แนวรับ และแนวต้าน
การเทรดด้วยวิธีการใช้ แนวรับ (support) และแนวต้าน (resistance) เป็นวิธีที่นิยมกันมากสุดก็ว่าได้ ความสามารถในการลากเส้นแนววรับแนวต้านเป็นทักษะจำเป็นสำหรับเทรดเดอร์ แต่การลากแนวรับแนวต้านต้องเกิดจากความเข้าใจก่อนว่าแนวรับแนวต้านพวกนี้เกิดขึ้นได้อย่าไร ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังแนวรับแนวต้านคืออะไร
แนวรับ แนวต้าน เป็น price level หรือ price zone ที่ราคาได้แสดงการโต้ตอบบนชาร์ต เช่นอาจเป็นที่จุด major swing ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นราคาได้เด้งจากไปตรงนั้นหรือ เริ่มเทรนใหม่ตรงนั้น ดังนั้นการมองหา หรือลากเส้นแนวรับ แนวต้าน อย่างแรกท่านต้องมองหาจุดที่ราคามาเทสอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยราคาจะเด้งหรือเบรคก็แล้วแต่
ตรงจุดที่ราคากลับมาเทสบางเทรดเดอร์มองเป็น demand/supply zone แต่หากมองรายละเอียด supply/demand zone และ support/resistance ท่านจะพบว่าต่างกัน supply/demand zone เราต้องการเน้นว่ามี unfilled orders กองกันอยู่เยอะแถวพื้นที่นั้นๆ ที่เรียกว่า Supply/Demand base ส่วนการมอง support/resistance level จะมอง level นั้นๆ ว่าราคาได้กลับมาเทสที่จุดนั้นๆ อย่างน้อย 1 ครั้งและราคาไม่สามารถไปต่อได้
อีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ท่านลากเส้น แนวรับ แนวต้านได้เร็วคือใช้ round numbers ประกอบกับคู่เงินที่ท่านเทรด ถ้าท่านเข้าใจหลักการอ้างอิงแบบ แนวรับ แนวต้าน
อย่างแรกที่ท่านต้องเข้าใจเมื่อลากเส้น แนวรับ แนวต้าน ที่อิงจากจุดราคาโต้ตอบอย่างน้อย 1 ครั้ง ท่านต้องเข้าใจเรื่องออเดอร์ และการเทรด การเทรดของเทรดเดอร์ไม่ได้เทรดที่ราคาเดียวกัน แต่เทรดที่พื้นที่เดียวกัน ดังนั้น ข้อ 1 เมื่อพูดถึง Support/Resitance ท่านต้องเข้าใจโดยปริยายว่าเป็น Support/Resistance zone หรือ level ไม่ใช่ Support/Resistance price ข้อ 2 พื้นที่ แนรับ แนวต้านเป็นพื้นที่แสดงถึงพฤติกรรมเดิมของเทดรเดอร์ จึงสามารถดึงดูดเทรดเดอร์ให้สนใจเลยทำให้เกิด liquidity เยอะที่พื้นที่ แนวรับ แนวต้านนั้นๆ ข้อ 3. สิ่งสำคัญท่านต้องเข้าใจการทำงานของออเดอร์ ราคามาแล้วเด้งหลายรอบไม่ได้บอกว่า แนวรับ แนวต้านนั้นๆ ยิ่งแข็ง แต่การที่ราคากลับมาบ่อย หรือ retracement หลักการทำงานของออเดอร์ unfilled orders/limit orders ที่อยู่พื้นที่นั้นๆ ยิ่งลดลงไป จะทำให้ราคาเบรค แนวรับ แนวต้านพื้นที่นั้นๆ ได้ง่าย
แม้จะลากเส้น แนวรับ แนวต้าน ภาพด้านบนใช้ round nubmers เป็นแนวรับ แนวต้าน แต่การมองท่านต้องมองเป็น price level/zone ต้องมองเป็นภาพแบบกรอบด้านบน ต้องมองเป็นพื้นที่ order clustering เป็นหลัก อย่างกรอบล่างสุด ถือว่าเป็นแนวรับหรือ support zone ราคามาเทส 3 ครั้ง ดูกรอบด้านบนหลังจากราคาเบรคลงมา ตรงจุดแรกที่มาร์คเป็นเลข 1 คือราคากลับมาเทสอย่างรวเร็ว ตามด้วยเทส 2 และเทสครั้งที่ 3 สุดท้ายราคาเบรค เปลี่ยนจากแนวต้าน resistance zone/level เป็นแนวรับ support zone/level นี่คือที่บอกว่า การเทสหลายๆ ครั้งเป็นการลด unfilled orders หรือ limit orders พื้นที่นั้นๆ ลงไป เลยทำให้ราคาเบรคพื้นที่นั้นๆ ได้ง่าย แนวต้านที่กลายเป็นแนวรับ บางทีก็เรียกว่า flip level บ้าง บางทีก็ถือว่าเป็น key level บ้าง
