การเทรดด้วยอุปสงค์/อุปทาน ตอน 1

การเทรดด้วยอุปสงค์อุปทาน ตอน 1

Supply/Demand Trading     

ตอนนี้ถ้าคุยเรื่องการเทรดแนว supply/demand คงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับการศึกษา technical analysis เพื่อการเทรด แม้ว่าได้อธิบายเรื่องราคาเคลื่อนไหวเพราะ demand/supply ที่ไม่สมดุลย์กันมานาน  ต้องรู้ว่ามีตัวกรองหลายตัวเพื่อวัดคุณภาพของ demand/supply ที่จะเทรดว่ามีความเป็นไปได้มากพอหรือเปล่า

มีตัวกรองหลายๆ ตัวในการบอกคุณภาพของ supply/deman level ว่ามีความเป็นไปได้สูงพอที่จะเทรดหรือไม่ คือ ตัวกรองที่ 1 Strength of the move ดูว่าราคาวิ่งจากไปอย่างไร เราต้องการเห็นราคาที่เป็น strong rally in price ขึ้นแรงหรือลงแรง sharp drop in price หลังจากที่ราคาวิ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ตัว strong move away in price จะเป็นตัวยืนยันการเกิด base ของ demand/supply ราคาวิ่งขึ้นแรงยืนยัน Demand ราคาลงแรงยืนยัน Supply ต้นตอที่เกิด เรียกว่า Base ——– Base-Rally เท่ากับ Demand หรือ Base-Drop เท่ากับ Supply โดยการเรียก Demand/Supply ประเภทต่างๆ กำหนด ด้วยรูปแบบโคร้งสร้างการเคลื่อนไหวราคาแล้วเกิด Demand/Supply เป็นหลัก เช่นพอเห็นราคาวิ่งขึ้นแรง (Rally) เราก็มองต้นตอ  พื่นที่ๆ ราคา basing ก่อนจะ rally เราก็ได้ส่วน Base แล้วก็มาดูว่าราคาก่อนทำการ Basing ขึ้น (Rally) หรือ ลง (Drop) เราก็จะได้รูปแบบ Demand ในที่นี้อาจเป็น Rally-Base-Rally หรือ Drop-Base-Rally ส่วน supply ก็ตรงข้ามกัน

การกำหนดพื้นที่สำหรับ basing จะมองรอบราคาที่วิ่งอยู่ใน range ก่อนเกิด breakout/breakdown ที่เป็นการยืนยันพื้นที่ base เป็นตัวบอกช่วงราคา in balance สมดุลย์ก่อนเกิด imbalance ความไม่สมดุลย์ตัวที่ยืนยัน demand/supply

ตัวกรองที่ 2 จะเกี่ยวกับ Risk/Reward คือการมองหาพื้นที่กำหนดสำหรับคาดหวังกำไร (profit zone) โดยกำหนดจากพื้นที่ Base ของ Supply/Demand และระยะที่ราคาวิ่งไปยืนยัน โดยกำหนดว่า ควรเป็น 1 ต่อ 3 (1:3) ขึ้น คือราคาต้องวิ่งเป็น 3 เท่าของ base ค่อยได้เงื่อนไขที่ดี 

ตัวกรองที่ 3 จะเป็นการดู Supply/Demand ที่เราเทรดสัมพันธ์กับสัดส่วนของการเคลื่อนไหวราคาใหญ่ เช่น เมื่อกำหนดเทรด H1 Supply/Demand ตำแหน่งต้องสัมพันธ์กับ D1 Supply/Demand ทุก supply/demand ต้องสัมพันธ์กับ supply/demand ของ timeframe ใหญ่กว่าเสมอ จะเพิ่มความเป็นไปได้

