Supply/Demand trading ตอน 2

SupplyDemand trading ตอน 2

Supply/Demand trading ตอน 2

Supply/Demand trading เห็นการเทรดรูปแบบ price level ที่ศึกษาเรื่องออเดอร์และพฤติกรรมของเทรดเดอร์ ที่เปิดเผยออกมาทาง price action มองจากชาร์ตเปล่า เราจะเห็นว่าสิ่งหนึ่งที่ขาใหญ่ไม่สามารถปกปิดได้ คือร่องรอยการเทรด (footprint)

เพราะเป็นออเดอร์ที่จบไปแล้ว (filled orders) ทางชาร์ต แต่สิ่งที่ยากต่อการสังเกตคือดูว่าขาใหญ่จะเข้าตลาดตอนไหนอีก เช่น วิธีการกระจายออเดอร์เพื่อการเข้าเทรดในพื้นที่เดียวกัน การใช้ประโยชน์จาก stop orders หรือที่เรียกกันว่า stop hunt เพื่อการเข้าตลาด เพราะจะได้เข้าในตำแหน่งราคาที่ดี และ มี liquidity มากพอ

ราคาจะวิ่งไปหาพื้นที่มี liquidity มากพอเสมอ เพราะเมื่อ liquidity ที่ limit orders ราคานั้นๆ ไม่มากพอกับ market orders ที่เข้ามา ราคาก็จะวิ่งไปหาราคาต่อไปที่มี liquidity มากพอ สิ่งที่ต้องรู้คือ ระหว่างการวิ่งไปหาพื้นที่นั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง

  1. ถ้าถึงพื้นที่ ก็จะทำให้ liquidity ลดลง หรือ limit orders หรือ unfilled orders ที่ demand/supply zone นั้นๆ ใช้ไป เพราะ liquidity จะจับคู่ market orders ที่เปิดเทรด
  2. ถ้าราคาถึงพื้นที่ supply/demand levels ราคาโต้ตอบเพื่อเปิดเผยข้อมูลให้เรารู้ว่าความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นอีกหรือไม่ และจำเป็นต้องดูผลที่ตามมาหลังการโต้ตอบนั้น

การเพิ่ม-ลด liquidity จากการที่ราคาวิ่งไปแล้วย้อนกลับ ทำให้ liquidity ตรงที่ราคาไปนั้นลดลง เลยทำให้ถ้าราคาวิ่งกลับมาอีกรอบหนึ่ง ถ้าพื้นนั้นไม่ได้เพิ่ม limit orders  เพื่อเพิ่ม liquidity เข้าไปหรือเข้ามาแต่ไม่มากพอจะทำให้ราคาวิ่งผ่านได้ง่าย เมื่อดูจากชาร์ตจะเห็นถึงร่อยรอยที่เปิดเผยให้เห็นก่อนที่ราคาจะวิ่งไปทางนั้นจริงๆ

เมื่อเข้าใจการทำงานออเดอร์แบบนี้ ถ้าเราเอาไปดูประกอบกับการเทรดแนว demand/supply ก็จะเพิ่มความเป็นไปได้สูงทันทีที่ราคาจะมาทางนั้น หรือแม้แต่โครงสร้างที่แนว demand/supply อย่างอื่น เช่น compression move หรือ 3-drive move ก็เป็นการอธิบายถึงจุดนี้  compression คือ ถ้าราคาวิ่งขึ้นมาและมีการย่อตัวลงมาเคลียร์ออเดอร์ตรงจุด demand/supply ใหม่ที่เกิดขึ้นตอนราคาขึ้นไปด้วย

ส่วน 3-drive move ก็หลักการเดียวกันแค่สวิงมากกว่า เมื่อท่านเห็นรูปแบบพวกนี้ ตอนราคาวิ่งไปหาจุดที่รอเทรดหลังจากเกิดการโต้ตอบแล้ว price action เปิดเผย ท่านสามารถเปิดเทรดด้วยความเป็นไปได้สูงขึ้นทันที

[การเทรด supply/demand ถ้าระยะห่างระหว่างจุด ต้นตอและราคากลับมา พอสมควรไม่ใช่ประเภท quick test ใน time-frames น้อย แนะนำให้เทรดหลัง price action เปิดเผย เช่น engulfing bar, pinbar, หรือ ชนะ demand/supply น้อยๆ ตรงจุดโต้ตอบก่อน] …..

