Highlight
- คำจำกัดความของ Forex และความแตกต่างระหว่าง Forex, CFDs, Future
- บทบาทหน้าที่ของโบรกเกอร์ forex รวมไปถึงวิธีเลือกใช้โบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ
- รู้แล้วจะตกใจ เพราะ Forex ไม่ได้ผิดกฎหมาย แถมยังต้องเสียภาษีด้วย
- เริ่มเทรด Forex จะต้องรู้อะไรบ้างเนี่ย
- เทรด Forex ยังไงให้ประสบความสำเร็จ
Forex คืออะไร
ตามนิยามของ Babypips.com นั้นคำว่า Foreign exchange หรือ Forex (FX) หมายถึงตลาดที่ซื้อขายผ่านเคาน์เตอร์ (over the counter market; OTC) ทั่วโลก โดยการซื้อขาย (เทรด) เหล่านี้จะถูกดำเนินการจากธนาคาร, ผู้ให้สภาพคล่อง (Liquidity provider), และโบรกเกอร์ [1]
หากจะว่ากันง่าย ๆ ก็ คือ การซื้อขายเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคาค่าเงินครับ ซึ่งเรามักจะเห็นเทรดเดอร์เขาชอบซื้อขายกันเป็น “คู่เงิน” หรือ “Currency pair” กันใช่ไหมครับ
ตัวอย่างที่ 1: การเทรดคู่เงิน USD/CAD หมายถึง เรากำลังซื้อ U.S. dollar (USD) และขาย Canadian dollar (CAD) นั่นเอง หากยังไม่เห็นภาพ ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างง่าย ๆ อีก 1 ตัวอย่างครับ
ตัวอย่างที่ 2: การเทรดคู่เงิน USD/THB หมายความว่า เรากำลังซื้อ USD และขาย Thai Bath (THB) อยู่ หากเรามีเงิน 10 USD อยู่ในมือ เราสามารถนำไปแลกเป็นเงิน บาท ได้ที่ตู้ exchange ราว ๆ 367.26 บาท (ณ วันที่ 14-05-2024)
- Q: แล้วทำไมต้องเป็นคู่เงิน มันสามารถเป็นข้าวของอื่นได้ไหม?
- A: ได้สิครับ 😀
การเทรดไม่จำเป็นต้องใช้คู่เงินเสมอไป เราจะเทรดสินค้าอื่นก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ทองคำยังไงล่ะครับ เราจะเห็นได้ว่าสัญลักษณ์ของเขาก็คือ XAU ซึ่งจะต่อท้ายด้วยสกุลเงินต่าง ๆ ครับ หากเราจะเทรดทองคำด้วยค่าเงินบาท มันก็ควรจะเป็น XAU/THB และถ้าจะเทรดทองคำด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ สัญลักษณ์ก็ควรจะเป็น XAU/USD นั่นเองครับ
ในทำนองด้วยกันกับสินค้าอื่น ๆ ครับ จะเทรดน้ำมันด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ (US/Oil) ก็ได้ หรือจะเทรดเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐ (BTC/USD) ก็ได้ครับ หรือใครจะเทรดปลา เทรดม้า เทรดแพะ ก็สามารถทำได้ แต่อันนี้เขาคงจะทำ Chart บรรจุลงในกระดานเทรดครับ 😀
ตลาด forex มีจริงไหม แล้วมันอยู่ที่ไหน
อันนี้คือคำถามยอดฮิตของผู้เริ่มต้นจริง ๆ ครับ เพราะสมัยที่ผู้เขียนเริ่มเทรดใหม่ ๆ ก็มีความสงสัยเหมือนกัน แต่กว่าจะหาคำตอบได้ก็นานหลายเดือนอยู่ ดังนั้นผู้เขียนจะขอเล่าในแง่มุมของโครงสร้างของตลาด forex ไปเลยจะดีกว่า เพราะมันน่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ
อ้างอิงจาก Babypips.com [2] และแหล่งข้อมมูลอื่น ๆ ที่สะสมมา ตลาด forex นั้นไม่มีสถานที่จริงอยู่บนโลก เนื่องจากมันเป็นการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกันจึงทำให้ตลาด forex มีอยู่หลากหลายครับ จะเรียกว่าเป็น Decentralized markets เลยก็ว่าได้
แต่!! ตลาด forex (เทียม) ที่เป็น Contract for Differences หรือ CFDs (เดี๋ยวจะอธิบายว่า CFDs ให้ฟังในหัวข้อถัดไปครับ) เค้าก็จะใช้การอ้างอิงราคาจริง ๆ ที่มีการซื้อขายจริงบนตลาด forex นั่น ๆ มาให้เรา ๆ ชาวเทรดเดอร์เทรดอีกทีนึงครับ
ซึ่งมีโบรกเกอร์ไม่กี่ค่ายครับที่เขามีประเภทบัญชีของโบรกเกอร์ (เช่น ECN, STP) ที่จะมีการส่งคำสั่งซื้อขายจริง ๆ เข้าสู่ตลาด forex ครับ อย่างไรก็ตามเราเองก็ไม่สามารถปฏิเสธการให้บริการจากโบรกเกอร์เหล่านี้ได้ครับ เพราะเพียงการเทรดของเรานั้นมันมีปริมาณการซื้อขาย (volume) ไม่เพียงพอครับ
“เว้นซะแต่ว่าคุณจะรวยอย่าง วอเร็น บัฟเฟตต์ ที่สามารถเทรดใน volume มหาศาลได้”
ด้วยเหตุนี้เองครับโบรกเกอร์ forex จึงมีความสำคัญกับการเทรดของเรามาก ๆ และการเลือกใช้โบรกเกอร์ที่ดีก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เทรดเดอร์ประสบความสำเร็จครับ เรามาดูโครงสร้างของตลาดกันครับว่า กว่าที่คำสั่งซื้อขายของเราจะไปถึงตลาด forex จริง ๆ เป็นยังไงบ้าง
เวลาเปิดปิดของตลาด forex
อย่างที่เราได้ทราบกันครับว่า ตลาด forex ไม่มีศูนย์กลางและกระจายไปใหลายประเทศ ดังนั้นเวลาเปิดปิดของตลาด forex จึงต้องแบ่งออกไปตามโซนเวลา โดยทั่วไปตลาดจะมีวันทำการ 5 วันต่อสัปดาห์ คือ จันทร์ – ศุกร์ แล้วหยุดวันเสาร์และอาทิตย์ครับ
สิ่งที่น่าสนใจคือ ตลาด forex เปิดทำการเกือบ 24 ชั่วโมงเลย เนื่องจากตลาด forex ตั้งอยู่โซนเวลาที่ต่างกัน ซึ่งมันทำให้ครอบคลุมแทบจะทุกทวีปบนโลก และเวลาตลาดของแต่ละประเทศก็มีความเหลื่อม ๆ กันอยู่เสมอ… เดี๋ยวตลาดประเทศนั่นเปิด เดี๋ยวตลาดประเทศนั้นปิด ทำให้กลายเป็นว่าช่วงที่ forex ปิดจริง ๆ แทบจะไม่มีครับ
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เทรดเดอร์สามารถเทรด forex ได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน และมันเป็นข้อดีที่ตลาดหุ้นไม่มี ซึ่งผู้เขียนจะทำการสรุปตารางเวลาเปิด – ปิดของตลาด forex เอาไว้ให้ในรูปที่ 3 ครับ [3]
CFDs คืออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับ Forex และ Futures?
