่ออเดอร์ฝั่งตรงข้ามไม่มากพอเพราะตัวโบรกเกอร์ที่เชื่อมต่อกับ liquidity providers ไม่มากพอเลยทำให้ต้องรอออเดอร์ตรงข้าม
หรือบางโบรกเกอร์มีทูลเสริมสำหรับโปรแกรมเทรด แต่ต้องฝากขั้นต่ำหรือเทรดขั้นต่ำเท่าไร หรือมีจำนวนปิดไม่ต่ำกว่าที่กำหนดเพราะโบรกต้องการให้เทรดเยอะๆ จะได้ค่าคอมจากการเทรด หรือบางโบรกถึงขนาดปรับลด leverage ลงอีกเมื่อตอนมีข่าวแรงๆ
ต้นทุนพวกนี้ต้องดูให้เข้ากับรูปแบบการเทรดของตัวเองเพราะต้นทุนจะเกิดขึ้นเยอะถ้าไม่เข้าใจ เช่นถ้าท่านต้องการเทรดไม่เยอะ สามารถผ่านการถือรอนานๆ ได้ ต้องการสเปรดที่ไม่เปลี่ยนไปเพราะข่าว ทางเลือกของท่านอาจเป็นบัญชีเทรดที่ fixed spread เพราะจะเสียค่าต้นทุนการเทรดแค่ค่าสเปรด ถ้ากลยุทธ์การเทรดท่านไม่ได้ถือข้ามวันก็ยิ่งดี แต่ถ้าถือข้ามวันก็ต้องดูเป็นรายๆ ไป
ตัวอย่างเปรียบเทียบดูต้นทุนการเทรดของแต่ละประเภทบัญชี แต่ละโบรกเกอร์ก็จะมีรายละเอียดให้ดูแบบนี้เป็นบื้อง ต้น ส่วนค่า swap ก็ดูรายละอียดแต่ละคู่ไป ส่วนบัญชีที่เป็น Islamic account ก็เป็นทางเลือกที่จะไม่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเรื่อง swap
ที่ Metatrader 4 การแสดงต้นทุนเทรด สามารถดูได้ที่ Terminal อย่างภาพด้านบนเป็นออเดอร์ที่เปิดไปแล้ว บัญชีเทรดเป็นแบบค่าคอมมิสชั่นและสเปรดแบบไดนามิค ต้นทุนแต่ละ trading transaction ก็จะอยู่ที่ commission, swap (ถ้าไม่ใช่บัญชีประเภท Islamic Account และออเดอร์นั้นๆ ถือข้ามคืน) และส่วนสุดท้ายสเปรดค่าคอมก็ตามที่โบรกเกอร์กำหนด ถือว่าเป็นต้นทุนแน่นอนได้ โดยขึ้นกับ lot size ประกอบกันและแต่ละคู่เงินการคิดค่าคอมก็ไม่เท่ากัน ต้องดูเป็นคู่ๆ ไป แต่ก็ไม่ต่างกันมากส่วนสเปรดเนื่องจากเป็นไดนามิก บัญชีเทรดประเภทนี้ก็จะเหมาะสำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดเยอะหลายออเดอร์ต่อวัน และให้เข้าตลาดช่วงคู่งินนั้นๆ เปิดตลาด เพราะจะทำให้คู่เงินั้นนๆ มี liquidity สูงสำหรับเทรด สเปรดก็จะน้อย ถ้าเปิดเทรดหรือจัดการผิดเวลาตลาดปิดอาจเจอการถ่างสเปรดขึ้นได้ หรืออีกอย่างเมื่อเทรดตอนข่าวแรงๆ เช่น นอนฟารม์ ก็จะเห็นการถ่างสเปรดมากเป็นประจำ ต่างจากที่เป็นบัญชีเทรดแบบ fixed spread ที่กล่าวมาตอนแรก
ทีมงาน : thaiforexbroker.com