Swing high และ Swing low อย่ามองแค่รูป
เมื่อเริ่มเรียนเทรดหรือเทรดใหม่ๆ คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ swing high และ swing low ที่เทรดเดอร์อื่นๆ หรือที่มักจะอ้างในบทความที่อ่าน เพราะราคาไม่ได้วิ่งไปทางใดทางหนึ่งอย่างเดียว เช่นเมื่อเปิดชาร์ตเปล่าดู ท่านจะมองเห็นเป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวที่เป็นรูป zigzag ดังนั้นเมื่อมีการพูดถึงเรื่องการทำเทรนของราคา หรือเทรนจะเปลี่ยนก็จะได้ยินพวก swing high/swing low ประจำ
โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่เน้นเทรดรายวันแล้ว เรื่องของ swing high/swing low ให้ข้อมูลตลาดเยอะมากเพราะไม่อยากถือรอนาน และถ้าจุด swing เปลี่ยนก็จะนำมาชึ่งการตัดสินใจเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ เพราะเมื่อเข้าใจเรื่อง swing high/swing low แล้ว สามารถประยุกต์เข้ากับกลยุทธ์การเทรดได้หลายอย่าง เรื่อง swing high/swing low บอกถึงการเคลื่อนไหวราคาขึ้นหรือลงเป็นหลัก เลยใช้ได้ทุกตลาดและทุก timeframe
นิยามของลักษณะที่จะเรียก Swing High ได้คือ เมื่อราคาทำ High แล้วตามด้วย 2 บาร์ที่มี high ต่ำกว่า high ของบาร์แรก ส่วน Swing Low คือเมื่อราคาทำ Low แล้วตามด้วย 2 บาร์ที่มี low สูงกว่า low ของบาร์แรก นี่เป็นหลักการเบื้องตัน แต่ราคาเคลื่อนไหวจริงๆ มีอะไรที่ซับช้อนกว่านี้ เพราะความรู้แบบนี้เป็นความรู้ทั่วๆ ไป ท่านต้องเข้าใจว่าอะไรทำให้ะทุก ินพวก าลื่อนไหวที่เป็นรูป เกิด swing high และ swing low และทำไมเทรดเดอร์มักจะใช้เป็นตัวกำหนดเทรนในการเทรด
อะไรทำให้เกิด swing high เลข 1 – จุด swing high เป็นจุดที่ราคาทำ high และ 2 บาร์ตามมามี high ที่ต่ำกว่า ในที่นี้ถ้าเมื่อเรื่องออเดอร์จะเห็นว่าเกิดการ rejection ที่พื้นที่ตรงนี้แสดงว่ามี selling pressure เข้ามาเลยทำให้ราคาหยุดแล้วลงมาอีกด้วย คือการอธิบายแบบทั่วๆ ไป เมื่อท่านอธิบายด้วยเรื่องออเดอร์เข้ามาและการเข้าใจตลาดและเทรดเดอร์ ท่านจะพบกว่า selling trading pressure ที่ทำให้เกิด swing high เกิดจากการเข้าเทรดที่พื้นที่กรอบสีเขียวด้านล่าง ที่มี market orders มากกว่า เลยดันราคาไปหา sell limit orders ที่ราคาถัดไป หลักๆ selliing pressure ที่เข้ามาเป็นผลจากการปิดทำกำไรจากพื้นที่เปิด long positions ที่กรอบสีเขียว เพราะเมื่อจะปิดทำกำไรได้ก็ต่อเมื่อมีออเดอร์ตรงข้าม ออเดอร์ที่เข้ามาหลังจากที่ราคาเบรค แล้วดันขึ้นไปพื้นที่ทำ swing high ทำให้ขาใหญ่ที่เปิด long positions ตรงกรอบได้ buy market orders ที่พวกเขาต้องการเพื่อจะทำการปิดที่ราคาแถวนั้น มองที่ต้นตอที่ทำให้เกิด swing high จุดนี้จะเห็นว่าเป็นการเข้าเทรด เลยทำให้ swing high ตรงนี้กลายเป็นส่วนประกอบของ impulsive move ที่จะใช้ในการกำหนดเทรน เพราะ การเกิด swing high เป็นผลจากการที่ราคาเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามหรือ high ก่อนนี้แล้วไปต่อ