เรามาทำความรู้จักกับ CFDs กันครับ… อ้างอิงจาก babypips.com [4] และ capital.com [5] แล้วนั้น CFDs ตามคำจำกัดความ คือ อนุพันธ์ประเภทหนึ่งที่ให้ความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาของสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งพูดง่าย ๆ ก็คือ การยืมราคาของตลาด forex จริง ๆ มาให้เทรดเดอร์ทำการเทรดได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นจริง ๆ นั่นเองครับ
ข้อดีอยางหนึ่งของ CFDs สามารถลงทุนได้แม้มีเงินน้อย ๆ เพราะหลาย ๆ โบรกเกอร์จะชดเชยด้วยการให้ Leverage ที่สูงนั่นเองครับ นอกจากนี้ยังสามารถทำกำไรในช่วงที่ตลาดเป็นขาลงอีกด้วย อย่างไรก็ตามข้อเสียคือมีความเสี่ยงสูง แถมยังไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นจริง ๆ T^T
ผลิตภัณฑ์ CFDs ที่กล่าวมานั้นไม่ได้มีแค่ราคาอ้างอิงแค่ forex ที่เป็นคู่เงินเท่านั้นนะครับ แต่มันมีสินทรัพย์อื่น ๆ อีกมากมายที่คนนิยมเทรดกัน ไม่ว่าจะเป็นทองคำ เงิน ทองแดง ข้าวโพด น้ำมัน หุ้นต่าง ๆ หรือแม้แต่คริปโตเองก็มีด้วยแน่ะ
พอพูดมาถึงตรงนี้ก็อาจจะมีเทรดเดอร์บางท่านกำลังคิดว่า แล้ว CFDs มันต่างกับ Future ตรงไหน เพราะ Future เองก็มีราคาสินทรัพย์อ้างอิงเหมือนกัน
CFDs มีความแตกต่างจาก Future แน่นอนครับ เพราะ Future เป็นสัญญาที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อลดความเสี่ยงของราคาสินค้าเมื่อราคาของสินค้านั่น ๆ อยู่ในขาลง (อ่านแบบนี้แล้วอาจจะสับสน)
ยกตัวอย่างเช่น ในการซื้อหุ้น 1 ตัวเราจะสามารถทำกำไรได้ก็ต่อเมื่อเราซื้อที่ราคาถูกแล้วต้องรอให้ราคามันขึ้นไปถึงระดับนึง เมื่อเราได้กำไรถึงเป้าหมายแล้วเราจึงเทขายใช่ไหมครับ แต่หากราคามันกำลังวิ่งขึ้น แต่จู่ ๆ ก็เกิดการพักตัว หรือ การเคลื่อนไหวของราคามันดันลดลง เราก็อาจจะพลาดโอกาสทำกำไรที่ตั้งเป้าไว้
คนจึงคิดทางแก้ปัญหาขึ้น โดยสัญญา Future นี่แหละจะเป็นตัวแก้ปัญหานี้ เพราะการเทรด Future จะสามารถทำกำไรได้แม้ในช่วงขาลง (ต่างจาก CFDs แล้วนะเพราะ Future เราถือสินทรัพย์จริง ๆ ไม่ได้ใช้แค่ราคาอ้างอิง)
หลักการทำงานของมัน คือ การทำสัญญากันว่าจะส่งมอบสินค้ากัน “ในอนาคต” เช่น ตอนนี้ราคาทองคำอาจจะอยู่ที่ 2350 USD แต่ผู้เขียนคาดการณ์ว่าในอีก 3 เดือน ทองคำอาจจะราคาขึ้นไปอยู่ที่ 2450 USD ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเป็นจริงหรือป่าวเพราะมันคือการวิเคราะห์ เมื่อวิเคราะห์ได้ดังนั้น ผู้เขียนจึงทำสัญญารับซื้อทองคำกับร้านทอง ก.ไก่ ว่าอีก 3 เดือนผมจะขอซื้อทองคำในราคานี้ 2400 นะ ซึ่งมันมันเป็นจริงผมก็จะได้ราคาทองที่ถูกลง แต่ถ้าไม่เป็นจริงผมอาจจะได้ราคาทองที่แพงขึ้น ซึ่งนี่แหละครับที่เป็นการซื้อขายกันในอนาคต หรือ Future
เราจะเห็นได้ว่า Future จึงมีไวเพื่อลดความเสี่ยงของความผันผวนของราคา ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยไม่สนใจว่า ณ เวลานั้นราคาที่แท้จริงจะเป็นอย่างไรนั่นเองครับ
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียนเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง CDFs และ Futures
CFDs |
Futures |
|
ประเภทของสินทรัพย์ |
อนุพันธ์ |
อนุพันธ์ |
อนุญาตให้ทำการ Short |
อนุญาต |
อนุญาต |
อนุญาตให้ใช้ Leverage |
อนุญาต |
อนุญาต |
กรรมสิทธิ์สินทรัพย์ |
ไม่มี |
มี |
สถานที่ |
ไม่มีศูนย์กลาง |
มีตลาดหลายแห่ง |
เทรดได้ที่ไหน |
บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ |
มีสถานที่เฉพาะ |
ภาษี |
ขึ้นอยู่กับเขตอำนาจแต่ละประเทศ |
ขึ้นอยู่กับเขตอำนาจแต่ละประเทศ |
บทบาทหน้าของ Broker forex
อย่างที่ผู้เขียนได้เกริ่นเอาไว้ข้างต้นครับว่า คนธรรมดาอย่างเรา ๆ หากคิดจะเทรด forex แล้วยังไงก็ต้องได้พึ่งพาอาศัยโบรกเกอร์ครับ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับโบกรเกอร์ forex เอาไว้กันก่อนดีกว่า เพราะถ้าเลือกโบรกเกอร์ผิดชีวิตเปลี่ยน อาจจะทำให้กลยุทธ์ที่ดี ที่ทำกำไรได้กลายเป็นขาดทุนได้เลย
โบรกเกอร์ forex คือ ผู้ที่จะส่งคำสั่งซื้อขายของเราชาวเทรดเดอร์ เข้าสู่ ผู้ให้สภาพคล่อง (Liquidity provider) แล้วจึงส่งเข้าตลาด forex จริง ๆ อีกทีนึง [6]
เมื่อเราเปิดบัญชีผ่านโบรกเกอร์ ตัวของโบรกเกอร์เองจะเป็นผู้ดำเนินการส่งคำสั่งต่าง ๆ ของเราไปให้ Liquidity provider ซึ่งจะเร็วจะช้าก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์ครับ โดยโบรกเกอร์จะคิดค่าบริการได้จาก 2 อย่างหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนต่างของราคา bid-offer หรือที่เราเรียกว่า spread ครับ และอีกส่วนคือค่า commission นั่นเองครับ
นอกจากนี้โบรกเกอร์ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่ โบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งให้ตลาดจริง ๆ (No Dealing Desk; NDD) และโบรกเกอร์ที่ไม่ได้ส่งคำสั่งให้ตลาดแต่รับแทงไว้เอง (Dealing Desk; DD)
ในปัจจุบันคนนิยมเรียก NDD broker ว่าเป็นโบรกเกอร์ A-book และเรียน DD broker ว่าเป็น B-book ครับ ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนการที่เป็น B-book ไม่ได้หมายความว่าเขาจะโกงเราเสมอไป แต่มันเป็นเพียงแค่ Business model รูปแบบหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ก็มีบางโบรกเกอร์ที่เป็นแบบผสมระหว่าง A-book และ B-book ซึ่งเราจะเรียก model โบรกเกอร์ประเภทนี้ว่า Hybrid Model [7] เราลองไปดูคลิปที่ฝรั่งเขาอธิบายกันหน่อยครับว่าเขาจะมีเพิ่มเติมอะไรจากที่ผมได้กล่าวไปบ้าง
การส่งสัญญานซื้อขายของโบรกเกอร์
คราวนี้เรามาดูการส่งสัญญานซื้อขายของโบรกเกอร์แต่ละประเภทกันครับ โดยเราสามารถแบ่งได้ว่าโบรกเกอร์ A-book จะส่งสัญญานแบบ Market Execution ในขณะที่ โบรกเกอร์ B-book จะส่งสัญญาณแบบ Instant Execution ครับ [8]
Instant Execution คือ การส่งคำสั่งซื้อขายทันที่ เทรดเดอร์จะได้ราคาที่ตัวเองกดโดยไม่ต้องรอให้ราคานั้นไป Match กับราคาในตลาด (เพราะรับแทงเอง) อย่างไรก็ตามคำสั่งซื้อขายเหล่านี้มีโอกาสที่จะถูกปฏิเสธ หรือ Requote โดยโบรกเกอร์ได้ในกรณีที่ไม่มีราคาดังกล่าว
และในกรณีที่คำสั่งเกิด Requote ทางโบรกเกอร์จะส่งใบเสนอราคามาใหม่ ซึ่งมันจะเด้งมาเตือนก่อน และถ้าหากเทรดเดอร์ไม่โอเคกับราคานั้น คำสั่งแรกของเทรดเดอร์ก็จะถูกยกเลิกไปเองครับ
Market Execution คือ การส่งคำสั่งซื้อขายเข้าตลาดภายในเสี้ยววินาที การส่งคำสั่งแบบนี้จะมีถูก Requote แต่อาจจะไม่ได้ราคาตามที่เทรดเดอร์ต้องการแบบแป๊ะ ๆ เนื่องจากคำสั่งเหล่านี้จะต้องไป Match กับราคาตลาดก่อน คล้าย ๆ กับฝากเพื่อนไปซื้อขนมเลย์ 20 บาท แต่พอเพื่อนไปถึงร้านค้า ราคาเลย์กลับไม่มีราคา 20 บาท เพื่อนเลยตั้งสินใจซื้อเลย์ราคา 22 บาทมาให้เราแทน
ซึ่งข้อเสียของมันก็จะอยู่ในช่วงภาวะตลาดผันผวนนี่แหละครับ ยิ่งมีคนส่งคำสั่งซื้อขายมากราคาที่จะ Match ยิ่งมีน้อย แต่หากโบรกเกอร์ที่เทรดเดอร์ใช้ทำดีลกับ Liquidity Provider ที่ใหญ่มากพอปัญหานี้อาจจะไม่ค่อยพบมากนัก และหากโบรกเกอร์ไหนส่งคำสั่งจากเทรดเดอร์ได้ไวกว่าโบรกเกอร์อื่น คำสั่งของเทรดเดอร์ท่านนั้น ๆ ก็มีโอกาสที่จะไป Match กับคำสั่งได้ก่อนล่ะครับ
โบรกเกอร์ไหนน่าเชื่อถือ?
