Forex เข้าใจตลาดแบบ choppy

Forex เข้าใจตลาดแบบ choppy

เข้าใจตลาดแบบ choppy

               ตลาดเคลื่อนไหวแบบ choppy คือเป็นช่วงที่เกิด consolidation ในกรอบแคบๆ ราคาไม่ไปไหน และระยะห่างที่จะเทรดกลับตัวไปมาจากกรอบด้านบนและด้านล่างแคบเกินไปเมื่อเทียบกับสัดส่วน risk:reward ส่วนใหญ่จะเกิดหลังจากที่มีการเคลื่อนไหวแรงๆ นำหน้ามาก่อน แล้วเกิดการปิดกำไรสะสมของขาใหญ่ แล้วขาใหญ่ต้องการสะสม positions ต่อ จะถือว่าเป็นช่วงที่รายย่อยไม่ควรเทรดเพราะจะเสียเปรียบ

               แม้แต่การจะเทรดในกรอบราคายังยากเพราะกรอบราคาวิ่งขึ้นและลงน้อยไปทำให้เกิดความเสี่ยงมาก หลักการเบื้องต้นเมื่อเจอตลาดแบบนี้ ถ้ายังไม่เปิดออเดอร์เพิ่มให้รอเป็นหลัก รอให้ขาใหญ่เปิดเผยว่าสะสม positions ทางไหน อีกอย่างเมื่อมองภาพรวมของการเคลื่อนไหวราคา จะเห็นว่าโอกาสการเทรดจะเกิดขึ้นเมื่อราคาทำ impulsive move เป็นหลัก การที่ราคาวิ่งอยู่ในกรอบแคบๆ หลังจากเกิดก็พอเทรดได้ไม่เหมือนอย่าง choppy market ที่วิ่งนานเกิน

               หลักๆ ที่ทำให้ตลาดมีการเคลื่อนไหวแบบ choppy เพราะไม่มีเทรดเดอร์อยากเทรดต่อหลังจากที่ราคามาถึงจุดๆ หนึ่ง ส่วนมาหลังจากที่ราคาวิ่งมาแรงๆ สักระยะเริ่มมีการปิดกำไรของขาใหญ่ ราคาเลยย่อตัวแล้วราคาก็เด้งกลับแต่ไม่ไปต่อได้ เลยลงมาอีกก็ลงต่อไม่ได้ก็เด้งขึ้นอีกกลายเป็น consolidation แต่อยู่ในกรอบแคบๆ ทำให้ยากต่อการเทรดแม้แต่จะ scalping เก็บแค่ไม่กี่ปีบ

               แยกให้ออกว่าตลาดช่วงที่ consolidation ระยะสั้นๆ หรือ sideway ทั้งเป็นกรอบหรือเป็น channel ก็ได้ที่เกิดจากการพักตัวหลังจากเกิด momentum หรือ Impulsive move ที่เกิด เพราะเมื่อราคาเกิด impulsive move ท่านจะเห็นประจำตามด้วยราคาหยุด แล้วมีการ consolidation หรือย่อตัวลงเป็น channel แล้วไปต่อ สำคัญคือเมื่อย่อตัวแล้วราคาสามารถทำ higher high หรือ lower low ต่อได้ เพราะการเทรด high/low เดิมที่เกิดขึ้นก่อนตอนราคาทำ impulsive move สำคัญเพราะบอกว่ามีการอยากเทรดต่อ อยากดันราคาไปต่อ แต่ถ้าเทียบกับด้านบนที่เป็น choppy movement/market จุดต่างๆ หลักๆ ที่ดูง่ายสุดคือราคาไม่สามารถเบรค high หรือ low ได้ แต่วิ่งอยู่ในกรอบเรื่อยๆ ยิ่งนานยิ่งทำให้รายย่อยเทรดยาก เพราะเมื่อผ่านไปนานๆ ก็เริ่มกลายเป็นช่วงสะสม positions ที่ขาใหญ่ทะยอยเปิดออเดอร์ตรงจุดที่ต้องการก่อนที่จะดันราคาไปหลังจากมี breakout ให้เห็นอาจเป็น false breakout หรือ genuine breakout ก็ได้