ตัวกรองที่ 4 คือ Retracements การดูจำนวนครั้งที่ราคากลับมาหาพื้นที่จะเทรด โดยความเป็นไปได้สูงจะเกิดเมื่อ ราคากลับมาครั้งแรก (first retracement) หรือเทรดตอนราคากลับมาครั้งแรก First Time Back ความเป็นไปได้สูงเมื่อ Demand/Supply ยังใหม่อยู่ยังไม่มีการกลับมา (Fresh demand/supply)

ตัวกรองที่ 5 สุดท้ายจะเกี่ยวกับ Arrival ต้องดูว่าราคาวิ่งกลับมา supply/demand leve ตอนที่จะเทรดอย่างไร ดูโครงสร้างใหม่ที่เกิดขึ้นว่ามี demand/supply ใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เพราะถ้าเกิดขึ้นเมื่อราคาไปถึงและโต้ตอบ ราคาต้องมาเจอกับ demand/supply พวกนี้อีกทำให้ราคาวิ่งผ่านยาก หรือใช้เวลานาน

               ถ้าแบ่ง  supply/demand    ตามรูปแบบโครงสร้างการเคลื่อนไหวราคา จะได้ supply/demand ที่ กลับเทรน (Reversal Supply/Demand Zones)  : Rally-Base-Drop , Drop-Base-Rally และ Continuation Supply/Demand Zones มี Drop-Base-Drop และ Rally-Base-Rally

แต่การเทรดด้วย supply/demand   ต้องรู้มากเกินกว่าความรู้ทั่วไปพวกนี้ เพราะเมื่อทุกคนรู้หลักการเทรดแบบนี้ทุกคนก็จะเปิดออร์เดอร์ไปในทางเดียวกันจะทำให้ไม่มีออร์เดอร์จากฝั่งตรงข้ามมา fill เพราะไม่มี liquidity จากฝั่งตรงข้ามมากพอ อย่าลืมว่าการที่ออเดอร์ที่เปิดจะทำกำไรต้องมีออเดอร์ฝั่งตรงข้ามที่สูญเสีย (อย่างกรณีของ market gap ช่วงเปิดตลาดหรือช่วงที่มีข่าวแรงๆ จะเป็นตัวอย่างที่ดี)

การหาพื้นที่ๆ เป็น supply/demand จากตัวแปรด้านบนไม่ยาก เพราะ demand/supply กำหนดได้จากร่องรอยการเทรดของขาใหญ่ แต่การเข้าเทรดกลับต่างกันออกไป เราเทรดความเป็นไปได้ต้องตระหนักว่า ออร์เดอร์ทำงานอย่างไร เช่น 1. อาจมองว่าออเดอร์ฝั่งตรงข้ามที่เราเทรดมากจากเทรดกลุ่มไหน เมื่อราคากลับมาพวกที่เทรดหลังราคาวิ่งและวิ่งเข้าหาพื้นที่ supply/demand ส่วนมากเป็นรายย่อยและเทรดด้วยอารมณ์หรือถูกกระตุ้นเพราะราคาวิ่งแรงๆ  2. เรื่องจำนวนครั้ง retracement ถ้าราคาเคยกลับมาก่อน  และ กลับมาอีกรอบ ต้องดูโครงสร้งที่เกิดจากการโต้ตอบให้ดี เพราะเรื่อง limit orders จะน้อยลงไป 3. หลักการ trapped traders/stop orders เพื่อขาใหญ่จะได้เข้าราคาที่ดีกว่าจากรายย่อยที่เข้าก่อน หรืออย่างเรื่องพื้นที่ base ของ Supply/Demand ถ้าเรามองเรื่องออเดอร์ประกอบเมื่อเกิดความไม่สมดุลย์ ยิ่งเกิดความไม่สมดุลย์มาก พื้นที่ๆ Base จะเห็นไม่กี่บาร์ เพราะ limit orders ไม่พอ market orders ที่เข้ามาเวลานั้นหลายเท่าและต่อเนื่องเลยทำให้เกิดพื้นที่ filled orders น้อย 4. การมอง swap level ด้วยการดูราคาโต้ตอบที่ timeframes น้อยลงไป 5. Supply/demand โดน engulfed ก่อนราคาจะไป เพราะ engulfing เปิดเผยการใช้ไปของ limit orders หรือ unfilled orders ในทางที่ราคาจะวิ่งไป จะทำให้ราคาวิ่งไปได้ง่าย