คำถามต่อมาคือ แล้วโบรกเกอร์ไหนบ้างล่ะ ที่เราสามารถเชื่อถือได้?? สำหรับการดูว่าโบรกเกอร์ไหนน่าเชื่อถือ เราสามารถเลือกพิจารณาได้เองครับ โดยเกณฑ์การพิจารณามีอยู่ 4-5 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่ Commission, Spread, Swap, การฝากถอนเงิน เป็นต้น
จริง ๆ แล้วถ้าจะเอาแบบลึกจริง ๆ ควรดูมากว่านี้ แต่หัวข้อนี้เราจะมาพูดกันคร่าว ๆ สัมผัสแค่ผิว ๆ… เอาล่ะ ไปดูกันครับว่าเราต้องเลือกดูประมาณไหน
Commission
ค่า commission นี้เราสามารถนำมาเปรียบเทียบระหว่างโบรกเกอร์ได้ครับว่า โบรกเกอร์ไหนเก็บแพง โบรกเกอร์ไหนเก็บถูก ซึ่งบางประเภทบัญชีของโบรกเกอร์ก็ Free commission ให้ครับ
Spread
ต่อมาให้เรามาดูที่ค่า Spread กันครับ เนื่องจากค่าตัวนี้จะมีผลต่อการเทรดอย่างมากครับ หากค่ามีมากเกินไปกำไรในการเทรดของเทรดเดอร์จะน้อยลง และบางทีมันอาจจะไปไม่ถึง Take profit ของเราก็ได้ ซึ่งเทรดเดอร์หลาย ๆ ท่านเจอเหตุการณ์นี้บ่อยครั้งครับ แทนที่จะวิ่งไปชน Take profit แต่กลับสวิงกลับไปชน Stop loss ซะงั้น
โดยค่า Spread นี้เองเราสามารถเปรียบเทียบระหว่างโบรกเกอร์กันได้เลย และ website ที่สามารถเช็คค่า Spread แบบ Real time และค่า Average spread คือ www.myfxbook.com นั่นเองครับ
Swap
ตัวนี้สำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดแบบถือยาวครับ เพราะมันคือค่าธรรมเนียมการถือครอง order ข้ามคืนครับ ซึ่งมีทั้งค่าบวก และค่าลบ โดยอันนี้เราสามารถเช็คเพื่อเปรียบเทียบระหว่างโบรกเกอรืได้ผ่าน www.myfxbook.com ได้เลยครับ
การฝากถอนเงิน
เรื่องนี้สำคัญมากครับ เพราะเราต้องไปหาอ่านรีวิวจากแหล่งต่าง ๆ ที่เขาเขียนมา ทั่งรีวิวในแง่บวกและลบ โบรกเกอร์บางค่ายกว่าจะถอนเงินออกมาได้ โคตรจะลำบาก ต้องทีเป็น 5 วัน 7 วันก็มี ซึ่งด้วยสถานการณ์การระบาดของมิจฉาชีพในไทยแล้ว มันจึงทำให้เทรดเดอร์อยากเรา ๆ เป็น โรคแพนิค (Panic) ได้ง่าย ๆ เลย
หน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex
เรามาดูส่วนที่น่าสนใจกันอีกตัวครับ นั่นก็คือ “License” หรือ “ใบอนุญาต” การเปิดโบรกเกอร์อย่างถูกต้องครับ โดยใบพวกนี้จะเป็นตัวยืนยันครับว่า นี้ไม่ใช่โบรกเกอร์เถื่อนนะ เราเป็นโบรกเกอร์ที่ได้มาตรฐานสากล หากมีโกงอะไรเทรดเดอร์สามารถนำไปแจ้งหน่วยงานที่กำกับดูแลโบรกเกอร์ได้นั่นเอง
โดยแต่ละหน่วยงานที่ดูแลกำกับโบรกเกอร์ก็จะแบ่งออกเป็นโซน ๆ ซึ่งก็ตามทวีปและภูมิภาคของโบรกเกอร์นั้น ๆ ตั้งอยู่ครับ นอกจากนี้ข้อมูลจาก investingoal.com [9] และ forexbrokers.com [10] ได้แบ่งระดับ หรือ Tier ของผู้กำกับดูแล (Regulator) ที่เชื่อถือได้ดังนี้ครับ
ตารางที่ 2 แสดงชื่อหน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ forex และระดับความน่าเชื่อถือขององค์กร
ชื่อ |
Tier |
Commodity Futures Trading Commission (CFTC) |
1 |
National Futures Association (NFA) |
1 |
Financial Conduct Authority (FCA) |
1 |
Australian Securities and Investments Commission (ASIC) |
1 |
Financial Services Agency (FSA) |
1 |
Swiss Financial Market Supervisory Authority (FINMA |
1 |
Securities and Futures Commission (SFC) |
1 |
Canadian Investment Regulatory Organization (CIRO) |
1 |
Japanese Financial Services Authority (JFSA) |
1 |
Monetary Authority of Singapore (MAS) |
1 |
Financial Markets Authority (FMA) |
1 |
Securities and Exchange Commission of Brazil |
2 |
China Banking Regulatory Commission (CBRC) |
2 |
Securities and Exchange Board of India |
2 |
Financial Services Authority of Indonesia |
2 |
Israel Securities Authority (ISA) |
2 |
Jordan Securities Commission |
2 |
Central Markets Authority (CMA) |
2 |
Securities Commission of Malaysia (SCM) |
2 |
Comisión Nacional Bancaria y de Valores (CNBV) |
2 |
Securities and Exchange Commission Philippines |
2 |
Saudi Arabian Monetary Authority (SAMA) |
2 |
Financial Sector Conduct Authority (FSCA) |
2 |
Securities and Exchange Commission (Thailand) |
2 |
Capital Markets Board |
2 |
Dubai Financial Services Authority (DFSA) |
2 |
Financial Services Regulatory Authority (FSRA) |
2 |
Securities and Commodities Authority (SCA) |
2 |
Central Bank of Argentina (BCRA) |
3 |
Bermuda Monetary Authority (BMA) |
3 |
Financial Regulatory Authority (ASFI) |
3 |
Bank of Botswana (BOB) |
3 |
Financial Market Commission (CMF) |
3 |
Financial Superintendence of Colombia (FSC) |
3 |
Central Bank of Ecuador (BCE) |
3 |
Central Bank of Guatemala |
3 |
Central Bank of Honduras |
3 |
Financial Services Commission Jamaica |
3 |
Securities and Exchange Commission of Pakistan (SECP) |
3 |
Central Bank of Paraguay (BCP) |
3 |
Superintendencia De Banca (SBS) |
3 |
Central Bank of Russia (CBR) |
3 |
Central Bank of Uruguay (BCU) |
3 |
Central Bank of Armenia (CBA) |
4 |
Securities Commission of the Bahamas (SCB) |
4 |
Financial Services Commission (FSC) |
4 |
Dutch Authority for the Financial Markets (AFM) |
4 |
BVI Financial Services Commission (FSC) |
4 |
Securities and Exchange Regulator of Cambodia (SERC) |
4 |
Cayman Islands Monetary Authority (CIMA) |
4 |
The Superintendent of Securities (SUGEVAL) |
4 |
Superintendent of Banks (SB) |
4 |
Banco Central de Reserva de El Salvador (BCR) |
4 |
The National Bank of Georgia (NBG) |
4 |
Guyana Securities Council |
4 |
Mauritius’ Financial Services Commission (FSC) |
4 |
Bank of Nicaragua (BON) |
4 |
Securities Commission of Papua New Guinea (SCPNG) |
4 |
Financial Services Authority (FSA) |
4 |
National Securities and Stock Market Commission (NSSMC) |
4 |
The Central Bank of the Republic of Uzbekistan (CBU) |
4 |
Vanuatu Financial Services Commission (VFSC) |
4 |
State Bank of Vietnam (SBV) |
4 |
ในความเป็นจริงนั้น เกณฑ์ที่ผู้เขียนได้กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงการประเมินคร่าว ๆ เท่านั้น ซึ่งเราจำเป็นที่ต้องทดลองดูความเหมาะสมเรื่องอื่น ๆ ด้วย ซึ่งมันต้องใช้เวลาและประสบการณ์พอสมควร
ดังนั้นผู้เขียนจึงอยากจะแนะนำให้ผู้อ่านลองหา รีวิวโบรกเกอร์ จากองค์กรอิสระต่าง ๆ ที่เขาได้ทำไว้ และประเมินดูว่าองค์กรดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือระดับไหน ซึ่งทางเว็บไซน์ของเราเองก็มี รีวิวโบรกเกอร์ forex เอาไว้ให้บริการแล้วเช่น ไม่ได้ขายของแต่มันดีจริง ๆ ครับ ไม่เชื่อต้องลองไปชมกันจาก Link นี้เลย !!! [Click เพื่อชมรีวิวโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ]
Forex ผิดกฎหมายจริงเหรอ?
จากประเด็นร้อนอย่าง Forex3D ทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจว่า Forex ผิดกฎหมาย แล้วทั้ง ๆ ที่มันมี Regulator กำกับดูแล แล้วมันผิดกฎหมายได้ยังไงไง? ซึ่งผู้เขียนต้องขอแบ่งเป็น กฎหมายไทย และ กฎหมายต่างประเทศ ครับ
กฎหมายในไทย
ในไทยเรา การซื้อขายค่าเงินถูกกฎหมายครับ เพราะกฎหมายให้ทำการซื้อขายค่าเงินได้เฉพาะกับผู้ที่ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. หรือ กระทรวงการคลัง ครับ ยกตัวอย่างเช่น ร้านค้าที่เขารับแลกเงินตราต่างประเทศที่เป็นเคาร์เตอร์วางอยู่ต่างสนามบิน หรือ สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ นั่นแหละครับ
เอาจริง ๆ แล้วการเทรด Forex กับผู้ค้าเหล่านี้ทำได้ก็จริงแต่เขามีกฎระเบียบที่ค่อนข้างจุกจิกมากเลยครับ
อย่างไรก็ตาม โบรกเกอร์ forex ที่เราใช้บริการอยู่ ไม่ใช่อัตราแลกเปลี่ยน หรือ สัญญาอนุพันธ์อย่าง future ครับ แต่มันเป็น CFDs ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีกฎหมายรองรับ หรือ ยังไม่มีกฎหมายครอบคลุมสัญญาที่อ้างอิงราคาสินค้ากับค่าเงินนั้น ๆ ครับ
ด้วยเหตุนี้เองกฎหมายบ้านเราจึงยังไม่มีการตีความว่าเข้าข่าผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ศาลที่ไหนก็ยังไม่มีสามารถชี้ชัดเชนว่าผิดหรือไม่ผิดกฎหมายครับ
ทั้งนี้การเทรด forex โดยอาศัยโบรกเกอร์ต่าง ๆ ไม่ได้ผิดกฎหมาย หากไม่มีการชักชวนให้ลงทุน เนื่องจากการชักชวนลงทุนนั้น เป็นเรื่องที่ Sensitive กับทาง ก.ล.ต. มาก เพราะทางหน่วยงานค่อนข้างที่จะเป็นห่วงเป็นใยประชาชนตาดำ ๆ เกรงว่าจะถูกหลอกลวงต้มตุ๋น
นอกจากนี้ท่านยังเป็นห่วงในเรื่องของการบริหารเงินและความเสี่ยง เนื่องจากโบรกเกอร์ forex ส่วนมาก เขาจะอนุญาตให้เทรดเดอร์ใช้ Leverage ที่สูงในการเทรด ซึ่งบางครั้งก็ใช้ได้มากขึ้น 1:2000 ก็มี ในขณะที่แพลตฟอร์มการลงทุนส่วนมาก เช่น พวกหุ้น จะให้ Leverage เพียง 1:1 หรือสูงสุดก็ 1:10 เท่านั้นครับ โดยผู้เขียนจะไปอธิบายถึงความเสี่ยงในการใช้ Leverage แบบละเอียดในหัวข้อถัดไปเนอะ
กฎหมายในต่างประเทศ
ด้วยเหตุผลทั้งปวงเราจะสังเกตเห็นได้ว่า โบรกเกอร์ Forex เขาจึงเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการเปิดสำนักงานในบ้านเรา เพราะไม่อยากงัดกับขาใหญ่ทั้งหลาย และหันไปเปิดสำนักงาน หรือ บริษัท ในประเทศที่เข้ามีกฎหมายรับรองครับ
นอกจากนี้เขายังมองหาประเทศที่เหมาะสมในเรื่องของการจ่ายภาษีของเขาด้วย ดังนั้นเรามักจะเห็นว่า โบรกเกอร์ forex จะไปเปิดบริษัทในแถบ ๆ British Vergin Island, Cyprus หรือพวกเกาะกวม อะไรทำนองนั้น จากนั้นจึงค่อยมาทำการตลาดในไทยเรานั่นเองครับ
ตลาด Forex มีความเสี่ยงมากกว่าตลาดหุ้นจริงเหรอ?