               ที่เลข 1 จะเห็นว่า consolidation หลังจากเกิด impulsive move เมื่อมองจากรูปที่ปรากฏ ราคาขึ้นไปทำ higher high เมื่อเกิดแล้วหยุดแล้วตามด้วยย่อตัวลงมา แต่พอราคากลับไปราคาเบรค high ขึ้นไปต่อได้ที่เลข 2 ก็เช่นกัน หลังจากราคาทำ impulsive move แล้วขึ้นไปทำ consolidation ด้านบน พอราคากลับมาราคาก็เบรค high ไปได้แบบที่เลข 1 เหตุผลหลักๆ ที่ราคาเบรคเพราะยังมีเทรดเดอร์อยากเปิดเทรดต่อตาม impulsive move นั้นๆ แต่พอขึ้นไปด้านบนที่เป็น choppy market ราคาทำ higher high ได้ย่อตัวลงมาหน่อย แต่พอขึ้นไปราคาไม่สามารถเบรค high ได้ ลงมาก็ไม่สามารถเบรค Low ตอนที่ลงมาครั้งแรกได้ ทำไปแบบนี้หลายรอบเลยการเป็น choppy movement ไม่ไปไหน

                จะเทรดอย่างไรเมื่อตลาด choppy

               ต้องเข้าใจอะไรทำให้เกิดตลาดเป็นแบบ choppy  เพราะไม่มี sellers หรือ buyers ที่เกินกันเกิดขึ้น อยากเทรดได้เทรดแต่ราคาไม่ได้ไปไหนอยู่แถวเดิม ได้แค่ถือ positions ความเป็นไปได้จะเปิดเผยเมื่อเกิด breakout โดยเฉพาะที่เป็น false breakout เพราะบอกว่า ขาใหญ่สะสม positions ข้างในเพราะ false breakout จะเป็นความพยายามสะสม position สุดท้ายก่อนที่จะดันราคาไปทางที่เปิด positions จริงดังนั้น false breakout เลยบอกว่าขาใหญ่สะสมทางไหน

               ช่วงที่เกิด false breakout จะเรียกว่าเป็น stop run หรือช่วง manipulation จะเกิดประจำก่อนที่ราคาจะวิ่งหลุดจากกรอบตามแบบ choppy เมื่อเห็นว่ามี false breakout เกิดขึ้นมักจะตามมาด้วยการที่ราคาดันไปทางใดทางหนึ่งจริงจังแล้วต่อเนื่องตามมา จากภาพบนจนกว่าเปิด false breakout ขึ้น ตลาดค่อยเปิดเผยว่าขาใหญ่สะสม positions ทาง short positions แต่ยังไม่อาจเปิดเทรดทันที ต้องเห็นอะไรที่เป็น objective ว่ามีการเข้าเทรดจริงด้วย ด้วย market orders ที่เข้ามาตรง key change คือตรงที่บอกความชัดเจนตรงนี้ ราคาเบรคกรอบล่างของส่วนตลาดแบบ choppy ได้ด้วยบาร์ยาวๆ และเปิดล่างได้เป็นครั้งแรก นี่คือสัญญาณบอกว่า trade setup เกิดขึ้นหลังจาก choppy market

               การเปิดเทรดทั่วๆ ไป เปิดได้หมดเมื่อราคาปิดต่ำกว่าพื้นที่ได้ ด้วย key change จะเห็นว่าราคาจะลงเป็นหลัก เพราะเมื่อ false breakout เปิดเผยว่าขาใหญ่เทรดทางไหน ขาใหญ่ต้องรีบดันราคาไปต่อไม่นานหลังจากเกิด อาจรอ price action ยืนยันประกอบหรือไม่รอก็ได้แล้วแต่หลักการ เพราะราคาจะลงเป็นหลักแต่การเข้าอาจต่างจุดกันไป

               หลักการในการเทรดเป็นแบบเดียวกับ breakout เพราะหลักสำคัญของการเทรดเมื่อจะเปิดเทรดให้แน่ใจว่ามี impulsive move นำหน้า ถ้าตราบใดที่เห็น impulsive move นำหน้า ตลาดยังเปิดเผยบอกว่ายังมี market orders อยากไปทางนั้นต่อ เพราะราคายังสามารถเบรค high/low แล้วทำเทรนต่อไปได้ แต่ถ้าไม่สามารถทำเทรนต่อไปได้ ก็เข้าโหมด consolidation หรือวิ่งอยู่ในกรอบแคบๆ ตามแบบที่อธิบายมา ก็ต้องรอให้เกิด impulsive move เปิดเผยเสียก่อน

ทีมงาน : thaiforexbroker.com