Swing trading
ถ้าท่านไม่สนใจว่าเปิดเทรดแล้วถือรอนานวันได้ อาจตั้งแต่หลายวัน เป็นหลายอาทิตย์ หรือไม่สนใจว่าเปิดเทรดน้อยแต่เน้นกำไรแต่ละออเดอร์เยอะๆ หรือถือรอนานๆ ได้ หรือเปิดแล้วรอมีเวลาทำงานอย่างอื่นไม่ต้องมาคอยเครียดหรือกังวล รูปแบบการเทรดที่เรียกว่า swing trading อาจเป็นทางเลือกในการเทรดที่น่าสนใจ
รูปแบบการเทรดและกลยุทธ์ต่างกันออกไป เช่นที่กล่าวมามี positon trading, swing trading, day trading, และ scalp trading. ตอนนี้อาจจะเห็นพูดกันอีกอย่าง high-frequency trading เพราะความเร็วของการประมวลผลคอมพิวเตอร์และความเร็วการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เลยทำให้เกิดรูปแบบ high-frequency trading เกิดขึ้น เรื่อออเดอร์ทำงานไม่ต่างกัน รูปแบบเทรดไหนๆ ก็ทำงานเหมือนกันหมด กลยุทธ์ที่สัมพันธ์กับทุน รูปแบบการเทรดต่างหากที่สำคัญ
Swing trading เป็นการเทรดอิงความเป็นไปได้ที่เกิดจากการวิเคราะห์ swing points ของตลาด โดยสวิงพวกนี้ อาจแบ่งสวนประกอบดังนี้ the body และ the swing point (high/low)
Swing trading
การเทรดพวกนี้อย่างที่ชื่อบอกก็จะอิง swing จาก timeframe ใหญ่เป็น D1 เป็นหลักขึ้นเพราะตลาดวิ่งไม่ได้เปลี่ยนบ่อย การถือรออิงจุด swing ต่างๆ พวกนี้ด้วยการดู price action ประกอบโครงสร้าง swing เพื่อเข้าเทรดและหาจังหวะเข้าเทรดด้วย price action signal ประกอบ มีทุนที่รองรับการถือทนรอนานๆ และอดทนรอได้ กลุยทธการเทรดแบบ swing นี้เป็นที่นิยมเหมือนกัน เพราะมีเวลาทำอย่างอื่น ไม่ต้องเสี่ยงมากไปด้วยเพราะเน้นเปิดน้อยออเดอร์ แต่หวังกำไรแต่ละจุด swing ที่ยาว ใช้เวลาและความอดทนประกอบกัน หลังจากเข้าใจและอ่านชาร์ตเพื่อเทรดเป็น
การเทรด swing จะเป็นการหาโอกาสเทรดจาก major move หรือ swing body ระหว่างจุด swing high/low ของ swing body โดยการถือออเดอร์เน้นตั้งแต่หลายวันถึงหลายอาทิตย์ต่างจาก day trading เน้นการถืออเดอร์ไม่ข้ามคืน เมื่อมองเรื่องบริหารเทรดและทุนท่านจะพบว่า เนื่องจากการเทรดเน้นถือนาน เน้นสะสมกำไรยาว เมื่อเห็น trend ยืนยันชัดจาก swing point จะเป็นการเทรดน้อยด้วย
เนื่องจากเป็นการเทรดถือรอนานได้ การเทรดอิง swing ของ timeframe ใหญ่ เทรดเดอร์พวก swing traders ก็จะมองชาร์ต H4 หรือ D1 เป็นหลัก มีมอง W1 ประกอบเพื่อดูจุดอ้างอิงที่ใหญ่ เพราะ price action signals ที่เกิดกับ swing points พวกนี้ก็จะมีความเป็นไปได้สูงกว่าพวกที่เกิด timeframe เล็กๆ
อย่างต่อมา หาจุด swing points ที่เป็นจุดอ้างอิง เช่นเป็น support/resistance, supply/demand หรือ key levels จากชาร์ต D1 แล้วหา price action ประกอบเพื่อเลือกจุด ด้วยการใช้เส้นตีช่วย เช่น horizontal line, trendline หรือกรอบสำหรับจัดอ้างอิง
ส่วนการเปิดเทรดเนื่องจากเป็นการเทรดอิง timeframeใหญ่ อิงจุด swingที่ราคาสามารถเคลื่อนไปได้เยอะ เลยต้องเข้าเทรดเมื่อเห็น price action ที่บอกชัดเจนเพื่อจำกัดพื้นที่ stop loss ไม่ให้มากไป และเพิ่มความเป็นไปได้ด้วย เช่นเห็นบาร์ที่มี momentum ดีก่อนค่อยเปิดเทรด อย่าเปิดเทรดตอนที่ราคาอยู่ที่ swing point ทันทีต้องรอให้ตลาดบอกว่าข้อมูลเป็นอย่างไรกับจุด swing point นั้นๆ