ถึงแม้ว่า forex จะมีการเทรดอนุพันธ์ต่าง ๆ ที่คล้ายกับตลาดหุ้น แต่สิ่งที่ ก.ล.ต. เป็นกังวลคือเรื่องการบริหารความเสี่ยงครับ เนื่องจากค่า Leverage ที่ทางโบรกเกอร์ forex ให้มานั้นถือว่ามีความเสี่ยงสูงมากเมื่อเทียบกับการเทรดหุ้น
โดยปกติ Leverage การเทรดหุ้นจะอยู่เพียง 1:1 หรือ 1:20 เป็นอย่างมาก แต่ทางโบรกเกอร์ forex กลับให้มามากถึง 1:2000 ก็มีครับ นั้นจึงทำให้มือใหม่เข้าไปเทรดบางท่านที่เทรดด้วยค่า Leverage สูงนั้น อาจจะกลายเป็นการพนัน หรือ เผลอทำ Overtrade ไปโดยไม่รู้ตัวครับ
ทำความรู้จักกับ Leverage
คำจำกัดความของ Leverage จาก Babypips.com [11] ได้ให้มาประมาณนี้ครับว่า Leverage คือ การที่เราใช้เงินของตัวเองเพียงเล็กน้อยเพื่อควบคุมเงินจำนวนที่มากขึ้น พูดง่าย ๆ ก็คือการยืมเงินของโบรกเกอร์มาเทรดนั่นแหละครับ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีเงิน 1,000 บาท เราต้องซื้อทองคำราคา 100,000 บาท โดยการเทรด หรือ การซื้อขายปกตินั้น ไม่สามารถทำได้ใช่ไหมครับ แต่สำหรับการเทรดที่มี Leverage 1:100 มันสามารถทำได้ครับ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวมันหมายความว่า ถ้าเรามีเงิน 1 บาท เราจะสามารถยืมเงินซื้อของได้ถึง 100 บาทนั่นเอง ซึ่งเงินนั้นก็เป็นเงินที่ยืมโบรกเกอร์มาใช้นั่นแหละ
ดังนั้นถ้าเราลงทุน 1,000 บาท แล้วใช้ Leverage จากทางโบรกเกอร์ 1:100 การซื้อทองคำราคา 100,000 บาทก็เป็นเรื่องปกติครับ แต่เห็นแบบนี้อย่าพึ่งดีใจไปครับ เพราะโบรกเอร์เขาก็มี Margin call ครับ
นั่นหมายความว่าตราบใดที่เมื่อเราซื้อทองคำราคา 100,000 บาทแล้ว แต่ราคาทองคำดันลดลงเหลือ 99,000 บาท (ขาดทุนไป 1,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เราลงทุนจริง) โบรกเกอร์ก็ถือว่าเราขาดทุนแบบล้างพอร์ตไปแล้ว ซึ่งก็คือโดน margin call ตามกฎระเบียบของเขา
ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของคำว่าการเทรด forex มีความเสี่ยงสูงกว่าการเทรดหุ้น และแน่นอนครับว่า ยิ่งเสี่ยงสูง ยิ่งได้กำไรกลับมาสูง (High Risk High Return) แต่มันอาจจะใช้ในกรณีที่เทรดเดอร์บริหารความเสี่ยงเป็นนะครับ ซึ่งนั้นจำเป็นต้องอาศัยการฝึกฝนนิดหน่อยครับ
ดังนั้นการเลือกค่า Leverage จึงมีความสำคัญมาก ๆ และสำหรับผู้เริ่มต้นเทรด ผู้เขียนก็อยากจะแนะนำว่าให้เลือก Leverage ที่ต่ำ ๆ อย่าง 1:100 ไม่เกิน 1:500 ครับ เนื่องจากช่วง Leverage นี้จะมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะให้เทรดเดอร์เข้าเทรดด้วย Lot ที่ใหญ่แต่ไม่ใหญ่เกินไปจนเข้าขั้น Overtrade ครับ
สำหรับผู้ที่เทรดมานานแล้ว มีกลยุทธิ์ที่สามารถเอาชนะตลาดได้ 70% ขึ้นไป การที่ใช้ Leverage สูง ๆ อย่าง 1:2000 ถือเป็นเรื่องที่ดีครับ เพราะเทรดเดอร์จะสามารถเข้าซื้อขายใน Lot สูง ๆ ได้ โดยการทำแบบนี้สามารถทำให้ได้กำไรจากการเข้าซื้อขายใน 1 ครั้งสูงมาก ๆ
ถ้ารวยจาก Forex ต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร?
ถึงแม้ว่าตอนนี้ยังมี issue ในเรื่องของกฎหมายสำหรับการเทรด forex แต่ผู้อ่านเชื่อไหมครับว่า เมื่อเรามีกำไรจากการเทรด เรายังจำเป็นที่จะต้องเสียภาษีอยู่ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ประเทศนี้ช่างขัดแย้งจริง ๆ ในเมื่อต้องเสียภาษีก็ควรจะเขียนกฎหมายมารองรับจริง ๆ ได้แล้วล่ะ หรือ ยักษ์บางตัวอาจจะไม่ได้กินเคกกันน่ะ??
เอาล่ะครับ ด้วยความที่ forex มันไม่ได้เข้าข่ายกฎหมายใด ๆ แต่ด้วยประมวลรัษฎากร (กฎหมายภาษี) แล้วนั้น ผู้ใดที่มีรายได้ประเภทใดก็ตามจำเป็นต้องเสียภาษีทั้งสิ้น เพราะเขาถือว่าเป็นหน้าที่ของประชาชน
โดยกำไรจากการเทรด เราอาจจะสามารถระบุเสียภาษีเงินได้ประเภทที่ 4 หรือ ประเภทที่ 8 อย่างใดอย่างหนึ่งครับ
“ใครบอกเงินที่ได้จากการเทรด forex เป็นเงินเทา เดี๋ยวจะตีมือให้!!”
อัตราภาษีสำหรับการเทรด Forex (บุคคลธรรมดา) ทางกรมสรรพากรเขาจะคิดแบบขั้นบันได ซึ่งผู้เขียนจะสรุปให้ในตารางที่ 3 ดังนี้ครับ
ตารางที่ 3 แสดงการคิดภาษีแบบขั้นบันไดสำหรับเทรดเดอร์
เงินได้สุทธิ | เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น | อัตราภาษี | ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้น | ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น |
0 – 150,000 | 150,000 | ได้รับการยกเว้น* | ได้รับการยกเว้น* | 0 |
เกิน 150,000 – 300,000 | 150,000 | 5 | 7,500 | 7,500 |
เกิน 300,000 – 500,000 | 200,000 | 10 | 20,000 | 27,500 |
เกิน 500,000 – 750,000 | 250,000 | 15 | 37,500 | 65,000 |
เกิน 750,000 – 1,000,000 | 250,000 | 20 | 50,000 | 115,000 |
เกิน 1,000,000 – 2,000,000 | 1,000,000 | 25 | 250,000 | 365,000 |
เกิน 2,000,000 – 5,000,000 | 3,000,000 | 30 | 900,000 | 1,265,000 |
เกิน 5,000,000 ขึ้นไป | – | 35 | – | – |
*ยกเว้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป
ระยะเวลาในการยื่นภาษี แบบฯ ภ.ง.ด.90/91 สำหรับปีภาษีดังกล่าวภายในวันที่ 31 มี.ค. ของปีถัดไป เช่น รายการเทรดทั้งหมดที่เกิดขึ้นในปี 2566 จะต้องนำไปยื่นเพื่อเสียภาษีในช่วงต้นปี 2567 [12]
จะเริ่ม Forex ควรรู้อะไรบ้าง?