               ตัวอย่าง

มอง Demand เลข 1 3 และ 12   เริ่มจาก Demand ที่เลข 1 การวิ่งแรงๆ 1 บาร์และปิดบน high ด้านช้ายได้ แถมสร้าง demand ใหม่เพิ่มอีก เพราะอีก 4 บาร์ที่ตามมาทำ new high อีก ราคาก็มาพื้นที่เลข 2  sell orders แรกๆ จะเป็นการปิดกำไรจาก buy positions ที่ demand 1 และ ด้าน demand อีกตัวด้านบน จนกว่า 2 บาร์สุดท้ายในกรอบ supply เลข 2 ราคาลงแรงเพราะ trapped traders ในกรอบ basing ของ supply เลข 2 ลงมาเปิดโอกาสให้ขาใหญ่เปิด buy เพิ่มอีกรอบ  เลยสร้าง Demand เลข 3 ที่บอกว่า demand เพราะราคาสามารถทำ new high เอาชนะพื้นที่ supply เลข 2 ได้ ราคากลับมา demand 2 ที่เลข 6 และเลข 7 แต่ เลข 7 ราคาจะวิ่งแรงกว่าเพราะได้แรงหนุนหลังจากที่ราคาบายเลข 6 เอาชนะ supply  เลข 5  โดยสร้าง Demand (Rally-Base-Rally) ใหม่ และสร้าง new high ได้อีก

วัฏจักรการวิ่งราคาก็จะเกิดแบบนี้ เมื่อมองมุมการวิ่งของราคา จะพบว่าราคาวิ่งจากกรอบราคา demand/supply หนึ่งไปหาอีกกรอบหนึ่ง ถ้าราคาจะไปต่อได้ต้องมีการเปิดเผยว่าออเดอร์ที่กรอบ demand/supply นั้นๆ ถูกใช้ไปแล้ว เช่นเมื่อมองการวิ่งแรงๆ ผ่านแท่งเทียน จะต้องเห็นราคา engulf พื้น demand/suply ฝั่งตรงข้าม อย่างที่ยกตัวอย่าง demand ที่เลข 1 ที่ปิดบนด้านช้าย demand เลข 3 ที่ปิดบน supply เลข 2 เลยทำให้การเข้าเทรดที่เลข 6 และ 7 เป็นไปได้สูง หรือ หลังการเทรดที่เลข 7 อีก สามารถปิดบน supply เลข 4 ได้ ราคายังยืนยันต่อเนื่องจาก demand เลข 1 และ เลข 3 เพราะราคาไม่เคยแม้แต่จะปิดล่างเลข 3 ได้ ทำให้ได้โครงสร้างราคาที่ให้ข้อมูลใหม่สำหรับการวิเคราะห์สำหรับเทรดเดอร์ที่อยู่ในตลาดและพวกที่รอเข้าเทรด เลยทำให้การเทรดที่จุด 10-11 เป็นไปได้สูงเพราะมีแต่คนเปิด  buy market orders นั่นเอง (รายละเอียดเพิ่มเติมจะกล่าวในตอนต่อไป)

best broker forex

จัดอันดับ 10 โบรกเกอร์ Forex ดีที่สุดในไทย

ช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจเลือก โบรกเกอร์ Forex ได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา เทรดกับโบรกเกอร์ที่มีคุณภาพ ไม่ต้องเสี่ยงเรื่องการโดนโกงอย่างแน่นอน

โบรกเกอร์ Forex 10 อันดับ

ทีมงาน : thaiforexbroker.com