ดังนั้นเรื่องแรกคือ การเพิ่ม-ลด  liquidity ออกจากพื้นที่ราคาในรูป ตามด้วย trapped traders ที่เกิดขึ้นที่ต้องแบกความกดดัน  อีกอย่างการลด liquidity ออกจากตลาดอาจเห็นเป็นหางบาร์ที่ spike ไปยาวๆ ก่อนที่ราคาจะไปทางนั้น หรือ compression หรือ 3-drive move เป็นการเปิดทางไว้ก่อน ก่อนราคาจะไปทางนั้นอีกที

เป็นกลยุทธ์ที่ขาใหญ่ชอบใช้ โครงสร้างราคาพวกนี้มองใน time-frames ที่เล็กกว่า time-frame ของ demand/supply จะเห็นได้ชัด และการที่ขาใหญ่ทำแบบนี้ทำให้เข้าตลาดได้เยอะเพราะเป็นการปั่นราคาเพื่อรายย่อยจะได้เข้าตลาด ขาใหญ่จะได้เปิดออเดอร์เพิ่ม

ด้วยการที่แอบไปลดออเดอร์ออกก่อน พอมาถึงคราวที่ราคาวิ่งไปจริงๆ ราคาเลยผ่านจุดพวกนั้นได้ไม่ยาก แถมด้วย trapped trappers ที่พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย

  • เลข 1 2 3 4 อธิบายเรื่องการ ลด liquidity ในที่นีคือ buy limit/unfilled buy orders จนกลายเป็น long positions
  • แต่ขณะเดียวกัน ราคามาถึง supply หลายรอบ (replacements) และ price action

เปิดเผยชัดเจนขึ้นจนกว่ามีการลงแรงๆ แล้วยืนยัน supply ที่เกิดใหม่ที่ราคาเลข 5 ราคาเลยลงเร็วเพราะเรื่องการลด liquidity และราคาพอย้อนกลับมาเลข 5 แต่เด้งแถวนั้นหมดเพราะ trapped traders จาก เลข 1 2 3 4

อีกจุดที่ต้องสังเกต คือ new high หรือ new low ตอนราคาวิ่งแรงๆ ไม่กี่บาร์ และบาร์ยาวๆ  พร้อมราคาปิด ถ้าปิดต่ำหรือสูงกว่าฝั่งตรงข้ามได้ ราคาบอกนัยที่สำคัญมาก เพราะเป็นข้อมูลสำคัญที่แสดงว่า ออเดอร์พวกนี้มาจาก placing takes ไม่ใช่ taking profit ยิ่งถ้าเป็นจุดที่ราคาอีกทางวิ่งเป็นเทรนมายาวๆ ก่อน

ก็จะมีแต่เทรดเดอร์อยากเปิดออเดอร์ตามเทรน การเปิดเผยจะบอกต้นตอการเทรดครั้งแรก และจะเห็นการกระจายออเดอร์เพื่อเทรดเพิ่มอีก เมื่อราคากลับมาจุดที่เริ่มต้น ขาใหญ่จะไม่ให้ราคาต่ำกว่านั้นของการเปิดเทรดแต่ละครั้ง

ภาพด้านบน มองที่ชาร์ตขวามือก่อนเป็นชาร์ต H4 บาร์ลงบาร์ที่ 2 แรงและต่อเนื่องจากบาร์แรก ที่สำคัญคือ นอกจากลงแรงแล้วบาร์ยังปิดต่ำกว่า demand ด้านช้ายมือด้วย พอมาดูรายละอียดในชาร์ต ช้ายมือใน M30 จะเห็นจุดที่เข้าชัดเจน จุดที่ 3 เป็นจุดต้นตอ ท่านจะเห็นว่าราคาเปิดมีผลต่อข้อมูลใหม่ในการวิเคราะห์ตลาดมาก และในขณะเดียวกันพื้นที่ตรงนี้ก็จะมี trapped traders เยอะด้วย

สุดท้าย Multi-time frame analysis จำเป็นมากสำหรับการเทรด ต้องฝึกดูรายละเอียดออเดอร์ต่าง time-frames ให้เป็น โดยเฉพาะเมื่อเห็น demand/supply zone จาก time-frame ใหญ่ การลงรายละเอียดเพื่อดูและหาจุดเข้าเทรดเมื่อราคามาถึงจุดและราคาเปิดเผย เช่น มีการสร้าง demand/supply ใน time-frames ย่อยเพื่อเป็นการยืนยันหรือไม่

Imbalance (D1) ยิ่งใกล้ ยิ่งทำงานดี เพราะจะได้ market orders ที่มาจาก trapped trader’s ซึ่งไม่ต้องการถือตำแหน่งติดลบนานๆ

ทีมงาน : thaiforexbroker.com