เอาล่ะครับ เมื่อเราพอจะรู้จัก Forex และโบรกเกอร์ forex มาบ้างพอหอมปากหอมคอแล้ว ต่อไปเรามาดูกันดีกว่าครับว่า จะเริ่มเทรดจริง ๆ เราควรจะต้องรู้อะไรบ้าง โดยผู้เขียนจะไล่เรียงจากง่ายไปหายากให้ครับ
Lot คืออะไร
ในการเทรด forex ถือว่า Lot size เป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ เพราะหากเรากด Lot ใหญ่เกินไปสามารถทำพอร์ตแตกได้ง่าย ๆ เลยครับ ทาง Babypips.com [13] ได้ให้คำนิยามของ Lot เอาไว้ประมาณนี้ครับว่า Lot คือ ปริมาณ หรือ ขนาดของการซื้อขาย โดยจำนวนต่ำสุดของค่า Lot คือ 0.01 และบางโบรกเกอร์ให้มากสุดถึง 100 Lot ครับ
ในตลาด forex จะมีการแบ่งประเภท Lot เอาไว้ได้หลายแบบขึ้นอยู่กับประเภทบัญชีและ จำนวนหน่วย หรือ Number of units ครับ ซึ่งตัว Lot เองแบ่งได้ 4 แบบคือ Standard, Mini, Micro, Nano เป็นต้น
ตารางที่ 4 แสดงประเภท Lot และ number of units
Lot | Number of units |
Standard | 100,000 |
Mini | 10,000 |
Micro | 1,000 |
Nano (cent account) | 100 |
เราจะเห็นได้ว่า Lot ในมุมของ Forex จะมีความหมายต่างจาก ตลาดหุ้น เนื่องจาก การเทรดคู่เงินต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากเราเทรดด้วย 1 Standard Lot จะมีมูลค่าเท่ากับ 100,000 ดังนั้นเราอาจจะต้องเตรียมเงินสูงถึง 100,000 USD เลย (ใช้ Leverage 1:1)
ในทางกลับกันครับ สำหรับ forex แล้ว เราสามารถซื้อคู่เงินดังกล่าวด้วยเงินเพียง 1,000 USD เพียงเราใช้ Leverage ที่ 1:1000 ครับ
Margin และ Margin Level คืออะไร
เมื่อเราพอจะรู้เกี่ยวกับ Lot แล้ว เราจะมาดูในส่วนของ Margin และ Free margin กันต่อครับ… โดยจะมี parameters อยู่ 2 ตัวที่เราจะต้องรู้คือ Balance และ Equity ครับ
Balance คือ ยอดเงินสุทธิของเรา ซึ่งเป็นยอดเงินที่ยังไม่ได้หักค่าต่าง ๆ เช่น กำไร, ขาดทุน, commission, และ swap หรือ order ที่เรายังค้างไว้ เป็นต้นครับ
ในขณะที่ Equity คือ ยอดเงินที่แท้จริงหลังเราปิด order ที่ค้างเอาไว้ ซึ่งถ้าเรากำไร Equity ก็จะมีค่ามากกว่า Balance ในทางกลับกับ หากเราขาดทุน Equity ก็จะมีค่าน้อยกวา Balance ครับ
Margin คือ การวางเงินค้ำประกัน ซึ่งมันจะคล้าย ๆ กับ Future ที่จะต้องมีการวางเงินค้ำประกันเอาไว้นั่นแหละครับ เนื่องจากเราไม่สามารถมีเงินไปวางเต็มจำนวนเหมือนกับการซื้อหุ้น ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีเงินส่วนหนึ่งเพื่อวางค้ำประกันเอาไว้ จะมากจะน้อยก็อยู่กับค่า Leverage ของเราครับ [14]
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าราคา 100,000 บาท แต่เรามีเงิน 1,000 บาท เราควรจะใช้ Leverage 1:100 เป็นอย่างต่ำ จึงจะสามารถวางเงินค้ำประกัน (Margin) ได้ ซึ่งสมการการคำนวณ Margin คือ
Margin = ราคาสินค้า / Leverage * Lot
เมื่อเราแทนค่าจากตัวอย่างที่เรายกมาลงไปในสมการก็จะได้ดังนี้ครับ
- Margin = 100,000 / 100 * 0.1
- Margin = 100 USD
การคำนวณ Margin มีความสำคัญตรงที่ หากเรามี Margin ไม่เพียงพอ เราจะไม่สามารถเข้า Order ในจำนวน Lot ใหญ่ ๆ ได้ และหากเงินประกัน หรือ Margin มันหมดไป เรามีโอกาสที่จะถูกโบรกเกอร์บังคับปิด order ไปเลย ซึ่งนั่นหมายความว่า พอร์ตแตก ครับ
ต่อมาเรามาดูในส่วนของ Margin Level กันครับ เจ้าตัวนี้ คือ เปอร์เซ็นต์ของ Equity ที่เราจะมีเมื่อเทียบกับ Margin ที่ต้องการใช้ โดยตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าเราจะล้างพอร์ตเมื่อไหร่ หากค่านี้ต่ำกว่าค่า Stop level นั่นหมายความว่าโบรกเกอร์จะปิด order ที่ค้างอยู่ทันที T^T [15]
เสริมอีกนิดสำหรับ Free margin ครับ เจ้าตัวนี้ถ้าเราเหลือ Margin level น้อย ๆ ซึ่งค่า Free margin นี้จะอยู่ในสถานะติดลบไปจนกว่า Margin level จะเท่ากับ Stop level หรือ Margin level จะมีค่ามากกว่า 100% ครับ
Pips และ Points คืออะไร
เรื่อง Pips และ Points คือสิ่งที่ทำให้เราชาวเทรดเดอร์สับสนอยู่ไม่น้อย ซึ่งตัวผู้เขียนเองก็สับสนกับมันอยู่พักใหญ่ ๆ ดังนั้นหากท่านผู้อ่านได้อ่านแล้วยังไม่เข้าใจในทีเดียวก็ไม่ต้องแปลกใจครับ
อ้างอิงจาก Babypip.com [16] Pips คือ หน่วยวัดเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงมูลค่าระหว่าง 2 สกุลเงินครับ ยกตัวอย่างเช่น หาก EUR/USD ขยับจาก 1.1050 เป็น 1.1051 มูลค่าที่เพิ่มขึ้นจะเป็น 0.0001 USD หรือ 1 pip ครับ
ปัจจุบัน โบรกเกอร์ forex หลายแห่ง ที่เขาใช้ทศนิยม 4 ตำแหน่ง และ 2 ตำแหน่ง ซึ่งถึงว่าเป็นค่ามาตรฐาน แต่ในหลาย ๆ คู่เงินเรามักจะเห็นทศนิยม 5 ตำแหน่ง และ 3 ตำแหน่งด้วย ซึ่งค่าทศนิยมดังกล่าวก็มักจะใช้ fractional pips หรือที่เราเรียกกันว่า point หรือ pipettes ครับ โดย pips และ points จะมีความแตกต่างกันอยู่ที่ 10 เท่า
ยกตัวอย่างเช่น หาก GBP/USD ขยับจาก 1..30542 เป็น 1.30543 การขยับไป 0.00001 USD เรียกได้ว่าขยับไป 1-point เป็นต้น
วิธีคิดกำไรต่อ pips หรือ points
แล้วเราจะคิดคำนวณกำไรต่อ pips หรือ ต่อ points ยังไง? สำหรับคู่เงินหลัก (major forex) หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ลงท้ายด้วย USD เช่น EUR/USD, GBP/USD, XAUUSD, และ BTC/USD เป็นต้น ค่าเงิน 0.10 Lot เมื่อเคลื่อนไหว 1 pip จะมีค่าเท่ากับ 1 USD ใน Standard Lot (100,000)
แต่ ๆ ๆ แล้ว minor forex ล่ะ อย่างเช่นพวก EUR/JPY, USD/JPY, GBP/JPY. AUD/CAD เป็นต้น พวกนี้อ่า คิดยังไงกันนะ? ตรงนี้ต้องบอกเลยครับว่า มีวิธีคิดที่แตกต่างแน่นอน โดยจะแสดงตัวอย่างการคิดดังนี้ครับ
Pip Value = [(จำนวนหน่วยทศนิยม x Number of unit) / ราคาค่าเงิน ณ เวลาที่ใช้คำนวณ] x จำนวน Lot ที่ใช้
เมื่อ
- จำนวนหน่วยทศนิยม เป็น pip ให้ใช้ 01 แต่ถ้าเป็น point ให้ใช้ 0.001
- Number of units หากเป็น Standard Lot ให้ใช้ 100,000 แต่หากเป็น Cent ให้ใช้ 1,000 Lot
- ราคาค่าเงิน ณ เวลาที่ใช้ เช่น ตอนนั้นค่าเงิน EUR/JPY อยู่ที่ 00 ก็สามารถใช้ 125.00 ได้เลย
โจทย์ถามว่า หากเข้า Buy ด้วย 1 Lot ในคู่เงิน EUR/USD ที่มีราคาปัจจุบัน 125.00 ในบัญชี Standard หากราคาวิ่งขึ้นไป 1 pip เราจะได้กำไรเท่าไหร่? ทีนี้เราก็มาแทนค่าในสมการได้เลยครับ
Pip Value = [(0.01 x 100,000) / 125.00] x 1
ดังนั้น Pip Value จึงมีค่าเท่ากับ 8 USD นั่นเองครับ
และนี้คือความรู้พื้นฐานที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรจะรู้เอาไว้ก่อนเพื่อวางแผนเข้าเทรด มันอาจจะมีประโยชน์ในการวาง Take profit และ Stop loss รวมไปถึงการวางกลยุทธ์แบบ Grids system ในอนาคตอีกด้วย เชื่อเถอะครับว่า หากเทรดเดอร์ท่านใดมีแพลนที่จะเขียน Expert Advisors (EA) ใช้เอง ความรู้เหล่านี้อาจจะถูกขุดมาใช้งานก็ได้ครับ
แพลตฟอร์มที่ใช้เทรด Forex
ทีนี้ผู้อ่านหลายท่านอาจจะสงสัยกันแล้วว่า หากจะเริ่มเทรด forex เราควรเทรดด้วยแพลตฟอร์มไหนดี ซึ่งเอาจริง ๆ แล้วมันมีเยอะมากครับ แต่ถ้าไม่รวม Web trade ของแต่ละโบรกเกอร์แล้วก็พอจะแบ่งได้อยู่ประมาณ 4 แพลตฟอร์มหลัก ๆ ได้แก่ Metatrader, cTrader, Ninja Trader, และ Tradingview เป็นต้น