ผลจากการปิดเลยทำให้เลยทำให้ buy market orders ที่เปิดตามไปโดนซึบซับไป และยังจะเห็นมีพวกเทรดเดอร์ที่เทรดสวนเทรนเข้ามาด้วย เมื่อราคาไปไม่ไปต่อเทรดเดอร์เลยไม่อยากเปิด buy ต่อ เลยทำให้เทรดเดอร์ที่เปิดสวนเทรนดันราคาลงมาง่าย จนราคามาถึงจุดที่ขึ้นตอนแรกตรงที่เกิด swing low คำถามตอนที่ราคามาถึงตรงนี้คือ
คำถามแรกคือ ทำไมราคาเกิดขึ้นไปทำ swing high ได้เพราะอะไร – เพราะมีการเข้าเทรดที่กรอบสีเขียว และเป็นการพยายามดันราคาไปต่อ เลยเอาชนะกรอบสีแดง 2 กรอบลัวดันราคาขึ้นไปทำ new high เลยทำให้เกิดเป็น swing high ได้
คำถามที่สอง เทรดเดอร์กลุ่มไหนที่ทำให้เกิดได้ มีแต่ขาใหญ่ที่มีการเทรดด้วยล็อตจำนวนมากๆ พอที่จะดันราคาไปตามทางที่พวกเขาเปิดเทรดได้ เพราะขาใหญ่จะทำกำไรได้ก็ต้องมีฝ่ายที่เสียเกิดขึ้น ตรงพื้นที่สีแดงที่ราคาเอาชนะใช่ฝ่ายที่เกิดการสูญเสียหรือเปล่า
คำถามที่สาม ด้วยที่ขาใหญ่เทรดด้วยจำนวนเยอะ มักจะมีการกระจายออเดอร์ออกเพราะเข้าเทรดหลายรอบ ส่วนมากก็จะอยู่แถวพื้นที่ราคาเดียวกันหรือสูงกว่าเล็กน้อย – ถ้าการที่ราคาทำ swing hig เป็นผลการปิดสะสมกำไรบางส่วน เป็นไปได้หรือเปล่าที่จะดึงราคาลงมาเพื่อล่อให้เทรดเดอร์รายย่อยเข้าตลาดอีกเพื่อเปิดเทรดอีกรอบ เพราะถ้าจุดนั้นเป็นการเข้าเทรดของพวกเขาจริงๆ พวกเขาจะไม่ปล่อยให้ราคาเบรคลงไปได้ อย่างมากสุดก็แค่ทำ false breakout
จากคำถาม 3 ข้อที่ยกมา unfilled orders ของขาใหญ่ที่ไม่ได้เข้าตลาดรอบแรก ก็จะได้เข้าและเทรดเดอร์ที่รอเข้า โดยเฉพาะพวกเทรดตามเทรน (trend traders) ก็จะได้โอกาสเปิด buy ที่จุด swing low และเทรดเดอร์ที่เปิดสวนเทรนลงมาจากจุดบนตอนนี้กำไร ราคาไม่ไปต่อก็จะหันมาออกเป็นหลัก ดังนั้น swing low จึงมักจะเกิดขึ้นแถวจุดที่มีการอ้างอิงแบบนี้ และเห็นผลออเดอร์แบบนี้มาประกอบ unfilled ordrs หรือ buy limit orders ก็จะหยุดและซึมซับ market orders ที่ดันราคาที่ลงมา trend traders ก็จะหันมาเปิด buy market orders และเทรดเดอร์ที่เทรดสวนลงออก ก็เป็น buy market orders เลยทำให้เกิด swing low ที่ตามด้วยบาร์ที่มี low สูงขึ้นตามมาเลยทำให้ราคาขึ้นต่อได้ง่าย เมื่อราคาขึ้นมาเบรค swing high ก็เป็นการยืนยัน swing low
ทำไมเบรค swing high สำคัญ เพราะการเบรคบอกว่ายังมีเทรดเดอร์อยากเทรดต่อโดยเฉพาะขาใหญ่อยากดันราคาไปทางเทรนนั้นๆ ต่อ ถ้ามองไม่ออกย้อนกลับมาจุดที่เกิด swing high ก็เกิดการเบรค ดังนั้นเรื่อง swing high/swing low จึงสำคัญต่อการกำหนดเทรนและหาจุดเข้าเทรด อย่างที่ยกตัวอย่างมาเป็นการทำเทรนขาขึ้น สิ่งที่ต้องเห็นคือ ต้องเห็นเมื่อราคาทำ swing low แล้วราคายังต้องเบรค swing high ก่อนขึ้นไปได้ด้วย และเมื่อ swing high ใหม่เกิดขึ้นราคาย่อตัวลงมา swing low ใหม่ที่จะเกิดตามมาไม่ครวจะต่ำกว่า swing low ก่อน ส่วนมากจะอยู่ที่จุดราคาเบรค swing high ตัวก่อนขึ้นไป แต่เมื่อราคาเบรค swing low ได้แบบตามรูปสุดท้ายบอกว่าราคาจะเริ่มเปลี่ยนเทรน เพราะ impulsive move เปลี่ยนข้างก็ประยุกต์หลักการเดียวกันแต่ฝั่งตรงข้ามเท่านั้นเอง
ทีมงาน : thaiforexbroker.com