การเทรดแนวรับหรือแนวต้าน (support/reistance level) เพื่อหาจุดอ้างอิงท่านจะเห็นว่าไม่ยาก แต่ท่านต้องเข้าใจ price action ที่ประกอบตอนราคามาโต้ตอบหรือเทสแต่ละครั้งเป็น และดูผลการโต้ตอบแตะละครั้ง อย่างภาพด้านบน resistance level ที่มีการเทส 3 ครั้ง สุดท้ายราคาเบรคตรงที่กรอบสีชมพูและราคาก็เปลี่ยนข้างไป พอราคาเบรคตรงนี้ไปอาจเรียกเป็น flip level ก็ได้ หรือเป็น key level แล้วแต่จะเรียก หลักการทำงานสำคัญกว่าการโต้ตอบ ท่านต้องดู rejection manner อาการที่ราคาเด้งจากจุดเป็นอย่างไร และ support level ตรงข้ามอยู่ตรงไหนและโต้ตอบอย่างไรให้เป็น ท่านค่อยจะเทรด support/resistance ได้ดี การเทรดครั้งแรกที่เลข 1 จะเห็นว่าราคาไม่สามารถผ่าน support ได้เลยเด้งกลับกลายเป็นการเทรด 1 ของทาง support ไป พอราคากลับมาเทส resistance ที่เลข 2 (ท่านจะเห็นว่าก่อนราคามาเทสที่เลข 2 ราคาได้กลับมาก่อนแล้วครั้ง 1 และเด้งลงไปเป็นการกลับมาเทสครั้ง 2 ของทาง support) ราคาเด้งลงไปอีก สิ่งที่ต้องสังเกตตรงเลข 2 นี้ท่านจะเห็นว่าราคาที่เทสมาจากด้านล่างหรือฝ่าย support level สามารถทำ new high เกินการเทสครั้งแรก – นี่คือความสำคัญของการดู rejection mananer ว่าราคากำลังบอกอะไร แสดงว่าราคาเกิดแบบนี้ได้ ไม่มี unfilled orders/limit orders เข้ามาพื้นที่เดียวกันอีก บอกเป็นนัยว่าราคาอาจเบรคพื้นที่ได้ถ้าราคากลับมาอีก – สุดท้ายราคาลงไปเทส support level ครั้งที่ 3 และกลับมาเทส 3 ที่ resistance level อีกรอบ แต่ราคาเด้งนิดเดียวแล้วเบรคไปในที่สุด จาก resistance level กลายเป็น support level เทรดเดอร์ที่เปิด sell positions ที่เลข 1 2 และ 3 ตรงพื้นที่ resistance level ก็กลายเป็น trapped traders ไป และพอราคาเบรค เทรดเดอร์ที่รอเข้าก็ได้ข้อมูลใหม่ จากแนวต้านกลายเป็นแนวรับก็เริ่มหาโอกาสเปิด buy เป็นหลัก
ดังนั้นการหาจุดเพื่อลากพื้นที่ support/resistance levels ไม่ใช่เรื่องยากเพราะท่านสามารถเริ่มจากราคาปัจจุบันและมองมาทางช้ายมือเพื่อหาร่องรอยเก่าที่เปิดเผยให้เป็น แต่เวลาเทรดพอเปิดออเดอร์แล้วราคาวิ่งไปทางขวา ดังนั้นการมองหาหรือลากแนวรับแนวต้านอย่างเดียวแล้วเทรดยังไม่พอ ท่านต้องเข้าใจเรื่องออเดอร์ เรื่องพฤติกรรมเทรดเดอร์ ที่มีต่อแนวรับ แนวต้านนั้นๆ ราคาไม่ได้วิ่งเพราะราคาไปถึงแนวรับหรือแนวต้านนั้นๆ แต่วิ่งเพราะออเดอร์ที่เข้ามาตรงพื้นที่นั้นๆ และออเดอร์ที่เข้ามาเป็นออเดอร์ที่ไปทิศทางเดียวกัน ต้องไม่ลืมว่า market orders ไม่ได้มาแค่จากการเปิดเข้าเทรด แต่มาจากการออก positons ที่เปิดอยู่ด้วยโดยเฉพาะเป็น positions ที่ติดลบ และเมื่อ price structure ที่เกิดจากราคาโต้ตอบ support/resistance level เปลี่ยนไปกลายเป็นออเดอร์ที่ต้องเกิด
ทีมงาน : thaiforexbroker.com