Metatrader
Metatrader เป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมของเทรดเดอร์ทั้งไทยและต่างประเทศจริง ๆ ครับ Metatrader เป็นแพลต์ฟอร์มที่ถูกพัฒนาโดย MetaQuotes ในปี 2005 ครับ ซึ่งมันไม่เพียงแต่จะทำการเทรดได้เฉพาะ forex หรือ currency pair แต่มันยังสามารถเทรดสินค้าอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ทองคำ โลหะอื่น ๆ น้ำมัน หรือพวกสกุลเงินดิจิทัล และอื่น ๆ เป็นต้น
โดย Metatrader ตัวแรกที่ออกสู่สายตาประชาชีคือ Metatrader 4 (MT4) ซึ่งมันได้รับความนิยมระดับที่โบรกเกอร์เกือบทุกโบรกเกอร์ต้องมีให้บริการในแพลตฟอร์มนี้นะครับ
MT4 สามารถใช้ได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Window และ Mac OS รวมไปถึง application บน smart phone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android และ IOS ครับ
Feature ต่าง ๆ ของ MT4 นับว่ามีประโยชน์ต่อการเทรดมากครับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน Indicators, EA, Scripts, และการวาด Object ต่าง ๆ บน Chart ของเราเป็นต้น ซึ่งผู้เขียนจะทำการอธิบายเครื่องมือเหล่านี้ในหัวข้อถัดไปครับ
ต่อมาในปี 2010 ทาง MetaQuotes ได้เล็งเห็นข้อด้อยอะไรบางอย่างของ MT4 เขาจะได้ทำการพัฒนาและปล่อย Metatrader 5 (MT5) ออกสู่ตลาดอย่างเป็นทางการ โดยเขาจะปรับปรุง Feature ต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ดีขึ้น มีการประมวลผลได้ดีขึ้น มีการแชร์ Spec คอมแบบ Network ได้ และอื่น ๆ อีกมากมาย เอาเป็นว่าขอสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบแบบคร่าว ๆ ดังนี้ครับ [17, 18, 19]
ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบ Feature ระหว่าง MT4 และ MT5
Feature | MT4 | MT5 |
ประเภท Pending order | 4 ประเภท ได้แก่
Buy stop Sell stop Buy limit Sell limit |
6 ประเภท ได้แก่
Buy stop Sell stop Buy limit Sell limit Buy stop limit Sell stop limit |
Deep markets price | ไม่มี | มี |
Time Frame | 9 | 21 |
Technical Indicators | 30 | 38 |
ปฏิทินข่าวเศรษฐกิจ | ไม่มี | มี |
Strategy Tester | Single-thread strategy tester | Multi-thread strategy tester |
Graphical Objects | 31 | 44 |
ภาษาที่ใช้เขียน EA | MQL4 | MQL5, C++ |
cTrader
cTrader คือ แพลตฟอร์มสำหรับการเทรด forex และ CFDs ที่ถูกสร้างมาในช่วงเวลาเดียวกับ MT5 โดยผู้พัฒนาคือ Spotware ซึ่งเหตุผลที่เขาสร้าง cTrader ขึ้นก็เพื่อที่จะสร้างสมดุลระหว่างฟังก์ชันการทำงานที่เรียบง่านและความซับซ้อนนั่นเอง (พูดง่าย ๆ ก็คือสร้างมาเพื่อให้ใช้ง่ายแต่ยังใช้ได้ดีกว่าของค่ายอื่น) [20]
ส่วนที่เจ๋งของมันคือ ผู้ใช้งานสามารถทำ Copytrade ได้โดยตรงเลย ซึ่งมันเป็นฟังก์ชันที่น่าสนใจเอาซะมาก ๆ ครับ เพราะมันง่ายต่อการลงทุน และสามารถสร้างรายได้ให้กับเทรดเดอร์ที่เก่ง ๆ หรือ ผู้ที่มี EA ดี ๆ อีกด้วย [21]
แต่ว่า EA ที่เขาใช้กันนี้จะไม่เหมือนกันกับที่ใช้ใน Metatrader นะครับ เนื่องจากของเขาจะพัฒนาด้วยภาษา C# API โดยให้เหตุผลว่ามันทันสมัยและพัฒนาต่อยอดได้มากกว่า ซึ่งทาง Spotware เองก็ได้ให้ใช้แบบ Open API ไปเลย [21]
ถึงแม้จะมีจุดเด่นตามที่ได้กล่าวมา แต่ปัจจุบันก็ยังมีคนนิยมใช้น้อยกว่า Metatrader ซึ่งก็จะมีเฉพาะบางโบรกเกอร์เท่านั้นที่เขาจะนำ cTrader เข้ามาใช้เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งในการเทรด และก็ถือว่า cTrader ยังคงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีในการเทรดครับ
Ninja Trader
Ninja Trader เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มสำหรับการเทรดครับ โดยตัวนี้ต้องบอกว่าเขาโดดเด่นในเรื่องของการเก็บข้อมูล Volume การซื้อขาย ซึ่งมีประโยชน์มาก ๆ สำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้ Volume เป็นกลยุทธ์ในการเทรดครับ (ใครชอบใช้ Volume profile พลาดไม่ได้เลย) อย่างไรก็ตาม Ninja trader ยังคงไม่มีเป็นที่นิยมมากนัก อาจจะเป็นเพราะ User interface ที่ดูซับซ้อนและไม่คุ้นหูคุ้นตากันซักเท่าไหร่ครับ [22]
Tradingview
Tradingview เป็นแพลตฟอร์มสำหรับเทรดบน website ซึ่งจะเรียกว่า web-trade ก็ได้ครับ โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นที่นิยมกันมาก ๆ เพราะเนื่องจากว่า User interface ทำออกมาใช้ง่ายและเป็นมิตรกับเทรดเดอร์เอามาก ๆ
ถึงแม้แพลตฟอร์มนี้พึ่งเปิดตัวในปี 2011 แต่กลับมีผู้ใช้งานจริงมากกว่า 50 ล้านคน โดยกลุ่มผู้พัฒนามีหัวหอกอยู่ 3 ท่าน ได้แก่ Stan Bokov, Denis Globa, และ Constantin Ivanov ครับ ซึ่งถือว่าทั้งสามท่านเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์เอาซะมาก ๆ เลย
Tradingview มีสินทรัพย์ให้เลือกเทรดเยอะมาก ๆ ครับ ทั้ง คู่เงิน โลหะ พลังงาน หุ้น และอื่น ๆ ที่เราจะนึกออก แต่สำหรับใครที่อยากเทรด forex นั้นอาจจะมีโบรกเกอร์ที่เข้าร่วมน้อยซักนิดนึง โดยเท่าที่นึกออกก็มี Pepperstone และ Eightcap ครับ
นอกจากที่เขาจะทำเป็น web-trade แล้ว เขายังพัฒนาให้เทรดเดอร์สามารถเทรดบนมือถือได้ง่ายด้วยการพัฒนา Application ที่สามารถใช้ได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการ Android และ IOS เลยครับ
สิ่งที่ทำให้ Tradingview มีความโดดเด่นมากขึ้นก็คือ Technical indicator ที่มีให้เลือกเยอะมากซึ่งเขาอนุญาตให้ User สามารถพัฒนา indicator ใช้กันเองได้ฟรี หรือ จะพัฒนาออกมาขายให้เทรดเดอร์ท่านอื่นด้วย
ด้วยเหตุนี้เอง มันจึงทำให้ Tradingview มีความหลากหลายในเรื่องของ indicator เอามาก ๆ ซึ่งภาษาที่เขาใช้พัฒนาคือ Pine script ครับ ยิ่งไปกว่านั้นคือเขามี Indicator ที่พัฒนาเป็น Artificial Intelligence (AI) ประเภท mechanical learning ให้เราใช้ฟรี ๆ ด้วยครับ [23]
คำสั่งพื้นฐาน
หลังจากที่เราทำได้ทำความรู้จักกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ใช้เทรดกันแล้ว เรามาดูคำสั่งขั้นพื้นฐานต่าง ๆ ที่เราจำเป็นต้องใช้ในการเทรดกันดีกว่าครับ ซึ่งในหัวข้อนี้ ผู้เขียนจะ Focus ไปที่การใช้งานบน Metatrader เป็นหลัก เนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มมาตรฐานยอดนิยมในบ้านเราครับ
ในการเทรดหุ้น เรามักจะใช้การซื้อว่า Long และใช้การขายว่า Short ในขณะที่การเทรด forex เรานิยมใช้การซื้อว่า Buy ไปเลย และใช้ Sell แทนการขายครับ แต่อันนี้ก็ไม่ได้ fix ขนาดนั้น เพราะบางครั้งเราก็สามารถใช้คำว่า Long และ Short แทนได้ครับ โดยเราจะมีให้เห็นบน Metatrader อยู่บางจุดเหมือนกัน
โดยปกติแล้วการเทรดหุ้น หรือ สินทรัพย์อื่น ๆ เราจะสามารถทำกำไรได้ต่อเมื่อเราซื้อในราคาถูกและขายในราคาแพง ซึ่งเราเรียกว่า เป็นการทำกำไรขาเดียว คือ ขา Long ในขณะที่การเทรด Forex เราสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลงครับ ด้วยเหตุการณ์เทรด Forex อาจจะทำให้รวยไวกว่าเทรดหุ้นก็เป็นได้ [24]
“อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะ งง ว่าทำไมทำกำไรขาลงได้ล่ะ?”
