Technical Analysis: Trading Central
เดี๋ยวนี้เมื่อเปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ต่างๆ โบรกมักจะมีบริการเสริมที่ให้ฟรีด้าน technical analysis หรือด้าน trade setup แต่ละวันหรือมีการอัพเดทข่าวซึ่งถือว่าไม่แปลกเพราะธุรกิจโบรกเกอร์กำลังแข่งกันหนัก จะเห็นมีโบรกเกอร์ใหม่ๆ และมีเงื่อนไขการเทรดเพื่อดึงลูกค้ามากมายออกมา การบริการ technical analysis ถือว่าเป็นบริการที่นิยมกัน เพราะจะช่วยให้เทรดเดอร์รายใหม่ๆ มีแหล่งอ้างอิงการเข้าเทรดหรือ ข้อมูลการเทรด สำหรับโบรกเกอร์เองเมื่อลูกค้าเทรดบ่อยก็มีรายได้เยอะ จากค่าคอมมิสชั่นและค่าสเปรด สำหรับลูกค้าเองเมื่อมีบริการฟรีก็ช่วยในการเทรดได้เยอะ สำหรับตลาดเองเมื่อมีการเข้าเทรดเยอะก็มีการเพิ่ม liquidity เข้าตลาดเยอะ
Trading central (www.tradingcentral.com) เป็นหนึ่งในบริษัทที่ให้บริการด้าน technical analysis และงานวิจัยตลาดและอื่นๆ ที่จะกล่าวในที่นี้เป็นเรื่อง technical analysis ที่ได้ร่วมกันกับโบรกเกอร์ต่างๆ ในที่นี้ใช้ ICMarkets ถือว่าเป็นบริการลูกของโบรกเกอร์เป็นตัวอย่าง เพื่อสำรวจดูว่า trading central มีอะไรและช่วยเทรดเดอร์อย่างไร ในที่นี้จะยกที่เป็น web version ที่สามารถเข้าได้ที่หน้าเว็บสำหรับลูกค้าเท่านั้น แต่บริการนี้น่าจะมีการร่วมมือกับโบรกเกอร์อื่นด้วย
Trading Central
เมื่อท่านคลิกก็จะมีอีกหน้าเว็บที่เกี่ยวโดยตรง
หลักๆ ในที่นี้จะอธิบายแค่ส่วนที่เกี่ยวกับ Forex เช่น USDCAD
สำหรับรายละเอียดด้าน technical analysis ตัวอย่างนั้น จะเห็นมีมาตรการใช้อินดิเคเตอร์ประกอบ Bollinger Bands, Ming Average 20, Moving Average 50, RSI พร้อมกับ MA, Ichimoku Kinko Hyo และแนวรับ-แนวต้าน เป็นตัวช่วยกำหนด pattern ต่างๆ พวกนี้แบบอัตโนมัติเมื่อได้เงื่อนไข การนำเสนอหลักๆ ก็จะเป็นชาร์ตแท่งเทียนพร้อมด้วยอินดิเคเตอร์ที่ใช้ประกอบเพื่อให้เป็นภาพ ด้านช้ายก็จะเป็นเลือกเปลี่ยน technical analysis สำหรับ timeframe อื่นๆ และด้านขวาก็จะเป็นการให้รายละเอียด technical analysis
ส่วนแรก Our preference จะบอกว่า technical analysis น่าเทรดทางไหน ในที่นี้บอกว่า long positions คือเปิด buy ตั้งแต่เหนือ 1.3415 และเป้าแรกที่ 1.3460 และต่อไปที่ 13480
Alternative scenario ทางเลือกหรือถ้าราคาวิ่งอีกทางราคาน่าจะลงไปต่อ ก็ให้เปิด sell หรือเปิด short postions เป้าแรกที่ 1.3400 และ ต่อไปที่ 1.3375
Comment ก็มีส่วนข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ technical analysis นั้นๆ
Our key levels จะเห็น level อื่นๆ ที่น่าสนใจตาม technical analysis ตอนนี้มี สำหรับ resistance หรือแนวต้าน และ supports หรือแนวรับ
ส่วนด้านล่างก็จะมีเรื่อง Alerts และรูปแบบแท่งเทียนต่างๆ ที่นิยมกัน (Japanese Candlesticks)
เมื่อมองภาพการนำเสนอข้อมูลโดยรวมถือว่าชัดเจน สามารถอ่านและเข้าใจด้วยตัวเองได้ และยังมีการวิเคราะห์ 3 timeframes หลักๆ ให้มี ชาร์ต D1, ชาร์ต M30 และชาร์ต W1 และการวิเคราะห์ก็จะต่างกันออกไป ให้ดูลูกศรที่ประกอบแต่ละชาร์ตเวลาว่าเป็นอย่างไรแล้วเปิดชาร์ตมาดูรายละเอียดอีกทีก็จะเห็นชัดเจน
