แนวรับแนวต้านอัตโนมัติกับ Support Resistance indy

แนวรับแนวต้านอัตโนมัติกับ Support Resistance indy

หลังจากที่เราพึ่งจะเรียนรู้วิธีการใช้งานการสร้างแนวรับแนวต้านกับอินดิเคเตอร์ AutoTrendChannels ไปในคราวก่อน ในวันนี้เราก็มาพบกับเครื่องมืออีกเครื่องมือหนึ่งที่มีความสามารถในการสร้างแนวรับแนวต้านอีกหนึ่งตัวที่ค่อนข้างใช้งานได้อย่างง่ายดาย ไม่แพ้กันเลยก็คือ Support Resistance indicator แต่จะมีความสามารถที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนและมีวิธีการใช้งานก็แตกต่างกันพอสมควรอีกด้วยครับ ดังนั้นแล้วผมจึงจะมานำเสนอให้ได้รับชมกันครับว่ามันจะใช้งานได้ดีกว่าอย่างไรและควรจะใช้ในสถานการณ์แบบไหนบ้าง ไปรับชมกันได้เลยครับ


Support Resistance Indicator คือ

Support/Resistance Indicator หรือ ขอเรียกสั้นๆว่า SR คือเครื่องมือช่วยเทรดชนิดหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยเหลือในการสร้าง Support / Resistance ให้เราได้แบบอัตโนมัติครับ ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์มากๆต่อนักเทรดทั้งหลายด้วยจากการวิเคราะห์ของมันค่อนข้างที่จะแม่นยำมากหากเทียบกับสายตาของตัวเองครับ ซึ่งจะแม่นยำกว่าอย่างไรนั้นผมจะขอกล่าวอย่างละเอียดในหัวข้อถัดไป และแน่นอนว่ามันเหมาะสมกับทั้งนักเทรดที่พึ่งเข้ามาในตลาดและนักเทรดมืออาชีพด้วยนั่นเอง

รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Support Resistance
รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ SupportAndResistance

โดยจากรูปภาพด้านบนจะตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ SR บนโปรแกรม MetaTrader5 โดยจะเห็นได้ว่าอินดิเคเตอร์จะสร้างเส้นแนวรับแนวต้านให้เราแบบอัตโนมัติและมีสันสันที่ค่อนข้างจะสวยงามเลยทีเดียวโดยเส้น Support&Resistance จะแตกต่างจาก AutoTrendChannels ตรงที่ว่าจะเป็นการสร้างเส้นในแนวนอนดังนั้นแล้วจึงเหมาะกับคู่เงินหรือกราฟที่อยู่ในสภาวะ Sideway เท่านั้นและวิธีการใช้งานนั้นค่อนข้างคล้ายกับ Pivot point เพียงแตกต่างกันที่ระยะของ SR นั้นจะมีระยะห่างที่มากกว่าเหมาะสำหรับการเทรดในระยะยาวนั่นเองครับ

Support Resistance Indicator เหมาะสำหรับนักเทรดแบบใด

  • SR เหมาะสำหรับนักเทรดสำหรับทุกสายเนื่องจากการตีเทรนด์แนวรับแนวต้านถือเป็นพื้นฐานของนักเทรดทุกคน
  • SR เป็นหนึ่งในตัวช่วยสำหรับมือใหม่ได้ดีเนื่องจากสามารถที่จะระบุแนวรับแนวต้านให้อัตโนมัติเพื่อให้มือใหม่เกิดความชินตาและสามารถตีแนวรับแนวต้านเองได้ในที่สุด
  • SR เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะเข้ามาเป็นตัวเปรียบเทียบแนวรับแนวต้านสำหรับนักเทรดมืออาชีพว่ามีการตีแนวรับแนวต้านต่างกันมากน้อยแค่ไหนเพื่อสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนากลยุทธิ์ของนักเทรดได้ต่อๆไป

วิธีการทำงานของอินดิเคเตอร์ SR

รูปที่ 2 วิธีการทำงานของอินดิเคเตอร์ Support Resistance
รูปที่ 2 วิธีการทำงานของอินดิเคเตอร์ SR

หลักการทำงานของอินดิเคเตอร์ตัวนี้จะอธิบายได้ค่อนข้างง่ายครับว่าเป็นการมองหาจุดสัมผัสของเส้นกราฟในแนวนอนว่าในโซนไหนจะมีจุดสัมผัสมากที่สุดจากรูปที่ปรากฎด้านบนที่หมายเลขที่ 1 เมื่อทำการคลิกที่ตัวเลขของแนวรับจะมีการปรากฎของลูกศรออกมา 22 ตัวตามหมายเลขที่ขึ้น นั่นหมายถึงมีการอ้างอิงแนวรับของจุดสัมผัสอ้างอิงมากถึง 22 จุดด้วยกันครับ ซึ่งจะแตกต่างจากสายตาของคนปกติที่มองจุดสัมผัสไม่มากถึงขนาดนี้ และนี้เป็นอีกข้อดีอีกหนึ่งข้อของอินดิเคเตอร์ SR นั่นเอง

วิธีเรียกใช้งาน และ ตั้งค่า SR อินดิเคเตอร์

อันดับแรกให้เราทำดาวน์โหลดอินดิเคเตอร์ MT4 หรือ MT5 เข้ามาติดตั้งในโฟลเดอร์ Indicator ให้เรียบร้อยก่อนเป็นอันดับแรกครับหลังจากนั้นให้กดดับเบิ้ลคลิกเพื่อใช้งาน

รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Support Resistance
รูปที่ 3 วิธีการตั้งค่าพารามิเตอร์ของ SR

จากนั้นจะเห็นว่ามีพารามิเตอร์ให้ติดตั้งมากมายครับซึ่งผมจะขออธิบายเป็นหัวข้อสำคัญได้ดังนี้

  • Level Vertical Width คือ ระดับความกว้างของโซนแนวรับและแนวต้านโดยปกติจะตั้งค่าไว้อยู่ที่ 0 ซึ่งหากปรับเยอะขึ้นก็จะมีโซนที่กว้างมากขึ้นนั่นเองครับ
  • Levels Frequency on chart คือ จำนวนความถี่ของแนวรับแนวต้าน
  • Breakout sensitivity คือ ความไวต่อการเบรคเอาท์
  • Levels Display Period คือ จำนวนแท่งเทียนที่จะนำมาคำนวน
  • Minimum touches to show คือ จำนวนลูกศรขั้นต่ำที่จะให้แสดง
  • Show touches count คือ แสดงจำนวนการสัมผัส
  • Show touches on click คือ แสดงการลูกศรเมื่อคลิกที่ตัวเลข

วิธีการใช้งาน SR เบื้องต้น

รูปที่ 4 วิธีการใช้งาน Support&Resistance เบื้องต้น
รูปที่ 4 วิธีการใช้งาน Support&Resistance เบื้องต้น

จากรูปภาพที่ปรากฎด้านบนผมจะขอแยกการอธิบายการใช้งานออกเป็นสองส่วนตามหมายเลข 1 และ 2 ตามรูปภาพด้านบนโดยหมายเลข 1 คือ การใช้งานอินดิเคเตอร์ในการดูจุดกลับตัวในโซนที่กราฟมีลักษณะ Sideway โดยเมื่อกราฟเมื่อมีการชนแนวรับแนวต้านเมื่อไรก็มักจะมีโอกาสในการกลับตัวนั่นเองครับ ต่อมา หมายเลข 2 คือ ใช้ในการดูการ Breakout จะสังเกตได้ว่าเมื่อกราฟมีการทำราคาทะลุแนวต้านและกลับลงมาเทสราคาอีกรอบนึงแล้วไม่ผ่าน จึงมีโอกาสที่กราฟมีการ Breakout ออกจากแนวรับ/แนวต้านเดิมออกไปนั่นเองครับ

เงื่อนไขการ Buy

รูปที่ 5 เงื่อนไขการ Buy SR + Stoch(14,3,3) XAUUSD H1
รูปที่ 5 เงื่อนไขการ Buy SR + Stoch(14,3,3) XAUUSD H1
  1. ทำการเรียกใช้ SR และ Stoch(14,3,3) XAUUSD H1 ออกมาและรอจนกว่าราคาจะทำการชนแนวรับ
  2. ในขณะเดียวกัน Stoch จะต้องมีค่าน้อยกว่า 20 หรือเกิดสถาวะ Over Sold จึงทำการเปิดออเดอร์ Buy
  3. ทำการ SL หรือ TP เมื่อ Stoch มีค่ามากกว่า 80

เงื่อนไขการ Sell

รูปที่  6 Sell SR + Stoch(14,3,3) XAUUSD H1
รูปที่  6 Sell SR + Stoch(14,3,3) XAUUSD H1
  1. ทำการเรียกใช้ SR และ Stoch(14,3,3) XAUUSD H1 ออกมาและรอจนกว่าราคาจะทำการชนแนวต้าน
  2. ในขณะเดียวกัน Stoch จะต้องมีค่ามากกว่า 80 หรือเกิดสถาวะ Over Bought จึงทำการเปิดออเดอร์ Sell
  3. ทำการ SL หรือ TP เมื่อ Stoch มีค่าน้อยกว่า 20

สรุป

SR คืออินดิเคเตอร์หนึ่งที่มีความสามารถในการเพิ่มแนวรับและแนวต้านในแนวนอนให้เราโดยอัตโนมัติโดยมีการนำข้อมูลของของราคาที่มีจุดสัมผัสกับเส้นแนวนอนมากที่สุดมาเป็นแนวรับและแนวต้านสำคัญ ซึ่งค่อนข้างแม่นยำกว่าการใช้สายตามองเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นการกรองในจุดที่มีการสัมผัสมากมาที่สุดมาใช้ ทั้งนี้แน่นอนว่าสามารถนำไปใช้ควบคู่กับอินดิเคเตอร์และกลยุทธิ์ต่างๆได้อย่างง่ายได้เนื่องจากแนวรับแนวต้านนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญของนักเทรดทุกคนนั่นเองครับ

แต่อย่างไรก็ตามครับอินดิเคเตอร์นี้คาดว่าจะเหมาะสมกับกราฟหรือคู่เงินที่มีสถาวะเป็น Sideway มากกว่ากว่าการเป็นเทรนด์ ดังนั้นแล้วเราควรพิจารณาองค์ประกอบหลายๆอย่างก่อนใช้งานทุกครั้งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเทรดของเราเป็นอย่างมากนั่นเอง