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนครับว่า สำหรับการเทรด Forex หรือ CFDs นั่น การที่เราเข้า Buy / Sell จะไม่ใช่การซื้อขายจริง ๆ แต่มันเป็นเพียงการเลือกทิศทาง และเป็นการเปิดสถานะไปในตัว โดยเมื่อเราต้องการที่จะปิดสถานะเราจะเรียกว่า “Close trade” หรือ “Close position” [25] และในหัวนี้ ผู้เขียนจะอธิบาย 9 คำสั่งพื้นฐาน [26] ดังนี้ครับ
Buy
- Buy คือ คำสั่งซื้อ หรือ คำสั่งที่เราคิดว่าราคาเป็นทิศทางขาขึ้น ซึ่งเมื่อกดใช้คำสั่งนี้แล้ว metatrader จะเข้า order ทันที โดยจะปิดสถานะต่อเมื่อเรากดคำสั่ง close position หรือ ราคาวิ่งไปชน stop loss หรือ take profit (อธิบายด้านล่าง) ครับ
Sell
- Sell คือ คำสั่งขาย หรือ คำสั่งที่เราคิดว่าราคาเป็นทิศทางขาลง ซึ่งเมื่อกดใช้คำสั่งนี้แล้ว metatrader จะเข้า order ทันที โดยจะปิดสถานะต่อเมื่อเรากดคำสั่ง close position หรือ ราคาวิ่งไปชน stop loss หรือ take profit
Buy stop
- Buy stop คือ คำสั่งประเภท pending order แปลว่าเป็นคำสั่งที่ส่งไว้ก่อนล่วงหน้าครับว่า ถ้าราคาวิ่งขึ้นไปถึงระดับที่เรากำหนดแล้ว ให้ทำการ Buy ขึ้นไปต่อได้เลย โดยคำสั่งนี้จะส่งไว้สูงกว่าราคาปัจจุบัน
Sell stop
- Sell stop คือ คำสั่งประเภท pending order เช่นกันครับ ซึ่งตัวนี้จะแปลว่าเป็นคำสั่งที่ส่งไว้ก่อนล่วงหน้า หากราคาวิ่งลงไปถึงระดับที่เรากำหนดแล้ว ให้ทำการ Sell ลงไปต่อได้เลย คำสั่งนี้จะส่งไว้ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน
Buy limit
- Buy limit คือ คำสั่ง pending order ที่ตรงกันข้ามกับ buy stop ครับ เพราะมันจะการส่งคำสั่งนี้ได้ก็ต่อเมื่อ คำสั่งจะต้องต่ำกว่าราคาปัจจุบัน เมื่อราคาวิ่งลงไปชนคำสั่งดังกล่าว metatrader จะเปิดสถานะ Buy ให้ทันทีครับ
Sell limit
- Sell limit คือ คำสั่งที่ pending order ที่ตรงข้ามกับ sell stop ครับ เนื่องจากมันจะส่งคำสั่งนี้ได้ก็ต่อเมื่อ คำสั่งจะต้องอยู่เหนือกว่าราคาปัจจุบัน เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปชนคำสั่งดังกล่าว metatrader จะเปิดสถานะ Sell ให้ทันทีครับ
Take Profit
- Take profit คือ จุดกำไรที่เราต้องการ ซึ่งเราสามารถกำหนดได้เลยใน metatrader โดยสามารถวัดระยะจุด Take profit (TP) กี่ pips หรือ กี่ points จากราคาเปิดสถานะ buy / sell ครับ เมื่อราคาวิ่งไปชนจุด TP แล้ว ทางซอฟแวร์จะทำการ Close position พร้อมกำไรให้เรา
- หลักการของการตั้งระยะ TP มีหลายแบบครับ ซึ่งปกติแล้วจะต้องหลักการ Risk/Reward Ratio (RRR) ในการกำหนด ซึ่ง RRR นี้เองจะเป็นสัดส่วนระหว่าง TP และ Stop loss ครับ ถ้าอัตราส่วนของ TP มีมากว่าจะทำให้การอัตราการเติบโตของพอร์ตเรามีสูงถึงแม้จะมีอัตราการชนะน้อยก็ตาม
Stop loss
- Stop loss คือ จุดขาดทุนที่เรายอมรับได้ ซึ่งเราสามารถกำหนดใน metatrader ได้เลยครับว่า เราจะยอมขาดทุนกี่ pips หรือ กี่ points เมื่อราคาวิ่งไปชนราคาที่เรากำหนดให้เป็นจุด Stop loss (SL) ตัวซอฟแวร์ก็จะทำการ Close position ให้เราทันที
- เราสามารถกำหนดจุด SL ได้หลายวิธีครับ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเอาไว้ที่ราคาเปิด หรือ ราคาปิด ของแท่งเทียนก่อนหน้า หรือ ใช้จุดใดจุดหนึ่งของ Technical indicator เป็นตัวกำหนดจุด SL หรือ แม้การใช้การผันผวนของตลาด (Volatility) เป็นตัวกำหนดจุด SL เป็นต้น
- แต่ว่าที่น่าสนใจและเหมาะมาก ๆ สำหรับผู้เริ่มต้น และ ผู้ที่เทรดมือ คือการกำหนด SL ด้วย %Risk และ Lot size ที่เราใช้นั่นเอง ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการกลับสมการของการคำนวณ Lot size Based on %Risk ครับ โดยสมการดังกล่าวคำนวณแบบนี้ครับ => SL (points) = [Balance x %Risk] / Lot size
Trailing stop
- Trailing stop คือ คำสั่งที่จะเลื่อนระดับ SL ไปเรื่อย ๆ ตามที่เรากำหนดแบบอัตโนมัติโดยที่เราไม่จำเป็นต้องมานั่งเฝ้าหน้าจอตลอดทั้งวัน (ถ้าไม่มีคำสั่งนี้เราจะต้องนั่งเลื่อน SL เอง)
- นอกจากนี้มันยังสามารถเลื่อนจุด TP ได้ด้วยนะ ซึ่งมันมีประโยชน์มาก ๆ ถ้าเราเทรดไปถูกทาง เราจะขยับ TP ห่างไปเรื่อย ๆ ได้ ในขณะที่เราจะสามารถขยับ SL ตามเพื่อกันการขาดทุนครับ
ทำความรู้จักกราฟแท่งเทียน
ความรู้นี้จะขาดไม่ได้เลยครับ เพราะไม่ว่าจะใช้แพลตฟอร์มไหนในการเทรด เราก็จำเป็นที่จะต้องใช้กราฟแท่งเทียน หรือ Candlestick Chart โดยสิ่งที่ทำให้มันเป็นนิยมมากไปทั่วโลกเนื่องจากมันดูพฤติกรรมราคาได้ง่าย, มีความตรงไปตรงมา, และสะท้อนให้เราเห็นอะไรที่สำคัญบางอย่างครับ [27]
นอกจากนี้ กราฟแท่งเทียนนี้เองที่เป็นบทฐานของข้อมูลที่เหล่านักคณิตศาสตร์ได้หยิบยกไปคำนวณเป็น technical indicator ต่าง ๆ และกลายเป็นพื้นฐานของทฤษฎีต่าง ๆ เช่น Dow theory, Elliott wave, Fibonacci, และพวก Price action หรือ Candlestick pattern รูปแบต่าง ๆ ครับ [27]
ตามข้อเท็จจริงแล้ว แท่งเทียน ที่เราเห็นนั้นมาจากราคาของสินทรัพย์ต่อหนึ่งหน่วยเวลาที่เปลี่ยนไป เมื่อเวลาผ่านไป 1 นาที เราก็จะได้ แท่งเทียนใน time frame M1 มาจำนวน 1 แท่ง และเมื่อเวลาผ่านไป 5 นาที เราก็จะได้แท่งเทียนใน time frame M1 มาจำนวน 5 แท่ง ในขณะที่ใน Time frame M5 จะได้แท่งเทียนมาจำนวน 1 แท่งครับ [27]
และมันก็จะทำงานแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนได้แท่งเทียนใน Time frame ต่าง ๆ ที่เราเห็น ๆ กันอยู่ เช่น M15, M30, H1, H4, D1, และ W เป็นต้นครับ อย่างไรก็ตาม แท่งเทียนเหล่านี้จะมีองค์ประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 ตัวได้แก่ [27]
- ราคาเปิด (Open price)
- ราคาปิด (Close price)
- ราคาสูงสุด (Highest price)
- ราคาต่ำสุด (Lowest price)
“อ้าว… แล้ว เนื้อเทียน กับ ไส้เทียน ที่เขาพูดกันคืออะไรอะ?”
