พื้นฐานเทรดชาร์ตเปล่า ตอน trading transactions
แท่งเทียนบอกว่ามี trading transactions เกิดขึ้นตรงไหน เป็น filled orders ที่ได้เกิดขึ้นแล้วที่ราคาไหน เพราะเมื่อการเทรดจะเกิด transactions ได้จะต้องมีออเดอร์ 2 ส่วนทำงานด้วยกันคือ market orders ที่เกิดจากการเปิดเทรดที่ราคานั้นๆ และก็จะมีออเดอร์ตรงข้ามที่ราคานั้นๆ อยู่ หรือเรียกว่า limit orders
เช่น filled orders ที่เกิดขึ้นหรือได้กลายมาเป็น trading transactions ที่เปิดเผยทางแท่งเทียน ทำงานอย่างไรต่อ buy limit orders เป็นออเดอร์ที่รอเข้าเทรด เมื่อมีการเปิด sell market orders ที่ราคานั้นๆ ก็จะเกิดการ match-and-fill ที่ราคาขึ้น เมื่อนั้นก็กลายเป็น filled orders ได้กลายมาเป็น positions ว่าจะเป็น long หรือ short
ประเด็นคือทำไม buy limit orders อยู่ตรงนั้น ทำไมต้องการ sell market orders เพื่ออะไร จะเห็นว่าตรงที่เกิดตรงนั้นทำให้เกิดการเทรดแบบ Demand หรืออีกกลุ่มที่เห็นก่อนที่ราคามาถึงตรงนี้อีกรอบ ราคาได้อยู่แนวนี้ก่อนจะไม่สามารถผ่านลงไปได้ แต่ดันราคาขึ้นมา ก็น่าจะแบบเดียวอีก เลยเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะเปิดเทรดตามแบบทิศทางเดิมอีกรอบเลยเปิด buy limit orders แถวนั้น ดังนั้นพื้นที่ที่ราคาเคย rejection หรือ break ก็จะกลายเป็นนัยสำคัญด้านข้อมูลที่เทรดเดอร์มักจะใช้ในการวิเคราะห์ เพราะ 2 สิ่งนี้เกิดขึ้นได้นั้นก็ถือได้ว่าเป็นผลจากการตัดสินใจของเทรดเดอร์ว่าจะเทรดทางไหนแล้ว เลยมีออเดอร์เป็น market orders มากพอที่จะดันราคาไปทางนั้นๆ ได้ ณ จุดๆ นี้
สิ่งที่สำคัญที่ตามมาคือเรื่องการทำงานของออเดอร์เมื่อสัมพันธ์กับจุดที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่เกิดการ rejection หรือ break เลยทำให้เกิดแนวรับหรือแนวต้าน จากเรื่องของออเดอร์บอกไว้ว่า ราคาขึ้นหรือลงเป็นผลของการบวก-ลบกันระหว่าง sell orders และ buy orders ในที่นี้คือเมื่อ market orders ไปหา limit orders แต่ถ้า Limit orders ไม่พอ ราคาก็ไปต่อ แต่ถ้า limit orders มากพอ ราคาก็จะหยุดที่นั้นๆ ไปต่อไม่ได้
เช่น transactions ที่เกิดขึ้นที่กรอบเลข 1 2 และ 3 จะเห็นว่าผลที่เกิดตามมาคือฝ่าย sellers เป็นฝ่ายชนะ transaction ก็จะทำให้เทรดเดอร์แกะรอยได้ง่ายว่าน่าจะเทรดอ้างอิงตรงไหน และที่สำคัญคือเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาดด้วยก็จะใช้ข้อมูลร่องรอยพวกนั้นในการตัดสินใจ อย่างแรกคือการปิด take profit ของกลุ่มที่เปิดเทรด sell ordersกรอบเลข 1 2 และ 3 ในตลาดฟอเรก ไม่ว่าจะเปิดเทรดหรือจะปิดเทรด จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมีการ match-and-fill กับออเดอร์ตรงข้ามเสมอ เช่นเมื่อจะเปิด sell order จะเกิดการเทรดได้ก็ต่อเมื่อมี buy order