อย่างจุดเลข 1 หลังจากท่านเห็น swing high ไม่ได้หมายความว่าท่านจะเปิดออเดอร์ทันที เพราะ swing trading ต้องการ capture the major move ระหว่าง swng highs/lows จึงจำเป็นที่จะต้องมั่นใจว่า ราคาจะไปทางที่ท่านเทรดด้วยการรอให้ตลาดเปิดเผยข้อมูลก่อน เพราะระยะห่างสวิงมากพอที่จะทำกำไรและไม่จำเป็นต้องเปิดหลายๆ ออเดอร์ เน้นที่เก็บยาวๆ ใช้ความอดทนและเวลา ไม่ต้องมาคอยกังวลเพราะเทรดบ่อยหรือจะโอเวอร์เทรด เพราะยิ่งท่านเทรด timeframe ใหญ่ขึ้น จำนวนออเดอร์จะน้อยลงมาเองเพราะ market signal ไม่ได้เกิดบ่อยๆ แบบเทรดใน timeframe เล็ก ท่านจะเห็นว่าราคาเบรค demand ฝั่งตรงข้ามด้วย momentum บาร์ยาวๆ และบาร์นี้สามารถปิดล่างกว่าส่วนที่เป็น body ของ demand ได้ นี่คือที่บอกว่า รอให้ตลาดเปิดเผยให้ข้อมูลก่อนค่อยเข้าเทรด
เมื่อมาเปิด H4 ที่เป็นจุดอ้างอิงในการเข้าท่านก็จะเห็นชัดเรื่อง momentum ว่าตลาดส่งสัญญาณให้สัมพันธ์ swing high ที่ต้องการเทรด
จุดที่ 2 ก็แบบเดียวกัน ราคาลงมาทำ swing low แต่ราคาอาจไปต่อก็ได้ ออเดอร์ที่เปิดเทรดที่จุด 1 ควรจะปิดตรงพื้นที่นี้หรือถ้ายังถือรอ แต่พอราคายืนยัน swing low จุดนี้ด้วย momemtum ที่ขึ้นอย่างรวดเร็ว เอาชนะพื้นที่ supply กรอบเลข 2 นี้เป็นโอกาสสุดท้ายที่ท่านจะปิดกำไร ที่เปิด short positions ลงมาจากเลข 1 เพราะตลาดให้ข้อมูลใหม่ มีการเข้าเทรดโดยขาใหญ่ เลยให้เกิด momentum เพราะมีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามมากพอที่ขาใหญ่จะเข้าเทรด พอเข้าเทรดได้ก็มีพวกเทรดเดอร์ที่เทรดตามเทรน หลังจากราคาเบรก demand ลงมากลายเป็น trapped traders พอราคาขึ้นหลังจากการเข้าเทรดของขาใหญ่ที่เกิดเป็น momentum รอราคามาเทส (ดูภาพด้านล่างประกอบ) เลยทำให่เทรดเดอร์พวก trapped traders ต้องออกจากตลาด เลยเน้นว่าต้องให้ตลาดบอกว่าจะเข้าเทรดตรงไหน
หรือถ้าการเข้าเทรดที่เลข 2 พลาดตรงที่ลูกศรแรก ยังมีโอกาสอีกรอบที่ลูกศรที่สอง
จาก 2 จุดที่ยกมา ด้วยการดู swing points จาก timeframe D1 เป็นตัวกำหนดระยะ swing high/lows และใช้ price action เพื่อดูว่าตลาดสื่อสารข้อมูลอะไรให้ จุด swing point พวกนี้เปิดโอกาสให้เทรดตอนไหน ไม่ได้เข้าเทรดตอนที่ราคาทำ swing point เลย พอเห็น momentum ที่เกิดจากการเข้าเทรด เช่นมีการเอาชนะ พื้นที่ฝั่งตรงข้ามด้วยบาร์ยาวๆและบาร์สามารถปิดล่างหรือบนได้ แสดงว่าตลาดกำลังบอกอะไรแล้ว ก็ลงไปดูที่ H4 เพื่อหาจุดอ้างอิงการเข้าเทรด ที่เหลือก็เป็นเรื่องของเวลาและความอดทน ส่วนจุดออกจากการเทรดเบื้องต้นก็เป็นจุดอ้างอิง swing point ทางที่ราคาจะวิ่งไป แต่ควรดู price action ประกอบ และดูเรื่องทางที่ราคาวิ่งไปหาจุด swing point ตรงข้ามที่เทรดไป ราคาไปได้ง่ายหรือเปล่าก็จะกำหนดทีพีที่ดีได้
จุดที่เข้าเทรด เลข 2 และ 4 ก็หลักการเดียวกัน
ภาพสุดท้ายด้านล่าง เป็นการเปิดเทรดพร้อมตำแหน่งที่จะออกเพื่อทำกำไร ที่ไม่ได้มองแค่ swing point ทางที่ราคาจะไป แต่ดู price structure ประกอบ โดยการตั้งทีพีแทนที่กำหนดแถว swing point ตรงข้าม ดูพื้นที่ๆ มีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามที่คาดว่าจะทำให้ราคาหยุดประกอบด้วย
ทีมงาน : thaiforexbroker.com