คือมันอย่างงี้ครับ… เนื้อเทียน คือ ช่วงที่อยู่ระหว่าง ราคาเปิด กับ ราคาปิด ในขณะที่ ไส้เทียน หรือ ไอ่ส่วนที่มันยาว ๆ รีบ ๆ อะ มันคือ ราคาต่ำสุด กับ ราคาสูงสุด หากใครยังไม่ค่อยเข้าใจ ไปดูรูปกันครับ [27]
Tip: เทคนิคการทำความเข้าใจว่าทำไมแท่งสีเขียวจึงแสดงออกถึงขาขึ้น เพราะว่า “ราคา ณ แท่งเทียนดังกล่าวมีการปรับตัวขึ้น” นั่นเอง ซึ่งหมายความว่า ราคาปิดแท่งเทียน > ราคาเปิดแท่งเทียนครับ
ในทางตรงกันข้าม แท่งเทียนสีแดงที่แสดงออกถึงขาลง เนื่องจาก “ราคา ณ แท่งเทียนดังกล่าวมีการปรับตัวลง” ซึ่งหมายความว่า ราคาเปิดของแท่งเทียน > ราคาปิดของแท่งเทียน นั่นเองครับ
เทรด Forex อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ
เอาจริง ๆ แล้วคำว่า “ประสบความสำเร็จ” มันกว้างเอาซะมาก ๆ เพราะคนเราตั้งเป้าหมายความสำเร็จ หรือ มีมุมมองของความสำเร็จ ที่แตกต่างกันออกไป บางคนแค่มีเงินเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวเดือนละ 30,000 บาท ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ในขณะที่บางคนต้องการเงินเป็นล้าน ๆ ต่อเดือนจึงจะถือว่าประสบความสำเร็จ
ดังนั้นในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะสื่อสารความคำว่า “ความสำเร็จ” ของเทรดเดอร์ คือ การเทรดให้อยู่รอดปลอดภัยเป็นสิบ ๆ ปีโดยที่มีกินมีใช้แล้วกันครับ
การตั้ง Mindset
สิ่งแรกที่สำคัญมาก ๆ คือเรื่องของทัศนคติในการเทรดครับ เพราะมันเป็นเหมือนเข็มทิศชีวิตเทรดเดอร์เลย หากคุณเป็นคนที่ชอบเสี่ยง เทรดของคุณก็จะเป็นอีกแบบนึง แต่ถ้าคุณเป็นคนชอบความปลอดภัย การเทรดของคุณก็จะเป็นอีกแบบนึง ดังนั้นจงระมัดระวังความของคิดของตัวเองไว้ให้จงดีครับ
ลำดับต่อมาสิ่งที่คุณจะต้องทำความเข้าใจคือ “การเทรด ไม่ใช่ การพนัน” เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำพูดนี้ เราจะมีดูกันก่อนว่า การพนันคืออะไร เพราะมันสำคัญมากและต้องแยกให้ออกระหว่างการลงทุนกับการพนัน
ตามพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ไม่ได้มีการให้คำจำกัดความเอาไว้ที่ชัดเจน แต่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยการเล่นที่เป็นการพนันไว้ว่า “จะต้องมีลักษณะที่ผู้เล่นเสี่ยงต่อการได้และเสีย” [28]
แต่สำหรับผู้เขียนเองมีมุมมองประนี้ครับว่า “อะไรก็สามารถเป็นการพนันได้ แม้แต่การทำธุรกิจ เพราะหากเราทำธุรกิจใด ๆ โดยปราศจากความรู้แล้วมันจะกลายเป็นการพนันเสมอ” เพราะแม้จะการเล่น โป๊กเกอร์ เองหากเราเล่นด้วยการใช้คณิตศาสตร์คำนวณความเป็นไปได้ หรือ ความเข้าใจในเรื่องของ Law of large number หรือ ใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น Martingale strategy เป็น [29]
ด้วยเหตุนี้เองมันก็จะไม่ใช่การพนันอีกต่อไป เพราะสามารถทำนายมันได้หนิ โดยในฝั่งอเมริกาเองก็มีการแข่งขัน โป๊กเกอร์ และจัดให้เป็นกีฬาอีกด้วย [29] ลักษณะอย่างหนึ่งของการพนันที่ชัดเจน คือ “มูลค่าความคาดหวังมักจะติดลบเสมอ” เอาล่ะไปดูกันครับว่า ทำไมมันจึงเป็นแบบนั้น
มูลค่าความคาดหวัง หรือ Expected Value คือ ทฤษฎีทางสถิติที่ใช้วัดว่าผลตอบแทนของการลงทุนแบบไหนจะคุ้มค่า โดยมีองค์ประกอบหลักอยู่สองอย่าง ได้แก่
- ผลตอบแทนต่อความเสี่ยง หรือ Risk/Reward นั่นเอง
- โอกาสในการชนะ หรือ อัตราการชนะ (%winrate)
โดยทั้งสองอย่างนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อคำนวณ Expected value ให้เราได้รู้ว่าจะเป็นค่าบวกหรือลบ และประเมินว่าคุ้มค่าไหมที่จะลงทุน
ยกตัวอย่างเช่น การซื้อฉลากกินแบ่งรัฐบาล 1 ใบ โดยเราหวังว่าจะต้องถูกรางวัล เลขท้าย 3 ตัว โอเคครับเรามาวิเคราะห์กันเป็นฉาก ๆ แบบสมมุตตัวเลขง่าย ๆ ดังนี้ครับ
- เลขท้าย 3 ตัวมีเพียง 2 รางวัล ซึ่งเลขท้ายสามตัวมีทั้งหมด 1,000 เลข (เลข 000-999) ดังนั้นโอกาสที่จะถูกรางวัลคือ 2 ใน 1,000 หรือ 1% และโอกาสแพ้คือ 99.8%
- ในกรณีที่เราชนะเราจะได้กำไรหลังจากหักต้นทุน 80 บาท จึงเท่ากับ 3,920 บาท
- ในกรณีที่เราขาดทุน คือ 80 บาท
เรามาคำนวณ Expected Value กันเถอะ โดยเราจะใช้สมการทางคณิตศาสตร์ดังนี้ครับ [30]
E(X) = ∑ (xi * P(xi))
เมื่อ
- E(X) = มูลค่าความคาดหวัง (Expected value)
- xi = ค่าของผลลัพธ์ที่ i
- P(xi) = ความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ที่ i
- ∑ = ผลรวมของการคำนวณจากทุกค่า xi ที่เป็นไปได้ในเซ็ต
เรามาทำให้มันง่ายขึ้นกันเถอะ เมื่อเราแจกแจงสมการใหม่จะเป็นสมการดังนี้ครับ
Expected value = (Winrate x Profit) – (Lossrate x Loss)
เมื่อแทนตัวเลขลงไปในสมการจะได้…
- Expected value = (0.1% x 3920) – (99.8% x 80)
- Expected value = 392 – 7,984
- ดังนั้น Expected value = -7,592
เราจะสังเกตเห็นว่า มูลค่าความคาดหวังเป็น “ลบ” ซึ่งถือว่าการซื้อฉลากกินแบ่งรัฐบาลคือการพนันไปทันที
ทีนี้เราลองมาดูการเทรด Forex กันบ้างครับ หากเปรียบเทียบการซื้อฉลากกินแบ่งรัฐบาล 1 ครั้ง เท่ากับ การเข้าเทรด 1 ไม้ ต้องบอกว่าการเทรดกินขาดครับ เพราะการเทรดหนึ่งไม้ เราต้องมีการคำนวณแล้วครับว่า จะกำหนดให้มี Risk/Reward เท่าไหร่ นั่นคือรู้จุดกำไรและขาดทุนอยู่แล้ว
นอกจากนี้ มีการควบคุมความเสี่ยงของต้นทุนด้วยการคำนวณ Lot size ตาม %Risk ได้จากสามารการมาตราฐานอย่าง Lot size = [Balance x %Risk] / SL (points) [31] ซึ่งหากใครที่เทรดเป็นเขาจะทำการ Backtest เพื่อเก็บสถิติการเทรดเอาไว้พัฒนากลยุทธ์เสมอครับ
โดยสถิติการเทรดดังกล่าวจะมีระบุเอาไว้เลยครับว่า %Winrate เท่าไหร่ กำไรเท่าไหร่ ขาดทุนเท่าไหร่ ความเสี่ยงเท่าไหร่ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีค่าพารามิเตอร์เยอะมาก ๆ แต่เพียงเท่านี้ก็เพียงพอที่จะนำมาหาค่า Expected value ได้แล้วล่ะครับ
สรุปทิ้งท้าย
ผู้เขียนเชื่อว่า หลาย ๆ ท่านที่อ่านมาจนถึงย่อหน้านี้คงได้ความรู้ดี ๆ ไปไม่มาก็น้อยครับ… แต่โลกของ forex ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะในบทความหน้าเราจะไปต่อกันที่หัวข้อ “การเทรด Forex คืออะไร : สรุปภาพรวม เจาะลึกทุกแง่มุม”
โดยเราจะมาเรียนรู้สไตล์การเทรด และเรียนรู้ตัวเองว่า เราควรจะเป็นเทรดเดอร์สไตลไหน เกริ่นคร่าว ๆ ครับว่า เราจะสามารถแบ่งประเภทของนักเทรดได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ (ไม่นับรวมพวกที่ชอบใช้ EA ในการเทรด)
ซึ่ง 2 กลุ่มดังกล่าวได้แก่ 1.) เทรดเดอร์กลุ่มใช้การวิเคราะห์กราฟทางเทคนิคในการเทรดเป็นหลัก หรือ Technical Trader และ 2.) เทรดเดอร์กลุ่มที่ใช้การวิเคราะห์ข่าว หรือ ปัจจัยพื้นฐาน ในการเทรดเป็นหลัก (Fundamental Analysis)… ฟังดูน่าสนใจใช่ไหมครับ? งั้นเรามาเรียนรู้การเทรดทั้งสองแบบไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่าครับ 😀 -> [Click เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม]
อ้างอิง
- [1] https://www.babypips.com/forexpedia/forex-trading
- [2] https://www.babypips.com/learn/forex/forex-market-structure
- [3] https://www.babypips.com/tools/forex-market-hours
- [4] https://www.babypips.com/forexpedia/cfd
- [5] https://capital.com/cfds-vs-futures
- [6] https://www.babypips.com/forexpedia/broker
- [7] https://www.babypips.com/learn/forex/hybrid-forex-broker-model
- [8] https://www.earnforex.com/guides/instant-execution-market-execution/
- [9] https://investingoal.com/forex-regulation/
- [10] https://www.forexbrokers.com/trust-score
- [11] https://forums.babypips.com/t/what-is-leverage-in-forex/902191
- [12] https://www.rd.go.th/59670.html
- [13] https://www.babypips.com/learn/forex/lots-leverage-and-profit-and-loss
- [14] https://www.babypips.com/learn/forex/what-is-margin
- [15] https://www.babypips.com/learn/forex/what-is-margin-level
- [16] https://www.babypips.com/learn/forex/pips-and-pipettes
- [17] https://www.babypips.com/forexpedia/mt4
- [18] https://www.babypips.com/forexpedia/mt5
- [19] https://www.milesweb.in/blog/hosting/vps/mt4-vs-mt5/
- [20] https://www.babypips.com/forexpedia/ctrader
- [21] https://www.spotware.com/products/traders/ctrader-trading-platform-overview
- [22] https://ninjatrader.com/
- [23] https://capital.com/what-is-tradingview
- [24] https://www.axiory.com/trading-resources/basics/forex-vs-stocks
- [25] https://www.babypips.com/forexpedia/closed-position
- [26] https://www.litefinance.org/blog/for-beginners/orders-market-limit-and-stop-buy-and-sell/
- [27] https://www.jaspersoft.com/articles/what-is-a-candlestick-chart
- [28] http://report.dopa.go.th/laws/document/3/316.pdf
- [29] https://www.pokernews.com/news/2023/02/is-poker-a-sport-or-a-game-43030.htm
- [30] https://www.britannica.com/topic/expected-value
- [31] https://www.earnforex.com/guides/how-to-calculate-position-size-in-mql4/