ราคาและวอลลูมเดียวกันตรงนั้น หรือถ้าจะออกจากตลาดไม่ว่าจะกำไรหรือปิดเสีย เช่นออกจากที่เปิด sell orders (เมื่อเปิดเทรดแล้วออเดอร์ที่เปิดอยู่ในตลาดเราเรียกเป็น position ถ้าเปิด sell ก็กลายมาเป็น short position ถ้าเป็นการเปิด buy order ก็กลายมาเป็น long position) ในกรณีกรอบเลข 1 2 และ 3 ตอนนี้ราคามาถึงพื้นที่กรอบที่บอก Take Profit ก็กำไรหมด การออกจากตลาดที่ราคาไหนไม่ว่าจะการปิดกำไรหรือปิดเสียเท่ากับเปิด market order ฝั่งตรงข้ามที่เปิดเทรด ในที่นี้ก็เท่ากับเปิด Buy market orders เมื่อจะเปิดตรงนั้นด้วยคำสั่ง take profit ราคาตลาดที่วิ่งลงไปก็เป็น sell market orders ก็จะไป match-and-fill กับ take profit พวกนั้น การกระทำที่เกิดขึ้นก็จะลด sell market orders หรือที่เรียกว่าซึมซับหรือลดจำนวน sell market orders ไปในตัวด้วย
พอราคาถึงตรงกรอบพื้นที่สีเขียวแล้วตามมาด้วยราคาที่ขึ้นมาตามเส้นสีเขียว ที่มาแรกคือ จากการปิดทำกำไร เลยลด sell market orders ที่จะดันไปต่อ พอราคาไม่ลงไปต่อก็จะเปิดโอกาสให้ขาใหญ่เข้าเทรดเพราะราคาทำ consolidation ไม่ไปต่อ แล้วเด้งขึ้นทำเบรค พอราคามาถึงจุดที่มี buy limit orders อีกรอบ มองย้อนกลับมาจาก price structure ที่เกิดขึ้น จะรู้ว่าทำไม ข้อแรก ถ้าเทรดเดอร์ที่เปิด short positions กรอบ 1 2 และ 3 ถ้ายังไม่ได้กำหนด take profit แต่เห็นราคาไม่ลงไปต่อก็จะหันมาปิด ก็เท่ากับเปิด buy market orders ข้อสอง เทรดเดอร์ที่เปิดเทรดตามเทรนอีกรอบ ตอนที่ราคาขึ้นไปตรงลูกศรสีเขียวก็จะมองเป็น Lower High ก็จะเปิด sell แต่ราคาไม่สามารถเบรค low ได้ และเห็นมีหางบาร์เกิดขึ้นก็จะออก ก็เท่ากับเปิด buy market orders ที่ตรงนี้อีก ข้อสาม เทรดเดอร์ที่เห็นราคาเบรคกรอบสีเขียวด้านบนก็มองเห็นว่าเป็น demand ใหม่ที่เกิดขึ้นก็จะหาโอกาสเปิด buy ตรงนี้อีก พอราคาเบรค High ของแท่ง H4 ได้ เทรดเดอร์ที่ติดลบก็จะหันมาออกอีก
ดังนั้นจะเห็นว่า trading transaction ที่เกิดขึ้นทำให้รู้ว่ามีการเปิดเทรดตรงไหน ทั้งเทรดเดอร์ที่รอออกและเทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะใช้พื้นที่ตรงนั้นในการหาโอกาสเทรด ดังนั้นเมื่อ trading transaction ที่เกิดแล้วตามด้วยความไม่สมดุลย์อย่างแรง ยิ่งเป็นที่น่าสนใจเพราะบอกว่ามีการเข้าเทรดของขาใหญ่เพื่อต้องการจะเอาชนะ เทรดเดอร์โดยเฉพาะ trapped traders ที่ถือ positions ก็จะหาโอกาสออกและเทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะหาโอกาสเข้าแถวนี้เช่นกัน เลยทำให้กลายเป็นแนวรับ หรือแนวต้านเกิดขึ้น ตามด้วยว่าจะ rejection หรือเบรค ก็ต้องดูเรื่องออเดอร์ที่จะเกิดขึ้นประกอบอย่างที่อธิบายมา พื้นที่พวกนี้ก็เลยกลายเป็นพื้นที่ที่มี liquidity กองอยู่เยอะ
ทีมงาน : thaiforexbroker.com