อีกตัวอย่างเป็นของ EURUSD จะเห็นว่าอินดิเคเตอร์ที่ใช้เป็นตัวประกอบยังคงแบบเดิม การกำหนดเทรนด้วย Moving Average 20, Moving Average 50, และ Ichimoku Kinko Hyo ประกอบกับแนวรับแนวต้าน และตัวที่เป็น Oscillator คือใช้ RIS พร้อมทั้ง Moveraing Average ประกอบด้วย
ดังนั้นเมื่ออินดิเคเตอร์ที่ใช้ประกอบได้เงื่อนไข ตัวโปรแกรมเองก็จะวิเคราะห์ technical analysis มาให้เองแบบที่ยกตัวอย่างมา สำหรับเทรดเดอร์ข้อมูลพวกนี้ถือว่าเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเข้าเทรดได้เยอะ ถ้ายังใหม่ต่อการเทรด หรือใช้เป็นการศึกษาก็ได้ว่าเขามองด้าน technical analysis อย่างไร แต่ต้องไม่ลืมว่าการใช้ข้อมูลที่มาจากอินดิเคเตอร์ต้องใช้ให้เป็นเพราะอินดิเคเตอร์ใช้ข้อมูลจากราคาที่เกิดขึ้นแล้วเป็นหลักในการมาประมวลผล เลยมักจะได้ยินว่าข้อมูลที่มาจากอินดิเคเตอร์เป็นข้อมูลที่ล่าช้าไปบ้าง ส่วนมากเทรดเดอร์ที่ใช้เป็นจะใช้ในการยืนยัน หรือหาว่ารายย่อยจะเทรดอย่างไรในกรณีของขาใหญ่
ส่วนที่เป็นโบรกเกอร์เอง นอกจากจะถือว่าเป็นบริการเสริมช่วยลูกค้าแล้ว การนำเสนอแบบนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการสร้างรายได้กับพวกเขาด้วย เพราะข้อมูลพวกนี้ก็จะทำให้ลูกค้าอยากเทรดมากขึ้น เพราะรายได้ของโบรกเกอร์มาจากค่าคอมมิสชั่นของการเทรดและสเปรคดของแต่ละออเดอร์ที่เปิด ยิ่งเปิดเทรดเยอะพวกเขายิ่งมีรายได้เยอะ นอกจากนั้นการเทรดของรายย่อยยังเป็นการเพิ่ม liquidity เข้ากับตลาดด้วย
ส่วนขาใหญ่ เพราะเมื่อต้องการเทรดสิ่งที่พวกเขาต้องการคือ liquidity จากฝั่งตรงข้ามเมื่อมองจากส่วนนี้ ถือได้ว่า การบริการแบบนี้ขาใหญ่ก็ได้ประโยชน์เยอะมาก เพราะเมื่อพวกเขาได้ liquidity จากฝั่งตรงข้ามเพื่อเข้าเทรดแล้ว ด้วยการเทรดจำนวนที่มีวอลลูมมากพอที่จะดันราคาไปทางที่พวกเขาต้องการ พวกเขาก็จะได้เปรียบเสมอเมื่อพวกเขา fill ออเดอร์พวกเขากับ liquidity ที่มาจากรายย่อย
นอกจากนั้นแล้ว Trading Central ยังมีเวอร์ชั่นที่สำหรับ Metatrader ด้วย หลักๆ อินดิเคเตอร์ก็เสนอแบบเดียวกับที่เว็บเวอร์ชั่น แต่เป็นการใช้งานจาก Metatrader ได้เลย ก็จะการเสนอข้อมูลด้าน Analyist Views, Adaptive Candlesticsk, Adaptive Divergence Convergence (ADC)
จากที่อธิบายมา บริการเสริมตัวนี้ถือว่าช่วยได้เยอะ สำคัญว่ารู้ทันและใช้ข้อมูลที่มาจากอินดิเคเตอร์เป็นตัวกรองให้เป็น เข้าใจตลาดทำงาน เข้าใจ psychology ของเทรดเดอร์เป็นอย่างไร เข้าใจเรื่อง trading edge จะเกิดขึ้นได้อย่างไรเมื่อใช้ข้อมูลที่เทรดเดอร์อื่นๆ ใช้ เช่นเมื่อเป็น chart pattern เกิดขึ้นมักจะทำให้เกิด trading pressure เยอะที่เกิด false breakout เป็นประจำเพราะเทรดอื่นๆ รู้ ต้องรู้ทันแบบขาใหญ่เทรดใส่ trading pressure ตอนทำ false breakout เช่น เปิด sell ใส่ buying pressure และ เปิด buy ใส่ selling pressure
ทีมงาน : thaiforexbroker.com